การสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว : การจัดการความรู้เพื่อการขับเคลื่อน


มีโจทย์รายวันมาให้ขบคิด และเป็นความสนใจของตัวเองด้วยที่เคยทำงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยว และ งานทางด้านกระบวนการการจัดการความรู้  

ปกติ “การจัดการความรู้” จะเป็นเครื่องมือในการทำงาน เป็นการจัดการเพื่อขับเคลื่อนโครงการ หรือกิจกรรมโดยใช้ความรู้เป็นฐาน มีวัฒนธรรมการเรียนรู้สร้างผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง รวมไปถึงการเติบโตขององค์ความรู้ ในกลุ่มคนทำงาน

มีผู้ประสานงานจังหวัดพังงา โทรศัพท์มาหารือเรื่อง “การพัฒนางานสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว” โดยผู้ที่ประสานงานมา มีข้อมูลอยู่ชุดหนี่ง และบอกว่าจะใช้ “การจัดการความรู้” ในการพัฒนางานนี้ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร???

หากเราจะโฟกัสลงมาในกรอบคิดที่จำเพาะลงมา การท่องเที่ยวจึงเกี่ยวพันกับสุขภาพเป็นอย่างมาก  

  1. ประเด็นที่ 1 การจัดการท่องเที่ยวที่ดีโดยทั่วไปที่เน้นความปลอดภัย ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และหลายๆปัจจัยล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขทั้งสิ้น
  2. ประเด็นที่ 2 มุ่ง การจัดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health Tourism)โดยตรง เช่น Spa หรือทัวร์สุขภาพ

ตามเอกสารที่ส่งมาเป็นข้อมูลเบื้องต้น วัตถุประสงค์จะเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาสถานบริการให้ได้มาตรฐานรองรับการท่องเที่ยว,การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหา รวมไปถึงสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ต้องพัฒนามารองรับวัตถุประสงค์นี้คือ มาตรฐานด้านงานสาธารณสุข ที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนมาตรฐานทางด้านการแพทย์เป็นการรองรับทางด้านการรักษาพยาบาล(ทั้งฉุกเฉินเเละไม่ฉุกเฉิน)

ปัญหาและความต้องการเท่าที่พูดคุยผ่านโทรศัพท์ในช่วงสั้นๆกับคนทำงาน จึงได้วิเคราะห์สถานการณ์คร่าวๆ ก็คือ

  1. งานนี้เป็นงานนโยบายที่ต้องทำ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
  2. ใช้ “การจัดการความรู้” เป็นเครื่องมือในการดำเนินการโครงการ/ กิจกรรม
  3. สำนักงานสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลักในกระบวนการในครั้งนี้
  4. ต้องการการมีส่วนร่วมในภาคีที่เกี่ยวข้องในการจัดการงานสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว

แนวคิดที่คุยกันเบื้องต้นจากผู้ประสานงานก็คือ มีเวทีในการให้ความรู้ เรื่อง “การจัดการความรู้” และ ประชุมตามวาระ ตามระยะของโครงการ บทบาทของวิทยากร(ผม) ก็เป็นผู้ให้ความรู้เรื่อง KM. หรือการจัดการความรู้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือ

ผมเลยมานั่งคิดใหม่ว่า  การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ และการทำงานหากตั้งต้นดี ก็หมายถึงการจัดการความรู้ที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว การให้ความรู้อาจสอดแทรกไปกับกระบวนการจัดการเวทีไปเรื่อยๆ (ไม่ต้องจัดเวทีให้ความรู้ด้าน KM โดยเฉพาะ- ผมเห็นว่าจะสิ้นเปลืองงบประมาณ) สร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ที่เนียนไปกับวิถีการทำงาน แบบนี้เส้นทางความสำเร็จน่าจะยั่งยืนและได้มรรคผลอย่างแท้จริง

เมื่อสอบถามถึงความต้องการในการพัฒนาจาก ผู้ประกอบการ ทางผู้ประสานงานบอกว่า “ตื่นตัวกันมาก” และ มีการสะท้อนปัญหาว่า “ระยะห่างของสาธารณสุขกับสถานประกอบการ” ทำให้เชื่อมกันไม่ได้ โดยทางผู้ประกอบการก็ต้องการสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้และเกณฑ์มาตรฐานอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาเร็วๆ ก็เห็นว่า ทุกฝ่ายพร้อมในการพูดคุย เพราะผลประโยชน์เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย เป้นความสำคัญ ความจำเป็นทางนโยบาย และ มาตรฐานที่สถานประกอบการต้องมี

ผมขอให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางดังนี้ครับ

  1. วิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง? เกี่ยวข้องในรูปแบบใด?
  2. เปิดเวทีวิเคราะห์สถานการณ์สภาพปัญหาและความต้องการ ในแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการวางแผนการขับเคลื่อนที่มีช่วงเวลา การประเมินผลที่ชัดเจน
  3. ช่วงดำเนินการ – มีการประเมินผลแบบเสริมพลัง การเปิดเวทีเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสะท้อนปัญหาและร่วมกันหาทางออกร่วมกัน มีการ AAR : After Action Review เป็นวัฒนธรรม
  4. ช่วงสรุปผล(ประจำปี) มีการถอดบทเรียน แบบ Retrospect ที่สรุปบทเรียนการดำเนินการมาทั้งปี พร้อมกับวางแผนการขับเคลื่อนในปีต่อไป

ทั้งหมดเป็นแผนการทำงานโดยคร่าวๆตลอดปีงบประมาณที่ดูไม่ซับซ้อน แต่ต้องการกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น โดยมี “การจัดการความรู้” ตลอดทั้งโครงการ กล่าวคือ

  1.  การมี – มีความรู้อะไร?  เป็นการจำแนก แยกแยะความรู้ ค้นหาความรู้ที่จำเป็นในการทำงาน
  2. การใช้ – ใช้ความรู้อย่างไร? ใช้ความรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเชิงประเด็น เพื่อขับเคลื่อนงาน
  3. การสร้าง – สร้างความรู้อย่างไร? สร้างความรู้จากการทำงานผ่านบทเรียน ผ่านนวัตกรรมความคิดต่างๆ
  4. การถ่ายทอด – ถ่ายทอดความรู้อย่างไร? เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อต่อยอด

โดยใช้ “การถอดบทเรียน” ให้เป็นวัฒนธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ในบรรยากาศที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (ผ่อนคลาย ได้สาระ)

โดยสรุป : ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องบรรยายเรื่อง “การจัดการความรู้”  แต่ลงมือทำงานเลย ตามขั้นตอนและเรียนรู้กันผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการ ผลิต -สร้าง -ใช้ -ถ่ายทอด ความรู้อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ตามปกติ...จากนั้นค่อยๆสะท้อนบทเรียน บทรู้ เหล่านั้นให้คนทำงาน ว่านี่หละ...คือ การจัดการความรู้อย่างแท้จริง ทำให้เนียนๆครับ

 

 

 จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

27/07/2554

 


 

อ้างอิงภาพจาก : http://aticle.com/health-and-fitness-articles/medical-services-provided-afford-medical-tourism/

หมายเลขบันทึก: 451088เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ตามมาอ่าน น่าสนใจมาก เจอพี่หนุ่มร้อยเกาะ เอา spa มาฝาก

http://www.gotoknow.org/blog/numfon33/451014

น้องเอก พังงาบ้านเกิดผม ขอไปเรียนรู้ KM ด้วย

คนพัทลุงโดยภรรยา แต่เป็นคนพังงาโดยกำเหนิด เกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด ครับน้องเอก

พี่ขจิตครับ

พังงามี Blogger เราไหมครับ?? 

บังครับ

เห็นทางพังงา ว่าจะเคลื่อนงาน สาธารณสุข กับ ท่องเที่ยว โดยใช้ KM เข็นครับ งานนี้ คงต้องเป็นไปตามขั้นตอน เเละใจเย็นๆ

Pumzz Lunchakorn 

เห็นด้วยกับ อ.เอกอย่างยิ่งครับที่มองเรื่อง "การจัดการความรู้" เป็นวัฒนธรรม ผมเห็นว่ามันต้องแทรกซึมเข้​าไปในเนื้องาน
การ lecture เรื่องการจัดการความรู้ คงจะมีประโยชน์ในลักษณะของก​ารสร้างสำนึกแห่งความเร่งรี​บ (Sense of urgency) เท่านั้น ซึ่งถ้า kick off ได้ดี มันก็น่าจะมีชัยไปกว่าครึ่ง​ครับ แต่อันนึงที่ผมค่อนข้างเห็น​มาเยอะคือ ผู้ประกอบการมักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอะไรที่เป็นนามธร​รม เขาชอบอะไรที่เป็น quick tips และนี่ก็เป็นปัญหาในส่วนต้ว​ของผมหลายครั้งที่จะดำเนินก​ารพัฒนาองค์การธุรกิจ...
(ชอบที่ อ.เอกบันทึกไว้ครับ)
--------------------------------------------------------------
จาก Facebook ครับ ขอบคุณ คุณPumzz

มีครับ

น้อง ปู อันดามัน

ทนายฝนแปด

อีกคนเป็นจนท.หัวหน้าสอ. เคยร่วมงาน ของศซพถ.ด้วยกับ กับอ.ชายขอบ(เท่าที่นึกได้มีสามคนก่อนครับ)

ขอบคุณครับบัง

ที่พังงามีบล้อกเกอร์ หลายท่านเหมือนกันนะครับ ที่สำคัญพังงามีทะเลสวยๆด้วย

ขอบคุณครับ คุณทิมดาบ

ผมสบายดีครับ

ผู้ประสานงาน พังงา

ต้องขอบคุณ อ.เอก มากค่ะ

แค่อ่านข้อคิดเห็นของอาจารย์ที่ให้มา ก็ใช่ไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นแล้วล่ะค่ะ เพราะจากการประชุมทีมงาน(บ่ายวันนี้) ได้ข้อสรุปตรงกับที่อาจารย์สรุป ซึ่งประโยชน์ที่จะได้ก็เป็นวัฒนธรรมองค์กร และเป็นการทำ KM แบบเนียนๆอย่างที่อาจารย์ว่าค่ะ และขอบคุณ คุณPumzz ด้วยค่ะที่ช่วยเสนอแนวคิด

งั้นวันนี้ ถือว่าเป็น kick off งานสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยวพังงา ได้มั้ยค่ะ

ยินดีอย่างยิ่ง ที่จะมีโอกาสต้อนรับอาจารย์ และผู้ที่จะมาเยี่ยมเยือนพังงา ค่ะ

ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

คนพังงา

สวัสดีค่ะน้องเอกมาเรียนรู้ และส่งกำลังใจในการทำงานนะคะ...

ขอบคุณครับคุณเนาวรัตน์ ,บังหีม เเละครูรินดา

------------------------------------------------------------------

ขอบคุณครับทุกท่าน เจอกันที่เขาหลัก พังงาครับ

น้องเอกครับ

น้ำเค็ม บางสัก เขาหลัก ทับละมุ เขาปิหลาย ท่านุ่น บังทำแร่มาแรกเมื่อปี2520 ครับ ยังจำอดีต คดีนอนบนสะพานท่านนุ่นได้ดี มีการเผาโรงงานแทนทาลั่ม สมัยยังหนุ่มอยู่

บังครับ...

ผมได้ข่าวว่า บังการีมจะไปเขาหลักช่วงนั้นด้วย ดีใจครับที่จะได้เจอบังการีม อย่างน้อยไปในพื้นที่ใหม่ๆ ก็ได้เจอกัลยาณมิตร

ว่างๆต้องไปนั่งฟังบัง วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- คุยเรื่อง น้ำเค็ม บางสัก เขาหลัก ทับละมุ เขาปิหลาย ท่านุ่น นะครับ

น้องเอกครับ บล๊อกเกอร์ พังงาอีกคนคือ ครู กศน. ...นามน้องหมึกครับ

อยากให้แผนทุกแผนที่เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ เกิดภายหลังการมองเห็น "ภาพรวม" เพื่อที่เราจะได้ไม่ miss first priority

เรามีทรัพยากรจำกัด คน เงิน ของ เวลา first things first เป็นเริ่องสำคัญในการบริหารจัดการ ตอนนี้อะไรๆเริ่มมาลงที่ รพ.สต.เยอะขึ้นๆ ยังไงๆก็ขอให้ "ความจำเป็นเร่งด่วน" ได้ถูกดูแลจนเป็นที่พอใจ ส่วนถ้ายังมีทรัพยากรเหลือ ก็เอาไปทำที่เร่งด่วนรองๆลงมา

เห็นด้วยกับ อ.Phoenix มองภาพรวม แล้ว ทะลวงให้ตรงจุด ครับ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

  • คุณยายมาส่งกำลังใจค่ะ หายเหนื่อยแล้วใช่ไหม?
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท