Action Research


การวิจัยแบบติดชึ่ง

Action Research คือ การวิจัยแบบติดชึ่ง

             จากที่ได้เรียน Action Research กับท่าน ดร.แสวง  รวยสูงเนิน ทำให้เข้าใจได้ว่า  คือ การวิจัยที่ต้องลงมือวิจัยด้วยการปฏิบัติจริง ๆ จัง ๆ ด้วยตนเองกับปัญหาที่ต้องการคำตอบไปแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับชาวบ้าน นักวิจัยก็ต้องไปวิจัยร่วมกับชาวบ้านให้รู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงแบบคลุกวงในให้ฝุ่นตลบ

             นักวิชาการส่วนใหญ่จึงให้ความหมายของคำว่า Action Research คือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

             แต่ในทัศนะของ ดร.แสวง รวยสูงเนิน บอกว่า คือ การวิจัยแบบเต๊ะท่า ซึ่งก็ยังไม่ให้ความหมายที่กินใจในทัศนะของชาวบ้าน              ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ จึงให้ความหมายแบบชาวบ้าน ๆ ที่เข้าใจง่ายว่า

Action Research คือการวิจัยแบบติดชึ่ง เพราะท่านครูบาบอกว่าเต๊ะท่าก็คือการการวางท่าทางยังไม่ได้ลงมือ แต่สำหรับติดชึ่งแล้ว คือการลงมือร่ายรำหรือทำเองอย่างถึงถึงพริกถึงขิง ทำด้วยความสุขและสนุกสนาน

             ดังนั้น นักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ทุกคนที่จะต้องทำวิจัยกับชาวบ้านที่เรียกว่า Action Research จะต้องลงมือร่ายรำด้วยตนเอง จึงจะได้อารมณ์และอัธรสที่แท้จริง

       Action Research ที่จึงเป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงมือวิจัยร่วมกับชาวบ้านภายใต้ปัญหา ความต้องการและบริบทที่ชาวบ้านมี ไม่ใช่วิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิจัย

       Action Research โดยใช้ KM หรือการจัดการความรู้ที่ชาวบ้านมีและที่นักวิจัยค้นพบมาบูรณาการเพื่อให้เกิดความรู้ที่เหมาะสมกับชาวบ้าน ชุมชน ชาวบ้านสามารถนำความรู้ได้ไปใช้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง

              สำคัญที่สุดให้ทำความเข้าใจให้ได้ว่า KM คือ ไตรสิกขา

             การวิจัยคือการแก้ปัญหา

            แก้ปํญหาโดยใช้ KM

       แก้ปัญหาโดยใช้ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา

หมายเลขบันทึก: 44379เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท