กิจการโทรคมนาคมในกำมือต่างชาติ


จากการเสวนาที่ได้ผลสรุปออกมา เห็นได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เเต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคตสำหรับรูปแบบการเเข่งขันที่เสรีสำหรับกิจการโทรคมนาคม โดยประเทศไทยต้องหากลยุทธ์ขึ้นมาเพื่อเเข่งขันให้ได้เปรียบที่สุด

                            กิจการโทรคมนาคมในกำมือต่างชาติกิจการโทรคมนาคมเปรียบเสมือนได้กับบริการขนส่งทางสื่อสารชนิดหนึ่ง ต้องลงทุนสร้างทางหลวงเพิ่มโครงข่ายหลักเเละโครงข่ายรอง คือสถานีกับเครือข่ายย่อยก่อน จากนั้นจึงมีบริการรถรับจ้าง คือ ให้ บริการโทรศัพท์รับขนข้อมูลไปยังจุดต่างๆ เมื่อใช้โทรศัพท์เเต่ละครั้ง เท่ากับว่าได้ใช้บริการทั้งสองส่วน ต้องจ่ายเงินให้ทั้งเจ้าของทางหลวงหรือโครงข่าย เเละให้เจ้าของรถรับส่งหรือเจ้าของบริษัทโทรศัพท์ด้วย

 อดีตประเทศไทยมีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งที่ให้บริการกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย คือ

1.การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. ให้บริการโทรคมนาคมในต่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ทางไกล

2.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. ให้บริการกิจการโทรคมนาคมในประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์พื้นฐาน บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ต่อมาในปี 2544 ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นมหาชน โดยการจัดตั้งเป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน

หากกล่าวถึงโทรศัพท์พื้นฐานภายในประเทศ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 3 รายคือ 1.ทศท.คอร์ปอเรชั่น 2.บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น 3.บริษัท ทีทีเเอนด์ที

ขณะที่การให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัท ทีโอที คอร์ปอเรชั่น และบริษัท กสท.โทรคมนาคม

โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2549 ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก WTO จำเป็นต้องเปิดเสรีทางการค้าด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงกิจการโทรคมนาคมด้วย จึงได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการกำกับดูเเลที่เป็นอิสระ คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมเเห่งชาติ หรือ กทช.สนับสนุนให้มีการเเข่งขันทั้งจากผู้ให้บริการในประเทศเเละต่างประเทศ และการแปรรูปกิจการโทรคมนาคมที่เคยผูกขาดโดยรัฐมาเป็นผู้ให้บริการเช่นเดียวกับผู้ให้บริการเอกชน
สำหรับประเภทกิจการโทรคมนาคม ที่ไทยมีข้อตกลงต้องผูกพันที่ต้องเปิดเสรีในระยะเริ่มเเรก มี 4 ประเภท คือ 1. บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.โทรเลข 3. โทรสาร 4. เทเล็กซ์
เหตุนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติจึงได้เปิดเวทีสาธารณะเรื่อง กิจการโทรคมนาคมภายใต้ทุนนิยมต่างชาติ:กระทบต่อเศรษฐกิจเเละสังคมไทยหรือไม่ จากการเสวนาได้สรุปผลกระทบดังต่อไปนี้
ในส่วนของผลดี

1.ตลาดให้บริการมีแนวโน้มที่จะมีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ผู้ใช้บริการอาจจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายเครือข่ายหรือการพัฒนาของเทคโนโลยีให้ทันสมัย

2.มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเป็นมาครฐานเดียวกัน

3.เกิดกระเเสเงินทุนต่างประเทศไหลสะพัดเข้าประเทศไทย

4.ทำให้ตลาดหุ้นเเละตลาดหลักทรัพย์ขยายตัวในการระดมทุนเพิ่มคุณค่า ทำให้เพิ่มมาร์เก็ตแคปของตลาดดียิ่งขึ้น

5.สร้างงานสร้างรายได้เข้าประเทศ ในการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมแบ่งรายได้ต่างๆสูงขึ้น

ในส่วนของผลเสีย

1.ในการเเข่งขันที่รุนแรง ในฐานะของจำนวนผู้ให้บริการแบบน้อยรายในปัจจุบัน อาจนำไปสู่การผูกขาดของตลาดได้ในอนาคต

2.ผู้ให้บริการรายเล็กในตลาดซึ่งมีเงินทุนในการขยายกิจการ อาจต้องเผชิญกับภาวะการเเข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

3.เงินรั่วไหลออกนอกประเทศเร็วขึ้น เพราะกิจการโทรคมนาคมสร้างผลกำไรเร็วเเละสูง กลายเป็นสิ่งที่นิยม เเละจำเป็นของผู้ใช้บริการทุกประเภท

4.อาจเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในประเทศ จนเกิดอันตรายในการรักษาความปลอดภัยในการป้องกันประเทศ แม้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ยังต้องระมัดระวังสูง โดยถือว่ากิจการโทรคมนาคมทางสื่อสารดาวเทียม เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้รัฐบาลเเละสภาเห็นชอบก่อน ที่จะให้เอกชนต่างชาติดำเนินการโดยเร็วได้

จากการเสวนาที่ได้ผลสรุปออกมา เห็นได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เเต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคตสำหรับรูปแบบการเเข่งขันที่เสรีสำหรับกิจการโทรคมนาคม โดยประเทศไทยต้องหากลยุทธ์ขึ้นมาเพื่อเเข่งขันให้ได้เปรียบที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 44519เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน

  • กิจการโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับชีวิตคนไทยมากขึ้นทุกวัน
  • ถ้ามีการแข่งขันกันอย่างเสรี...แล้วพัฒนากิจการของตนให้ดีขึ้น...ย่อมเกิดผลดีกับประชาชน
  • ต้องติดตามดูความเปลี่ยนแปลงกันต่อไปนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท