เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย contract farming


ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย contract farming นโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตรของไทยร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน(ACMECS)

                พิจารณา โครงการ Contract farming มาตรการส่งเสริมด้าน  เศรษฐกิจหรือแค่การวางกรอบด้านนโยบาย    

                   กลับมาอีกครั้งแล้วนะคะสำหรับภาคต่อของ ACMECS และคิดว่าคงจะมีภาคต่อไปเรื่อยๆเลยคะ หวังว่าคงจะยัง  ไม่เบื่อกันนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาพิจารณาในส่วนของโครงการ contract farming กันนะคะว่ามันเป็นมาอย่างไรและมันเกี่ยวข้องกับ ACMECS อย่างไร      

               Contract farming ถ้าแปลตรงตัวมันคือการทำฟาร์มสัญญา ซึ่งหมายถึงการเลี้ยงปศุสัตว์หรือเพาะปลูกพืชที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันโดยส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาผลผลิตไว้ตายตัว ซึ่งเรียกว่า ฟาร์มประกันราคา หรือฟาร์มประกัน โดยการทำสัญญาฟาร์มประกันมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายฟาร์ม เรียกว่า ฟาร์มประกัน ซึ่งก็คือฝ่ายเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม ส่วนฝ่ายที่ 2 เป็นคู่สัญญาที่สัญญาจะซื้อผลผลิตคืนกลับ ในราคาประกันที่เรียกว่า ผู้รับประกัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปบริษัท เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเบทาโกร บริษัทแหลมทองสหการ เป็นต้น     

                    ในการจัดทำ Contract farming ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการไม่น้อยกว่า 30 ปี เป็นการประกันราคาพืชผลทางเกษตรส่วนใหญ่      

                       ผลดี คือ มีปริมาณผลผลิตที่ต้อนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ผู้ส่งออกสามารถวางแผนการตลาดล่วงหน้าได้         

                      ผลเสีย  คือจะต้องมีวิธีการวางแผน การดำเนินการที่ดีและมีคู่สัญญาราคาฟาร์มประกันราคาจำนวนมากเพียงพอจึงจะได้กำไรและประสบผลสำเร็จ      

                      ตอนนี้คงจะได้ทราบกันแล้วใช่มั้ยหละคะว่าโครงการ contract farming มันคืออะไร ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการนี้มีมานานกว่า 30 ปีมาแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามันมีอยู่ก่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ชื่อว่า ACMECSแน่นอน อ้าวแล้วมันมาเกี่ยวข้องกันได้อย่างไรหละ ใจเย็นๆคะ กำลังจะตอบให้เดี๋ยวนี้คะ        

                     พิจารณา contract farming กับ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบ ACMECS  

                     หลักการนี้ถือเป็นนโยบายร่วมในการผลิตและส่งเสริม การผลิต การค้า และการลงทุนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(ACMECS) ที่มุงเน้นการช่วยตัวเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน สร้างฐานการผลิตชายแดนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกใหม่อาเซี่ยน ด้านการเกษตร/ อุสาหกรรมและการบริการ สร้างงานและลดช่องว่างรายได้ของชาวไทยและประเทศสมาชิกใหม่อาเซี่ยน ลดการเคลี่อนย้ายแรงงานผิดกฎหมาย ลกปัญหายาเสพติด สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนของไทย มีส่วนร่วมเข้าไปส่งเสริมการผลิตและรับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในระบบ contract farming และส่งออกมายังไทยภายใต้สิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลกากร AISP สำหรับสินค้าเกษตร 8 รายการ ประกอบด้วย ถั่วเหลือง  ข้าว มันฝรั่ง  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ละหุ่ง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ยูคาลิปตัส สำหรับลาวได้สิทธิพิเศษเพิ่ม ในการส่งออกสินค้าเกษตรอีก 1 รายการคือ ลูกเดือย                                       

                                                      หลักการที่สำคัญ    

                      ภาคเอกชนไทยทีให้ความสนใจในการจัดทำ contract farming  กับประเทศเพื่อนบ้านโดยประสานกับจังหวัด  หอการค้า สภาหอการค้าไทย                                                          ขั้นตอนในการดำเนินงาน

          1        เจรจาทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านกำหนดพื้ฯที่เป้าหมายเพาะปลูกให้ชัดเจน

              2        กำหนดพืชเป้าหมาย ประสานนักลงทุนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าลงทุนในพื้นที่ที่กำหนด

              3        นำคณะผู้แทนทางการค้าเดินทางไปทำสัญญา contract farming4        ติดตามความก้าวหน้าและประสานให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับการทำcontract farming ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมือที่เรียกย่อๆว่า ACMES     

               เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอในแง่มุมไหนของเรื่องนี้ก็ต้องคอย    ติดตามกันนะคะ                                                  

           

หมายเลขบันทึก: 44808เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอขอบคุณอาจารย์เสาวณีย์...                       

  • เรื่องนี้น่าสนใจมาก
  • เข้าใจว่า contract farming ทางด้านแหล่งพลังงานทางเลือกน่าจะเป็นเรื่องสำคัญของไทยต่อไป เช่น ปาล์มน้ำมัน พืชที่เป็นแหล่งตั้งต้นผลิตแอลกอฮอล์ ฯลฯ
  • ขอเรียนเสนอว่าการเพิ่มภาพประกอบน่าจะทำให้บล็อกของอาจารย์อ่านง่ายขึ้นครับ
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสัญญานี้
ใช่แล้วคะ ในเรื่องของแหล่งพลังงานทดแทน การทำสัญญาcontract farmingก็จะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะว่าจะเป็นการนำพืช เช่น ปาล์ม เป็นต้นมาใช้ในการทำพลังงานทดแทน ซึ่งมันก็จะส่งผลดีต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ขอบคุณ เบญจพลนะคะที่เข้ามาทักทาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท