กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๒) : การนิเทศ


การนิเทศตามแนวทางของ “Lesson Study” มีความโดดเด่น คือ

 

  • ครบวงจร (เป็นการร่วมนิเทศเต็มรอบ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลัง การจัดการเรียนการสอน)

 

  • มีส่วนร่วมเกือบทุกแง่มุม (ผู้นิเทศมีส่วนร่วมกับผู้รับการนิเทศในเกือบทุกแง่มุมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมเตรียมการ ร่วมสังเกต ร่วมสะท้อน ร่วมประเมิน(การจัดการเรียนการสอน) ร่วมถอดบทเรียน และร่วมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและคุณสมบัติที่สำคัญของครู – ยกเว้นการร่วมสอน)

 

  • ต่อเนื่อง (เป็นการทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบรอบการจัดการเรียนการสอน ก็ขึ้นรอบนิเทศใหม่ ไม่มีจุดสิ้นสุดของการนิเทศ 

 

  • ทั่วถึง (Lesson Study ที่สมบูรณ์จะไม่มีห้องเรียนในโครงการห้องใดที่มีช่วงเวลาการจัดการเรียนการสอน โดยไม่มีผู้ร่วมนิเทศ)

 

  • เจาะลึก (มุ่งนิเทศให้ถึงระดับละเอียดอ่อนเจาะลึกสู่สภาวะของครู สภาวะของผู้เรียน และสภาวะของชั้นเรียน ในระดับที่การนิเทศทั่วไปไม่ได้มุ่งหมาย โดยใช้ “True Formative Assessment” เป็นเครื่องมือสำคัญ)

 

  • ครบทีม (เป็นการนิเทศโดยสมาชิกในทีมทุกประเภท ตั้งแต่ ครูคู่หู ครูนำร่อง  ครูพี่เลี้ยง  ผู้เชี่ยวชาญทั้งที่อยู่ในสถานศึกษาและที่มาจากนอกสถานศึกษา)

 

  • หลักการเฉพาะชัดเจน (เป็นการนิเทศไปในหลักการจัดการเรียนการสอนเดียวกัน คือการเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนได้แสดงออกและเรียนรู้ แรงบันดาลใจ  วิธีการ  ความเข้าใจ  และพลังความสามารถ จากกันและกันให้มากที่สุด – หลักการจัดการเรียนการสอนในแนวทาง “Open Approach”)

 

  • แนวระนาบ (เป็นการนิเทศที่เป็นกัลยาณมิตร โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวระนาบเป็นหลัก  ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนเช่นกัน)

 

ดังนั้น จึงเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูที่เป็นทั้ง QA และ KM ไปในขณะเดียวกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 443349เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท