การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่าง


กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมถึงคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีหลายๆเรื่องที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนดีขึ้น หรือเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและคลินิกเทคโนโลยีเคลือข่าย ควรที่จะระดมสรรพกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าวโดยไม่ชักช้า

สืบเนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย  น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์   สุโขทัย  แพร่  น่าน และลำปาง จากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง  ระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤษภาคม 2549  ทำให้มีฝนตกหนักมากบริเวณเทือกเขารอยต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์  สุโขทัย และแพร่  โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดวันได้ 330 มม. ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มในพื้นที่อำเภอลับแล  ท่าปลา และอำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์  อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และอำเภอเมือง  จังหวัดแพร่    ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมีผู้เสียชีวิตพบศพแล้ว 77 คน และสูญหายอีก 39 คน  บ้านเรือนราษฎร  สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตรและทรัพย์สินของประชาชนตลอดจนสถานที่ราชการได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกหน่วยงานได้ระดมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว นั้น  กระทรวงวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี โดยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (ดร.ศักดิ์ ตรีเดช) มีดำริว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมถึงคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีหลายๆเรื่องที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนดีขึ้น หรือเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและคลินิกเทคโนโลยีเคลือข่าย ควรที่จะระดมสรรพกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าวโดยไม่ชักช้า  โดยมีเทคโนโลยีที่จะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคเหนือ  ดังนี้           

1.) การเติมความรู้เพื่อการผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำและผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค           

2.) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ "การเลี้ยงหมูหลุม"  

3.) การฝึกอบรมเติมความรู้การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ฟาร์มขนาดเล็ก

4.) การเติมความรู้การซ่อมรถจักรยานยนต์

5.) การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตน้ำยาล้างจาน และสบู่ใส”      

 6.) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการแปรรูปผลิตผลทางการ                  เกษตรแบบครบวงจร           

7.) โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดโคนญี่ปุ่น”           

8.) การติดตั้งระบบผลิตน้ำดื่มชุมชน ขนาด 1,000 ลิตร / ชั่วโมง           

9.) บล๊อกประสาน / เอทานอล (อ้อย)           

10.) ติดตามประสานงานพื้นที่ภายใต้โครงการการนำ ว. และ ท. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ  

วัตถุประสงค์

1.1    เพื่อให้ได้ประชาชนและหมู่บ้านเป้าหมายที่ประสบอุทกภัยเพื่อจะดำเนินการจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างน้อย 10 หมู่บ้าน  ประชาชน 500 คน
1.2    เพื่อร่วมกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.3    เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยมีกำลังใจในการต่อสู้กับสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันและอนาคตที่สดใสต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย           
ประชาชน ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่าง 3 จังหวัด

   จังหวัดอุตรดิตถ์   :  ชาวบ้าน บ้านหัวดง บ้านด่านนาขาม อ.ลับแล และ บ้านน้ำต๊ะ  บ้านน้ำลี                                    บ้านทรายงาม อ.ท่าปลา 

 จังหวัดแพร่   :  ชาวบ้าน อ.วังชิ้น

หมายเลขบันทึก: 44661เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท