รู้ไหม ครูเหนื่อย


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 
รู้ไหม ครูเหนื่อย!

ทุกวันนี้ครูเหนื่อย
ความเรื่อยเฉื่อยของศิษย์คิดแก้ไข
ก็ต้องถูกกระทำให้ช้ำใจ
จู้จี้ไปศิษย์ทำหน้าเหมือนท้าทาย

ครูเป็นหญิงไม่กล้าตีมีแต่สอน
ผิดทุกตอนหากแตะต้องศิษย์เสียหาย
ในอดีตครูตีจนก้นลาย
ศิษย์ไม่ตายแต่ได้ดีที่มีครู

ในตอนนี้ครูเห็นศิษย์เดินบิดเบี้ยว
ใช้ไม้เรียวครูก็ผิดคิดอดสู
ศิษย์ตบตีแย่งผู้ชายได้แต่ดู
สั่งสอนหนูไม่จำครูช้ำตรม

ผอ.บอกลูกใครใครก็รัก
ไม่ดีสักปานใดไม่เหมาะสม
พ่อแม่เขารักลูกเฝ้าชื่นชม
ลูกจะล้มพลาดผิดคิดอภัย

ได้แต่มองศิษย์เดินไปในทางผิด
ที่ได้คิดอนาคตก็สดใส
ที่หลงทางกู่ไม่กลับเดินลับไป
ครูก็ได้แต่กล้ำกลืนขมขื่นนัก
           "ครูเหนื่อย" (กรุงเทพฯ)

เครดิต : สโมสรสมานมิตร - สกุลไทย

คำสำคัญ (Tags): #ครูเหนื่อย
หมายเลขบันทึก: 443778เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2011 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ...

ผมชอบกลอนบทนี้มาก..อย่าว่าแต่ครูเหนื่อยเลยครับ..พ่อแม่ก็เหนื่อยเพราะสอนลูกตัวเองไม่ได้...ลำบากกันไปหมดล่ะครับ...แต่เราต้องไม่ท้อนะครับ...

กลอนโดนใจมากๆ.........แปลกยุคนี้......ครูสอนเด็กให้รู้ดีรู้ชั่ว.....อะไรดี รู้ อะไรไม่ดี ก็รู้ แต่ทำไม? เด็กๆที่เราสอน ตามบ้านๆที่จบป.6ไป...ดันยังเลือกที่จะเสพยาเสพติด....ทั่วบ้านรอบเขตบริการร.ร.ตอนนี้....ยังไม่เห็นเลยว่า ที่เด็กไม่เสพ(ดื่ม)น้ำกระท่อม.....หรือใครบ้างบอกได้บ้างว่า มี"หมู้บ้านปลอดไม่มีเด็กเสพดื่มใบน้ำกระท่อม" ช่วยบอกที....เจ็บใจจริงๆเป็นครูแค่แก้ปัญหาลูกศิษย์เรื่องนี้ไม่ได้....................อยากมีผู้คุยแลกเปลี่ยน....จะได้คลายบ้าง.....ครูเหนื่อยน๊ะ

กลอนโดนใจมากๆ.........แปลกยุคนี้......ครูสอนเด็กให้รู้ดีรู้ชั่ว.....อะไรดี รู้ อะไรไม่ดี ก็รู้ แต่ทำไม? เด็กๆที่เราสอน ตามบ้านๆที่จบป.6ไป...ดันยังเลือกที่จะเสพยาเสพติด....ทั่วบ้านรอบเขตบริการร.ร.ตอนนี้....ยังไม่เห็นเลยว่า ที่เด็กไม่เสพ(ดื่ม)น้ำกระท่อม.....หรือใครบ้างบอกได้บ้างว่า มี"หมู้บ้านปลอดไม่มีเด็กเสพดื่มใบน้ำกระท่อม" ช่วยบอกที....เจ็บใจจริงๆเป็นครูแค่แก้ปัญหาลูกศิษย์เรื่องนี้ไม่ได้....................อยากมีผู้คุยแลกเปลี่ยน....จะได้คลายบ้าง.....ครูเหนื่อยน๊ะ

  • เห็นใจเพื่อนร่วมวิชาชีพทางการศึกษาค่ะ ที่ต่างก็เหนื่อยใจกับความพยายามที่จะตบแต่งให้ลูกศิษย์ของตน "เป็นคนดี" ของสังคม แต่ประสบปัญหาต่างต่าง นานา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ปัญหาการมองไม่เห็นถึงความปรารถนาดีของครู" ทั้งจากลูกศิษย์เองและจากผู้ปกครอง และ "การที่ครูไม่สามารถทำให้ลูกศิษย์เป็นคนดีได้อย่างที่ใจครูต้องการ" อย่างกรณีครูแหวน ก็จะยิ่งจะทำให้ครูท้อแท้ 
  • เห็นครูแหวนบอกว่า "....เจ็บใจจริงๆเป็นครูแค่แก้ปัญหาลูกศิษย์เรื่องนี้ไม่ได้....................อยากมีผู้คุยแลกเปลี่ยน....จะได้คลายบ้าง.....ครูเหนื่อยน๊ะ" ก็เลยอยากพููดคุยแลกเปลี่ยน แต่ก็ไม่รู้ว่าครูแหวนจะกลับเข้ามาอ่านไหม เพราะเห็นแสดงความเห็นไว้เกือบเดือนแล้ว แต่เจ้าของบันทึกก็ยังไม่ได้เข้ามาตอบ (ขออนุญาตติงเรื่องการเขียนนิดๆ นะคะ เพราะการเขียนของเราก็เป็นตัวอย่างให้เด็กเขียนตามได้ เพราะเด็กจะเข้าใจว่า "ถ้าครูเขียนแบบนั้นๆ มันก็น่าจะถูกต้องถูกต้องและจะเขียนตาม" คำว่า "นะ" ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ใดๆ ค่ะ   
  • จากปัญหาดังกล่าว ในเมื่อเราอยู่ในวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง "มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างพลเมืองดีของประเทศ" เราก็คงจะท้อไม่ได้อย่างที่ "คุณ Supot" ให้ความเห็นไว้ แต่เราจะต้องหาทางทำให้สำเร็จ
  • การที่จะ "ทำให้คนเป็นคนดี" เป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากกว่า "การทำให้คนเป็นคนเก่ง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพสังคมที่ "แรงผลักทางสังคมมีน้ำหนักมากกว่าแรงดึงของครู" ก็เลยทำให้ศิษย์ประพฤติตนตามแรงผลักทางสังคมนั้นๆ แรงดึงของครูไม่เป็นผลสำเร็จ
  • "การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนประพฤติตนเป็นคนดี" ที่เรียกว่า "การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม" หรือภาษาสมัยใหม่เรียกว่า "การพัฒนา MQ : Morality Quotient" นั้น ถ้าจะทำให้สำเร็จจะต้องพัฒนาให้ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ 1) ความรู้เชิงจริยธรรม เช่น จะปลูกฝัง "ความมีวินัย" ก็ต้องให้เด็กรู้ว่า วินัยคืออะไร และรู้ว่าการกระทำอย่างไรที่เรียกว่าเป็นคนมีวินัย กระทำอย่างไรเรียกว่าขาดวินัย ทำได้ดยการอธิบายตรงๆ 2) เหตุผลเชิงจริยธรรม คือ การให้วิเคราะห์เชิงเหตุผลว่า ทำไมจึงต้องมีวินัย ถ้ามีแล้วจะป็นผลดีอย่างไร ถ้าไม่มีจะเป็นผลเสียอย่างไร 3) เจคติเชิงจริยธรรม คือการทำให้รู้สึกเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ของการมีวินัย และชื่นชมชื่นชอบคนที่มีวินัย อาจทำได้โดยใช้กรณีตัวอย่างบุคคลที่มีวินัยแล้วได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในด้านอื่นๆ ตามมา และ 4) พฤติกรรมเชิงจริยธรรม คือ การฝึกปฏิบัติในจริยธรรมนั้นๆ เช่น ฝึกปฏิบัติด้านการทำตนเป็นคนมีวินัย และเมื่อเด็กประพฤติได้ตามที่ครูคาดหวังก็ต้องให้การเสริมแรง (Reinforcement) เช่น การกล่าวยกย่องชมเชย เป็นต้น
  • ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนครูทุกท่าน มีพลังใจที่จะทำหน้าที่ "ครูดี" กันต่อๆ ไปนะคะ 

  

เด็กสมัยนี้ดื้อมากดื้อแบบไม่เกรงใจใคร

อ่านกลอนนี้แล้วโดนใจ มากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท