มือข้างหนึ่ง..ที่พร้อมเสมอ..ที่จะอยู่เคียงข้างคุณในความมืด


ความรู้สึกผูกพัน..เป็นความรู้สึกของการได้...เป็นบางส่วนของสิ่งอื่น...ที่นอกเหนือไปจากตัวเอง....เป็นความรู้สึกของการที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง......เป็นความรู้สึกลึกๆว่า...คุณไม่ได้อยู่ตามลำพัง

   เรียนเพื่อนๆชาวBlog วันนี้คุยเรื่องความรู้สึกผูกพัน(Connectedness) เป็นคำไทยที่ใช้แทนคำฝรั่งว่า Connectedness ซึ่งหมายถึง ความรู้สึกถึงความใกล้ชิดผูกพันกับคนอื่น, ความรู้สึกอบอุ่น, ความรู้สึกว่าเป็นที่รักและเป็นที่ต้องการของคนอื่น,ความรู้สึกได้ถึงการดูแลห่วงใยจากคนรอบข้าง รวมไปถึงความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของคนอื่น (Resnick, et al., 1997; Substance Abuse and Mental Health Services Administration, 1998) โดยรวมแล้วความรู้สึกผูกพันนี้ เป็นมุมมองของบุคคลที่สะท้อน ==> การรับรู้ถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นๆในสังคม เช่น พ่อแม่ เพื่อนฝูง ครู อาจารย์ คนในชุมชนและสังคม (Lee and Robbins, 2000)  Hallowell ได้ให้นิยามของ ความรู้สึกผูกพัน ในบทความเรื่อง Connectedness ไว้อย่างชัดเจน (1992 อ้างถึงใน The Hill School, 2003) == > ว่า Connectedness as...a sense of being a part of something larger than oneself. It is a sense of belonging...It is that feeling in your bones that you are not alone. It is a sense that no matter how scary things may become, there is a hand for you in the dark. (ความรู้สึกผูกพันเป็นความรู้สึกของการได้เป็นบางส่วนของสิ่งอื่นที่นอกเหนือไปจากตัวเอง....เป็นความรู้สึกของการที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง......เป็นความรู้สึกลึกๆ ว่าคุณไม่ได้อยู่ตามลำพัง==> เป็นความรู้สึกว่าไม่ว่าจะมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นอย่างไร จะยังคงมีมือข้างหนึ่งที่พร้อมเสมอที่จะอยู่เคียงข้างคุณในความมืด) จากบางส่วนของบทความนี้ สะท้อนว่า Connectedness ไม่ได้หมายความเพียงแค่==> ความใกล้ชิดทางร่างกายหรือทางการสัมผัสภายนอกเท่านั้น แต่เป็น ==> หมายรวมถึง...ความรู้สึกถึงความผูกพัน ความรู้สึกอบอุ่นใจว่า อย่างไรเสียก็ยังมีใครคนนั้นอยู่เคียงข้างกาย แม้ในความเป็นจริงอาจไม่ได้อยู่ร่วมกันหรืออยู่ใกล้กัน ซึ่งความรู้สึกแบบนี้มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของวัยรุ่นมากกว่าการแสดงออกด้วยการสัมผัสทางร่างกาย (Resnick, et al., 1997) คำว่าความรู้สึกผูกพันหรือConnectedness เป็นคำที่อาจทำให้เกิดความสับสนกับคำอื่นๆที่มีความหมายสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น Relationship หรือ Attachment แต่จริง ๆแล้ว คำทั้ง 3 คำนี้มี การวัดที่แตกต่างกัน อยู่อย่างชัดเจน คือ

  - RelationshipและAttachment ==> เป็นการสะท้อนระดับความสัมพันธ์ที่วัดจาก ==> ความใกล้ชิดกันระหว่างบุคคล การได้อยู่ด้วยกัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน การมีสิ่งเหล่านี้ ==> หมายถึง....การมี Relationship หรือ Attachment สูง == >แต่

  - Connectedness นั้นจะวัดระดับความสัมพันธ์จาก ==> การประเมินความใกล้ชิดและการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แล้วเกิดเป็นความรู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่บุคคลนั้นมีกับบุคคลอื่น ซึ่ง==> Connectedness จะเป็นเสมือน==>ผลลัพธ์สุดท้าย(Outcome)ของการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ซึ่งไม่อาจวัดได้ด้วยจำนวนชั่วโมงที่อยู่ด้วยกันหรือจำนวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ความรู้สึกผูกพัน เป็นแนวคิดที่ถูกอ้างอิงบ่อยครั้ง ในงานวิจัยต่างประเทศว่า

     - มีส่วนที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ

     - มีส่วนที่สัมพันธ์กับภาวะทางอารมณ์

     - มีส่วนที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นและเยาวชน การศึกษาจำนวนมากพบว่า ความรู้สึกผูกพันกับครอบครัว กับเพื่อน หรือกับโรงเรียน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน (Resnick, et al., 1997; Kirby,2001; Markham, et al., 2003; The McCreary Centre Society, 2003) การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมไปถึงการใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ (Resnick, et al., 1997; Bonny, et al.,2000; The McCreary Centre Society, 2003) 

       อ่านแล้วเพื่อนๆ เกิดความรู้สึกอะไรบ้างเอ่ย?....สำหรับคำว่า Connectedness และ Relationship และ Attachment มีความเหมือนหรือมีความต่างกันอย่างไร? และคำพูดที่ว่า “เป็นความรู้สึกว่า....ไม่ว่าจะมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นอย่างไร == > จะยังคงมี "มือข้างหนึ่ง" ที่พร้อมเสมอที่จะ "อยู่เคียงข้างคุณในความมืด” === > มีความไพเราะในเนื้อหาและมีผลต่อจิตใจของมนุษย์อย่างเราๆนะคะ

 

ขอบคุณคะที่อ่านบทความ

Somsri Nawarat

 

 

   กับหนังสือที่==>ลูกสาวคนเล็ก==> เป็นนักแต่ง

  ที่ประเทศญี่ปุ่นคะ

   ที่เมืองโตเกียว

  ที่รพ.บ้านลาด(บ้าน....บ้าน..นอก)

 กิจกรรม "กิน-กอด-เล่น -เล่า"

 

หมายเลขบันทึก: 445956เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2011 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนคุณ Poo

ที่แวะมาอ่านบทความและให้ดอกไม้นะคะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท