R2R2P_ในงาน KM


การนำ KM มาใช้กับการวิจัย ทำอย่างไร?

การประชุม Share& learn วันที่ 28 กรกฎาคม 2554

กลุ่มที่2 ด้านการวิจัย: “R2R2P: จากห้างสู่หิ้ง….คืนสู่ห้าง”

ผู้นำเล่าเรื่อง คือ ศ. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง

ผู้มาเล่า success story คือ  

1. นางสาวพรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา   หอผู้ป่วย 2ข. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

2. รศ. ดร. เบญจมาศ พระธานี  จากภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. นางสาวสุธันณี  สิมะจารึก จากภาควิชาวิสัญญี

4. นางลดา สรณารักษ์  ประธานคณะกรรมการวิจัย รพ.  ขอนแก่น

5. ภก. กุลอนงค์ เกิดศิริ จาก รพ มหาสารคาม

6. ดร. อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์ จากคลังเลือดกลาง

7. ศ.วิภา รีชัยพิพิธกุล จากฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

Notaker คือ นางอุบล จ๋วงพานิช นางสาวพรนิภา หาญละคร นางสาวเกศนี บุณยวัฒนางกุลและ นางประกาย พิทักษ์

 

 

เริ่มต้น ผู้ดำเนินรายการ (ศ. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง) ให้แต่ละคนเล่าเรื่อง รอบแรก ถึงการทำ R2R ว่าปัญหาคืออะไร ทำให้เกิด R2R ได้อย่างไร

ภก. กุลอนงค์ เกิดศิริ

ได้เล่าถึง การทำ  R2R   การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา งานเภสัชกรรรมผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลมหาสารคาม

โดยทีมผู้ดำเนินงาน ได้มองเห็นความสำคัญ ของปฏิกิริยาระหว่างยาเป็นการปรับเปลี่ยนผลของยาตัวหนึ่งโดยยาอีกตัวหนึ่งหรือสารอื่น ซึ่งให้ร่วมกันหรือก่อนหน้า โดยผลเสียของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาอาจทำให้มีการสูญเสียผลการรักษาของยา เกิดพิษหรือเพิ่มฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การได้รับยาหลายชนิดพร้อมกัน จะยิ่งเพิ่มโอกาสของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา โดยมีขอบเขตครอบคลุมผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2553

ในการดำเนินงาน  จะมีการทบทวน พัฒนาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาโปรแกรมแจ้งเตือนประวัติการได้รับยาของผู้ป่วยที่มีคู่ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ย้อนหลัง 3 เดือน รวมถึงเริ่มดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน ด้านการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับคู่ยาที่เกิดปฏิกิริยา เพื่อสร้างระบบการส่งต่อข้อมูลการใช้ยา

 จากผลการเฝ้าระวังจากข้อมูลคู่ยาที่ห้ามสั่งใช้ร่วมกัน (contraindication) 18 คู่ และคู่ยาที่ต้องติดตาม (monitor) ถ้าต้องใช้ร่วมกัน จำนวน 29 คู่ รวมทั้งหมด 47 คู่ พบว่ามีคู่ยาที่มีการสั่งจ่ายร่วมกันทั้งสิ้น 14 คู่ โดยเป็นคู่ยาที่ต้องติดตามทั้งหมด จำนวน 1,886 ครั้ง มีระบบการเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นโดยเภสัชกร 344 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.24 โดยคู่ยาที่มีการติดตามการใช้ยามากที่สุด คือ Digoxin – Thiazide จำนวน 192 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 14.25 จากการสั่งใช้ทั้งหมด  1,347 ครั้ง  และจากการเฝ้าระวัง การใช้ยาคู่กัน ในปี 52,53 ไม่มีอาการผิดปกติใดๆในผู้ป่วยที่ได้รับยาคู่กัน

สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการที่จะทำให้ผู้ป่วยทราบความผิดปกติและต้องรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และเฝ้าระวัง รวมถึงการเน้นย้ำให้ผู้ป่วย ตลอดจนผู้ดูแล สามารถจดจำการได้รับยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการแจ้งแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา เพื่อป้องกัน หรือเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น                   

บทเรียนที่ได้รับคือ มีการพัฒนาต่อเนื่อง  มีการพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวัง

. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง สรุปว่า จะเห็นว่าเริ่มที่มีปัญหา มองเห็นปัญหาชัด มีกระบวนการคิด ได้ knowledge และจากที่ ศ.วิจารณ์ พาณิช บรรยายเกี่ยวกับ R2R คือ เป็นการพัฒนาคน และพัฒนางาน

            

รศ.ดร.อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์ 

 

เล่าถึงงาน R2R ที่ทำว่าคลังเลือดกลางประสบปัญหามีเกร็ดเลือดไม่เพียงพอจึงได้คิดพัฒนาวิธีการที่จะทำให้มีเกร็ดเลือดเพียงพอใช้ ผลจากการดำเนินงานพบว่ามีเกร็ดเลือดเพียงพอที่จะใช้ ผู้ป่วยรับเลือดได้ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ  ลดปัญหาการ expire ของ เกร็ดเลือดได้

บทเรียนที่ได้รับ: บุคลากรมีความสุขในการทำงาน  สามารถเตรียมการล่วงหน้าได้

 

คุณสุธันณี  สิมะจารึก จากวิสัญญี  คณะแพทยศาสตร์ ต้องการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มีปํญหา pain โดยทีมพยาบาลวิสัญญีจะมีทีมไปตรวจเยี่ยมตามหอผู้ป่วย  โดยทีมได้ออกแบบบันทึกความปวดและและรวบรวมข้อมูลที่ได้จาการบันทึก trick คือเมื่อได้ข้อมูลมาควรทำให้เสร็จในคราวนั้นๆ

 

. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง สรุปว่า ปัญหาจาก R2R มาจากไหนได้บ้าง ซึ่งทางวิสัญญีทำ R2R ได้จากไม่มีปัญหามาก่อน แต่เป็นความต้องการพัฒนางาน

 

คุณพรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา 

 

เล่าถึงการทำ R2R  

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดในทารกที่มารับการฝึกให้นมแม่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด (2ข.) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่มักจะประสบกับปัญหาในการให้นม  มารดาที่คลอดทารกพิการส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธการเลี้ยงดูทารก  ทอดทิ้งทารกหรือเลี้ยงดูแบบหลบซ่อน  ขาดการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่องเพราะอับอายเพื่อนบ้าน  พยาบาลจึงนำแนวคิดโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูกมาปฏิบัติต่อมารดาที่คลอดทารกพิการปากแหว่งเพดานโหว่  และนำแนวคิดกลไกการหลั่งน้ำนมแม่ที่มีความสัมพันธ์กับการดูดการกลืน การหายใจของทารกรวมทั้งตอบสนองต่อกลไกการบีบ เพื่อให้น้ำนมถูกสร้างและเพื่อทำให้ทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ   

วิธีการศึกษา   มารดาและทารกปากแหว่งเพดานโหว่ได้รับการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูกครบตามบันได 10 ขั้น(10 Step )  พยาบาลเข้าช่วยเหลือให้แม่ทราบวิธีให้ลูกดูดนมแม่ตั้งแต่เริ่มแรก  ในเรื่องท่าอุ้ม  วิธีการประคองเต้านม  วิธีการทำให้ทารกอ้าปากกว้าง  วิธีการอมหัวนมแม่   วิธีการบีบน้ำนมเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมอย่างพียงพอ  และจังหวะการบีบนมที่สัมพันธ์กับการดูด การกลืน และการหายใจ    ติดตามประเมินความเพียงพอของน้ำนมโดยชั่งน้ำหนักทารกทุกวัน  ประเมินจำนวนปัสสาวะ อุจจาระทุกวันและประเมินประสิทธิภาพของการดูดนมทารกโดยใช้เครื่องมือเครื่องมือแลช (LATCH Score) นัดติดตามน้ำหนักทารก   การให้นมแม่จากเต้า   ความเพียงพอของนมแม่  โดยนัดมารดาและทารกมาที่คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์  หลังจำหน่าย 1 สัปดาห์   และเมื่อทารกอายุครบ   1 เดือน  2 เดือน  4 เดือน และ 6 เดือน   

ผลการศึกษา    พบว่า   ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดสมบูรณ์   ขณะอยู่โรงพยาบาลสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้สำเร็จทุกราย โดยน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักลดไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกคลอดและน้ำหนักทารกเริ่มเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยวันที่  5   และเมื่อติดตามหลังจำหน่าย 1 สัปดาห์  และเมื่อทารกอายุ  1 เดือน 2 เดือน 4 เดือนและ 6 เดือน เพื่อติดตามการให้นมแม่พบว่า  มีทารก 2 รายที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ครบ 6 เดือน โดยมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมต่อเนื่องจนทารกอายุ 15-18 เดือน และมีทารก 2 รายที่มารดาให้นมแม่เพียง  2 เดือน อีก 16 รายให้ได้นาน 3-4 เดือน ทารกทุกรายที่อยู่ในระหว่างให้นมแม่มีสุขภาพดี ไม่มีภาวะสำลักนมและไม่มีภาวะแทรกซ้อน น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์และมารดามีน้ำนมเพียงพอ  สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดาและทารกดีมาก  มีติดตามการรักษาต่อเนื่องและได้รับการผ่าตัดตามกำหนดเวลา  

สรุป จาก ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง คุณ พรเพ็ญเป็นคนช่างสังเกต ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาดูแล และเก็บข้อมูล

รศ ดร. เบญจมาศ  พระธานี จากหน่วยฝึกพูด เล่างาน R2R ของตัวเอง เดิมโปรแกรมฝึกพูดต้องนัดผู้ป่วยมาฝึก ทุกสัปดาห์ ประมาณ3เดือน จึงได้ทำโปรแกรมฝึกพูดขึ้นมา ทำให้ผู้ป่วยสามารถไปฝึกที่บ้านด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย  ผลที่ได้ลดงาน ลดระยะเวลามาโรงพยาบาล ลดต้นทุนในการรักษา

 คุณลดา สรณารักษ์  ประธานคณะกรรมการวิจัย รพ.  ขอนแก่น เล่าถึงการทำ R2Rของตัวเอง ในผู้ป่วยแผนกตา โดยสังเกตปัญหาที่พบในผู้ป่วยที่จะตรวจตาคือวิตกกังวล ได้ทำวิจัยสำรวจปัญหา ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย  และทำวิจัย โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการให้ข้อมูล และให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยน ให้กำลังใจกัน ผลสุดท้ายผู้ป่วยได้รับข้อมูลและคลายความกังวล  บทเรียนที่ได้ เจ้าหน้าที่ก็ได้ ผู้ป่วยก็ได้รับผลประโยชน์

 

. นพ สมบูรณ์ สรุปว่า แต่ละคนทำวิจัยใช้วิธีการต่างๆ กัน บางคนใช้วิจัยเชิงคุณภาพ บางคนใช้แบบ เชิงทดลอง  และอาจารย์สมบูรณ์ถามคุณอุบล ว่างานวิจัยR2Rยากหรือไม่ คุณอุบลบอกว่าไม่ยาดต้องช่างสงสัย สังเกต

 

ศ นพ สมบูรณ์ ถาม ศ.พญ. วิภา ฝ่ายวิจัยจะสนับสนุนงบประมาณแก่บุคลากรได้อย่างไร

.พญ. วิภา บอกว่า ที่ผ่านมาวิจัย R2R มีคนขอทุนน้อย ปัจจุบันงานบริการพยาบาลเริ่มขอทุนมามากขึ้น ทางฝ่ายวิจัยเองอยากจะให้ทุนอยู่แล้ว ขอให้เขียนมาให้เข้าเกณฑ์ก็พร้อมจะสนับสนุนเต็มที่ สิ่งที่สามารถขอได้เช่น ชุด VCD ส่วนอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว จะของบไม่ได้ ค่าจ้างตัวนักวิจัยเองไม่มี ถ้าจัดกิจกรรมกลุ่ม สามารถเบิกค่าอาหารว่าง อาหารกลางวันได้

 

รอบที่ 2  ผู้ดำเนินรายการ ถามถึงผู้ร่วมเล่าเรื่องว่า ประโยชน์ของการทำงานวิจัย R2R คือ

รศ ดร. เบญจมาศ  จากการทำกลุ่มฝึกพูด และและใช้โปรแกรมฝึกพูดไปฝึกเอง ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องลางานมาบ่อย ค่าใช้จ่ายลดลงจากเดิม 4,210 มาเป็น 2,105 บาท  และลดภาระของผู้ฝึก     

ดร. อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์ ได้บอกถึงประโยชน์ ของการทำR2R คือ เจ้าหน้าที่มีความสุขในการทำงาน แพทย์happy ที่ผู้ป่วยได้รับเลือดเพียงพอ พยาบาล happy ที่การให้เกร็ดเลือดไม่ยุ่งยาก รวมอยู่ในถุงเดียวกัน

คุณลดา สรณารักษ์ ประโยชน์ของการทำR2R คือ แพทย์ พยาบาลที่เกี่ยวข้องมีความสุขในการทำR2R ที่สำคัญเป็นการสร้างคุณค่าให้งานด้วย

ผู้ดำเนินรายการ ได้ถามคุณพรเพ็ญ ถึงการสอนมารดาให้นมบุตร ในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่  ที่ผลการดำเนินการพบว่า มารดามีความสุข และเด็กแข็งแรงดี แล้วสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นใช้อย่างไร

 คุณพรเพ็ญ ตอบว่า มีการถ่ายทอดโดยไปอบรมให้แม่ที่มีบุตรปากแหว่งเพดานโหว่  ที่ บึงกาฬ น้ำพอง มหาสารคาม ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก

 

ผู้ดำเนินรายการถาม ศ. พญ วิภา ว่าจากที่ฟังมาคาดหวังว่างานวิจัยR2R จะได้ตีพิมพ์ ถึงปีละ1-2 เรื่องหรือไม่

ศ. พญ วิภา  ตอบว่า R2R ทำให้เกิดนวัตกรรม มีimpact นี่คือคุณค่าของ งานวิจัยR2R ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่งานงานวิจัยR2R ที่ดีก็สามารถตีพิมพ์

 

ศ. นพ สมบูรณ์ ในการทำวิจัยR2R ต้องร่วมกันทำงานเป็นทีม และมีแพทย์ร่วมทีมด้วย ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะผลักดันให้งานวิจัยไปตีพิมพ์ได้ ส่วนพยาบาลก็ควรมีคนที่มีความรู้และประสบการรณ์ในการทำวิจัย ไปช่วยหรือเป็นที่ปรึกษา

 

ผู้ดำเนินรายการถาม ศ. พญ วิภา ว่าทำอย่างไร งานวิจัยได้ R2Rจะได้ตีพิมพ์ ทางฝ่ายวิจัยมีแหล่งช่วยเหลือหรือไม่

ศ. พญ วิภา  ตอบว่า R2R ที่มีปัญหาวิจัยชัดเจน วิธีการดำเนินการ ชัดเจน การตีพิมพ์ก็ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของพยาบาลจากงานประจำก็ควรใช้ระเบียบวิธีวิจัยเข้าไปใช้ด้วย และอาจเชิญแพทย์ แพทย์ใช้ทุน อาจารย์แพทย์ไปร่วมทำ จะได้ทำงานวิจัย R2R ได้ง่ายขึ้น

                         

ศ. นพ สมบูรณ์  เล่าประสบการณ์การเขียนงานตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศว่า อาจจะต้องมีปรับแก้ไขหลายครั้ง อย่าพึ่งท้อ ถือว่าเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

ภก. กุลอนงค์ เกิดศิริ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนว่า การเผยแพร่งานวิจัยโดยการตีพิมพ์ ขั้นแรกอาจจะนำเสนอในระดับวิชาชีพก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นระดับชาติ นานาชาติ

                         

ศ. พญ วิภา  ได้ร่วมแลกเปลี่ยนว่าการเขียนงานตีพิมพ์นั้นอาจต้องปรับแก้หลายรอบ และต้องอดทน ในระดับเริมต้นก็อาจตีพิมพ์ในระดับประเทศ และสามารถนำไปประกอบการขอชำนาญการ เลื่อนขั้นได้ และก็ขอเชิญชวนให้พยาบาลมานำเสนองานวิจัยR2R ในงานประชุมวิชาการประจำปีเตือนตุลาคมนอกจากนี้ยังได้ปรึกษากับรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าควรจะมีเครือข่ายวิจัย R2R            

                    

ศ. นพ สมบูรณ์  ได้เสริมขึ้นว่าที่จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เชิญบุคลกรมาจากที่อื่นเพราะต้องการสร้างเครือข่าย  ซึ่งได้เชิญทีมชุมแพ กาฬสินธุ์ มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย แต่ติดภารกิจไม่สามารถมาร่วมได้  และ ศ นพ สมบูรณ์  ได้รับมอบหมายให้จัด Regional Forum R2R ขอแจ้งให้ผู้เข้าร่วมรับทราบอาจจัดประมาณเดือนตุลาคม ใช้เวลาประมาณ 1วัน  เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ทำวิจัยR2R นำเสนองานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ดำเนินการสรุป ว่า R2R2P ผู้ที่ทำวิจัย ว่า R2Rแล้วนำไปพัฒนาต่อยอด มีการทำงานเป็นทีม ผู้ทำจะมีความสุข ผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งต่อผู้รับบริการ ตนเอง ทีมงานและองค์กร  

การทำ R2R ให้สำเร็จ

  1. ตัวเองต้องเชื่อมั่น มีจิตวิญญาณที่อยากทำ
  2. ต้องมีทีม เช่น แพทย์ พยาบาล
  3. มีแหล่งช่วยเหลือ มีพี่เลี้ยง
  4. การทำ R2R เป็นการเรียนรู้ทุกกระบวนงานด้วยตนเอง (learning by doing)

วัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนในวันนี้ อยากให้เกิดเครือข่าย ทั้ง รพ ขอนแก่น มหาสารคาม  มหาราช นครราชสีมาและอื่นๆ   มีการปรึกษากันว่าน่าจะมีการจัด R2R ในงานประชุมวิชาการคณะแพทย์ เพื่อให้มีผลงานเข้ามานำเสนอด้วย

สรุป R2R

  1. ปัญหาอยู่หน้างาน  ผู้ปฏิบัติเป็นคนทำ
  2. ผู้รับบริการได้ประโยชน์
  3. กระบวนการทำ R2R จะทำให้พัฒนางาน พัฒนาคน
  4. คนทำมีความสุข ผู้รับบริการก็มีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรด้วย
  5. 

ในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สรุปในภาพรวมได้ดังนี้

  1. การทำวิจัย R2R  ทุกคนสามารถทำได้ เริ่มต้นจากที่มีใจอยากทำ ทำด้วยความสมัครใจ ทำแล้วมีความสุข ไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากเพิ่มขึ้น ทำในเนื้องาน หน้าที่เราทำงานอยู่ โดยจะเริ่มจากปัญหาที่พบในการทำงาน ทำอย่างไรจึงจะแก้ไข พัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น ลดภาระการทำงานที่หนักและเหนื่อย ไม่แบกภาระงานไว้คนเดียว มีการพัฒนาเครือข่าย ขยายงานลงไปในชุมชน
  2. พัฒนาคุณภาพงานที่ทำอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น  เริ่มจากCQI ได้ โดยทำให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี ติดตามผลเป็นระยะ ให้เห็นความต่อเนื่อง ได้แนวทางการปฏิบัติใหม่ที่ดี แล้วนำมาใช้ เมื่อเกิดประโยชน์กับคนไข้ นำไปขยายผล เผยแพร่ สร้างเครือข่าย
  3. การทำวิจัย R2R ทำเป็นทีมร่วมกับทีมสหสาขา มีผู้ร่วมวิจัยหลายระดับ จึงจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ถ้าวิจัยนั้นมีแพทย์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมทีมด้วย จะได้ช่วยในเรื่องของคุณภาพการวิจัย การเขียน ภาษาอังกฤษได้ ทุกคนสามารถทำวิจัยได้ โดยมีระบบพี่เลี้ยงที่ทำวิจัยเก่งแล้วดูแล
  4. การทำวิจัย สามารถขอทุนได้ ไม่ยุ่งยาก เกิดระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย ขยายเครือข่าย
  5. การทำวิจัยทำให้เกิดการเรียนรู้ทุกกระบวนงานด้วยตนเอง (learning by doing)   การทำงานงานที่ทำอยู่เกิดการพัฒนาตนเอง ฝึกฝน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การค้นคว้าวิชาการ การวิจัยที่ทำนำมาสู่ความภาคภูมิใจ นำไปขอผลงานทางวิชาการได้ องค์กรได้ชื่อเสียง  วิจัยR2R นำมาใช้ปฏิบัติในการทำงานจริง ๆ
หมายเลขบันทึก: 451565เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

นำเสนอวันที่ 29 กค 54 เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มศว มาเสนอแนะการทำ KM ของกลุ่มด้วยค่ะ

นำเสนอโดยคุณพรนิภา

อ JJ ถ่ายทอดสดด้วย

 

 ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มศว ให้คำแนะนำการทำ KM ว่า

การจัดการความรู้

  • ทำไมเราต้องทำ KM
  • คนที่มาในการประชุมนี้  แสดงว่า ต้องการลปรร
  • ผลการประชุมคงไม่หวังว่าจะมีการนำบอร์ดมาแสดงเท่านั้น
  • ก่อนที่จะมาเป็นเนื้อหาเหล่านี้ มีที่มาอย่างไร เราเรียนรู้จากที่ไหน
  • ถ้าเรารู้ต้นทาง  รู้ How to? เราจะนำมาต่อยอดได้
  • ถ้าเราหา How to ให้พบ และถอดระหัส How to ได้งานก็จะบรรลุเป้าหมาย

ไม่ใช่การจัดการแต่ body of knowledge ตัวเราต้องจัดการคนที่มีความรู้ด้วยว่าจะดึง tacit K ออกมาได้อย่างไร

ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มศว commentator กลุ่มเราว่า

เราจะต้องค้นหา How to ให้ได้เช่น

  • งานวิจัยทั้งหมดที่นำมาเล่า ได้อะไรบ้าง
  • นำ KM มาวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • งานวิจัยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ KM ซึ่งกว้างกว่างานวิจัย
  • ถ้าเราสามารถเจาะประเด็น How to คนที่อยากทำวิจัย R2R มีใจที่อยากทำ เราต้องถามต่อว่า ก่อนจะมีใจได้ เขามีความเป็นมาอย่างไร
  • มีปัญหา มีการพัฒนางาน เรื่องเล่านี้เก็บเป็นฐาน ถ้าคุยอีกรอบน่าจะถึง How to ได้
  • KM ต้องการรู้ว่า คุณคิดมาได้อย้างไร แล้วคณะแพทย์ได้อะไร คนที่เป็น KV จะต้องกำหนดเป้าหมายชัด แล้วเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

จากการนำเสนอของกลุ่มอื่นๆมีข้อคิดว่า

  • กลุ่มที่มีสมาชิกมากว่า 40 คน มากเกินไป
  • การคุยแบบเล่าเรื่อง success story สมาชิกไม่เกิน 10 คน
  • ถ้ากลุ่มใหญ่ เปลี่ยนเป็น KM cafe จะได้คุยครบ หรือ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย แล้วคุยหลายรอบ
  • การทำ KM ควรกำหนด KV ให้เหมาะสม เริ่มจากตัวปลาเล็ก แล้วตัวปลาใหญ่จะได้ข้อสรุปเอง
  • การทำ KM เริ่มด้วยบรรยาย เป็นการสื่อสารทางเดียว เราควรเตรียมความพร้อมมาก่อน
  • สุดท้าย KM ทำเพื่ออะไร ประเทศชาติจะได้อะไร ต่อไปก้ KM ข้ามเครือข่าย

จากการประชุมในวันนั้นเมื่อวาน พบ ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง อาจารย์ได้มาคุยกันต่อว่า เราจะจัด Pre congress R2R โดยเชิญ รพ ที่อยู่ใกล้เคียงมานำเสนอผลงาน มีการให้รางวัลและมีการ training ให้ 3 กลุม

กลุ่มที่1 beginner

กลุ่มที่ 2 สำหรับคนที่มีโครงการ CQI ดีดี ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็น R2R ได้

กลุ่มที่ 3 สำหรับคนที่ทำสำเร็จแล้ว แต่จะมาต่อยอดการเขียนรายการและการนำไปใช้ประโยชน์

รอติดตามข่าวนะคะ

เรียนพี่แก้ว ขอบพระคุณครับ

เรียน พี่แก้วค่ะ

ขอบคุณทางทีมงาน R2R2P ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีค่ะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางทีม fa ผู้นำเรื่อง ผู้แชร์เล่าเรื่องและ note taker ทุกท่านค่ะ

ขอบคุณมากๆ....ด้วยความจริงใจค่ะ

คุณไก่ ประกายกำลังถอดบทเรียนอีกทีค่ะ จะส่งให้เลขาฯอีกทีค่ะ คุณติ๋ว

รายงานความก้าวหน้าในการจัดR2R ภูมิภาค

วันที่ 5 ตุลาคม 2554 จะมีการประชุม R2R ภูมิภาค 2554 ห้อง ประชุมมิตรภาพและห้องมอดินแดง   

ช่วงเช้าจะเป็น บรรยาย 2 ท่าน

ต่อด้วย share & learn 3 เรื่อง (ที่เคยได้รับรางวัล)

ช่วงบ่าย เป็น work shop จะหาคนมานำเสนอโครงร่างวิจัย R2R  2-3 เรื่อง ที่กำลัง develop  proposal หรือมีโครงร่างเรียบร้อยแล้ว กำลังดำเนินการ เพื่อให้กรรมการช่วย comment เพื่อการเรียนรู้

สุดท้ายประกาศรางวัล poster presentation(60X80 cm) รางวัลที่ 1 (3000 บาท) รางวัลที่ 2 (2000 บาท) รางวัลที่ 3 (1000 บาท) พร้อมใบเกียรติบัตร

ซึ่งในงานประชุมจะให้ส่งผลงานเข้าร่วม poster presentation โดยกรรมการจะคัดเลือก 10 ผลงาน ให้ ติด poster ในงาน และกรรมการให้คะแนน โดย 14:30 น. จะทำโบว์ติดที่ poster ว่าใครได้รางวัล

พี่แก้วครับ ถอดความรู้ได้เยี่ยมมากครับ

เสียดายที่ไม่ได้ไปครับ

โอกาสหน้าต้องได้ไปครับ

เป็นกำลังใจให้ทุกคนในงานนะครับ

ถ้าทิมดาบมาคงมีเรื่อง R2R แบบ art เพราะ R2R แบบพี่แก้วจะแข็งๆๆไปสักหน่อย

คราวหน้าคงได้พบกันนะคะ น้องอดิเรก

พี่แก้วคะ...ร่วมกันในชุมชนนักปฏิบัติ R2R  ใน

http://www.gotoknow.org/blog/kapoomr2r/452007 ด้วยกันนะคะพี่ ๆ...

แวะมาที่นี่...พบ

พี่เกต

พี่ไก่ประกาย

พี่ติ๋ว

เรียนพี่แก้วชวนพี่ๆชาวเรามาร่วมสั่นวงการ R2R กันนะคะพี่

ฝากชวนพี่อุ้มด้วยนะคะพี่แก้วขา

คิดถึงพี่ๆ ทุกคน และอาจารย์ทุกท่านค่ะ และคิดถึง KM ด้วย ได้ความรู้เรื่อง R2R มากค่ะพี่แก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท