เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์


KM ป โท



การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากะเหรี่ยง  ตะเพินคี่

  1. การพัฒนาด้านแฟชั่นเครื่องแต่งกาย

       ปัจจุบันผ้าทอกระเหรี่ยงที่มีเอกลักษณ์ล้ำค่านั้นเป็นเพียงตำนานผ้าที่มีการใช้สอยกันในกลุ่มชนเผ่าเท่านั้น  ความงามของลวดลายแลtสีสันทีมีเอกลักษ์เฉพาะตัวตลอดจนเทคนิคการทอผ้า ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจของโลกและสังคม   ชนรุ่นหลังต้องออกไปประกอบอาชีพในเมือง  ส่งผลทำให้ภูมิปัญญาการทอผ้ามีจำนวนน้อยลง ขาดโอกาสการถ่ายทอดความรู้การทอผ้า  จึงทำให้ผ้าทอของชาวกระเหรี่ยงที่มีความสำคัญถดถอนลดน้อยลงตามการเวลา  จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวกระเหรี่ยงให้กลับมามีชีวิตคุณค่าต่อสังคมและวงการแฟชั่นอย่างภาคภูมิใจ

ดังนั้นการศึกษาลวดลายและการนำผ้าทอกระเหรี่ยงมาออกแบบ และตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสตรี  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าและสร้างผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์  ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมการทอผ้าให้อยู่คู่กับคนไทย อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ลวดลายผ้าทอกระเหรี่ยงและผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสตรีให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ ตลอดจนยังเป็นการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของคนทอผ้าให้ผู้สวมใส่ผ้าทอมือของชาวกระเหรี่ยงได้รู้สึกรักและหวงแหนในถูมิปัญญาของแผ่นดินไทย

 

                            

                                              

 

                                      

 

                                

 

 

                                                             ตัวอย่างผ้ากะเหรี่ยง ตะเพินคี่

                              

 

 

                                

 

         

                                          

 

 

 

                                                          

 

 

 

 

 

 

  1. การพัฒนาด้านสีของผลิตภัณฑ์

    กะเหรี่ยงจะมี ความชำนาญในการย้อมสีเส้นด้ายด้วยวัสดุจากธรรมชาติ โดยจะกะด้ายให้เพียงพอในการขึ้นเครื่องทอแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้สีที่เหมือนกัน การย้อมสีธรรมชาติมีวิธีแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่้นำมาใช้ แต่ทั้งนี้ถ้าอยากให้สีติดดีต้องนำด้ายมาผ่านกระบวนการละลายไขมัน โดยต้มน้ำเดือดประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วซักด้วยนํ้าเย็นจนฝ้ายเป็นสีขาว ปัจจุบันชาวบ้านใช้วิธีซักด้วยผงซักฟอกแล้วล้างออก จากนั้นจึงนำไปย้อมสีขณะด้ายกำลังเปียก

 

วัสดุธรรมชาติที่นิยมใช้

ชื่อไทย

ชื่อกะเหรี่ยง

ส่วนที่ใช้

สีที่ได้

ขมิ้น

เส่ยอ

หัว, เหง้า

เหลือง

คราม

นอข่อ

ใบ

กรมท่า

"

สะหย่า

ใบ, ยอด

ดำ

-

โค๊ะ

ราก

แดง

สมอป่า

-

ใบ

กากีแกมเขียว

"

-

เปลือก

เขียวแก่

แก่นขนุน

-

แก่น

เขียวตองอ่อน

เปลือกเพกา

-

เปลือก

เขียวตองอ่อน

ประดู่,ไม้แดง

-

เปลือก

แดง

เงาะป่า

-

เมล็ดใน

แสด

ต้นปุย

-

เปลือก

ชมพู

 

  1. ตัวอย่างการย้อมด้วยสีธรรมชาติ
    1. การย้อมด้วยขมิ้นภาษากะเหรี่ยงว่า“เส่ยอ”ส่วนที่นำมาใช้เอาเฉพาะหัวที่แก่จัดเท่านั้นเมื่อย้อมแล้วจะให้สีเหลือง
    วัสดุที่ใช้มีดังนี้
       (1)  ขมิ้น ½ กิโลกรัม
       (2) ด้าย 2 ไจ
       (3) ปูนกินกับหมากหรือปูนขาว 1 ช้อนชา
       (4)  น้ำ 1-2 ลิตร
     

       

 วิธีการ
นำขมิ้นมาตำหรือบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำและปูน แล้วนำด้ายลงแช่ พร้อมทั้งนวดจนเปียก จากนั้นตั้งไฟปานกลางให้เดือดประมาณ 20 นาที หลังจากต้มเสร็จแล้วยกด้ายขึ้นตากแดดจนแห้ง ถ้าต้องการให้สีมีความเข้ม และป้องกันสีตก ให้ใส่ปูนลงไปในน้ำย้อมครั้งที่ 2 อีกเล็กน้อย

  1.  การย้อมด้วยครามหรือนอข่อส่วนที่นำมาใช้คือใบแก่เมื่อย้อมแล้วให้สีน้ำเงินเข้มหรือสีกรมท่า
    วัสดุที่ใช้ย้อมมีดังนี้
        (1)  คราม 2 ขีด
        (2) ด้าย 2 ไจ
        (3) ปูน 1 ไจ
        (4) น้ำ 1-2 ลิตร
        (5) ข้าวสุก1กำมือ
        (6)  ขี้เถ้าไม้ขี้เหล็ก
             วิธีการ
             ขั้นตอนที่ 1 การทำน้ำคราม นำใบคราม จากต้นที่มีอายุประมาณ 3 เดือน (สังเกตจากเริ่มออกดอก) มาแช่น้ำจนใบเปื่อย ใส่ปูนขาว และขี้เถ้าไม้ขี้เหล็ก แช่ต่ออีก 2-3 คืน จากนั้นกวนน้ำครามจนขึ้นฟองทิ้งไว้จนตกตะกอน เทน้ำใสทิ้ง นำส่วนที่ตกตะกอนมากรองด้วยผ้า จะได้ครามเป็นก้อนเก็บไว้ย้อมผ้าต่อไปได้
    ขั้นตอนที่ 2 นำด้ายและครามมานวดรวมกันจนผสมน้ำ พร้อมทั้งใส่ปูนขาวลงไป แล้วนำมาต้มกับไฟอ่อน ๆ ประมาณ 30 นาที นำด้ายขึ้นมาผึ่งลมให้แห้งแล้วย้อมซ้ำหากสียังไม่เข้มพอ
    ขั้นตอนที่ 3 นำด้ายและข้าวสุกมา นวดพร้อมกับไฟอ่อน ๆ ประมาณ 30 นาที นำด้ายขึ้นมาผึ่งลมให้แห้งสนิทแล้วนำมาใช้ทอเป็นผ้าต่างๆได้
  2.  การย้อมด้วยสะหย่าให้สีดำสนิทใช้ส่วนที่เป็นใบและยอดของพืช(ไม่เก็บในช่วงที่พืชกำลังออกดอก)
    วัสดุที่ใช้ย้อมมีดังนี้
      (1) สะหย่า 1 กิโลกรัม
      (2) ด้าย 2 ไจ
      (3) ปูน 1 ช้อน
      (4) น้ำ 1-2 กำมือ
      (5) ข้าวสุก 1-2 กำมือ
      (6) ขี้เถ้าไม้ขี้เหล็ก
    วิธีการทำเช่นเดียวกับการย้อมด้วยต้นคราม
            หมายเหตุ "สะหย่า" เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ให้สีดำสนิท แตกต่างจากมะเกลือ ซึ่งให้สีเทา นอกจากนั้นสะหย่ายังมี 2 ชนิด คือชนิดที่ให้สีดำ และชนิดที่ให้สีแดง โดยสังเกตความแตกต่างได้จากสีของใบสะหย่า ถ้าให้สีดำใบจะเป็นสีดำ ชนิดที่ให้สีแดง ใบจะเป็นสีแดง
  3. การย้อมด้วยโค๊ะให้สีแดงส่วนที่นำมาใช้คือราก
    วัสดุที่ใช้ย้อมมีดังนี้
      (1) รากโค๊ะ ½ กิโลกรัม
      (2) ด้าย 2 ไจ
      (3) น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู 1-2 ช้อนโต๊ะ
      (4) ปูน1ช้อน
      (5) ขี้เถ้าไม้ไผ่หรือกาบกล้วยกรอง 1 ลิตร
      (6) ใบส้มป่อยหรือมะขาม 2 ขีด
            วิธีการ
    ขั้นตอนที่ 1 นำด้ายกับน้ำมันพืชและขี้เถ้านำมานวดและตำจนเข้ากัน
    ขั้นตอนที่ 2 นำขมิ้นเพียงเล็กน้อยมาทดสอบว่ามีการเปลี่ยนสีหรือยัง หากมีการเปลี่ยนสีแล้วนำมาต้มกับน้ำประมาณ 2 ลิตรโดยใช้ไฟอ่อนๆ           ประมาณ 30 นาทีหลังจากนั้นนำมาตากจนแห้ง
    ขั้นตอนที่ 3 นำด้ายมาซักจนกว่าน้ำมันพืชจะหมดแล้วผึ่งให้หมาดๆ
    ขั้นตอนที่ 4 นำรากของโค๊ะ มาสับหรือซอยเป็นแผ่นบาง ๆ และตำให้ละเอียด (ห้ามสับบนเขียงที่ใช้ทำกับข้าว) และนำด้ายมาคลุมนวด และใส่น้ำลงไปพร้อมทั้งผสมกับน้ำส้มป่อยหรือมะขามที่คั้นจากใบหรือยอดแล้วนำมาตั้งไฟประมาณ 10 นาทีใช้ไฟปานกลาง
    ขั้นตอนที่ 5 หลังจากต้มย้อมสีเรียบร้อย แล้วก็นำออกมาตากแดดจนแห้ง หากสียังจางก็ย้อมสีซ้ำอีกจนพอใจ
  4. ข้อห้ามในการย้อม
    1 .ห้ามย้อมผ้าในวันขึ้น15 ค่ำหรือแรม 15 ค่ำ
    2.ห้ามย้อมผ้าในวันที่มีคนตายในหมู่บ้าน
    3. ห้ามย้อมผ้าในขณะที่เริ่มตั้งครรภ์จนกว่าจะคลอดบุตร
  5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต นำผ้าทอมาผลิตเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น หมอนอิง ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ กล่องกระดาษทิชชู ผ้ากันเปื้อน ที่รองแก้ว ที่รองจาน รองเท้าใส่ภายในบ้าน เป็นต้น โดยการนำผ้าทอและเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บมาต่อเป็นลวดลายต่างๆให้เกิดเป็นผ้าผืนใหม่ เกิดลวดลายผสมผสาน และเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจำหน่ายมีราคาที่ถูกลง

                                                                          

 

  1. การจัดตั้งศูนย์ศึกษาในชุมชน  

เนื่องจากหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยงบ้านตะเพินคี่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กและมีประชากรไม่มากนัก เพราะวัยรุ่นหนุ่มสาวมักไปประกอบอาชีพกันในเมือง จึงเกิดปัญหาต่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มชาวบ้าน และยังช่วยแก้ปัญหาการไปทำงานนอกเมืองของเด็กวัยรุ่น จะช่วยเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

  1. การโฆษณาผลิตภัณฑ์

             เริ่มจากการประชาสัมพันธ์เล็กๆในจังหวัดโดยการประสานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการโฆษณาอาจเกิดจากการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงาน OTOP ของจังหวัดหรือนำผลิตภัณฑ์ไปนำเสนอตามงานต่างๆในจังหวัดและอาจนำผลิตภัณฑ์จาผ้าตะเพินคี่ลงในเว็บไซด์ต่างๆ เพื่อเป็นการโฆษณาที่สะดวก รวดเร็ว ไม่เสียงบประมาณ และเป็นที่แพร่หลาย ทำให้คนทั้งประเทศและทั่วโลกได้รู้จักผ้าตะเพินคี่ได้อย่างรวดเร็วและมากขึ้น

 

 

รายชื่อกลุ่ม

เรื่อง       การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากะเหรี่ยง  ตะเพินคี่

 

  1. นางสาววาสนา       โยนกรอง
  2. นางสาวผาทิพย์       แก้วบุตร
  3. นางสาวธนิฏฐา       เที่ยงแท้
  4. นางนงนุช               ทับศรี
  5. นายภานุพงศ์          ไพบูลย์
  6. ภิรมย์                      แก้วมณี

 

 

คำสำคัญ (Tags): #Km ป โท
หมายเลขบันทึก: 445928เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท