คนเล็กหัวใจโต (เรื่องราวของเด็กต่างชาติกับการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ)


“น้องจะกลัวหมอมาก ยิ่งรู้ว่าใกล้เวลาไปหาหมอจะร้องไห้ทุกครั้ง” แม่ยังเล่าอีกว่า “พ่อกับแม่มีบัตรแรงงานถูกต้อง ทำบัตรสุขภาพให้น้องแต่ถูกสวมสิทธิ์ คนทำบัตรรู้กันกับนายจ้างทำบัตรปลอมมาให้ ทำให้ทุกวันนี้ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลทุกอย่าง และค่ารักษาก็แพงมาก ยังไม่รู้เลยว่าจะเอาเงินที่ไหนมารักษา”
ขออนุญาตนำเรื่องท่น้องคนหนึ่งเขียนมาลง เป้าหมายคือหาทางช่วยเหลือ เด็กต่างชาติที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ที่ต้องการหาเงินมารักษาตัวเองครับ
บอม
คนเล็กหัวใจโต
รัชนีกร ทองทิพย์ - [ 11 ส.ค. 49, 17:04 น. ]

 

ฉันและคณะเดินทางลงพื้นที่มหาชัยไปสมทบกับเจ้าหน้าที่ของ LPN เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมนักเรียนของศูนย์การเรียน เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ของโครงการ 2 คน และนักศึกษาฝึกงานอีก 3 คน เป็นผู้พาลงพื้นที่

ตามแผนที่วางไว้เราจะเข้าเยี่ยมเด็กที่เป็นโรคหัวใจที่กำลังรอรับการผ่าตัดจากโรงพยาบาลจำนวน 2 คน เพื่อไปเยี่ยมคนแรกเราเดินเข้าซอยปากซอยเป็นแผงลอยขายอาหารตอนเย็นผ่านโรงงานไม้ ฝุ่นจากโรงไม้คละปะปนในอากาศจนหายใจฝืด พบเด็กหญิง “มูมูเอ” ผู้อาสาพาเราไปยังที่พักแห่งใหม่ของน้อง “ชมพู่” เด็กหญิงอายุ 11 ปี ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจโตและหัวใจรั่ว ที่พักใหม่ของน้องชมพู่ไม่ได้ดีกว่าที่พักเดิมมากมายนัก แต่สิ่งที่ดีกว่าคือเรื่องของสภาพอากาศในบริเวณห้องพักที่ดีขึ้น เราเจอน้องชมพู่เด็กหญิงร่างเล็ก แขนยาวผอมแทบไม่มีเนื้อ แต่กุลีกุจอยกน้ำให้ผู้มาเยือน เมื่อถามถึงอาการเจ็บป่วย เด็กหญิงน้อยมีแววตาหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด “ชมพู่กลัวหมอ” เด็กน้อยพูด น้ำตาเริ่มคลอ แม่น้องชมพู่เล่าผ่านล่ามว่า “น้องจะกลัวหมอมาก ยิ่งรู้ว่าใกล้เวลาไปหาหมอจะร้องไห้ทุกครั้ง” แม่ยังเล่าอีกว่า “พ่อกับแม่มีบัตรแรงงานถูกต้อง ทำบัตรสุขภาพให้น้องแต่ถูกสวมสิทธิ์ คนทำบัตรรู้กันกับนายจ้างทำบัตรปลอมมาให้ ทำให้ทุกวันนี้ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลทุกอย่าง และค่ารักษาก็แพงมาก ยังไม่รู้เลยว่าจะเอาเงินที่ไหนมารักษา”


ชมพู่


ที่พักของน้องชมพู่


ยี

ที่พักของน้องยี
“เขาเป็นลูกคนเดียวที่ไม่สบาย แม่เป็นห่วงที่สุด”
แม่พูดพลางน้ำตาคลอ

“หนูอยากไปโรงเรียน อยากเรียนหนังสือ” น้องชมพู่บอกเรา วันแม่ปีนี้ที่ศูนย์การเรียนเด็กที่น้องชมพู่เรียนอยู่จะจัดกิจกรรมวันแม่ “วันแม่หนูอยากไปโรงเรียน อยากไหว้แม่ อยากบอกว่ารักแม่” เด็กหญิงน้อยบอกเราท่าทางอาย ๆ

ออกจากที่พักของน้องชมพู่เราเดินทางไปเยี่ยมรายที่สอง ที่เป็นเด็กชาย ชื่อ เด็กชาย “ยี” อายุ 13 ปี เข้ามาเมืองไทยได้ 7 เดือน อาศัยอยู่กับพี่สาวซึ่งทำงานแกะกุ้งที่โรงงานในมหาชัย ป่วยเป็นโรคหัวใจโต จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

เราเดินเท้าเข้าสู่ที่พักของเด็กชายยี ทางเข้าเป็นซอยเล็ก ๆ ใกล้กันมี “ล้งกุ้ง” หรือ โรงงานแกะกุ้ง กลิ่นคาวของกุ้งโชยกลิ่นคละคลุ้งแตะจมูกจนเราต้องกลั้นหายใจ เดินจนสุดซอยจนถึงเรือนแถวไม้ 2 ชั้น แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ มีเสื้อผ้าตากระเกะระกะ ด้านล่างซ้ายมือมีถังก่อปูนสูงประมาณเอวถูกจัดเป็นที่อาบน้ำกลางแจ้ง มีแรงงานพม่าทา “ตะนัดคา” (แป้งพม่า) เดินขวักไขว่ไปมาเนื่องจากเป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำ

ฉันเดินตามเจ้าหน้าที่ของโครงการขึ้นไปยังชั้นสองของของเรือนพัก ทันทีที่เข้าไปฉันสะดุดตากับเด็กชายน้อย ๆ ร่างกายผ่ายผอมที่นั่งอยู่พร้อมเครื่องออกซิเจนช่วยหายใจ มองภายนอกยังไม่เห็นความแตกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ แต่หากพิจารณาดูจะเห็นหน้าอกข้างซ้ายของหนูน้อยนูนสูงขึ้นอย่างผิดปกติขนาดใหญ่กว่ากำปั้นของผู้ใหญ่สองกำปั้นมาซ้อนทับกัน

เยง พี่สาว ของ ด.ช.ยี หญิงสาวชาวพม่าวัย 23 ปี ผู้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า 6 ปี แล้ว เล่าว่า “ต้องพาน้องชายมาอยู่เมืองไทยเพราะน้องเป็นโรคหัวใจ ก่อนหน้านี้น้องอยู่กับแม่ที่พม่า พอแม่เสียเลยต้องให้น้องเข้ามาอยู่ไทยด้วยกัน”

พี่สาวผู้มีอาชีพทำงานโรงงานหมึกบอกต่อว่าตนเองกับสามีรับรายได้วันละ 200 บาท ต้องเลี้ยงลูกน้อยวัยไม่ถึงขวบอีกหนึ่งคน แม้มีภาระค่าใช้จ่ายมากทั้งค่ากินค่าที่พักแต่ไม่คิดจะทิ้งน้องชายผู้เจ็บไข้ไว้ลำพัง “ต้องดูแลน้องให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะเรามีกันแค่สองคนพี่น้อง” เยงพูดพร้อมน้ำตาคลอเบ้า

ตอนนี้ ด.ช.ยี เข้าเรียนที่ศูนย์การเรียนของเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ที่ดำเนินการเรียนการสอนให้เด็กลูกหลานแรงงานพม่าที่ทำงานในประเทศไทย เด็กน้อยพูดให้เราฟังว่า “ชอบเมืองไทย เพราะได้เรียนหนังสือ อยู่พม่าไม่ได้เรียน หนูชอบไปโรงเรียน” เด็กน้อยเล่าต่อว่า ตนเองเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายเร็ว ๆ ไม่ได้ เพราะเหนื่อยง่ายและเจ็บหัวใจ

เด็กน้อยเล่าอีกว่าตนเองอยากมีเพื่อนผู้ชายแต่เล่นด้วยไม่ไหว ตื่นเช้ามาตั้งแต่ 6 โมงเช้า แต่ตอนนี้ไม่ได้ไปเรียนเพราะไม่สบายและต้องเตรียมตัวรอการผ่าตัด กิจวัตรประจำวันเลยมีแค่เดินไปมาในห้องอย่างมากก็เดินออกไปยืนดูคนอื่น ๆ หน้าระเบียงห้อง บางคืนถ้าเหนื่อยมากก็นอนไม่หลับ

“อยากเล่นกับเพื่อนแต่เล่นไม่ได้ เพราะเล่นไม่ไหว อยากหายเร็วๆ” เด็กน้อยบอกเรา ยิ่งไปกว่านั้นเด็กน้อยรู้จักการดูแลตัวเองอย่างดีเพื่อรอรับการรักษาจากแพทย์คอยระวังไม่ให้ตัวเองเหนื่อย ไม่เล่นแม้อยากเล่น ไม่ทานสิ่งที่หมอห้าม แม้แต่ลูกอมหรือขนมหวานสิ่งที่เด็กเล็ก ๆ ทั่วไปจะชอบเด็กน้อยก็งดเว้น เพราะหมอบอกว่าต้องรักษาสุขภาพของช่องปากดี ๆ เพราะจะมีผลต่อร่างกาย แม้ยามที่เพื่อนร่วมคณะของเรายื่นลูกอมด้วยเพราะอาทรด้วยความไม่รู้ เด็กน้อยก็ปฏิเสธอย่างสุภาพ

เด็กหญิงน้อยๆ วัย 7 ปี เพื่อนผู้คอยห่วงใยอาการของเด็กชายยี เล่าว่า ตนจะคอยอยู่เป็นเพื่อนของเด็กชายยี แม้บางครั้งจะทะเลาะกันบ้างตามประสาเด็ก แต่ตนก็อยากให้เพื่อนหายป่วย “อยากให้ยีหาย เพราะจะได้ไปโรงเรียนด้วยกันทั้งสองคน” เด็กหญิงพูด

สิ่งที่ฉันเห็นในแววตาของเด็กชายตัวเล็กแต่หัวใจแกร่งของเราคือ ความเข้มแข็ง ความหวัง พร้อมที่จะสู้แม้ร่างกายอ่อนล้า ฉันเป็นคนตัวโตๆ ที่หลายครั้งยังแอบล้า เหงา และ อ่อนแอ วันนี้การได้พูดคุยกับเด็กน้อยจากเมืองพม่า ผู้ไม่ท้อแม้โรคภัยจะรุมเร้า ช่วยเพิ่มแรงในหัวใจของฉัน

เด็กน้อยใช้ความหวังเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงหัวใจ และไม่ท้อแม้หัวใจดวงน้อยนั้นอ่อนแรง

สำหรับท่านที่ประสงค์ช่วยเหลือในเรื่องการรักษา กรุณาติดต่อ
คุณสมพงษ์ สระแก้ว หรือ คุณธณัฐฌา ธรรมยู
เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน
เบอร์โทร. 034-413748-9

รัชนีกร ทองทิพย์
นักวิจัย โครงการวิจัยการเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมของเด็กต่างชาติในประเทศไทย
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.)
สนับสนุนโดย องค์กร Action Aid (ประเทศไทย)

ข้อมูลจาก http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0429

หมายเลขบันทึก: 44381เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
รายงาน การให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ  กรณีเด็กต่างชาติ เด็กชายยีโดยเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน  (LPN) ผู้ป่วย   ด.ช. ยี ชาวพม่า มีฐานะยากจน ไม่มีสิทธิ์ในการรักษาอาการป่วย  ตรวจเบื้องต้นแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคหัวใจรูมาติกความช่วยเหลือ    ครั้งที่ 1. ส่งตรวจที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร                       ครั้งที่ 2. ส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี                 เบื้องต้นทางศูนย์ LPN ได้รับแจ้งคำร้องจากนางสาวยีน ไม่มีนามสกุล เลขที่บัตรต่างด้าว 00 7401 103571 8 ว่าประสบปัญหาการรักษาพยาบาล ด.ช.ยี ชาวพม่า อายุ 11 ปี  ป่วยด้วยโรคหัวใจ สังเกตเห็นจากหน้าอกข้างซ้ายโป่งนูนชัดและมีอาการหัวใจเต้นแรง เหนื่อยหอบ ทางพี่สาวได้แจ้งว่าเคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ซึ่งในส่วนของแพทย์ได้วินิจฉัย ด.ช.ยี ว่าเป็นโรคหัวใจรูมาติกโดยรับยาฆ่าเชื้อป้องกันเชื้อเข้าสู่ลิ้นหัวใจ ไว้รับประทาน อีกทั้งทางโรงพยาบาลสมุทรสาครประสบปัญหาเครื่องตรวจหัวใจ Echo ของชำรุด และไม่มีนโยบายในการรักษาต่างด้าวที่ไม่มีการจดทะเบียน กับต่างด้าวที่ไม่มีบัตรต่างด้าว   อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาและผ่าตัดสูงมาก ทางศูนย์จึงประสานงานขอความอนุเคราะห์ ไปยังผู้อำนวยการ  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  และนำผู้ป่วยเข้าตรวจรักษาเพื่อเข้ารับการรักษาขั้นต่อไป ประวัติการรักษาครั้งที่ 1 โรงพยาบาลสมุทรสาคร            วันที่ 29 30 มกราคม 2549 : เข้าพักรักษา(admit) โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเด็กป่วยเป็นโรคหัวใจโต และแจ้งให้ญาติพาตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ            วันที่ 11 มีนาคม 2549 : เจ้าหน้าที่ LPN พาผู้ป่วยเข้าตรวจตามแพทย์นัด โดยเด็กมีอาการไอแห้ง ๆ มีไข้ น้ำมูกไหล และเจ็บหน้าอก เนื่องจากมีอาการไอมาตลอด 3 เดือน หน้าเหลือง ตาเหลือง แพทย์หญิงปาริชาติ แนะนำให้ทำการตรวจคลื่นหัวใจโดยละเอียดด้วยเครื่องตรวจ Echo เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย            วันที่ 24 เมษายน 2549 : เจ้าหน้าที่ LPN พาผู้ป่วยเข้าตรวจตามแพทย์นัดอีกครั้ง เด็กมีอาการหน้าอกด้านซ้ายใหญ่ขึ้น แต่ทางโรงพยาบาลประสบปัญหาเครื่องตรวจ Echo ชำรุด จึงประสานงานทางโรงพยาบาลเพื่อทำเรื่องขอ Refer ไปยังโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แต่ทางโรงพยาบาลสมุทรสาครไม่สามารถทำการ Refer ผู้ป่วยเนื่องจากเด็กไม่มีสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล และเป็นต่างด้าวพม่า ประสบปัญหาไม่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาผ่าตัด  เจ้าหน้าที่ LPN จึงประสานขอความอนุเคราะห์ไปยังหน่วยงานสังคมสงเคราะห์เพื่อดำเนินการรักษาขั้นต่อไป            นายแพทย์เอกพร พรรณเชษฐ์ ทำการตรวจวินิจฉัยว่าเด็กเป็นหัวใจรั่ว แต่ไม่สามารถทำการรักษาขึ้นต่อไปได้เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่มีนโยบายช่วยเหลือต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิ์และไม่มีการจดทะเบียน โดยจะไม่ให้การรักษาใด ๆ ต่อไป                วันที่ 18 กรกฎาคม 2549 : เจ้าหน้าที่ LPN พาผู้ป่วยเข้า Admit ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ด้วยอาการหอบเหนื่อย ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง และเด็กมีอาการเชื้อเข้าสู่ลิ้นหัวใจ  ครั้งที่ 2 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี            วันที่ 20 กรกฎาคม 2549  : เจ้าหน้าที่ LPN พาผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อเข้ารักษาตัวต่อที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  โดยแผนก ER  ได้ให้ยืมชุดถังออกซิเจนในการเดินทาง  โดยทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี นัดตรวจ Echo หัวใจเด็กอีกครั้งวันที่ 25 กรกฎาคม 2549             วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 : เจ้าหน้าที่ LPN พาผู้ป่วยเข้าตรวจ Echo หัวใจตามแพทย์นัด โดยครั้งนี้ทางสังคมสงเคราะห์สถาบันฯ เป็นผู้อนุเคราะห์ค่าใช้จ่าย ซึ่งจากผลการตรวจทีมแพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัด Balloon หัวใจโดยด่วน ซึ่งผลการตรวจออกมาดังนี้            ECHO DIAG Rheumatic MS (105.0)                Detail Echocardiographic Diagnosis : Mitral Stenosis                 Severe Rheumatic MS-         MV A PHT 1.03 cm2-         MPG 19 mmHg-         Calcify mitral annulus and papillary muscles-         Smoky appearance of the LA-         No clot was seen in LA appendageMild MRMild TR, PG 120 mmHgNormal tricuspid, pulmonic and aortic valves                 โดยทีมแพทย์ขอนัดยืนยันการผ่าตัดในวันที่ 9 สิงหาคม 2549 ซึ่งทางเจ้าหน้าเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้ดำเนินการประสานงานไปยังองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการรักษาผ่าตัดให้กับผู้ป่วย แต่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายซึ่งยังไม่สามารถรองรับการช่วยเหลือครั้งนี้ โดยเบื้องต้นค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดอยู่ที่ 80,000 บาท (ไม่รวมค่าAdmit และค่ายาหลังจากผ่าตัด)
รายงาน การให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพกรณีเด็กต่างชาติ ชื่อเด็กชายบุญเกิดโดยเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน  (LPN) ผู้ป่วย       ด.ช.บุญเกิด ชาวพม่า มีฐานะยากจน ไม่มีสิทธิ์ในการรักษาอาการป่วย  ตรวจเบื้องต้นแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคผนังหัวใจรั่ว และกลับด้าน                 ผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัดศัลยกรรมข้อมือข้างซ้ายความช่วยเหลือ   ส่งตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ             เบื้องต้นทางศูนย์ได้ทราบจากแผนกสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลสมุทรสาคร ในการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว นางสาวสี ไม่มีนามสกุล เลขประจำตัวต่างด้าว 00 7499 115438-3 โดยมีสิทธิประกันสุขภาพที่โรงพยาบาลศรีวิชัย 5 แต่ได้ทำคลอดบุตรที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ซึ่งบุตรชาย ชื่อ ด.ช. บุญเกิด ไม่มีนามสกุล มีอาการข้อมือข้างซ้ายพับ  เมื่อครบกำหนด 6 เดือนจึงนำบุตรชายเข้าตรวจเพื่อทำการผ่าตัดข้อมือ แต่เนื่องจากแพทย์ได้ตรวจพบว่า ด.ช. บุญเกิด มีอาการของโรคหัวใจรั่ว และน้ำหนักตัวน้อย จึงไม่สามารถทำการผ่าตัดศัลยกรรมให้ได้ และเด็กไม่สามารถกินนมแม่ได้ตามปกติ ต้องดื่มนมกระป๋อง ซึ่งแพทย์แนะนำให้นางสาวสี นำตัวบุตรชายไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ  โรงพยาบาลศิริราช            วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 : เจ้าหน้าที่ LPN นำผู้ป่วยเข้าตรวจตามนัด โดยผลการตรวจเด็กชายบุญเกิด อายุ 8 เดือน มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำการนัดตรวจอีก 3 เดือนเพื่อดูน้ำหนักอีกครั้ง จึงสามารถทำการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งเด็กมีอาการผนังหัวใจรั่ว และกลับด้าน  หลังจากนั้นจึงจะสามารถทำการศัลยกรรมข้อมือได้
รายงาน การให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพกรณีเด็กต่างชาติ  เด็กหญิงชมพู่โดยเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน  (LPN) ผู้ป่วย   ด.ญ.ชมพู่  ชาวพม่า มีฐานะยากจน ไม่มีสิทธิ์ในการรักษาอาการป่วย  ตรวจเบื้องต้นแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคหัวใจรั่ว และช่องปากปวดบวมอักเสบความช่วยเหลือ  ครั้งที่ 1. ส่งตรวจที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร                     ครั้งที่ 2. ส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี             เบื้องต้นทางศูนย์ได้ทราบจากทีมแพทย์โรงพยาบาลสมุทรสาคร ในวันตรวจสุขภาพประจำปี 2549 ของศูนย์การเรียนรู้ LPN ว่า ด.ญ.ชมพู่ ชาวพม่า  เป็นโรคหัวใจรั่ว  และไม่มีนโยบายในการรักษาต่างด้าวที่ไม่มีการจดทะเบียนและต่างด้าวที่ไม่มีบัตรต่างด้าว  อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาและผ่าตัดสูงมาก ทางศูนย์จึงทำจดหมายขอความอนุเคราะห์ ไปยังผู้อำนวยการ  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  และนำผู้ป่วยเข้าตรวจรักษา ครั้งที่ 1 โรงพยาบาลสมุทรสาคร            นายแพทย์เอกพร พรรณเชษฐ์ ทำการตรวจวินิจฉัยว่าเด็กเป็นหัวใจรั่ว แต่ไม่สามารถทำการรักษาขึ้นต่อไปได้เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่มีนโยบายช่วยเหลือต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิ์และไม่มีการจดทะเบียน โดยจะไม่ให้การรักษาใด ๆ ต่อไป ครั้งที่ 2 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีผลการตรวจวันที่ 1 กรกฎาคม 2549             แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหัวใจรั่วข้างขวา เด็กมีอาการช่องปากและฟันอักเสบ จึงนัดตรวจทัณตกรรม วันที่ 5 กรกฎาคม 2549  และนัดตรวจ Echo หัวใจ วันที่ 7 กรกฎาคม 2549  และวันนี้ให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อระงับเชื้อเข้าสู่ลิ้นหัวใจ  ผลการตรวจวันที่ 5 กรกฎาคม 2549            แพทย์แผนกทันตกรรมตรวจพบฟันอักเสบ ต้องทำการให้ยาก่อนรักษา แต่ไม่สามารถดำเนินการทันทีเนื่องจากเด็กเป็นโรคหัวใจรั่ว การให้ยาจะส่งผลต่อหัวใจ จึงส่งตรวจไปยังแผนกโรคหัวใจ ซึ่งผลการตรวจด้วยเครื่อง Echo ทีมแพทย์แจ้งว่าเด็กมีอาการเลือดเข้าหัวใจผิดห้อง และความดันในปอดสูงมาก ต้องทำการผ่าตัดโดยการสวนหัวใจก่อนการผ่าตัด ซึ่งมาค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดประมาณ 100,000 บาท เบื้องต้น  ทางศูนย์จึงขอความอนุเคราะห์ในการดำเนินการรักษาต่อไป
ด้านบนเป็นรายงานของ เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ต้องขออนุญาตนำมาเผยแพร่ด้วย เพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานของน้องทั้งสามคนครับ

ด้านล่างนี้เป็นข้อความที่ได้รับจาก e-mail จากคุณสมพงษ์(ตุ่น) แจ้งความคืบหน้ากรณี "ยี"ครับ

ทางมหาชัยตอนนี้มีอยู่ 3  เคส  แต่คาดว่าจะมีมากกว่านี้มาก เมื่อวานวันที่ 9  สค  พาน้องยีไปหาหมอที่โรงพยาบาลแม่แด็ก กรุงเทพ ทราบว่าต้องผ่าตัดขนานใหญ่ใช้เงินมากกว่า  สองแสนบาท  ทางเราได้คุยกับหมอว่าเราอยากให้มีการช่วยกันครึ่งหนึ่ง ตอนนี้ก็พยายามหางบว่าจะหามาจากไหนบ้างก็ช่วยกันอยู่  หากไม่ช่วยตอนนี้  ทุกเวลามีโอกาสไปมาก หากเกินหกเดือนก็หมดสิทธิ์รักษาแล้ว

       ผมคิดว่า  ปัญหาสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เด็กและครอบครัว เป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตที่หลายหน่วยงานไม่พึงแต่ทำเชิงนโยบายจากข้างบนมาข้างล่าง ซึ่งไม่ได้ผลในวันสองวัน อยากให้เริ่มจากปัญหาที่อาการ รากเหง้าก่อน  และในระดับปฏิบัติการแต่ละจังหวัด  ส่งต่อในระดับประเทศ
       ลองมาทำกองทุนสุขภาพไร้พรมแดนดูน่าจะดี เพราะต้องพึ่งตนเองแล้วหละ
       หากว่างๆ  พวกเราหาโอกาสมาคุยกันนะครับ  ก่อนที่หลายอย่างจะสายเกินไป แล้วมาเสียใจภายหลัง
ตุ่น  LPN

อาจารย์อย่าได้แต่ร้องไห้คนเดียวนะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท