การประชุมวิชาการจัดการความรู้ : Share & Learn (KM Md.KKU) ประจำปี 2554 (5) : วันที่สอง 29 กรกฎาคม 2554 ตอนที่ 1


ขอโค๊ดคำพูดบางประโยคของอาจารย์มาเล่าสู่กันฟัง หากเปิดใจให้กว้าง ทำตาให้สว่าง และบอกตนเองเสมอว่า “เราไม่ใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้เรียนรู้” ก็จะทำให้สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นภาพในกระจกที่สะท้อนอะไรบางอย่างได้ชัดเจนขึ้น... ไม่อยู่ในวังวนของภาพที่หลอกตนเองต่อไป

วันที่ 2 ของงานการประชุมวิชาการจัดการความรู้ : Share & Learn ประจำปี 2554 ของคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีการรายงานสดโดย รศ.จิตเจริญ ไชยาคำ (ท่าน อ.JJ) ไปบ้างแล้ว ผู้เขียนเพียงเก็บบางประเด็นมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติม

โปรแกรมในวันนี้นำโดย ศ.นพ.วุฒิชัย ธนพงศธร (ท่านอ.วูดดี้) คณบดีคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ชวนพูดคุยเล่าเรื่องราว 1 ชั่วโมง เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นระหว่าง KM ที่สอดแทรกอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานต่างๆอันเป็นเรื่องสำคัญนำมาซึ่งการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

จากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนอบทเรียนจากการจัดการความรู้ของกลุ่มพร้อมรับการวิพากษ์จากอาจารย์

ในขณะที่มีการนำความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge จากตัวตนของคนทำงานผ่าน note taker และ facilitator ของกลุ่ม

·        note taker พยายามถอดความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ในประเด็นที่กำหนดจากสมาชิกทีมในกลุ่มต่างๆ

·        ท่านอ.วุฒิชัย ถอดบทเรียน How to KM ของแต่ละกลุ่ม

·        ส่วนผู้เขียนเองนั้นกำลังพยายามถอดหัวใจของเทคนิคการจัดการความรู้ ที่มีอยู่มากมายในตัวท่านอ.วุฒิชัย ออกเล่า...

ดังนั้น สิ่งที่ผู้เขียนจะเล่าจึงเป็นเทคนิคในการจัดการความรู้ที่อาจารย์แนะนำว่าน่าจะทำให้ได้ความรู้ฝังลึกจากบุคคลผู้เข้าร่วมมากที่สุด

เมื่อได้เวลาเริ่มการเรียนรู้ อาจารย์กล่าวว่า “ใครมาก่อน....เรียนรู้ก่อน...” แล้วอาจารย์ก็ใช้เทคนิคที่ทำให้ผู้คนในห้องไม่รู้สึกว่าต้องคอยใคร ขณะที่อาจารย์เองก็ใช้เทคนิคการบรรยายแบบแอบคอยในช่วงแรก...เพื่อยืดเวลารอเพื่อน

... ก่อนเริ่มการเรียน เรามาฝึกคิดนิดหนึ่ง เพื่อให้ร่องสมองลึกลง...

o   เมื่อวานนี้ เรียนรู้อะไรบ้าง?...

o   เมื่อวานนี้ ได้ Share ไหม? หรือ

o   เมื่อวานนี้ได้ Share… แต่ไม่ได้ Learn  หรือ

o   เมื่อวานนี้ Learn  อย่างเดียว

o   สำคัญของ KM คือ GIVE and TAKE…

ขอโค๊ดคำพูดบางประโยคของอาจารย์มาเล่าสู่กันฟัง หากเปิดใจให้กว้าง ทำตาให้สว่าง และบอกตนเองเสมอว่า “เราไม่ใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้เรียนรู้” ก็จะทำให้สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นภาพในกระจกที่สะท้อนอะไรบางอย่างได้ชัดเจนขึ้น... ไม่อยู่ในวังวนของภาพที่หลอกตนเองต่อไป

 

...จริงๆแล้ว KM เกิดมา 10 กว่าปีแล้ว KM ที่ท่านอ.วิจารณ์พูดถึง ดูเหมือนว่าไม่ขยับไปไหน อาจเพราะไม่รู้ว่า KM คืออะไร...

...ไม่ว่าท่านจะอยู่สายวิชาการหรือไม่ หลักการ KM จะเหมือนกัน...

... กระบวนการความรู้เป็นแค่เครื่องมือ ที่เราจะเอามาใช้ทำอะไรสักอย่าง... ตอนนี้เราจะใช้ KM ในกระบวนการศึกษา เพื่อให้เรามีความรู้มากขึ้น...

... ลองคิดซิ มาแล้วเราอยากได้อะไรกลับไป?...เอา KM มาทำอะไรดี... ดูระบบประกันคุณภาพไหม?”

...เครื่องมือที่ดีที่สุดไม่มี ท่านต้องคิดเอง เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเอง...

...ฟังแบบ Deep Listening เป็นการฟังแล้วเรียนรู้ไปด้วย...

...จากบอร์ด(อาจารย์หมายถึงโปสเตอร์นำเสนองานต่างๆซึ่งมีทั้งผลงานด้านคุณภาพโรงพยาบาลและผลงานการจัดการความรู้) มี outcome ให้เห็น... แล้วรู้ไหมว่ามี How to (วิธีการ)อย่างไร เราจะได้นำไปต่อยอดได้...

การตั้งเป้าหมายปลายทางอย่างเดียว ก็จะได้เพียงผลลัพธ์ของงาน...แต่หากตั้งเป้าหมายกลางทางด้วย ก็จะได้...How to

...การจัดการความรู้ มิใช่จัดการแค่ Body of Knowledge เท่านั้น แต่มันต้องจัดการ Lifecycle ของ Body of Knowledge ด้วย... มันต้องจัดการคน คนที่รู้สึกตัว คนที่มีความรู้ คนที่มี tacit knowledge…

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 452279เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท