สะท้อนความคิด: โคลงภาพพระราชพงศาวดาร พันท้ายนรสิงห์


การไตร่ตรองและสะท้อนความคิดจากวรรณคดีคือการเรียนรู้วรรณคดีที่แท้จริง

คำถามไตร่ตรอง (reflective question)

 

 

                จากการศึกษาวรรณคดีโคลงภาพพระราชพงศาวดาร พันท้ายนรสิงห์  นักเรียนจะสังเกตได้ว่าแนวคิดสำคัญของเรื่องคือ  บุคคลที่ควรยกย่อง คือ  บุคคลที่ถือหลักการของสังคมหรือการอยู่ร่วมกันว่าสำคัญกว่าความสุขของตนเอง  ปี พ.ศ. 2554 หรือ ปี ค.ศ. 2011  นี้  คนแบบพันท้ายนรสิงห์เหลือน้อยลงไปทุกที  นักเรียนคิดว่าสังคมแบบใด  การศึกษาแบบไหน หรือวิธีการอะไร ถึงจะสร้างคนแบบพันท้ายนรสิงห์ ที่คิดถึงสังคมก่อนตนเอง  จงอธิบายและยกตัวอย่างอย่างสร้างสรรค์ และเขียนสื่อสารไปยังสังคม   

หมายเลขบันทึก: 452357เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2011 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

การที่บุคคลแบบนี้เหลือน้อยลงทุกทีทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนไปจากการที่คนเคยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อน กลับคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวก่อนทำให้คนสมัยนี้เป็นคนเห็นแก่ตัว โดยการที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ช้าและสายไปแล้วเนื่องจากมันเป็นการค่อยๆฝังลึกลงไปในคนทุกๆสมัย แต่ก็ยังสามารถแก้ไขพฤติกรรมแบบนี้ได้อยู่ โดยการที่ค่อยๆสอนทุกคนโดยอาจเน้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญหรือปลูกจิตสำนึกใหม่ให้กับทุกๆ คน ซึ่งต้องใช้เวลานาน แต่ก็จะสามารถแก้ได้ในระยะยาวและทำให้คนรุ่นใหม่ดีขึ้นต่อๆ ไปได้

การที่จะทำให้คนในสมัยนี้มีความซื่อสัตย์แบบพันท้ายนรสิงห์เราควรเริ่มที่คนีที่ใกล้ตัวที่สุดนั้นก็คือ"ครอบครัว" ดังนั้นเราควรจะปลูกฝังความคิดดีๆให้ทุกๆคนโดยเริ่มจากทางบ้าน ต่อมาก็ ที่ทำงาน หรือ โรงเรียน เช่น พ่อ-แม่ต้องสอนลูกตั้งแต่เล็กๆว่าไม่ควรโกหก

ด.ญ.วิริญญ์ คีรีกาญจนะรงค์ จ้าาาาาาาาาาาา♥♥♥

พิมพ์์เพชร เกษตรสุวรรณ

ในสมัยนี้คนเรานั้นมีความเห็นแก่ตัวสูงเมื่อเอามาเปรียบเทียบกับคนในสมัยก่อน เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ไม่ยอมรับผิด การที่อภัยโทษได้ง่ายเกินไปเพียงแค่การยัดเงินหรือการมีเส้นสาย ความซื่อสัตย์น้อยลงไปทุกที ทำให้สังคมนั้นแย่ลงไป ซึ่งถ้าแย่ไปกว่านี้เรื่อยๆ การทำผิดแล้วให้อภัยได้ง่ายๆ คนไม่มีความซื่อสัตย์ ก็จะทำให้กฎไม่เป็นกฎ ทุกคนสามารถทำผิดได้ เพราะกฎหมายไม่มีความหมาย ไม่สำคัญ ทำให้เกิดการก่อการร้าย การปล้น การผิดกฎหมายมากมาย เพราะกฎหมายไม่เคร่งครัด ต่อไปคนรวยจะมีอำนาจ ผู้ร้ายป่วนเมืองซึ่งจะไม่ดีต่อประเทศชาติ เราจึงควรสร้างจิตสำนึกให้กับคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมให้มาก เห็นประโยชน์ส่วนตนให้น้อย มีความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบต่างๆ สอนให้รู้จักรับผิดในการกระทำของตัวเอง โดยสร้างจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ตั้งแต่ยังเด็ก ทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือกัน เช่น สถาบันครอบครัว โรงเรียน โดยเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงให้แก่ประเทศชาติในอนาคตสืบต่อไป

การที่จะสามารถสร้างคนที่มีความซื่อสัตย์และถือว่าสังคมสำคัญกว่าความสุขของตัวเองนั้นปัจจุบันนี้หาได้ยาก และเป็นที่ต้ิองการกับสังคม

วิธีการสร้างบุคคลที่มีนิสัยเหมือนข้อความที่กล่าวในข้างต้นนั้นสร้างได้โดยจากครอบครัว การที่สอนให้ลูกหลานรู้จักการเสีสละ อาจจะทำได้โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วค่อยสอนเขาจนเกิดเป็นนิสัย ควรค่อยๆสอนจากครอบครัว คุณครู และสังคมตามลำดับ และค่อยๆปลูกฝังจิตสำนึกแบบนี้ให้คนรุ่นหลังไปเรื่อยๆ เมื่อรุ่นลูก ก็ถ่ายทอดไปสู่รุ่นหลาน หรืออาจจะนำเรื่องพันท้ายนรสิงห์มาเป็นสื่อการเรียนการสอนตั้งแต่เมื่ิอเด็กมีวุฒิภาวะที่สามารถคิดและไตร่ตรองเองได้แล้ว เช่น ตั้งแต่ ป.4ขึ้นไป เราควรสอนลูกว่าอะไรควรอะไรม่ควร อะไรไม่ควรนำเป็นเยี่ยงอย่างปลูกฝังให้เขารู้จักความซื้อสัตย์และการเห็นประโยชน์ส่วนรมดีกว่าประโยชน์ส่วนตัวตั้งแต่เด็ก ซึ่งทำให้ต่อไปเด็กนั้นจะเติบโตเป็นผู้ใหย๋ที่ดีและสอนเรื่องแนวคิดนี้สืบไป

ธนกฤต เฉลิมธนาชัยกุล

ควรจะเป็นสังคมที่มีความสามัคคีกัน และ ไม่มีความขัดแย้งหรือการทะเลาะวิวาทเหมือนในปัจจุบัน การศึกษาควรสอนให้คนมีความเห็นแก่ส่วนรวมไม่ควรเห็นแก่ตัว และสอนให้แบบไม่เครียดมากจะทำให้คนได้มีเวลาในการช่วยดูแลสังคมหรือควรสอนให้ไม่หมกมุ่นกับการเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูนหรือสิ่งอื่นๆมากเกินไปเพราะสิ่งพวกนี้จะพาไปหาสิ่งที่ผิดหรือสิ่งไม่ดีได้ และควรปลูกฝังให้มีความรักสังคม หรือให้เห็นว่าสังคมของเรานั้นเปรียบเหมือนบ้านของเราอีกหลังหนึ่งก็ได้ จะทำให้ทุกคนมีความคิดที่จะช่วยสังคมไปในทางที่ดีได้ และที่สำคัญในการสอนควรค่อยๆสอนและไม่ควรสอนอย่างรวบรัด เช่น สอนครั้งเดียวแล้วก็ไม่สนใจอีกเลยเพราะคิดว่าได้ปลูกฝังแล้วแบบนี้เป็นวิธีการสอนที่ผิด การสอนที่ดีควรค่อยๆสอนให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ถ้าเราสามารถทำอย่างนี้ได้สำเร็จก็จะทำให้ในสังคมของเรานั้น มีแต่คนที่ดี มีความซื่อสัตย์ และ เห็นส่วนรวมมาก่อนตัวเองได้เหมือนพันท้ายนรสิงห์ (ทยาภา เกิดสุทธิ)

ในสมัยนี้ส่วนใหญ่คนจะเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่เคารพกฎต่างๆ เราจึงควรที่จะมีการศึกษาที่ทำให้คนที่ได้ฟัง ฟังแล้วขึ้นใจ และจะปฏิบัติตาม เช่น สอนให้รู้จักความสามัคคี ไม่ทะเลาะกัน ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ให้รู้ว่าอะไรควรไม่ควร รู้จักการเสียสละ เมื่อผู้อื่นเดือดร้อนก็ควรให้ความช่วยเหลือหรือไม่ควรให้คนมองว่าคนๆนั้นเป็นบุคคลไม่ดี(ถ้าหากเขาเป็นคนดี)เช่นเดียวกับพันท้ายนรสิงยอมถวายชีวิตตนเองเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าพระมหากษัตริย์ยอมฆ่าเพื่อนของตนเองเพื่อรักษากฎเอาไว้และผู้สอนก็ควรจะทำให้เป็นแบบอย่างเพื่อให้นักเรียนเห็นตัวอย่างที่ดี และจะได้ปฏิบัติตาม แล้วยังทำให้คนเป็นคนดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย

(วริยา ตั้งปณิธานสุข.....ค่า~!!!!!! :))

แนวคิดที่ได้จากเรื่องพันท้ายนรสิงห์ สังคมในปัจจุบันคิดถึงแต่ตนเองก่อน ครอบครัวตนเองต้องมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ แต่พันท้ายนรสิงห์เห็นส่วนรวมมากกว่าตนเองและมีความซื่อสัตย์มากโดยยอมเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อรักษากดเอาไว้ไม่ให้พระเจ้าเสือต้องผิดกด

สังคมเดี๋ยวนี้เหลือน้อยลงไปทุกที ผมว่าเราควรเอาเป็นแบบอย่างมาก วีรกรมครั้งนั้นของพันท้ายนรสิงห์เป็นอย่างมาจนถึงทุกวันนี้และจะไม่มีใครลืม(ด.ช.จิรภัทร สาระศิริ ม.1/3 เลขที่5)

ที่คนในสมัยนี้ไม่ค่อยจะคิดถึงสังคมก่อนเพราะความเห็นแก่ตัว เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และคิดถึงประโยชน์ของตัวเองไว้ก่อนคนอื่น ทำให้เกิดการโกงกิน โดยเฉพาะนักการเมืองที่แสดงให้เห็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้เยาวชนอย่างมาก ทำให้ในสมัยนี้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่อสู้กันเอง เพราะฉะนั้น การให้การศึกษาแก่เยาวชนรุ่นใหม่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับสังคมว่าการอยู่ด้วยกัน เราจะต้องคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่คิดแต่ประโยชน์ส่วนตัว รวมถึงการรักษากฎเกณฑ์ที่ถูกตั้งไว้ เพราะถ้าเราแหกกฎก็จะทำให้เราเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี แล้วกฎที่ถูกตั้งไว้นั้นก็จะไม่มีไครเคารพ ส่วนใหญ่แล้วการที่จะปลูกฝังความดีเข้าไปในตัวของเยาวชนนั้นจะขึ้นอยู่กับสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ใช่การท่องจำ ดังนั้นครูและอาจารย์ควรจะให่"เด็กดูมากกว่าจำ"

(ณัฐสิทธิ์ เจียรพันธุ์ คร้าฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ) :P

พิชญาภา จิตบริรักษ์

ปัจจุบันมีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทุกคนต้องการอำนาจและสิ่งที่ตนเองต้องการ เห็นแก่เงินและผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คิดถึงผลเสียที่ตามมาของคนอื่นๆและคนรุ่นหลัง ทำให้ชาติไทยที่บรรพบุรุษมากมายสร้างขึ้นและต่อสู้เพื่อปกป้องเอาไว้ต้องเสื่อมเสีย คนดีเริ่มลดน้อยลง กลับแทนที่ด้วยคนชั่วที่ไร้ซึ่งความซื่อสัตย์ มีแต่คดโกงและหลอกลวง หากเราทุกคนหันมาร่วมกันพัฒนาสังคมไทยเรา ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี ให้รู้จักรักสังคม สอนให้ทุกๆคนในสังคมรู้จักการแบ่งปัน รู้จักความสามัคคี เอาใจเขามาใส่ใจเรา และรู้จักการเสียสละ อาจต้องสละสิ่งที่เรารักและไม่อยากจะเสียไปแต่ให้คิดว่าคนอีกมากมายต้องการการเสียสละจากเรา ให้คิดถึงสังคมเป็นอันดับแรกเพื่อให้เป็นผลประโยชน์ต่อคนส่วนมากก่อนที่จะเป็นผลประโยชน์ของเราเพียงคนเดียว ทุกคนต่างไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับพันท้ายนรสิงห์ที่ยอมสละชีพตนเพื่อปกป้องรักษากฏหมายบ้านเมืองให้ยังคงมีความสำคัญต่อไป กฏต้องเป็นกฏ ไม่ใช่ว่าจะปรับเปลี่ยนได้ง่ายๆเหมือนกับกฏหมายบ้านเมืองไม่มีความสำคัญต่อสังคม และไม่ใช่ว่าการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะเพียงพอ หากมีความรู้แต่ไม่นำมาปฏิบัติตามก็ไร้ประโยชน์ แต่ต้องปลูกฝังความคิดต่างๆที่ดีให้ฝังลึกเข้าไปในจิตใจด้วยเช่นกัน ถึงจะเพียงพอสำหรับการสร้างและพัฒนาคนดีต่อๆไป

(ด.ญ.พิชญาภา จิตบริรักษ์ ม.2/3 เลขที่ 19)

เมธาวี อรรถอุดมพร

ในสมัยนี้คนส่วนเห็นเรื่องส่วนตัวมาก่อนเรื่องส่วนรวม ไม่คำนึงถึงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ฉันคิดว่าเราควรที่จะเริ่มสร้างคนอย่างพันท้ายนรสิงห์จากการศึกษาเพราะว่าสมัยนี้เด็กส่วนใหญ่จะอยู่่ที่โรงเรียนมากกว่าอยู่ที่บ้าน ดังนั้นอาจารย์จึงมีโอกาศที่จะสั่งสอนนักเรียนมากกว่าพ่อแม่อยู่แล้ว อาจาร์ควรที่จะเริ่มสั่งสอนนักเรียนจากกฎเล็กๆอาทิเช่นกฎในห้องเรียน จนกระทั่งกฎใหญ่ๆอย่างเช่นกฎหมายบ้านเมือง ถ้าเด็กทำได้เด็กก็สามารถที่จะ

(เมธษวี อรรถอุดมพร...มีมี่ค่าาาาาาาาาาา)

การที่จะทำให้คนไทยสมัยนี้เป็นเเบบอย่างที่ดีเหมือนพันท้ายนรสิงห์นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะคนไทยสมัยนี้มีความโลภมาก และเห็นแก่ตัว คิดว่าตัวเองเป็นใหญ่เสมอ แต่ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนไปไม่ได้เสมอไป การที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนดีของสังคมนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับตัวเราเอง อีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ที่สอนเราให้มีอนาคตที่ดี และ อีกส่วนที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวหรือคนใกล้ตัวเรามากที่สุดเช่นพ่อ แม่เป็นคนสั่งสอนให้เราเป็นคนดีของสังคม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเตอนใจเราและลูกหลานของเราในอนาคต

สังคมควรจะปลูกฟังเด็กให้รู้จักเสียสละอดทนและเคารพกฏต่างๆแต่พ่อแม่และอาจารย์ควรสั่งสอนให้จำแต่ส่วนนึงเิองก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองด้วยว่าจะพยายามและอดทนที่จะทำแค่ไหนเพราะถ้าผู้เรียนไม่พยายามและอดทนถึงแม้พ่อแม่ครูอาจารย์พยายามแค่ไหนแต่ถ้าเด็กไม่ทำก็ไม่มีประโยชน์ดังนั้นวิธ๊ที่จะทำ

ก้คือผุ้เรียนจะต้องปรับนิสัยเอาเองมากว่าแต่ครุก้ควรช่วยด้วยแม้จะไม่สำเร้จก้ตาม

(ยศ เบญจรุราวงศ์ เท็ดดี้เองครับบบบบบบ

สังคมควรจะปลูกฟังเด็กให้รู้จักเสียสละอดทนและเคารพกฏต่างๆแต่พ่อแม่และอาจารย์ควรสั่งสอนให้จำแต่ส่วนนึงเิองก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองด้วยว่าจะพยายามและอดทนที่จะทำแค่ไหนเพราะถ้าผู้เรียนไม่พยายามและอดทนถึงแม้พ่อแม่ครูอาจารย์พยายามแค่ไหนแต่ถ้าเด็กไม่ทำก็ไม่มีประโยชน์ดังนั้นวิธ๊ที่จะทำ

ก้คือผุ้เรียนจะต้องปรับนิสัยเอาเองมากว่าแต่ครุก้ควรช่วยด้วยแม้จะไม่สำเร้จก้ตาม

(ยศ เบญจรุราวงศ์ เท็ดดี้เองครับบบบบบบ

<p>สังคมควรจะปลูกฟังเด็กให้รู้จักเสียสละอดทนและเคารพกฏต่างๆแต่พ่อแม่และอาจารย์ควรสั่งสอนให้จำแต่ส่วนนึงเิองก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองด้วยว่าจะพยายามและอดทนที่จะทำแค่ไหนเพราะถ้าผู้เรียนไม่พยายามและอดทนถึงแม้พ่อแม่ครูอาจารย์พยายามแค่ไหนแต่ถ้าเด็กไม่ทำก็ไม่มีประโยชน์ดังนั้นวิธ๊ที่จะทำ ก้คือผุ้เรียนจะต้องปรับนิสัยเอาเองมากว่าแต่ครุก้ควรช่วยด้วยแม้จะไม่สำเร้จก้ตาม

(ยศ เบญจรุราวงศ์ เท็ดดี้เองครับบบบบบบ)

วรัทยา เสรีภาพงศ์

ในปัจจุบันนิสัยของคนในด้านต่างๆได้เปลี่ยนไปเนื่องจากสังคมของคนในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน คนแต่ก่อนอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้องช่วยเหลือกันเสมอโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ กฎระเบียบต่างๆเมื่อทำผิดก็ยอมรับ แต่ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะทำอะไรต้องหวังสิ่งตอบแทนเสมอ กฎระเบียบต่างๆที่ตั้งไวก็ไม่เกรงกลัวโดยกระทำวิธีต่างๆให้ตนเองพ้นผิดไปได้ดังนั้นในปัจจุบันเราควรมีการสร้างจิตสำนึกที่ดีๆโดยเริ่มจากเด็กเล็กเนื่องเด็กจะสามารถเรียนรู้และเชื่อฟังมากกว่าผู้ใหญ่ที่เติบโตมาในสังคมในยุคปัจจุบันนี้แต่การที่เราจะสอนเด็กนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะในวัยเด็กส่วนใหญ่เด็กทุกคนก็ไม่ชอบการสอนแบบตรงๆเราจึงสามารถปรับเปลี่ยนโดยทำเป็นหนังสือการ์ตูนหรือจะเป็นเกมต่างๆที่เด็กๆชอบแต่อาจมีการสอดแทรกแนวคิดต่างๆลงไปไม่ต้องมากเพราะจะทำให้เบื่อได้แต่ใช้การสะสม ส่วนการศึกษานั้นคุณครูก็ต้องสอนให้นักเรียนได้มีจิตสำนึกโดยการพูดให้เห็นประโยชน์และผลที่ตามมาโดยอาจยกตัวอย่างได้แต่ที่สำคัญคุณครูก็ต้องเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียนด้วยเช่นกัน ส่วนสังคมที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากที่สุดก็คือครอบครัวโดยคุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังเด็กตั้งแต่เล็กๆให้รู้ถึงคุณค่าความสำคัญและผลดีๆต่างๆที่ตามมาด้วย ไม่ควรใช้อารมณ์ในการสอนควรใช้เหตุและผลเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็ก ส่วนด้านกฎหมายและมาตรการต่างๆของรัฐบาลก็ควรเข้มงวดมากกว่านี้และมีตำรวจที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงานซึ่งสิ่งเท่านี้ถ้าทุกคนทำได้สังคมเราในปัจจุบันก็จะมีแต่คนดีๆไม่เห็นประโยชน์ตัวเองมากกว่า ทุกคนในสังคมมีความรักใคร่กันช่วยเหลือกันโดยไม่หวังผลตอบแทนและทำตามกฎระเบียบที่ตั้งไว้ทุกประการ(ด.ญ.วรัทยา เสรีภาพงศ์ ม.2/3 เลขที่25)

เท่าที่ได้อ่านมา นักเรียนได้สะท้อนแง่คิดให้ครูได้คิดดีมากครับ หลายคนคงเห็นเหมือนกันว่า สิ่งที่จะทำให้ "พันท้ายนรสิงห์" ยุคใหม่เกิดขึ้น ก็คือการที่ครอบครัวและสังคม เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน ครูอาจารย์ที่สอนก็จะต้องให้เด็กได้เห็น ได้ตระหนักและได้ลงมือปฏิบัติ คนที่จะเข้ามาเขียนต่อไป ก็ขอให้แสดงความคิดอย่างเต็มที่และพยามเสนอตัวอย่างใหม่ๆ ให้หลากหลายขึ้นนะครับ แล้วครูจะเข้ามาช่วยอ่านและประเมินด้วย

การที่พันท้ายนรสิงห์ยอมสละชีวิติเพื่อการจะกระทำตามบนกฏมณเทียนบานที่พันท้ายนรสิงห์ได้ทำหัวเรือหักเพราะเขาต้องการช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ที่คอบช่วยเหลือพันท้ายนรสิงห์มาตลอด การกระทำแบบนี้ทำให้ฉันคิดว่าการที่เราจะมีสังคมที่ดีได้นั้นต้องเริ่มจากที่ตัวเอง ไม่มีใครคอยช่วยเหลือเราได้ตลอด เราควรพัฒนาจากการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นการศึกษาออกกฏ การศึกษาอย่างบังคับและเข้มงวดเพื่อว่าเด็กของเราจะไม่ออกนอกลู่นอกทางเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งรอบข้างที่มีอยุ่ในสังคมบัจจุบันนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆเลยอบ่างเหตุการที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่ไม่นานมานี้เลย อย่างการเกิดเหตุการเครื่องบินแบ็กฮอกตก 3 ลำ

ครั้งแรกมีผู้เสียชีวิต 5 คน ครั้งที่สอง 7คน ครั้งที่สาม 9 คน ในการสำรวจครั้งที่สามนั้น พลตรีตะวันซึ่งเป็นผู้บังคับบันชาการอากาศได้ลงสำรวจเพื่อหาผู้เสียชีวิติ 2 ลำแรกพวกเขาได้ยึดมั่นกับคำพูดนี้ไว้ว่าสภาพอากาศมันอันตรายนะทุกวินาทีที่เดินทางอาจจะเกิดอุบัติเหตุตอนไหนก็ม่ายรู้หรืออาจจะไมีมีชีวิตลอดกลับมาอีกก็ได้ แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าพวกเขาจะหาเครื่องบินที่ตก 2 ลำแรกให้พบให้ได้ พวกเขายอมเสียสละตัวเองเพื่อเข้าช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเครื่อบินตกที่แก่งกระจานแต่พวกเขาก็พยายามสุดความสามารถที่พวกเขาจะทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิติทั้งหมดแต่เป็นที่น่าเสียใจคือเครื่องบินลำที่สามที่พลตรีตะวันได้ขึ้นไปด้วยนั้นตอนเดินทามงน่าจะถูกหมอกบังหนาแน่นแทบจะมองไม่เห็นอารายเลยพวกเขาก็ฝ่าหมอกไปช่วยให้ได้ไม่ว่าชีวิตของเราจะเป็นยังไงก็ตาม

แต่การตายของพวกเขาทำให้ฉันคิดว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนพ้องที่มีปัญาหาหรือกำลังประสบปัญหาอยุ่ก็ตาม พวกเขาก็พยายามอ้างแขนรับความหวังนั้ที่จะทำให้สำเร็จ ไม่ว่าชีวิติพวกเขาอาจจะไม่มีชีวิติรอดกลับมาอีกก็ได้

ในการกระทำนี้แสดงให้เห็นว่าเราควรเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยคของส่วนตนเองเป็นหลักเพื่อจะพัฒนาประเทศชาติให้ยั่งยืนก้าวหน้าและแข็งแรงต่อไป

( ด.ญ.สร้อยทับทิม อุดมรัตน์นุภาพ ม2/3 เลขที่32 ) ฮิฮิ

ในสังคมไทยตอนนี้ ควรจะปลูกฝังเด็กตั้งแต่เล็กๆเรื่องความซื่อสัตย์ รู้จักเสียสละอดทน ไม่ใช่โกหกพกลมไปวันๆ สอนให้รู้จักการคบเพื่อน แต่ไม่ควรบังคับให้เขาทำตามที่เราสั่งอย่างเดียว ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเองบ้าง หรือให้ดูคนอื่นเป็นตัวอย่างโดยอย่างเช่นใช้สื่อการเรียนการสอนที่ดีเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ไม่ใช่ให้แต่สื่อที่ไม่ดีให้แก่ผู้เรียนนั่งดู โดยสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อตัวผู้เรียนได้เช่นกัน

(อรจิราเจ้าค่ะ เจ๊อรเอ๊งงงงง=w=)

ถึง สร้อยทับทิมนะครับ

ตรวจสอบข้อมูลนะครับ พล.ต. ตะวัน ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ลำที่ 2 ครับ ท่านจะไปนำผู้เสียชีวิตจาก ฮ.ลำแรกกลับออกมา ทำให้ตัวเองต้องประสบอุบัติเหตุตามไปด้วย

ค่ะอาจารย์เดี๋ยวหนูจะเขียนมาส่งใหม่วันศุกร์

ในสังคมไทยสมัยนี้คนดีมีน้อยคนเห็นเเก่ตัวมีมากเห็นได้จากการนั่งรถเมย์ เพราะคนรถเมย์จะมีป้ายบอกโปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็กสตรีและคนชราเเต่เเถบจะไม่มีใครลุกให้คนเเก่ ในความมืดก็ต้องมีเเสงสว่างก็จะต้องมีคนเสียสละให้คนเเก่นั่งคนๆนั่นจะเป็นคนที่ผมชอบมาก ส่วนพันท้ายนรสิงห์เป็นคนที่ห่วงใยคนอื่นมากกว่าตัวเองเสียอีกดูจากการที่เขาทำก็น่าจะรู้ เเม้ตัวตายเเต่ทำให้คนอื่นรอดก็ยอมไม่งั้นคงจะไม่มีคนพูดถึงพันท้ายนรสิงห์ ถ้าอ่านในเรื่องพระมหากษัตริย์ไม่อยากจะประหารพันท้ายนรสิงห์ เพราะคงจะหาคนที่มมีความซื่อสัตย์ขนาดนี้ได้ยากเเต่ในสมัยก่อนส่วนมากทุกคนรักชาติของตัวเองไม่ขายชาติเเต่เมื่อกฏหมายบ้านเมืองมีก็ต้องทำตามกฏไม่งั้นคงมีคนเอาอย่าง สุดท้ายนี้เราก็เห็นความเสียสละของคนไทยด้วยกัน

"จากณัฐคมน์ บุญบำรุง" เเละshadowmos 555

ด.ช.ปารณัท อุดมสันติสุข

ในปัจจุบันคนในประเทศไทยได้มีนิสัยที่เห็นเเก่ตัวเช่นจากข่าวที่ตํารวจรับเงินจากผู้ที่ทําผิดทําให้คนที่ทําผิดไม่โดนลงโทษคนที่ทําผิดก็จะทําต่อไปทําให้ประเทศไม่เจริญก้าวหน้า เเต่พันท้ายนรสิงห์ได้ยอมตายเพื่อให้กฎมณเฑียรบาลศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงควรหาวิธีแก้ไขต่างๆเช่นปลูกฝังตั้งเเต่ยังเด็กเรื่องการเห็นต่อส่วนรวมมากกว่าตนเองทั้งที่บ้านเเละที่โรงเรียนเเละทํากิจกรรมต่างๆ สอนให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าเช่นพาเด็กไปเลี้ยงอาหารตามสถานเลี้ยงเด็กกําพร้าต่างๆ หรือโรงเรียนพาเด็กไปบําเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม น่าจะทําให้เด็กเห็นเเก่ส่วนรวมมากขึ้น

(ด.ช.ปารณัท อุดมสันติสุข ม.2/3 เลขที่17)

เบญญาภา โรจน์รุ่งฤกษ์

ในปัจจุบันประเทศไทยของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมากมาย ซึ่งสาเหตุหลักก็อาจจะมาจากประชากรที่มีมากขึ้นจนต้องแก่งแย่งกันในเรื่องต่างๆ ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องเห็นแก่ตัวเพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตรอดในสังคมจนอาจจะต้องละเมิดกฎเกณท์หรือระเบียบเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็ก อาจจะทำให้เด็กคิดว่าการละเมิดกฎก็ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ซึ่งเด็กก็จะจดจำและนำมาปฏิบัติในอนาคตและก็ยังคงเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่เด็กรุ่นต่อๆไป ซึ่งผลกระทบคือทำให้กฎระเบียบไม่มีความสำคัญและไม่มีใครเกรงกลัว มีคนละเมิดกฎมากขึ้นทำให้สังคมไทยยุ่งเหยิง สิ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้และสร้างคนแบบพันท้ายนรสิงห์ขึ้นมาได้คือปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี ควรสั่งสอนให้เด็กรู้ถึงจุดประสงค์ที่โลกจำเป็นต้องสร้างกฎระเบียบขึ้นมา และสอนให้เด็กได้รู้ว่าการละเมิดกฎจะส่งผลเสียอย่างไรให้กับประเทศชาติ ไม่เห็นแก่ตัวควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมด้วย ซึ่งถ้าเด็กได้เติบโตขึ้นมาแล้วก็จะสามารถปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎระเบียบ ไม่เห็นแก่ตัวและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กรุ่นต่อๆไปได้

(เบญญาภา โรจน์รุ่งฤกษ์ เลขที่ 15)

กรวิชญ์ หล่อโลหการ

จากการที่พันท้ายนรสิงค์ยอมตายตามกฎมนเทียนบานแสดงว่าพันท้ายนรสิงค์รู้จักสำนึกผิดจากการที่เขาได้ทำหัวเรือพระที่นั่งหักโดยคนในสมัยนี้ไม่รู้จักสำนึกผิดสังเกตจากนักโทษที่ถูกประกันตัวออกมาแล้วก็ยังทำชั่วอีกดังนั้นเราควรปลูกฝังเด็กให้รู้จักสำนึกผิดโดยการคุยด้วยเหตุผลมากกว่าการทำโทษเด็กแรงๆ พันท้ายนรสิงค์ยอมตายตามกฎมนเทียนบานเพื่อทำให้พระเจ้าเสือไม่ถูกนินทาว่าไม่ยุติธรรมและทำเพื่อรักษาความศักสิทธิ์ของกดหมายแสดงให้เห็นว่าพันท้ายนรสิงค์มีความเสียสละ จงรักภักดีคือเขายอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาความศักสิทธิ์ของกดหมายและทำให้พระเจ้าเสือไม่ถูกนินทาซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดีไม่เหมือนคนไทยสมัยนี้ที่ไม่มีความเสียสละต่อส่วนรวม เข้าสภาไปก็กินแต่อำนาจ ไม่เสียสละทำงานเพื่อส่วนรวม โกงกินประเทศชาติ หันไปนับถือเงินเป็นพระเจ้าจึงใช้เงินทำให้กฎหมายไม่ศักสิทธิ์โดยการติดสินบน เมื่อกฎหมายไม่ศักสิทธิ์แล้ว กษัตริย์ก็ปกครองไม่ได้ ก็เท่ากับว่าไม่มีความจงรักภักดี

ในปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นเหลือคนอย่างพันท้ายนรสิงห์น้อย เนื่องจากสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน เช่น ระบอบการปกครอง ครอบครัว การทำงาน เป็นต้น

ทำให้ประเทศไทยของเราไม่น่าอยู่เหมือนเดิม แต่เราสามารถแก้ไขได้โดยการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนรุ่นหลัง คือ ให้เยาวชนนั้นได้รับรู้ถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ โดยการจัดการเรียนการสอน หรือ ยกตัวอย่างสิ่งที่ควรจะทำให้กับประเทศชาติ บุคคล

สำคัญที่มีผลต่อการสร้างเยาวชนแบบพันท้ายนรสิงห์ คือ บุคคลรอบข้างของเยาวชน เช่น ผู้ปกครอง อาจารย์ ต้องคอยอบรม

สั่งสอน ให้เด็กทำตามกฎ เพราะ ปัจจุบันมีกฎหมายแต่ไม่มีใครทำตาม คอยตักเตือนว่าเราควรทำความดีทดแทนประเทศ บอกให้เด็กได้รู้ว่าประเทศนั้นดีต่อเราแค่ไหน เมื่อเราปลูกฝังเด็กไปเรื่อยๆเด็กก็จะเริ่มมีความคิดคล้ายพันท้ายนรสิงห์

ด.ช.สรวิชญ์ สิงหถนัดกิจ

คนสมัยใหม่นั้นถือประโยชน์ส่วนตนเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมทำให้เกิดการทะเลอะเบาะแว้งกันมากขึ้น เพราะ ความเห็นแก่ตัว และ เมื่อเกิดการทำผิด ผู้กระทำผิดนั้นมีการติดสินบนต่างๆเพื่อให้ตนเองพ้นความผิด แต่จะเป็นการไม่รักษากฎหมายทำให้กฎหมายหมดความศักดิ์สิทธิ์และทำให้เกิดการทำผิดกฎหมายมากมาย เช่น การก่อการร้าย โจรปล้นต่างๆนานาเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสังคมรุ่นใหม่ควรที่จะมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้มากขึ้น และลดความเห็นแก่ตัวลงโดย เริ่มจากตนเองได้โดยในสังคมเล็กๆคือ ครอบครัวต้องรักษากฎที่ทางครอบครัวได้ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กในครอบครัว เพราะ เด็กจะซึมซับและที่ตามคนในครอบครัว คือ ถ้าครอบครัวสอนมาไม่ดีเด็กโตขึ้นไปก็จะเป็นคนเลวในสังคมได้ แต่ถ้าครอบครัวสอนมาดีเด็กก็มีโอกาศเป็นคนดีในสังคมได้(ถ้าเด็กเชื่อฟังและไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเกมที่ใช้ความรุนแรงมากเกินไป) ต่อมาเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเป็นโรงเรียนโดยครูมีหน้าที่ในการปลูกฝังนักเรียนให้เป็นคนดี มีความรับผิดชอบและถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ต่อมาหมู่บ้าน สังคม และ ประเทศชาติ ตามลำดับ โดยทำเป็นประจำและทำอย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้บ้านเมืองก็จะสงบสุข

(ด.ช.สรวิชญ์ สิงหถนัดกิจ ม.2/3 เลขที่31)

คนในสมัยนี้ไม่เห็นถึงส่วนรวมเห็นแก่ส่วนตัวมากกว่า จึงหาคนที่เหมือนพันท้ายนรสิงห์ ได้ยากเพราะในสมัยนี้แตกต่างจากสมัยก่อนทุกคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากกว่าดูแลส่วนรวม เช่นในสมัยนี้กฎหมายดูจะมีอำนาจน้อยกว่าเงินเพราะเงินสามารถจ่ายเงินเพื่อทุกสิ่งและเพื่อแลกกับอีกสิ่งหนึ่งได้ ถ้าเป็นแบบนี้กฎหมายก็ไร้ค่าแตกต่างจากในสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง เพราะในสมัย

พระเจ้าเสือ กฎมณเฑียรบาลสำคัญที่สุด ทุกคนต้องเคารพแม้ว่าเราจะเป็นคนสนิทหรือคนที่รู้จักกับพระเจ้าเสือเมื่อยามทำผิดก็ต้องบังคับตามกฎไม่มีข้อยกเว้น เพราะนั้นเราควรจัดการการศึกษาให้เด็กทุกคนเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเข้าใจและยอมรับในกฎหมายบ้านเมือง เหมือนในสมัยพระเจ้าเสือ ควรสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นคนที่เห็นแก่ส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความซื่อสัตย์ยอมรับที่ตัวเองทำผิด ให้ทุกฝ่ายมาช่วยกัน เช่น สถาบันครอบครัว เป็นแหล่งที่สำคัญเพราะอยู่ใกล้เยาวชนมากที่สุด ควรปลูกฝังเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง,โรงเรียนก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ช่วยสอนให้นักเรียนได้รับความรู้เหล่านี้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดเราควรเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ในทุกๆด้านเพื่อเป็นรากฐานที่ดีให้ประเทศไทยต่อไปในภายภาคหน้า

ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ด้วยสภาวะของเศรษฐกิจและการดำรงชีพที่ยากลำบากมากขึ้นทำให้คนในสังคมมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นเช่นกัน ผมคิดว่าควรมีการพัฒนาการศึกษาที่มุ่งเน้นหลักหน้าที่ของพลเมืองที่ดีโดยประการแรกสอนให้นักเรียนมีความผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามรถ เฉกเช่นกับพันท้ายนรสิงห์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือก็ตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นตามกำลังความสามารถของตนเอง ประการที่สองสอนให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและประเทศชาติ ประการที่สาม สอนให้นักเรียนมีความกล้าที่รับผิดต่อสังคมในสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาดไปทั้งที่เจตนาหรือไม่ก็ตาม ดังเช่นพันท้ายนรสิงห์เมื่อตนทำให้โขนเรือพระที่นั่งหักก็แสดงเจตนาที่จะรับโทษจากพระเจ้าเสือ แสดงถึงจิตใจที่เคารพต่อกฎมณเฑียนบาลยอมรับอาญาของแผ่นดินโดยไม่ร้องขอต่อชีวิต กล่าวโดยสรุปคือถ้าคนในสังคมไทยมีความรับผิดต่อหน้าที่ตนเอง ปฏิบัติงานด้าวยความซื่อสัตย์สุจริตเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองเมื่อตนทำผิดก็กลับมารับอาญาของแผ่นดินไม่ใช้อำนาจของตนเองในทางที่ผิด บ้านเมืองก็จะสงบสุข

(ด.ช. พิสิษฐ์ นีลดานุวงศ์ ม.2/3 เลขที่21)

จากเรื่องพันท้ายนรสิงค์สื่อถึงบุคคลหนึ่งที่มีความซื่อสัตย์ และถึงจะมีการละเว้นโทษให้แต่เขาก็ยังคงยอมรับโทษเหมือนเดิม

ซึ่งในปัจจุบันบุคคลเช่นนี้หายากมากขึ้น เพราะคนสมัยนี้มักเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ทำให้สังคมเสื่อมเสีย

ลงทุกวัน และนิสัยเช่นนี้มีทั้งผู้ใหญ่จนไปถึงเด็ก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการดูแล เพราะฉะนั้นสังคมเราต้องปลูกฝัีงเด็กไม่ให้เด็กมีนิสัยเอาแต่ใจ เริ่มต้นจากครอบครัว โรงเรียน จนไปถึงสังคมทั่วไป เท่านี้บ้านเมืองก็จะมีแต่บุคคลที่นิสัยคล้ายกับพันท้ายนรสิงค์ และทำให้บ้านเมืองน่าอยู่อีกด้วย

(ด.ช.กัญจน์ ตรงนำชัย เลขที่ 3)

เสร็จแล้วโว้ย

การที่พันท้ายนรสิงห์ยอมตาม เพื่อต้องการให้เห็นว่ากฎมณเฑียรบาลนั้นสักสิทธิ์ เเม้เป็นคนสนิทของพระมหากษัตริย์ก็ต้องรับโทษ เเละต้องการไม่ให้พระเจ้าเสือถูกนินทา ในปัจจุบันการที่จะสร้างคนให้มีความเคร่งครัดในกฎเหมือนพันท้ายนรสิงห์นั้น เมืองนั้นทุกคนจะตองปฏิบัติตามกฎ มีกฎหมายที่เคร่งครัด เเละทุกคนต้องเห็นเเก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  เเต่ถ้านักการเมืองหรือข้าราชการที่เข้าไปในรัฐบาล เพื่อหาประโยชน์ส่วนตน ถ้าจับได้เเต่ข้าราชการหรือนักการเมืองกลับติดสินบนก็เเสดงว่านักการเมืองคนนั้นไม่เห็นความสำคัญของกฎ เเละถ้าเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของรัฐรับค่าสินบนเจ้าหน้าที่คนนั้นไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย จึงทำให้กฎหมายของประเทศนั้นหละหลวมคนในประเทศไม่เห็นความสัมคัญของกฎหมาย ดังนันต้องสอนเยาวชนให้เห็นผลร้ายของการไม่ปฏิบัติตามกฎเเละลงโทษเพื่อให้เยาวชนรู้ว่า "ถ้าทำผิดก็จะต้องได้รับโทษ" ดังนั้นเราจึงควรมีความซื่อสัตย์ รู้พระคุณของผู้มีอุปการะคุณทุกท่านปฏิบัติตามกฎ เเละปฏิบัติตามกฎ ( ด.ช. ปวริศ วรินรำไพ ม.2/3 เลขที่ 16)

การจะทำให้คนมีความคิดที่ว่าสังคมนั้นสำคัญกว่าเรื่องส่วนตัว ประการแรกควรได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้เป็นบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ให้เห็นถึงการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่ยึดถือตนเองเป็นหลักเสียก่อน ประการที่สองโรงเรียนควรจัดหากิจกรรมส่วนรวม ให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนพี่หรือน้อง สานสัมพันธ์ไมตรี ปลูกฝังจิตอาสาให้นักเรียน รู้จักการเสียสละและให้อภัย ประการที่สามผู้มีอำนาจทางการเมืองควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เคารพกฎหมาย ไม่ติดสินบนหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และประการที่สี่คนเราควรจะมีจิตสำนึกที่จะทำประโยชน์ให้สังคม หากประชาชนไม่รู้จักการมีสำนึก สังคมก็จะมีแต่คนที่เห็นแก่ตัว ดังนั้น การสร้างคนแบบพันท้ายนรสิงห์ สิ่งสำคัญควรเริ่มที่จิตใจเสียก่อน หากเราทุกคนอย่างให้สังคมอยู่กันอย่างมีความสุข คนเราก็ควรจะยอมสละฐิถิหรือความคิดที่ทำให้เกิดปัญหาของทุกคนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้งหมด สังคมจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (ด.ช. พลัฏฐ์ สาสิงห์ ม.2/3 เลขที่18)

พันท้ายนรสิงห์เป็นบุคคลที่ควรยกย่องที่ว่าท้านนั้นได้ซื่อตรงต่อกฎมนเทียนบาลซึ่งคนในสมัยนี้หาได้ยากซึ่งการทำให้คนเป็นแบบ

พันท้ายนรสิงห์ต้องตั้งอยู่ในกฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่มีการทุจริตต่อหน้าที่โดยเริ่มจากครอบครัวและเยาวชนไปสู่สังคมเเละประ-

เทศชาติ ต้องมีการศึกษาแบบเคร่งครัดให้ว่า่"ให้นึกถึงประโยชน์ของสังคมก่อนเเล้วค่อยนึกถึงประโยชน์ส่วนตน"โดยเริ่มจากตัว-

เองเช่นการทำประโยชน์เล็กๆให้สังคมและแนะนำให้น้อง-เพื่อนๆ-ญาติ-คนอื่นๆเแล้วไปเรื่อยๆจนถึงประเทศชาติสู่ประเทศชาติ

ยกตัวอย่างเช่น สร้างโครงการยกเลิกการทุจริตและการรับสินบน,สร้างโฆษณา,เครื่อข่ายเสริมสร้างคุณงามความดี เป็นต้น

(ด.ช.ชยธร เจริญรัตน์ ม.2/3 เลขที่7)

น่าเสียดายในปัจจุบันสังคมไทยของพวกเรานั้นไม่ค่อยที่จะมีตัวอย่างที่ดีอย่างพันท้ายนรสิงห์มากนักเพราะสมัยนี้มีแต่ความมักง่าย เอาเปรียบผู้อื่น เห็นแก่ตัว และไม่ใส่ใจในกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่ตั้งไว้ ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้ในสื่อต่างๆโดยจะเห็นว่าคนที่มีฐานะร่ำรวยก็มักที่จะใช้อำนาจเงินในการต่อรองและการตัดสินปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองพ้นผิดและไม่ต้องรับการลงโทษใดๆได้ เพราะฉะนั้นพวกเราควรเอาเยี่ยงอย่างพันท้ายนรสิงห์ กันบ้าง เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากตัวเราและครอบครัวของเราก่อน แล้วค่อยๆไปยังคนที่อยู่รอบข้างและสังคมก็จะเริ่มค่อยๆพัฒนาขึ้นไปตามลำดับ

(ชนัญญา สว่างคง ม.2/3 เลขที่6)

อภิเศรษฐ์ วงศ์ธานุวัฒน์

ทำอย่างไรให้คนสมัยนี้เป็นเหมือนพันท้ายนรสิงห์

1. เราต้องสอนคนสมัยนี้มีความเคารพต่อกฎหมายและขัดหรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างในการทำผิดและเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไป

2. จากนั้นก็ปลูกฝังเด็กตั้งแต่เล็กเพื่อให้มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

3. และถ้าเราทำผิดเราก็ควรรับผิดตามโทษไม่ใช่คิดว่าเราเป็นเพื่อนกับคนใหญ่คนโตแล้วจะไม่โดนลงโทษหรือได้รับการยกเว้น นอกจากนี้เราก็ควรรับผิดตั้งแต่ตอนแรกเลยก่อนที่จะต้องให้เรียกมาลงโทษ

4. คนสมัยนี้ควรทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด ไม่ว่างานนั้นจะเป็นอย่างไรก็ต้องทำอย่างสุดความสามารถ

5. พ่อแม่ควรสอนว่าการทำผิดเราต้องรับโทษไม่ใช่ปล่อยให้เรื่องมันเลือนหายไป หรือ ใช้ตัวอย่างจาการทำผิดนั้นให้เป็นตัวอย่างหรือกรณีศึกษา

6. เราต้องตั้งใจในการทำงานและทำให้ดีที่สุด

การที่พันท้ายนรสิงห์ยอมสละชีวิติเพื่อการจะกระทำตามบนกฏมณเทียนบานที่พันท้ายนรสิงห์ได้ทำหัวเรือหักเพราะเขาต้องการช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ที่คอบช่วยเหลือพันท้ายนรสิงห์มาตลอด การกระทำแบบนี้ทำให้ฉันคิดว่าการที่เราจะมีสังคมที่ดีได้นั้นต้องเริ่มจากที่ตัวเอง ไม่มีใครคอยช่วยเหลือเราได้ตลอด เราควรพัฒนาจากการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นการศึกษาออกกฏ การศึกษาอย่างบังคับและเข้มงวดเพื่อว่าเด็กของเราจะไม่ออกนอกลู่นอกทางเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งรอบข้างที่มีอยุ่ในสังคมบัจจุบันนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆเลยอบ่างเหตุการที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่ไม่นานมานี้เลย อย่างการเกิดเหตุการเครื่องบินแบ็กฮอกตก 2 ลำ

ครั้งแรกมีผู้เสียชีวิต 5 คน ครั้งที่สองเป็นครั้งที่พลตรีตะวันเครื่องบินตกลำที่ 2 จำนวน 9 คน ในการสำรวจครั้งที่สามนั้น พลตรีตะวันซึ่งเป็นผู้บังคับบันชาการอากาศได้ลงสำรวจเพื่อหาผู้เสียชีวิติ 1 ลำแรกพวกเขาได้ยึดมั่นกับคำพูดนี้ไว้ว่าสภาพอากาศมันอันตรายนะทุกวินาทีที่เดินทางอาจจะเกิดอุบัติเหตุตอนไหนก็ม่ายรู้หรืออาจจะไมีมีชีวิตลอดกลับมาอีกก็ได้ แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าพวกเขาจะหาเครื่องบินที่ตก 1 ลำแรกให้พบให้ได้ พวกเขายอมเสียสละตัวเองเพื่อเข้าช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเครื่อบินตกที่แก่งกระจานแต่พวกเขาก็พยายามสุดความสามารถที่พวกเขาจะทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิติทั้งหมดแต่เป็นที่น่าเสียใจคือเครื่องบินลำที่สามที่พลตรีตะวันได้ขึ้นไปด้วยนั้นตอนเดินทามงน่าจะถูกหมอกบังหนาแน่นแทบจะมองไม่เห็นอารายเลยพวกเขาก็ฝ่าหมอกไปช่วยให้ได้ไม่ว่าชีวิตของเราจะเป็นยังไงก็ตาม

แต่การตายของพวกเขาทำให้ฉันคิดว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนพ้องที่มีปัญาหาหรือกำลังประสบปัญหาอยุ่ก็ตาม พวกเขาก็พยายามอ้างแขนรับความหวังนั้ที่จะทำให้สำเร็จ ไม่ว่าชีวิติพวกเขาอาจจะไม่มีชีวิติรอดกลับมาอีกก็ได้

ในการกระทำนี้แสดงให้เห็นว่าเราควรเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยคของส่วนตนเองเป็นหลักเพื่อจะพัฒนาประเทศชาติให้ยั่งยืนก้าวหน้าและแข็งแรงต่อไป

( ด.ญ.สร้อยทับทิม อุดมรัตน์นุภาพ ม2/3 เลขที่32 )

ยอดพธู ศิริปิยะวัฒน์

ทำอย่างไรเมื่อคนสมัยนี้เป็นอย่างพันท้ายนรสิงห์

1.เราควรบอกเขาว่าเราต้องทำตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เขามีให้ เพราะถ้าเราไม่มีกฎคนก็ชอบทำตามใจตัวเองอย่างไม่มีกฎระเบียบ ประเทศชาติก็จะล่มสลายหรือไม่เจริญก้าวหน้า

2.ผู้ใหญ่ในสมัยนี้ควรอบรมสั่งสอนเด็กเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและรู้ถึงผลเสียของการที่ไม่ทำตามกฎหมาย และผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่่างที่ดีให้กับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ทำไม่ดีเด็กก็จะลอกเลียนแบบสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

3.เราไม่ควรต่อรองกับกฎหมายหรือข้อบังคับ เช่น ใช้เงินประกันตัวเพื่อไม่ให้ติดคุก หรือจ้างตำรวจเพื่อปล่อยคนที่เราไม่อยากให้ติดคุก เพราะเงินเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย ถึงเราจะมีไม่มีเงินแต่ถ้าไม่ทำอะไรผิดเราก็ไม่โดนจับเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด อีกตัวอย่างหนึ่งคือถึงจะมีเงินมากแค่ไหนแต่ถ้าทำอะไรผิดทั้งๆที่มีเงินมากแต่ถูกจับเพราะทำผิด

ดังนั้น กฎหมายไม่เกี่ยวกับฐานะของคน ไม่ว่าจะรวยจะจนถ้าทำผิดก็ต้องรับโทษ

ด.ญ.ยอดพธู ศิริปิยะวัฒน์ ม.2/3 เลขที่24

ยอดพธู ศิริปิยะวัฒน์

ทำอย่างไรเมื่อคนสมัยนี้เป็นอย่างพันท้ายนรสิงห์

1.เราควรบอกเขาว่าเราต้องทำตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เขามีให้ เพราะถ้าเราไม่มีกฎคนก็ชอบทำตามใจตัวเองอย่างไม่มีกฎระเบียบ ประเทศชาติก็จะล่มสลายหรือไม่เจริญก้าวหน้า

2.ผู้ใหญ่ในสมัยนี้ควรอบรมสั่งสอนเด็กเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและรู้ถึงผลเสียของการที่ไม่ทำตามกฎหมาย และผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่่างที่ดีให้กับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ทำไม่ดีเด็กก็จะลอกเลียนแบบสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

3.เราไม่ควรต่อรองกับกฎหมายหรือข้อบังคับ เช่น ใช้เงินประกันตัวเพื่อไม่ให้ติดคุก หรือจ้างตำรวจเพื่อปล่อยคนที่เราไม่อยากให้ติดคุก เพราะเงินเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย ถึงเราจะมีไม่มีเงินแต่ถ้าไม่ทำอะไรผิดเราก็ไม่โดนจับเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด อีกตัวอย่างหนึ่งคือถึงจะมีเงินมากแค่ไหนแต่ถ้าทำอะไรผิดทั้งๆที่มีเงินมากแต่ถูกจับเพราะทำผิด

ดังนั้น กฎหมายไม่เกี่ยวกับฐานะของคน ไม่ว่าจะรวยจะจนถ้าทำผิดก็ต้องรับโทษ

ด.ญ.ยอดพธู ศิริปิยะวัฒน์ ม.2/3 เลขที่ 24

วิญริญา เปรมานนท์

การที่พันท้ายนรสิงห์ ยอมทำตามกฏนั้น(ยอมตาย)เพื่อต้องการรัษากฏไว้และต้องการทำตามกฏมณเฑียรบาลที่บรรพระบุรุษตั้งเอาไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นถึงคนสนิดของพระมหากษัตริย์แต่ก็ยังคงต้องรับโทษตามกฏ แต่ในยุคสมัยนี้สังคมสมัยนี้แค่กฏระเบียบในถนนกฏจราจรยังไม่มีใครทำตามกันเลยอาจจะเป็นเพราะกฏไม่เคร่งครัดพอและตำรวจบางครั้งก็ทำหน้าที่ไม่เต็มที่พอคนจึงละเลยในกฏระเบียบได้ง่ายและบ่อย ดังนั้นฉันจึงคิดว่าขนาดพระเจ้าเสือบอก พูด และหาวิธีต่างๆให้แล้วก็ยังไม่ยอมยังต้องการทำตามกฏคือการคิดถึงส่วนรวม สังคมก่อน ฉันจึงคิดว่าควรให้คนต่างๆได้รับรู้และเข้าใจสังคม คนรอข้างมากขึ้น และทำกฏต่างๆให้เคร่งครัดและน่านับถือมากๆคนเขาะได้เชื่อและทำตามกฏ

(วิญริญา เปรมานนท์ ม.2/3 เลขที่27)

ศศิกานต์ กีรติประภากุล

การที่จะสร้างคนแบบพันท้ายนรสิงห์ต้องเริ่มที่ สังคมที่มีกฎระเบียบและยึดมั่นในกฎหมาย ไม่มีการยกเว้นบุคคลที่กระทำต่อกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีฐานะทางสังคมเช่นไรและมีอำนาจแค่ไหนเมื่อทำผิดก้อต้องโดนลงโทษและมีสามัญสำนึกต่อความผิดที่กระทำลงไป ส่วนการศึกษานั้นต้องสอนเด็กให้รู้ถึงกฎระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น แล้วยอมรับในการกระทำของตนเองไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน วิธีการคือ เริ่มที่ครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดในสังคม สอนให้เด็กรู้จักธรรมมะ เพื่อน้อมนำจิตใจ ให้เด็กรูจักเกรงกลัวต่อบาปหรือการกระทำของตัวเองที่มันผิด เคารพต่อผู้อื่นรู้จักหน้าที่ของตนเองไม่ทำสิ่งด้ที่ไม่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักการให้อภัยและยอกรับผิดเมื่อตนเองทำผิดผลาด เพื่อต่อไปโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาจะได้รับผิดชอบเมื่ออยู่ในสังคมที่ใหญ่ขึ้นภายในภาคหน้า

(ด.ญ.ศศิกานต์ กีรติประภากุล ม.2/3 เลขที่29 )

พันท้ายนรสิงห์เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ในกฏมณเฑียรบาล โดยยอมที่จะถูกประหารชีวิตเพื่อรักษากฏมณเฑียรบาลเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฏมณเฑียรบาล คนเดี่ยวนี้หาคนที่ซื่อสัตย์ได้ยากไม่ทำตามกฏหมายต่างๆ มีเเต่ผ่อนผัน บางคนก็ไม่ยอมรักในความผิดของตัวเอง หรือ โยนความผิดให้คนอื่นไม่ยอมรับในความผิดของตัวเอง ถ้าคนสมัยนี้เป็นเหมือนพันท้ายนรสิงห์ประเทศชาติก็คงเจริญรุ่งเรืองมานานเเล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท