การบูรณาการแบบแยกส่วน


การบูรณาการน่าจะหมายถึง องค์รวม ไม่ใช่เอาสิ่งต่างๆ ที่แยกไว้มารวมกัน แต่เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์จากฐานธรรมชาติ ฐานของปัญหา ฐานของความจริง โดยไม่มีกรอบใดๆ ขีดเส้น ขีดขั้นใดๆ แบบนี้แล้ว ปัญหาๆ ต่างจะเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เมื่อรู้จักตั้งคำถาม การหาคำตอบด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป

ผมอ่านบททวนงานของอาจารย์ท่านหนึ่งเกี่ยวกับความหมายของการบูรณาการดังนี้ ...ความหมายของการบูรณาการคือการทำให้สมบูรณ์(Integration)คือการทำหน่วยย่อยๆที่สัมพันธ์กันมาผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวให้ครบสมบูรณ์ในตัวเองและยังได้แบ่งประเภทของของการบูรณาการเป็นหลักสูตรบูรณาการ (Curriculum Integration) คือการนำเนื้อหาจากศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสานกันก่อนการจัดการเรียนการสอนและการบูรณาการการเรียนการสอน (Instructional Integration) คือการนำเนื้อหามาจัดการเรียนการสอนด้วยการผสมผสานวิธีการหลากหลาย กิจกรรมหลากหลาย...

ซึ่งเป็นความหมายที่นิยามไว้จากท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ทราบว่ามีการอ้างอิงบทนิยามนี้ทั่วไปในวิทยานิพนธ์นิสิตปริญญาโท-เอก

ผมขอแสดงความคิดเชิงวิพากษ์ ดังนี้ครับ

การนิยามนี้มีลักษณะแยกส่วน กล่าวคือ เป็นการบูรณาการโดยเอาสิ่งที่แยกส่วนไว้แล้วเป็นฐาน คือเอาวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เป็นฐานเริ่มต้น แล้วนำศาสตร์เหล่านั้นมารวมกัน แล้วเรียกว่านั่นว่า บูรณาการ ใช้ลักษณะการคิดเชิงสังเคราะห์ การบูรณาการแบบนี้จะมีตัวศาสตร์ความรู้จากวิชาต่างๆ เป็น "กรอบ" ไม่เป็นธรรมชาติ

ขอเสนอการบูรณาการบนฐานชีวิตและวัฒนธรรมที่ หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวเอาไว้ ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าได้ไม่ยาก การบูรณาการน่าจะหมายถึง องค์รวม ไม่ใช่เอาสิ่งต่างๆ ที่แยกไว้มารวมกัน แต่เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์จากฐานธรรมชาติ ฐานของปัญหา ฐานของความจริง โดยไม่มีกรอบใดๆ ขีดเส้น ขีดขั้นใดๆ แบบนี้แล้ว ปัญหาๆ ต่างจะเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เมื่อรู้จักตั้งคำถาม การหาคำตอบด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป

วิธีการได้มาซึ่งคำตอบอาจจำต้องใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์หลายสาขาวิชา คำตอบที่ได้มา อาจไม่สามารถจัดรวมอยู่ในศาสตร์สาขาวิชาเหล่านั้นได้ ดั่งนี้แล้ว จึงเกิดสาขาวิชา เจอศาสตร์ใหม่ๆ ได้ต่อไป นี่คือเส้นทางและรากฐานของการคิดเชิงสร้างสรรค์

หรือท่านผู้อ่านเห็นประการใด

หมายเลขบันทึก: 449435เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I agree with "...วิธีการได้มาซึ่งคำตอบอาจจำต้องใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์หลายสาขาวิชา คำตอบที่ได้มา อาจไม่สามารถจัดรวมอยู่ในศาสตร์สาขาวิชาเหล่านั้นได้ ดั่งนี้แล้ว จึงเกิดสาขาวิชา เจอศาสตร์ใหม่ๆ ได้ต่อไป นี่คือเส้นทางและรากฐานของการคิดเชิงสร้างสรรค์..."

This is about 'bottom up' approach; combining pieces to make a whole; linking (process) ideas and materials to invent; ...

But words like 'building blocks', 'components' and 'parts' can be misleading because they convey concepts in 'top down' approach: breaking a whole into pieces, separating functions into (logical) units, assigning roles and responsibilities to sub-assemblies; ...

In real life, I think, we zig-zag across bottom-up and top-down approaches --as we test out our creation--.

We can use the famous 'ariya-sacca 4' in 'do ... until ...' loop to integrate pieces into a new 'organization'.

Discrepancies or flaws within organizations make them weak -- they can break under stress.

Self-organized bodies developed from meshing (networking) of pieces can be more robust but may not work as we want ;-)

ขอบคุณ คุณ sr มากครับที่วิพากษ์เชิงสร้างสรรค์อย่างยิ่ง ในปัจจุบัน มนุษย์มักใช้ฐานคิด ใช้วิธีคิด แสวงหาความรู้จากเพียงสองทาง คือ อ่าน ฟัง ดูจากแหล่งความรู้ภายนอก และ จากกระบวนการคิดของตนเอง ถึงแม้ว่าจะมีการลงมือปฏิบัติก็จะเน้นทางการรูปธรรม วัตถุธรรมล้วนๆ ซึ่งได้ผลอย่างดียิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์แบบวัตถุๆ ดังจะเห็นได้จากความเจริญรุ่งเรื่องของโลกในปัจจุบัน แต่ในทางกลับกัน การไม่บูรณาการอย่างแท้จริง ไม่สอดคล้องกับความจริง การละเลยมิติทางนามธรรม คว้ามล้าหลังของการเรียนรู้ด้วยวิธีการเจริญสติภาวนา ทำให้เราไม่สามารถบูรณาการได้อย่างแท้จริง

ตัวอย่างองค์ความรู้เรื่อง อริยสัจ 4 นั้น ที่ท่านยกตัวอย่างนั้น เป็นตัวอย่างที่ดียิ่ง เพราะหากขาดการเรียนรู้ด้วยมิติทางจิตใจแล้ว จะไม่สามารถเข้าถึง เข้าใจ ได้เลย

ตอนนี้ผมรู้สึกว่า ครูทั่วประเทศ กำลังมุ่งไปที่คำว่า "คิดวิเคราะห์" ถึงแม้ว่าจะเป็นพื้นฐานของกระบวนการคิดอื่นๆ แต่การหันมาพัฒนาการคิควิเคราะห์อย่างเดียว พัฒนาฐานคิด แต่ละเลยมิติทางนามธรรม ก็ไม่ทางจากการมองแยกส่วนอย่างหนึ่งเท่านั้น

หรือท่าน sr ว่าอย่างไรครับ

ดีใจพบ LLEN มหาสารคาม ตามไปอ่าน LLEN สุราษฯนะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท