ทุนมนุษย์ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศ GMS


ประชุมเพื่อวิจัยความต้องการของการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคพลังงาน

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิ  ร่วมกับ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ(สพร) จัดโครงการต่อเนื่อง 3 ปี เรื่องทุนมนุษย์ภาคพลังงาน ในกลุ่มประเทศสมาชิก GMS

กิจกรรมปีแรก เป็นการประชุมเพื่อวิจัยหาความต้องการของการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Intensive Workshop on "Training Needs and Human Resource Development for Energy and Environment Sector of GMS Countries") จัดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน-5 ตุลาคม 2553

การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทน ต่างๆดังนี้

ประเทศลาว 4 ท่าน ได้แก่ Dr.Sayphet Aphayvanh,Mr.Hatsady Sysoulath,Mr.Khamchanh Pharagnok ,Mr.Duangsy Phalanhok

ประเทศพม่า 3 ท่าน ได้แก่ U.Tin Htut, U.Wai Oo,U.Win Khaing

ประเทศเวียตนาม 1 ท่าน Mr.Tiet Vinh Phue

ประเทศกัมพูชา 3 ท่าน ได้แก่ Mr.Victor Jona, Mr.Meng Sokkheng,Mr.Lor Sathya

ประเทศจีน 4 ท่าน ได้แก่ Mr.Hong Yunbo,Mr.Guo Xueping,Mr.Guo Jiangiang,Mr.Zhao Fuzhen

 นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในการเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม มีสาระสรุปได้ดังนี้

1.การผลิตพลังงานออกมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

2.เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และการเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้ต้องมีการผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น

3.พลังงานธรรมชาติ ได้แก่ พลังงานน้ำ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากลม ถูกนำมาใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้าและใช้เป็นพลังงานความร้อน(เผาไหม้)

4.เชื้อเพลิงที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ น้ำมันและแก็สธรรมชาติ ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อน

5.แร่ธรรมชาติ ได้แก่ถ่านหิน และยูเรเนียม ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อน

6.พลังงานทดแทนได้แก่ Biomass และ Bio-Gas, Bio-Fuels ได้แก่ Ethanol และ Bio-Diesel

7.ประเทศจีนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขายให้ประเทศไทย 2 โครงการ และประเทศเวียตนาม 1 โครงการ

8.ประเทศพม่าผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขายให้ประเทศไทย 5 โครงการ

9.ประเทศลาวผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขายให้ประเทศไทย 6 โครงการ และขายให้ประเทศเวียตนาม 7 โครงการ

10.ประเทศกัมพูชาผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขายให้กับประเทศไทย 2 โครงการ และขายให้ประเทศเวียตนาม 3 โครงการ

11.จากการประชุมรัฐมนตรีในกลุ่มประเทศ GMS ครั้งที่ 15 ตกลงที่จะช่วยกันพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพในการลด Carbon และการใช้พลังงานธรรมชาติแบบยั่งยืน ส่งเสริมการร่วมมือในการมีส่วนร่วม 

วัตถุประสงค์โครงการ

  • สร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS
  • ส่งเสริมการทูตภาคประชาชน ในกลุ่มประเทศ GMS
  • ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศ GMS
  • ศึกษาวิจัย เพื่อทราบความต้องการการอบรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เพื่อดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ตรงกับความต้องการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศในกลุ่ม GMS
  • เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในประเทศกลุ่ม GMS
  • จัดทำผลสรุปโครงการเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่สู่สาธารณะ
  • เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากโครงการไปใช้ในการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศในกลุ่ม GMS หรือเป็นการร่วมมือระหว่างประเทศต่อไป

หัวข้อการสัมมนา ระหว่าง วันที่ 29 กันยายน – 4 ตุลาคม 2553 ประกอบด้วย

  • การเสวนา หัวข้อ พลังงานกับการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยผู้แทนของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจาก ปตท
  • ทัศนศึกษา ณ.กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฐานปฏิบัติการฝนหลวง หัวหิน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ต หัวหิน และ สำรวจสิ่งแวดล้อมกรุงเทพ ฯ
  • การนำเสนอภาพรวมด้านสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ความต้องการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ และภูมิปัญญา โดยตัวแทนจากประเทศต่างๆ
  • สรุปการเสวนา และลงนามบันทึกข้อตกลง

 

หมายเลขบันทึก: 445924เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กิจกรรมปีที่สอง เป็นการจัด "Intensive Workshop on Energy and Environment Sector Cooperation among GMS Countries" เป็นการประชุมวิจัยและการศึกษาดูโครงการในพื้นที่จริงทั่วประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2554

กิจกรรมที่สาม กำหนดจัดขึ้นในปี 2555 จะจัดเป็น International Conferencen ขยายวงออกไปสู่สังคมโลกในวงกว้างเพื่อสร้างความร่วมมือและผนึกกำลังกันบริหารจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษาโรคของเรา

ท่านใดสนใจต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดสำหรับการประชุมในปีที่ หนึ่ง สามารถสอบถามได้ที่ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โทร 02-6190512-3 สำหรับรายละเอียดในปีนี้ ผมจะนำเสนอ ใน บล็อก นี้ แต่จะจัดอยู่ในบันทึกใหม่ที่มีชื่อตามหัวข้อแตกต่างกันไป

ข้อมูลที่บันทึกนี้รวบรวมจาก รายงาน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และรายงานที่จัดทำโดยทีมงาน

รายงานสรุป

การสัมมนาเพื่อวิจัย “ความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ GMS

ระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 4 ตุลาคม 2553

ณ.โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ

จัดโดย สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

วันที่ 28 กันยายน 2553 :งานเลี้ยงต้อนรับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานให้การต้อนรับ คณะผู้แทนจากประเทศกลุ่ม GMS ประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆดังนี้

ประเทศลาว 4 ท่าน : Dr.Sayphet Aphayvanh , Mr.Hatsady Sysoulath , Mr.Khamchanh Pharagnok and Mr.Duangsy Phalanhok

ประเทศพม่า 3 ท่าน : U.Tin Htut,U.Wai Oo,U.Win Khaing

ประเทศเวียดนาม 1 ท่าน : Mr.Tiet Vinh Phuc

ประเทศกัมพูชา 3 ท่าน : Mr.Victor Jona, Mr.Meng Sokkheng,Mr.Lor Sathya

ประเทศจีน 4 ท่าน : Mr.Hong Yunbo , Mr.Guo Xueping ( from Yunnan), Mr.Guo Jiangiang,Mr.Zhao Fuzhen

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดาวัลย์ กล่าวแนะนำโครงการ หลังจากนั้นได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ขึ้น ปาฐกกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย และความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่ม GMS”

วันที่ 29 กันยายน 2553 : พิธีเปิดโครงการ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ กล่าวรายงาน สรุปใจความว่า

โครงการ GMS (Greater Mekong Sub0region) เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตรและการบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกันตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพลังงานในกลุ่มประเทศ GMS เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในภาคส่วนของรัฐและเอกชน ให้ความสำคัญอย่างมากที่จะมุ่งเน้นแนวทางการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและประชาชน เพื่อรองรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศซึ่งได้รับการก่อตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2541 อยู่ในการดูแลของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีพันธะกิจเพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลไกสำคัญของกลุ่มให้กับประเทศในภูมิภาค ได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพลังงานในกลุ่ม GMS ให้มีองค์ความรู้เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และบริหารพลังงานในรูปแบบต่างๆให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์สูงสุดบนพื้นฐานของการคำนึงคุณภาพชีวิตทางสังคมที่ดีของประชากรและการพัฒนาที่ยั่งยืนอาทิ

• ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคอย่างเป็นที่ยอมรับ และได้รับความไว้วางใจจากประเทศต่างๆเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งของประเทศไทยและภูมิภาคร่วมกัน

• เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แสวงหาองค์ความรู้ด้านพลังงานทางเลือก บนพื้นฐานการแบ่งปันและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประชาชนและพัฒนาตามความต้องการที่ถูกต้องแท้จริง

• ใช้โครงการพลังงานทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริซึ่งมีการศึกษา วิจัยและทดลองปฏิบัติการจริงแล้วว่ามีความเหมาะสมกับภูมิภาคเป็นแม่แบบ ฯลฯ

โครงการถูกกำหนดเป็นแผนงานต่อเนื่องระยะเวลา 3 ปี ดังนี้

ปี พ.ศ. 2553 (ปีที่ 1) ประชุมเพื่อทำ วิจัยเรื่องความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ GMS เป็นการสำรวจความต้องการการฝึกอบรมของประเทศที่จะมาเข้าร่วม โดยจัดที่กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 4 ตุลาคม 2553

ปี พ.ศ. 2554 (ปีที่ 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องความร่วมมือภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศ GMS เป็นการฝึกอบรมตามแนวที่ได้จากความต้องการที่เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศในกลุ่ม GMS และประเทศในกลุ่มอื่นๆที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมโดยเน้นที่

• พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกกับการใช้พลังงาน

• การใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า

• เศรษฐศาสตร์พลังงาน

• การบริหารจัดการพลังงาน สิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน

• การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ

• เทคโนโลยีกับการบริหารจัดการพลังงาน

• การบริหารจัดการงบประมาณด้านพลังงาน

• การบริหารจัดการชุมชนในการรองรับกับการเปลี่ยนแปลง

• การบริหารจัดการองค์ความรู้เรื่องพลังงานทดแทน พลังงานในอนาคต สู่สาธารณะชน

• การสร้างและบริหารจัดการเครือข่ายด้านพลังงานระหว่างประเทศ

เน้นการเรียนรู้จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง และเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน และระหว่างประเทศกับประเทศ เป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบการทูตภาคประชาชน กำหนดการประมาณเดือน พฤษภาคม 2554

ปี พ.ศ.2555(ปีที่ 3 ) ปีสุดท้ายของโครงการ ประชุมนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศ GMS ที่ประเทศไทยเพื่อเป็นการสรุปร่วมกันอีกครั้งว่า โครงการนี้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆเพื่อให้เกิดการทำงานด้านพลังงานและสังคมสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สรุปรายงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อเป็นความรู้ในการต่อยอด กำหนดการประมาณเดือน มีนาคม 2555

วันที่ 29 กันยายน 2553

คุณสุชาดา ไทยบรรเทา รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร) กล่าวต้อนรับในพิธีการเปิดงานโดยมีสาระสำคัญดังนี้

สำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร) เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศและให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอด โดยมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ไปยังประเทศอื่นๆ จึงได้ทุ่มเทกับการจัดหลักสูตรฝึกอบรมภายใต้กรอบความร่วมมือทวิภาคีและไตรภาคี โดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ

ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่า ภาคเอกชนก็มีศักยภาพที่จะช่วยภาครัฐดำเนินโครงการได้หลานโครงการ รัฐบาลจึงผลักดันภาครัฐและ NGO ร่วมกันจัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการสำหรับประเทศอื่นๆ ประกอบกับเห็นศักยภาพของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สพร.จึงได้มอบความไว้วางใจให้มูลนิธิฯจัดโครงการฝึกอบรมหลายโครงการ รวมถึงการประชุมวิจัยครั้งนี้ และหวังว่าจะเป็นโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือในสาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในหมู่ประเทศอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคต

วันที่ 29 กันยายน 2553

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ กล่าวรายงานในพิธิเปิดงาน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นองค์กรในการสร้างประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านวิธีการที่ไม่ใช่การทูตภาครัฐ เช่นการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

มูลนิธิฯ ได้จัดการประชุมเวทีผู้นำ 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2542 หัวข้อการประชุมเน้นโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อคน หลังจากประชุมเวทีผู้นำ 5 ครั้ง เราได้รับการขอร้องจากประเทศในกลุ่ม GMS หลายประเทศเพื่อจัดโครงการให้ประเทศของเขา โครงการแรกที่เราจัดได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปเผยแพร่

หลังจากนั้นคุณสุชาดา และคณะทีมงานของ สพร.ได้เสนอให้กำหนดหัวข้อทำเป็นโครงการต่อเนื่องอีก 2 ปีต่อมา โครงการสุดท้ายก่อนโครงการนี้ เป็นโครงการ "การท่องเที่ยวและทรัพยากรมนุษย์"

จากการสนับสนุนของ สพร.ปีนี้เราจะเริ่มสัมมนาเพื่อการวิจัยเรื่อง "ความต้องการด้านการฝึกอบรม" ตลอด 5 วันที่เราอยู่ร่วมกัน เราจะช่วยกันหารือสิ่งที่ต้องการฝึกอบรมของแต่ละประเทศ หลังจากนั้นใน ปี 2554 จะเป็นโครงการฝึกอบรม 20 วันตามความต้องการของผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ตามที่คุณสุชาดาได้กล่าวไว้ "นี่ไม่ใช่แค่การฝึกอบรม แต่เป็นความสามารถในการเรียนรู้จากกัน" ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และขอสัญญาว่า มูลนิธิฯจะดำเนินการให้ดีที่สุดเพื่อรับใช้ท่านและประเทศชาติของเรา

วันที่ 29 กันยายน 2553

กล่าวเปิดงานโดย ฯพณฯ น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เรามาอยู่ภายใต้ชื่อ GMS หรืออนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว อย่างไรก็ตามการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องสำคัญ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยได้สร้างโครงการต่างๆและดำเนินงานเพื่ออนาคตด้านการพัฒนาพลังงาน GMS และความเจริญรุ่งเรื่อง เป็นที่น่าประทับใจว่า ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2535 ด้วยความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซียหรือ ADB ทำให้ประเทศสมาชิกได้มีโอกาสเข้าร่วมหลายโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจรวมทั้งภาคพลังงานด้วย ได้มีการระบุไว้ในเป้าหมาย GMS ว่าจะอำนวยความสะดวกในการพัฒนาอย่างสูงสุดและใช้ทรัพยากรพลังงานเพื่อส่งเสริมการค้าพลังงานในภูมิภาค ทำให้ประเทศกลุ่ม GMS มีต้นทุนทางพลังงานที่ต่ำและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายทรัพยากรด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนย่อยๆของพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานสำหรับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาคพลังงานได้รับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานมากมายในประเทศกลุ่ม GMS ในด้านภูมิศาสตร์ มีการตั้งหมู่บ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานน้ำ และแหล่งพลังงานฟอสซิล แต่ทรัพยากรส่วนใหญ่ที่สามารถใช้ได้อยู่กระจัดกระจายหลายที่ พลังงานน้ำมีที่ลาว เมียนม่าร์ และยูนาน มากเกินความต้องการใช้ในอนาคต พลังงานฟอสซิลส่วนมากที่อยู่ในยูนานคือ ถ่านหิน ส่วนเมียนม่าร์มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต กัมพูชาก็ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเหมือนกัน มีพลังงานหลายแหล่งที่ยังไม่ได้นำมาใช้ แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านพลังงานทำให้ GMS เป็นอุดมคติสำหรับการเชื่อมโยงทางพลังงาน และเราขอเสนอให้มีการร่วมมือกัน

สิ่งที่ GMS สามารถทำได้ดีที่สุดคือ บูรณาการการพัฒนาพลังงานในระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา มีการเชื่อมโยงพลังงานแบบ power grid และการสร้างตลาดพลังงานในภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันโดยพัฒนาเป็นระยะเช่น การลงทุนและการเชื่อมโยงในระยะที่ 1 ความร่วมมือทวิภาคีในระยะที่ 2 ความร่วมมือไตรภาคีและการแข่งขันในระยะที่ 3 และ 4 เพื่อให้บรรลุถึงกรอบความร่วมมือในภูมิภาคที่เข้มแข็งสำหรับ GMS ก็มีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา เรื่องที่ใหญ่ที่สุดคือการพัฒนาความเข้าใจพื้นฐานและสร้างความเชื่อมโยงเป็นขั้นๆจนสามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นตลาดที่แข่งขันได้ที่มีผู้ค้าหลายรายค้าพลังงานข้ามพรมแดน จากข้อมูลธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ก็ได้กล่าวถึงการสร้างความเชื่อมโยงทางด้านพลังงานและการค้าขายพลังงานในกลุ่มประเทศ GMS มีความต้องการมากขึ้นในการลงทุนด้านการสำรองพลังงานเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ต้องมีแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังต้องลดต้นทุนดำเนินการและช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งพลังงานได้มากขึ้น เป็นที่คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 การเชื่อมโยงทางพลังงานของ GMS จะเสร็จสมบูรณ์และทำให้เป็นตลาดที่มีความสามารถในการแข่งขัน

แม้นว่าจะมีความสำเร็จในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS การเชื่อมโยงทางพลังงาน การสร้างตลาดที่มีความสามารถในการแข่งขันในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีพันธกิจที่จะต้องพิจารณาเพื่อช่วยให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตและสังคมสีเขียวในภูมิภาคนี้ มีปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนที่มาจากก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก โลกผลิตคาร์บอนไดออกไซด์อย่างน้อย 28 ล้านตัน ในขณะเดียวกัน ความยั่งยืนทางพลังงานก็ยังเป็นคำถามอยู่ ดังนั้นการเชื่อมโยงทางพลังงานและการค้าขายพลังงานอย่างเดียวไม่สามารถตอบปัญหาความยั่งยืนได้ การสร้างคุณประโยชน์และความรู้ในด้านพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ต้องการจากนโยบายรัฐบาลทั้งในต่างประเทศรวมทั้งการร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเพื่อให้มีแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและไม่แพง

ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศกลุ่ม GMS ที่กำหนดนโยบายและมาตราการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต เช่นมีแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในปี 2551 ที่มีเป้าหมายของการสำรองพลังงานหมุนเวียนที่ร้อยละ 20 ในปี 2565 ก็ได้มีมาตราการและเป้าหมายอื่นๆรวมถึงโครงสร้างงบประมาณ การลงทุนภาคเอกชนรวมทั้งการสร้างศักยภาพ สิ่งสำคัญคือไม่ใช่แค่ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่เราต้องการเพื่อให้เป็นสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน แต่ยังรวมถึงการใช้พลังงานในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนนโยบายพลังงานหมุนเวียนสำหรับแต่ละประเทศด้วย ผมเชื่อว่าถ้าประเทศสมาชิก GMS แต่ละประเทศได้ทำอย่างนั้น ปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากและทำให้ต้องมีการร่วมมืออย่างใกล้ชิด โลกาภิวัตน์สร้างความท้าทายให้แก่ภูมิภาคนี้ ดังนั้นเราจึงควรร่วมมือเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน ผมหวังว่า โครงการนี้จะเน้นแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการร่วมมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมหวังว่า ผลที่ออกมาจะเป็นวิถีทางที่เป็นประโยชน์และสามารถส่งผลบวกต่อการพัฒนาพลังงานในภูมิภาคนี้

ผมควรจะเขียนบทความสรุปเรื่องของสัมมนา Intentive Workshop on Energy and Environment Sector Cooperation among GMS Countries ในปี 2554 ที่เพิ่งจบไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ตั้งแต่ต้นเดือน กรกฎาคม แต่ต้องล่าช้าออกไปเพราะผมเกิดป่วย มีอาการเวียนศีรษะเวลาใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ได้ไปหาหมอ และกำลังตรวจรายละเอียดอยู่ว่าเป็นเพราะอะไรแน่ ผลจากการเจาะเลือดไปตรวจ การทำงานของตับมีปัญหานิดหน่อย หมอยังไม่ทราบสาเหตุเพราะผมไม่ได้ดื่มสุรา จึงรอผลไปตรวจเลือดอีกครั้งในต้นเดือนสิงหาคม ส่วนอื่นๆของผมเป็นปกติ อย่างไรก็ตามขณะนี้อาการเวียนศีรษะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เหมือนปกตินัก จึงต้องขอรอให้สุขภาพดีกว่านี้หน่อยจะเข้ามาเขียนสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากสัมมนาให้กับท่านได้รับทราบต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท