คดียาเสพติด วิธีพิจารณาคดียาเสพติด2550 ขึ้นศาลกันแค่ 2 ศาล จบ,คดีนักการเมืองทุจริตม้วนเดียวจบ


พ่อค้ายา 2 ม้วนจบ นักการเมืองชั่วม้วนเดียวจบ

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พศ. 2550(31 ธันวาคม 2550) ประกาศใช้ เป็นกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดียาเสพติดโดยเฉพาะ

ก่อนหน้านี้ ใช้วิธีพิจารณาคดีอาญาทั่วๆไป ซึ่งมีขั้นตอนที่ชักช้า ไม่เปิดให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา เปิดโอกาสให้พนักงานสืบสวนสอบสวนใช้วิธีการต่างๆซึ่งให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลรับฟังได้ และได้ขยายอายุความเป็น 30 ปี ซึ่งต่างกับกฎหมายเก่าที่ใช้อายุความแค่ 20 ปี รวมทั้งให้ศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักรพิจารณาคดี หากคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจให้ อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ แผนกคดียาเสพติด ซึ่งต่างกับคดีอาญาโดยทั่วไป ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ ภาค 1-9 (ตามเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ภาคนั้นๆ)

และหากจำเลยหลบหนีระหว่างประกันตัว  หากจำเลยมีทนายความแล้วให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ ซึ่งคดีอาญาอื่นๆที่มีโทษสูงไม่อาจพิจารณาลับหลังจำเลยได้ ต้องออกหมายจัย จำหน่ายคดีชั่วคราวก่อน จับได้เมื่อไหร่ค่อยนำมาพิจารณากัน

และคดียาเสพติดที่มีโทษไม่ถึงขนาดจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต หากจำเลยรับสารภาพ โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ ศาลฟังลงโทษได้เลย เว้นแต่ศาลสงสัย(ซึ่งไม่ค่อยสงสัย)

ที่สำคัญ ให้คดีถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์ (มิให้ยื่นฎีกา  เว้นแต่คู่ความจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา อ้างเหตุมีเหตุผลสำคัญอันควรนำขึ้นสู่ศาลฎีกา และศาลฎีกาอนุญาตรับไว้ ซึ่งยากมากที่ท่านจะรับไว้) เนื่องจากกฎหมายอยากให้จบเร็ว และลดภาระคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา

ตัวอย่าง เช่น

จำเลยถูกฟ้องในข้อหาจำหน่ายยาเสพติดที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลชั้นต้นยกฟ้อง

พนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์ ไปยังศาลอุทธรณ์ แผนกคดียาเสพติด(ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมิใช่ภาค 8 ซึ่งตั้งอยู่ที่ภูเก็ต)

ศาลอุทธณ์ แผนกคดียาเสพติดกลับคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต คเดีถึงที่สุด กล่าวคือจำเลยยื่นฎีกาไม่ได้ เว้นแต่จำเลยจะยื่นยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา โดยอ้างว่าคดีมีเหตุอันสมควรขึ้นสู่ศาลฎีกา หากศาลฎีกาไม่รับ คดีก็จบ

ติดคุกตลอดชีวิต

ซึ่งในทางปฎิบัติ จำเลยจะขอไปยังศาลฎีกาแน่ๆ แต่โดยประสพการณ์ ศาลฎีกาไม่รับง่ายๆหรอกครับ นอกจากคดีที่เป็นข่าว หรืออยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีเหตุพิเศษอื่นๆ

แต่หากกรณีที่ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต แม้จำเลยไม่อุทธรณ  จะรับโทษเลยว่างั้นเถอะ ยังไม่ได้ครับ กฎหมายให้ศาลชั้นต้น ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ แผนกคดียาเสพติดตรวจสำนวนและตัดสินอีกครั้งหนึ่ง

กลับมาที่เจตนารมย์ของกฎหมายนี้ ก็เขาเขียนกฎหมายให้จบสั้น ๆแบบ 2 ม้วนจบ

ม้วนที่ 3 (ขึ้นสู่ศาลฎีกา)จะเอามาฉายซ้ำเป็นไปได้ยาก เป็นความประสงค์ของรัฐสภาและฝ่ายสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อที่จะลดหรือจำกัดคดีให้ขึ้นสู่ศาลฎีกาให้น้อยที่สุด

ผิดกับคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ขึ้นศาลชั้นต้น ไม่ขึ้นศาลอุทธรณ์ ให้ชักช้า ขึ้นศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการสืบพยานเหมือนศาลชั้นต้นนะครับ แต่เมื่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินอย่างใด ม้วนเดียวจบเช่นกัน

เช่น

คดี การทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข ฯสมัยท่านรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรํบมนตรี ต้องโทษจำคุก หลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ ท่านเข้าหาธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ บวชเป็นพระจนถึงปัจจุบันนี้

อดีตนายกฯทักษิณ และภรรยา ในคดีที่ดินรัชดา

กลุ่มเนวินและพวก ในคดีทุจริตกล้ายาง

และมีอีกหลายท่าน ในคดีหวยบนดิน

ม้วนเดียวจบ แต่จบไม่เหมือนกัน

ใครสนใจว่าคดีไหนจบแบบใด ลองไปค้นคว้า หาอ่านได้ที่เว็บไซด์ศาลฎีกา เพื่อศึกษาดูได้ครับ.

 

หมายเลขบันทึก: 448951เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท