การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม


การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

"การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานราชการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม"

หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรอง

เลี้ยงชีพให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 เวลา 13.30 น.

กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

จึงได้จัดประชุมชี้แจงในเรื่อง

"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ให้กับพนักงานราชการ

จำนวน 29 ราย ได้รับทราบถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ

วัตถุประสงค์ของกองทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก

กองทุนฯและนายจ้าง...

โดย ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล

สงคราม มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบัติ พรหมเสน

(รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร),

รองศาสตราจารย์สุรชัย ขวัญเมือง (ที่ปรึกษาอธิการบดี),

นางบุษยมาศ แสงเงิน (ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล)

เป็นผู้มาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับ

พนักงานมหาวิทยาลัย + พนักงานราชการ

ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร?...

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ

1. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง

2. ประกอบด้วยเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้าง

3. เป็นเงินออมประเภทผูกพันระยะยาว

4. จดทะเบียนกองทุนเป็นนิติบุคคลกับสำนักงาน ก.ล.ต.

วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ...

1. เป็นหลักประกันที่มั่นคงในอนาคตของลูกจ้างและครอบครัวเมื่อออกจากงานเกษียณอายุหรือเสียชีวิต

2. เป็นสวัสดิการของนายจ้างที่มีให้ลูกจ้าง

3. สร้างแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง

4. ส่งเสริมการระดมเงินออมของภาคเอกชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ประโยชน์สำหรับสมาชิกกองทุนฯและนายจ้าง...

สมาชิกกองทุนฯ

1. มีเงินออมไว้ใช้เมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ

2. กองทุนจดทะเบียน ทำให้มีความมั่นคงและปลอดภัย เพราะเป็นนิติบุคคลแยกจากนายจ้าง

3. มีบริษัทจัดการมืออาชีพเป็นผู้บริหารและจัดการเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้กองทุนฯ ได้รับผลประโยชน์งอกเงยมากขึ้น

4. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ประโยชน์สำหรับสมาชิกกองทุนฯและนายจ้าง...

นายจ้าง

1. สร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้นานขึ้น

2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้นายจ้าง

3. เงินสมทบ สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15 % ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย

4. ข้อกำหนดในการพิจารณารับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินการจัดทำกองทุน

เลี้ยงชีพให้กับพนักงานราชการ จำนวน 29 คน...โดยลูกจ้าง

หักสะสมคนละ 3 % สำหรับมหาวิทยาลัยหักสมทบอีก 3 %

สำหรับนโยบายการลงทุนนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวพนักงานราชการ

จะเป็นผู้ที่เลือกนโยบายในการลงทุนเอง...

นับว่า...กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานราชการ

มรภ.พิบูลสงคราม ก็เป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับ

พนักงานราชการอีกทางหนึ่ง เช่นเดียวกับที่ข้าราชการก็มี

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)...

นี่คือ...หลักประกันในการเกษียณอายุราชการของ

พนักงานราชการที่ต้องการเมื่อตนเองได้ออกจากการปฏิบัติ

หน้าที่ราชการไปแล้ว...ซึ่งเป็นหน้าที่ที่แต่ละส่วนราชการจะต้อง

ดำเนินการเอง เพื่อความมั่นคงของพนักงานราชการ...

หมายเลขบันทึก: 445963เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2011 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจครับ เพราะ กำลังจะเกษียณ ตนเอง อีกสามวันข้างหน้าครับ

สวัสดีค่ะ...ท่านอาจารย์ JJ...Ico48...

  • early หรือค่ะ?...
  • ทำไมรีบเกษียณละค่ะ...
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท