เลี้ยงโคอย่างพอเพียง


เลี้ยงโคอย่างไรให้สมบูรณ์ในฤดูแล้ง
 ชาวอีสานจะเลี้ยงโคอย่างไรให้สมบูรณ์ในฤดูแล้ง
วัวซาฮิวาลที่สวนป่าครูบาสุทธินันท์
             จากที่เป็นครูบ้านนอกแล้วมีโอกาสได้มาเรียนพัฒนบูรณาการศาสตร์ที่ ม.อุบล และสนใจที่จะทำวิจัยการเลี้ยงโคของชาวบ้าน  ด้วยโจทย์แรกที่ว่า "การศึกษาการจัดการความรู้เรื่องการเลี้ยงโคตามความเหมาะสมกับสภาพทรัพยากรและสังคมของเกษตรในโครงการนักการความรู้ระดับชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์"  แต่พอได้เรียนกับ ดร.สุทธิดา แล้วรู้สึกว่าโจทย์ของตัวเองยังใหญ่เทอะทะ เพราะมีคำถามที่แทรกในโจทย์นี้อีกมากมายมหาศาล  จึงพยายามที่จะมองปัญหาให้แคบลงมาอีก แล้วตั้งคำถามใหม่ว่า "เลี้ยงโคอย่างไรให้สมบูรณ์ในฤดูแล้ง"
แต่เนื่องจากยังไม่ได้เลี้ยงโคด้วยตนเอง จึงถือโอกาสไปเลียบ ๆ เคียงๆ แถวสวนป่าครูสุทธินันท์ที่ท่านเลี้ยงโคแบบเป็นเรื่องเป็นราว    ที่คิดว่าที่ตรงนี้จะเป็นสถานที่ที่ตัวเองจะขอมาทำการวิจัยเรื่องโคอย่างแน่นอน โดยที่สวนป่านี้มีโคหลัก ๆ อยู่ 2 พันธ์ คือพันธ์ลูกผสมพื้นเมืองกับพันธุ์ซาฮิวาล ข้อแตกต่างที่พบจากสองพันธุ์นี้ก็คือ
พันธุ์ลูกผสมพื้นเมืองเมือกินหญ้าอิ่มแล้วจะนอนเอกเขนก ไม่สนใจใคร ต่อให้เอาหญ้าอ่อนมาล่อเพื่อถ่ายภาพก็ไม่สน ส่วนพันธุ์ซาฮิวาลนั้นกินหญ้าได้ตลอดเวลา ไม่มีนอนพัก แถมยังชอบถ่ายภาพ เพราะเห็นคนถือกล้องไปตรงไหนเป็นเดินตาม ประเภทเป็นดาราหน้ากล้องได้สบาย ที่สำคัญตัวใหญ่อ้วนถ้วนสมบูรณ์มาก แหมก็กินซะปานนั้น รับรองเป็นใครก็อ้วน  นอกจากนี้ลุงอานสุดหล่อที่ทำหน้าที่เลี้ยงบอกว่าวัวทั้งสองพันธุ์นี้ถ้ากินอาหารข้นควบคู่ไปกับหญ้าจะอิ่มนานและกินหญ้าน้อยลง  แต่เนื่องจากอาหารข้นราคาแพง และช่วงนี้เป็นฤดูฝนมีหญ้าเยอะจึงไม่จำเป็นต้องใช้อาหารข้น เพียงแต่ต้องหาให้กินมากขึ้นกว่าเดิมเป็นสองเท่า   ดังนั้นถ้าคนเลี้ยงต้องขยันมากขึ้น แต่มีข้อดีอีกอย่างคือเมื่อกินมากก็ให้มูล (ขี้) มาก ได้ปู๋ยมากขึ้นตามลำดับค่ะ
 
วัวหยิ่ง (พันธุ์ลูกผสมพื้นเมือง)
        จากข้อมูลที่พบจะเห็นว่าในฤดูฝนโคจะสมบูรณ์เนื่องจากอาหารหรือหญ้าตามธรรมชาติมีอุดมสมบูรณ์ แต่พอถึงฤดูแล้งจะพบเห็นคนเลี้ยงโคผอม ๆ ที่หิ้ววิทยุ สะพายย่ามและถือหนังสติ๊กเอาไว้ยิงโคเวลาฝ่าฝืนคำสั่ง เดินไล่ต้อนโคผอม ๆ ไปเลี้ยงตามท้องทุ่ง ซึ่งเมื่อเห็นสภาพแล้วสะท้อนใจ เพราะมองเห็นซี่โครงโคที่เดินได้ ถ้าโคนำเหล่านี้ไปขายคงได้ราคาไม่เท่าไร  จึงมีความคิดว่าจะเลี้ยงโคอย่างไรให้สมบูรณ์ในฤดูแล้ง ชาวบ้านจะได้ขายโคได้ราคาดี มีรายได้จุนเจือครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง ความคิดแรกที่ได้จากครูบาสุทธินันท์คือท่านบอกว่าน่าจะใช้ใบไม้เลี้ยงโคในฤดูแล้ง  เหมือนที่เคยเขียนเล่าในบล็อกว่าเคยเลี้ยงโคด้วยใบประดู่ในตอนเด็ก น่าจะเป็นทางเลือกที่เข้าท่าเพราะต้นประดู่ให้ไม้เนื้อดีส่วนใบให้อาหารโค ถ้าเป็นได้แบบนี้เราก็จะได้ไม้ ได้ป่าและได้โคที่สมบูรณ์ไปพร้อม ๆ กัน
หมายเลขบันทึก: 44799เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชื่อเรื่องไม่ค่อยตรงกับเรื่องเท่าไหร่นะ จะปรับตรงไหนก็ได้ ให้สอดคล้องกันหน่อย

ประเด็นของครูบาเป็นการทดสอบภูมิปัญญาอีสานเรื่องการเลี้ยงวัวในป่า ท่านมีป่าก็เลยทำเรื่องนี้ได้ง่าย และเป็นแนวทางให้คนอื่นเห็นแนวทางการฟื้นฟูความรู้ดังกล่าวมาใช้อีกครั้งหนึ่ง และทำให้ดีกว่าเดิม ผมคิดว่าการวิเคราะห์ในแนวนี้จะช่วยคุณได้มาก ลองดูนะ

เลี้ยงแบบพอเพียงอีกแล้วหรือจ๊ะ แต่ดูรูปแล้วทำไมวัวมันมากจังขอไปทำงัวจี่สักตัวได้ใหมครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่บอกว่าคิดแบบนี้จะช่วยหนูได้มาก มีกำลังใจขึ้นเป็นกองค่ะ

ขอบคุณน้องแสนดีค่ะ รูปที่เห็นเป็นวัวของความพอเพียงระดับหนึ่งที่มีทุนมากหน่อย แต่ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องมีแบบนี้แต่ใช้รูปแบบนี้ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท