Is QS Asian University Ranking 2011 credible? เชื่อถือได้แค่ไหน กับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชียโดย QS ตอนที่ 2


บางมหาวิทยาลัยที่ลงโฆษณาในเวบไซต์ดังกล่าวหรือร่วมธุรกิจกับทาง QS ในทางใดทางหนึ่งนั้น ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยให้อยู่ในอันดับที่ดีกว่าบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เสียเงินให้ QS ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยบางแห่งที่อันดับดีกว่านั้นได้คะแนนโดยทั่วไปน้อยกว่ามหาวิทยาลัยที่อันดับแย่กว่าด้วยซ้ำไป

 

 

 

 

 

ผลการจัดอันดับในภาพรวม (Overall) ของมหาวิทยาลัยในเอเชียโดย QS ประจำปี 2011 โดย 50 อันดับแรกแสดงไว้ในตารางที่ 3. ครับ

ตารางที่ 3. มหาวิทยาลัยในเอเชีย 50 อันดับแรกโดย QS

Rank

School Name

Country

Classification

Score

1

The Hong Kong University of Science and Technology

Hong Kong

M|CO|

100

2

University of Hong Kong

Hong Kong

L|FC|

99.8

3

National University of Singapore (NUS)

Singapore

XL|FC

99.3

4

The University of Tokyo

Japan

L|FC|

97.4

5

The Chinese University of Hong Kong

Hong Kong

L|FC|

97.2

6

Seoul National University

Korea, South

L|FC|

96.9

7

Kyoto University

Japan

L|FC|

96.3

8

Osaka University

Japan

L|FC|

96.09

9=

Tohoku University

Japan

L|FC|

94.3

9=

Tokyo Institute of Technology

Japan

M|CO|

94.3

11

KAIST - Korea Advanced Institute of Science & Technology

Korea, South

M|CO|

94.2

12

Pohang University of Science And Technology (POSTECH)

Korea, South

S|FO|

93.59

13

Peking University

China

L|FC|

93.3

14

Nagoya University

Japan

L|FC|

92.8

15

City University of Hong Kong

Hong Kong

M|CO|

91.2

16

Tsinghua University

China

XL|FC

90.2

17

Nanyang Technological University (NTU)

Singapore

L|CO|

89.4

18=

Yonsei University

Korea, South

XL|FC

86.9

18=

Kyushu University

Japan

L|FC|

86.9

20

Hokkaido University

Japan

L|FC|

85.8

21=

Fudan University

China

L|FC|

85.09

21=

National Taiwan University (NTU)

 

XL|FC

85.09

23

University of Tsukuba

Japan

L|FC|

82.3

24=

Keio University

Japan

XL|FC

81.9

24=

University of Science and Technology of China

China

L|CO|

81.9

26

Korea University

Korea, South

XL|FC

80.8

27=

Sungkyunkwan University

Korea, South

L|FC|

79.59

27=

Zhejiang University

China

XL|FC

79.59

29

Nanjing University

China

L|FC|

79.2

30

The Hong Kong Polytechnic University

Hong Kong

L|CO|

79.09

31

National Tsing Hua University

Taiwan

M|CO|

77.8

32

National Cheng Kung University

Taiwan

L|FC|

77.59

33

Shanghai Jiao Tong University

China

XL|FC

77.5

34

Mahidol University

Thailand

L|FC|

77.09

35

Kobe University

Japan

L|FC|

75.8

36

Indian Institute of Technology Kanpur (IITK)

India

S|CO|

74.9

37

Indian Institute of Technology Delhi (IITD)

India

M|CO|

74.7

38

Indian Institute of Technology Bombay (IITB)

India

M|CO|

74.3

39

Universiti Malaya (UM)

Malaysia

L|FC|

73.7

40

National Yang Ming University

Taiwan

S|FC|

73.5

41

Hiroshima University

Japan

L|FC|

72.8

42

Kyung Hee University

Korea, South

L|FC|

71.9

43

Indian Institute of Technology Madras (IITM)

India

M|CO|

71.4

44

Hanyang University

Korea, South

L|FC|

71.09

45

Ewha Womans University

Korea, South

L|FC|

70.7

46

Waseda University

Japan

XL|CO

70.3

47

Chulalongkorn University

Thailand

XL|FC

69.9

48

Indian Institute of Technology Kharagpur (IITKGP)

India

M|FO|

69.3

49

Hong Kong Baptist University

Hong Kong

M|FC|

68.7

50

University of Indonesia

Indonesia

XL|FC

67.8

เมื่อเปรียบเทียบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียของปี 2011กับปีที่ผ่านมาพบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดิมที่เคยติดอันดับ แต่บางแห่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงอันดับเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในปี 2009และ 2010 พบว่า University of Hong Kong วึ่งครองอันดับหนึ่งมาทั้ง 2 ปี แต่ในปี 2011 University of Hong Kong หล่นไปอยู่ในอันดับที่ 2  โดยมี  The Hong Kong University of Science and Technology ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทน และในปีนี้ Tohoku University และ Tokyo Institute of Technology ครองอันดับที่ 9 ร่วมกัน ดังนั้นอันดับที่ 10 จึงเลื่อนไปเป็น 11 แทนครับ

Rank

Year 2009

Year 2010

Year 2011

1.

University of HONG KONG

University of Hong Kong

The Hong Kong University of Science and Technology

2.

The CHINESE University of Hong Kong

The Hong Kong University of Science and Technology

University of Hong Kong

3.

University of TOKYO

National University of Singapore

National University of Singapore (NUS)

4.

HONG KONG University of Science and Technology

The Chinese University of Hong Kong

The University of Tokyo

5.

KYOTO University

The University of Tokyo

The Chinese University of Hong Kong

6.

OSAKA University

Seoul National University

Seoul National University

7.

KAIST - Korea Advanced Institute of Science & Technology

Osaka University

Kyoto University

8.

SEOUL National University

Kyoto University

Osaka University

9.

TOKYO Institute of Technology

Tohoku University

Tohoku University and Tokyo Institute of Technology

10.

National University of Singapore (NUS) and PEKING University

Nagoya University

-

เมื่อมาดูการจัดอันดับตามสาขาวิชา ของทั้ง 10 อันดับตามตารางที่ 4  โดยตัวเลขข้างหน้าคืออันดับที่ของมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขาและตัวเลขในวงเล็บคือคะแนนของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งครับ

 

ตารางที่ 4 อันดับของมหาวิทยาลัยและคะแนน (ตัวเลขในวงเล็บ) จำแนกตามสาขาวิชา

Rank

Overall  

Art and Humanities

IT and Engineering

Social science and Management

Natural Science

Life Science and Medicine

The Hong Kong University of Science and Technology

1 (100)

48 (9.3)

7 (44.10)

11 (33)

15 (18.9)

15 (15)

University of Hong Kong

2 (99.8)

5 (67.2)

18 (26.00)

4 (55.9)

14 (22.8)

5 (40.5)

National University of Singapore (NUS)

3 (99.3)

2 (89.4)

3 (71.80)

1 (100)

4 (45.5)

2 (70.2)

The University of Tokyo

4 (97.4)

1 (100)

1 (100)

2 (92.8)

1 (100)

1 (100)

The Chinese University of Hong Kong

5 (97.2)

38.5 (10)

28 (15.60)

9 (36.8)

20 (15.8)

11 (18.9)

Seoul National University

6 (96.9)

7 (51.2)

8 (39.8)

5 (52)

6 (34.3)

6 (39)

Kyoto University

7 (96.3)

4 (68.7)

4 (56.90)

6 (48.8)

2 (70.59)

3 (59.4)

Osaka University

8 (96.09)

23 (19)

15 (29.80)

23 (20.7)

7 (27.8)

8 (29.9)

Tohoku University

=9 (94.3)

40 (10.4)

19 (25.40)

56 (8.3)

9 (26.3)

44 (7.8)

Tokyo Institute of Technology

=9 (94.3)

65 (6.4)

5 (53.50)

87 (4)

10 (25.4)

32 (9.5)

ถ้าดูจากตัวเลขในวงเล็บซึ่งเป็นคะแนนของแต่ละมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขาวิชาจะเห็นได้ชัดนะครับว่า The University of Tokyo ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งถึง 4 สาขาวิชาจากทั้งหมด 5 สาขาวิชา โดยมีเพียงสาขา Social science and Management เท่านั้นที่ National University of Singapore (NUS) ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อมองอย่างนี้ทุกท่านคงจะคิดนะครับว่า The University of Tokyo นั้นมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งถึง 4 สาขาวิชาซึ่งได้คะแนนเต็ม 100คะแนน อันดับในภาพรวมก็น่าจะเป็นที่หนึ่งของการจัดอันดับด้วย แต่ทำไมกลายเป็นว่า The Hong Kong University of Science and Technology ซึ่งไม่เคยได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งสักสาขาวิชากลับได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่งของภาพรวม ผมเองก้สงสัยเหมือนกันครับ ความน่าสงสัยของการจัดอันดับยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ ลองไปดูผลการจัดอันดับตามตัวชี้วัดกันบ้างว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในตารางที่ 5 ครับ

ตารางที่ 5 อันดับของมหาวิทยาลัยและคะแนน (ตัวเลขในวงเล็บ) จำแนกตามตัวชี้วัด

Rank

Academic reputation

(30%)

Employer reputation (10%)

Student per Faculty (20%)

Citation per paper

(15%)

Internationla Faculty

(2.5%)

International Student

(2.5%)

The Hong Kong University of Science and Technology

12 (99.4)

15 (96.3)

28 (92.59)

35 (93.2)

3 (100)

4 (100)

University of Hong Kong

7 (100)

13 (97.3)

13 (98.7)

3 (99.9)

5 (100)

3 (100)

National University of Singapore (NUS)

2 (100)

1 (100)

18 (96.8)

28 (94.6)

2 (100)

2 (100)

The University of Tokyo

1 (100)

2 (100)

12 (98.9)

2 (99.9)

100 (28.6)

43 (68.4)

The Chinese University of Hong Kong

11 (99.59)

27 (89.7)

62 (80.3)

19 (96.3)

10 (100)

9 (99.7)

Seoul National University

5 (100)

18 (95.4)

16 (97.2)

34 (93.3)

37 (65.8)

17 (88.2)

Kyoto University

3 (100)

7 (99.3)

19 (96)

5 (99.8)

85 (34.4)

56 (59.1)

Osaka University

10 (99.7)

16 (95.59)

17 (96.8)

4 (99.8)

110 (27.2)

52 (61.6)

Tohoku University

22 (96.59)

28 (89.09)

10 (99.2)

22 (96)

46 (49)

57 (57.7)

Tokyo Institute of Technology

20 (97.5)

14 (96.8)

36 (88)

44 (89.2)

52 (43.2)

23 (85)

ทาง QS นำเอาผลการจัดอันดับจำแนกตามตัวชี้วัดมาลงในเวบไซต์เพียงแค่ที่ผมแสดงในตารางครับ ซึ่งหากย้อนกลับไปดูตัวชี้วัดของ QS ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียทั้งหมดแล้ว ทุกท่านคงสังเกตเห็นนะครับว่าบางตัวชี้วัดนั้นทางQS ไม่ได้นำมาแสดงผลการจัดอันดับไว้ด้วย ซึ่งที่ขาดไปก็มี Papers per Faculty (15%), Inbound Exchange Student (2.5%) และ Outbound Exchange Student (2.5%) ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงไม่มีผลการจัดอันดับของตัวชี้วัดนี้แสดงไว้ในเวบไซต์การจัดอันดับด้วย ทำให้เรามองภาพของคะแนนทั้งได้ไม่ครบ 100 % ของการจัดอันดับครับ อย่างไรก้ตามเมื่อดุจากผลคะแนนตามตัวชี้วัดทุกท่านคงเห็นได้อย่างชัดเจนนะครับว่า ตัวชี้วัดที่นับเป็นตัวชี้ขาดของการจัดอันดับเนื่องจากมีค่าน้ำหนักของคะแนนค่อนข้างสูงคือ Academic Reputation ซึ่งมาจากการสำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการในเอเชีย (Asian Peer Review) มีค่าน้ำหนัก 30 %, Student per Faculty (20%), Citation per paper (15%) และ Employer reputation (10%) ตัวชี้วัดเหล่านี้ทาง The University of Tokyo ได้อันดับคะแนนสูงกว่า The Hong Kong University of Science and Technology นอกจากนี้ หากดูจากตัวชี้วัดทุกตัวตามตารางที่ 5 ก็จะเห็นนะครับว่า National University of Singapore (NUS) และ University of Hong Kong เองก็ได้คะแนนสูงกว่า The Hong Kong University of Science and Technology แต่พอกลับไปดูการจัดอันดับในภาพรวมกลับกลายเป็น The Hong Kong University of Science and Technology นั้นได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งๆที่การจัดอันดับในภาพรวมนั้นต้องนำเอาคะแนนจากตัวชี้วัดเหล่านี้มาใช้ในการคำนวน ซึ่งดูยังไงๆก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่ The Hong Kong University of Science and Technology จะได้คะแนนรวมสูงกว่าทั้งสามแห่ง ยกเว้นเสียแต่ว่าคะแนนในส่วนของตัวชี้วัดสามตัวที่เหลือที่ทาง Qs ไม่ได้แสดงไว้ให้เห็นคือ Papers per Faculty (15%), Inbound Exchange Student (2.5%) และ Outbound Exchange Student (2.5%) นั้นทาง The Hong Kong University of Science and Technology จะได้คะแนนดีกว่าทั้งสามมหาวิทยาลัยมากๆซึ่งผมก็มองว่าเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้หากดูจากการจัดอันดับของตัวชี้วัดในตารางก็จะพบอีกว่าบางตัวชี้วัดมีหลายมหาวิทยัยที่ได้คะแนนเท่ากัน ซึ่งความจริงต้องครองอันดับเท่ากันในตัวชี้วัดนั้นๆดังนั้น เช่น ตัวชี้วัดด้าน  Academic reputation ทั้ง University of Hong Kong, National University of Singapore (NUS), The University of Tokyo, Seoul National University และ Kyoto University ได้คะแนน 100 คะแนนเท่ากัน ดังนั้นต้องครองอันดับ 1 ร่วมกันในตัวชี้วัดนี้ แต่ทาง QS กลับให้ The University of Tokyo เป็นอันดับที่ 1 และ National University of Singapore (NUS) เป็นอันดับที่ 2 Kyoto University เป็นอันดับที่ 3 Seoul National University เป็นอันดับที่ 5 และ University of Hong Kong เป็นอันดับที่ 7 ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องในแง่การจัดอันดับ และเมื่อดูการจัดอันดับทั้งหมดตามสาขาวิชาหรือตัวชี้วัดซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 400 กว่าอันดับโยอันดับที่ 201 เป็นต้นไปไม่ได้เรียงอันดับตามคะแนนแต่ทาง QS เพียงแสดงคะแนนของแต่ละมหาวิทยาลัยเท่านั้นครับ สิ่งที่พบคือมีบางมหาวิทยาลัยที่ปรากฎชื่อซ้ำกันในการจัดอันดับของบางสาขาวิชาหรือตัวชี้วัด เช่น พบชื่อ Kansai University หรือ Tokyo Denki University ซ้ำกันสองครั้งในการจัดอันดับสาขา Technology and Engineering เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการขาดหายไปของอันดับมหาวิทยาลัยบางอันดับในการจัดอันดับแยกตามรายสาขาวิชาและตามตัวชี้วัด เช่น ไม่ปรากฎอันดับหนึ่งของการจัดอันดับในตัวชี้วัด International Student

Rank

School Name

Country

Classification

Score

2

National University of Singapore (NUS)

Singapore

XL|FC

100

3

University of Hong Kong

Hong Kong

L|FC|

100

4

The Hong Kong University of Science and Technology

Hong Kong

M|CO|

100

5

Nanyang Technological University (NTU)

Singapore

L|CO|

100

6

Multimedia University (MMU)

Malaysia

 

99.9

7

International Islamic University Malaysia (IIUM)

Malaysia

L|FC|

99.8

8

Singapore Management University

Singapore

 

99.8

9

The Chinese University of Hong Kong

Hong Kong

L|FC|

99.7

10

The Hong Kong Polytechnic University

Hong Kong

L|CO|

99.3

หรือ อันดับที่ 21 หายไปจากการจัดอันดับของสาขา Social science and Management นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามว่าเหตุใดมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนเท่ากันในการจัดอับดับตามสาขาวิชาและตามตัวชี้วัดถึงไม่ได้ครองอันดับเท่ากันในการจัดอันดับของสาขาหรือตัวชี้วัดนั้นๆ เช่น

Rank

School Name

Country

Classification

Score

30

Thammasat University

Thailand

XL|FC

13.9

31

Kyung Hee University

Korea, South

L|FC|

13.9

จะเห็นว่าทั้ง 2 มหาวิทยาลัยคะแนนเท่ากันแต่ QS ให้ Thammasat University อยู่อันดับที่ 30 และ Kyung Hee University อยู่อันดับที่ 31 แทนที่จะให้ครองอันดับร่วมกันซึ่งน่าจะถูกต้องมากกว่าครับ

และในบางครั้งทำไม QS ถึงไม่ได้เว้นอันดับและเลื่อนอันดับอื่นๆลงไปในกรณีที่อันดับก่อนหน้านั้นเป็นการครองอันดับร่วมกัน เช่น

Rank

School Name

Country

Classification

Score

1

Tokyo Medical and Dental University

Japan

 

100

1

Yokohama City University

Japan

 

100

2

The University of Tokyo

Japan

 

99.9

3

University of Hong Kong

Hong Kong

 

99.9

เมื่อมีอันดับหนึ่งร่วมกันสองมหาวิทยาลัยก็ต้องเว้นอันดับที่สองและเลื่อนอันดับของมหาวิทยาลัยที่ต่อจากนั้นเป็นอันดับที่สาม แต่บางครั้ง QS ก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นครับ

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงเกิดคำถามว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียโดย QS (QS Asian University Ranking) นั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่หละสามารถเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด และเหตุใดมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนน้อยกว่าบางมหาวิทยาลัยทั้งในแง่ของการจัดอันดับตามสาขาวิชาและการจัดอันดับตามตัวชี้วัด ถึงได้กลับกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับภาพรวมไปได้ดังเช่นกรณีของ The Hong Kong University of Science and Technology ที่มีคะแนนในแต่ละสาขาและแต่ละตัวชี้วัดน้อยกว่า National University of Singapore (NUS) และ University of Hong Kong อย่างเห็นได้ชัดแต่กลับกลายเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียอย่างไม่น่าเป็นไปได้ เพราะดูจากคะแนนแล้ว The Hong Kong University of Science and Technology ควรอยู่อันดับต่ำกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำครับ

ผมเห็นว่าปัจจุบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนั้นมีการทำกันอย่างหลายหลาย ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งในประเทสและของต่างประเทสที่มีการจัดอันดับ ซึ่งในการจัดอันดับของแต่ละหน่วยงานก็มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป รวมทั้งตัวชี้วัดที่ใช้ในการก็แตกต่างกันไปด้วยครับ แต่สิ่งที่มักพบก็คือหลายหน่วยงานที่จัดอันดับนั้นเป็นหน่วยงานที่มุ่งหวังผลทางธุรกิจ คือนำเอาผลการจัดอันดับไปหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น การจำหน่ายผลการจัดอันดับผ่านทางเวบไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร และสามารถให้ดาวน์โหลดเป็นแอปพลิเคชั่นบนมือถือโดยเสียค่าดาวน์โหลด นอกจากนี้ทางหน่วยงานเหล่านี้บางหน่วยงานยังมีพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยที่ต้องการประชาสัมพันธ์ให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก ได้ลงโฆษณา ในเวบไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเสียค่าโฆษณาหรืออาจมีการร่วมธุรกิจกันในรูปแบบอื่นเช่นให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการจัดสัมมนาของหน่วยงานโดยเสียค่าเช่าพื้นที่หรือเสียค่าสมัครเป็นต้น ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าวิธีการดังกล่าวจะนำมาซึ่งการจัดอันดับที่มีแนวโน้มเข้าข้างหรือเอื้อประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยที่ยอมเสียเงินเพื่อการนี้หรือไม่ เพราะทาง QS เองก็มีการเปิดให้ทางมหาวิทยาลัยที่สนใจลงโฆษณาในเวบไซต์ของ QS ที่ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยได้ด้วย

ซึ่งก็พบนะครับว่าบางมหาวิทยาลัยที่ลงโฆษณาในเวบไซต์ดังกล่าวหรือร่วมธุรกิจกับทาง QS ในทางใดทางหนึ่งนั้น ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยให้อยู่ในอันดับที่ดีกว่าบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เสียเงินให้ QS ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยบางแห่งที่อันดับดีกว่านั้นได้คะแนนโดยทั่วไปน้อยกว่ามหาวิทยาลัยที่อันดับแย่กว่าด้วยซ้ำไป

ซึ่งนั่นอาจทำให้หลายๆคนเกิดความสงสัยและไม่มั่นใจในผลการจัดอันดับที่ออกมาว่ามีความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมต่อมหาวิทยาลัยอื่นหรือไม่

ผมยังเป็นห่วงด้วยครับว่า ในเรื่องของความถูกต้องและความโปร่งใสของการจัดอันดับนั้นมีผลต่อมหาวิทยาลัยอย่างมาก ยิ่งทาง สกอ. ตั้งเกณฑ์ให้ให้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติต้องติดใน 500 อันดับของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เชื่อว่ามหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในประเทศไทยต้องพยายามพัฒนาตนเองให้สามารถเข้าไปอยู่ใน 500 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลกให้ได้ ถึงแม้ตอนนี้บางมหาวิทยาลัยอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นสามารถเป็นหนึ่งในห้าร้อยอันดับแรกได้แล้ว แต่ก็ต้องพิจารณษด้วยว่าจะใช้เกณฑ์ของหน่วยงานใดในการวัด ซึ่งต้องเลือกหน่วยงานที่มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือและใช้ตัวชี้วัดที่วัดความสามารถของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริงครับ

 

Reference

1.QS Asian University Ranking เวบไซต์ http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2011

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 444439เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท