เรื่องเล่ากรรมนรกสวรรค์ในพุทธ 6


จากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกภูมิไปก็ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดีสูงขึ้นไปตามลำดับ

บทที่บทนำ

 

ภูมิหลัง

 

ปรัชญาอินเดียได้แสดงให้เห็นในทัศนะต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความจริงจึงมีหลายลัทธิมีนานาทัศนะ  โดยเฉพาะเรื่องกรรม  นรกและสวรรค์ได้เป็นปัญหาสำคัญมีการถกเถียงกันในแวดวงวิชาการทุกระบบของปรัชญาอินเดียหรือในทุกศาสนา

 

ศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาท่ามกลางนานาทัศนะ  พระพุทธเจ้าสอนชาวโลกให้รู้กฎแห่งความจริงว่าทุกชีวิตอยู่ภายใต้กรรมลิขิต  ทุกชีวิตมีอิสรเสรีในการกระทำต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์วิถีชีวิตตนเอง

 

ในส่วนของกรรมเป็นหลักพุทธธรรมนั้นได้กล่าวสะท้อนภาพการกระทำต่าง ๆ ว่ามีผลเกิดขึ้นจริง จึงเรียกว่าเป็นกรรมวาที  คือ  เป็นหลักคำสอนให้เชื่อเรื่องกรรม ( กมฺมสทฺธา )  ให้เชื่อผลลัพธ์ของกรรม  ( กมฺมวิปากสทฺธา )  ให้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีกรรมเป็นของตน  ( กมฺมสฺสกตาสทฺธา )  และให้เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ( ตถาคตโพธิสทฺธา )...พระราชวรมุนี  ( ประยุทธ์  ปยุตฺโต ). 2528 : 164 )  ซึ่งคัดค้านพวกอกรรมวาที  อกริยาวาที  หมายถึงพวกมิจฉาทิฏฐิที่ไม่ยอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม

 

ในส่วนเรื่องนรกและสวรรค์นั้นทางวัฒนธรรมไทยได้สะท้อนมุมคิดที่หลากหลาย  ดังจะเห็นทางศิลปกรรมเช่น ภาพฝาผนังของปูชนียสถานจะมีเรื่องนรกและสวรรค์ปรากฏเสมอ...พระเทพเวที ( ประยุทธ์  ปยุตฺโต ). ( 2531 : 92 )

 

ในทางวรรณคดีเช่น  หนังสือไตรภูมิพระร่วง  กล่าวถึงเมืองนรกว่า  มีนรกขุมใหญ่  8 ขุม  โดยให้ชื่อขุมนรกเรียงลำดับลงไปจากสูงสุดลงไปต่ำสุด  คือ  สัญชีวนรก  กาฬสุตตนรก  สังฆาตนรก  โรรุพพนรก  มหาโรรุพพนรก  ตปนนรก  มหาตปนนรก  และอเวจีมหานรก  สัตว์โลกผู้ทำบาปย่อมไปเกิดในนรกขุมใดขุมหนึ่งใน 8 ขุมนั้นตามกำลังบาปที่ตนกระทำลงไป...เสฐียรโกเศศ . ( 2518 : 25 )

 

และมีการกล่าวถึงสวรรค์ว่า  สูงขึ้นไปไกลพื้นดินแห่งโลกนี้ได้  46,000  โยชน์  จะถึงสวรรค์ชั้นแรกเรียกว่าจาตุมหาราชิกภูมิ  ดินแดนของท้าวมหาราชทั้ง 4 คือ  ท้าวธตรฏอยู่ประจำทิศตะวันออก  ท้าววิรุฬหกอยู่ประจำทิศใต้  ท้าววิรูปักษ์อยู่ประจำทิศตะวันตก  และท้าวไพศพอยู่ประจำทิศเหนือ

  จากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกภูมิไปก็ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ชั้นยามา  ชั้นดุสิต  ชั้นนิมมานรดี  และชั้นปรนิมมิตวสวัตดีสูงขึ้นไปตามลำดับ  จนถึงสวรรค์ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม...เสฐียรโกเศศ . ( 2518 : 153- 200 ) นั้นแล.

...........................................................................

 

บรรณานุกรม 

พระเทพเวที  ( ประยุทธ์  ปยุตฺโต ) . ( 2531 ) . กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ . กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง  กรุ๊พจำกัด .

พระราชวรมุนี  ( ประยุทธ์  ปยุตฺโต ) . ( 2528 ). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

เสถียรโกเศศ . ( 2518 ) . เล่าเรื่องในไตรภูมิ . กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา .

หมายเลขบันทึก: 449782เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่าน

พร้อมกับมาเรียนรู้ในบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ท้าวไพศพอยู่ประจำทิศเหนือ

คือท้าวเวสสุวรรณใช่หรือเปล่าครับ

เห็นหายไปองค์หนึ่ง

 

สวัสดีครับ คุณ ต้นเฟิร์น

มีความสุขกับการแสวงหาความรู้นะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณโสภณ เปียสนิท

ท้าวเวสสุวรรณคือท้าวกุเวร ในอีกนามหนึ่งนะครับผม

อยู่ทางทิศเหนือ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลครับ...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท