"ความจริงเสมือน" ของการจัดการดินเพื่อการเกษตร


เราอยู่กับความจริงเสมือนมานาน จนลืมว่าความจริงแท้คืออะไร

ตั้งแต่ผมเป็นนักเรียนและพยายามเป็น "นักศึกษา" วิชาการด้านการจัดการปรับปรุงบำรุงดิน ผมพบว่า "ตำรา" ทำให้ผมหลงทางและสับสนจากการเรียนมากพอสมควร

และผมก็อยู่กับ "ความจริงเสมือน" เหล่านี้มานาน จนเกือบลืมไปว่า "ความจริงแท้" คืออะไร

แต่พอมาเป็น "นักศึกษา" ที่พัฒนาตนเอง โดยการทบทวน และปฏิบัติจริง ทั้งโดยหลักทฤษฏี หลักการและการปฏิบัติ โดยการทำนาด้วยตนเอง

จึงได้พบว่า

  • สิ่งที่ผมเรียนมานั้น ความรู้จำนวนหนึ่งเป็นเพียงความจริงเสมือนที่ใช้ในการสอนในห้องเรียน
  • โดยที่ผู้สอน ก็สอนแบบสอนต่อๆกันมาไม่ได้ปฏิบัติจริง
  • ทำกันมานาน จนเกิดความเชื่อ ว่า "ความจริงเสมือน" นั้น เป็น "ความจริงแท้" โดยไม่มีใครตั้งข้อสงสัย
  • เพราะไม่มีประสบการณ์อื่นๆ หรือความรู้อื่นๆไปโต้แย้ง

ผมจึงคิดว่า

สิ่งที่ผมพบนี้ เป็นสิ่งที่ควรนำมาบันทึกเพื่อลดความเข้าใจผิดจาก "ความจริงเสมือน" และให้เข้าใจ "ความจริงแท้" ของการจัดการดินเพื่อการเกษตร

ที่มีประเด็นรายละเอียดมากมาย แต่ที่สำคัญหลักๆ ก็ได้แก่

  • การเตรียมดิน

ที่ตามตำราทั่วไป คือ การถางป่า ไถพรวน โดยวิธีต่างๆ ให้พร้อมกับการทำการเกษตร ที่เป็นการทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง จนทำให้ดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว

แต่ ความจริง ก็คือ การพัฒนาความพร้อมของดินเพื่อการปลูกพืช ที่อาจไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ หรืออย่างมากก็ปรับปรุงเล็กน้อย ให้เหมาะกับการปลูกพืช โดยไม่ต้องมีกระบวนการ "ทำลาย"

  • การไถพรวน

เป็นวิธีการจัดการดินเบื้องต้น ที่มีการแนะนำกันในแทบทุกรูปแบบการใช้ที่ดิน

แต่ในความจริง ธรรมชาติมีระบบการพัฒนาโครงสร้างของดินที่ดีกว่าการใช้เครื่องจักรกล

  • การปรับปรุงดิน

ในตำรามักเน้นการไถพรวนและการใส่ปุ๋ย

ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนั้น ธรรมชาติมีระบบการไถพรวน และสำรองธาตุอาหารไว้ในดินอยู่แล้ว ที่เราสามารถสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนได้ ดีกว่าการทำลายระบบธรรมชาติ และเราพยายามไปทำหน้าที่แทน

  • การไถกลบเศษพืช

เป็นคำแนะนำที่ใช้กันมาก เพราะสามารถเร่งการสลายตัวของอินทรียวัตถุได้ดี

แต่ก็เป็นการทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม เพิ่มอุณหภูมิดิน ดินแห้งเร็ว สิ่งที่มีชีวิตหลายชนิดที่เป็นประโยชน์อยู่ไม่ได้ อินทรียวัตถุสลายตัวเร็ว ทำให้ดินตาย และเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว มีปัญหาของอัตราส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจนในอินทรียวัตถุ ที่อาจทำให้เกิดการขาดธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน ได้

  • พีชบำรุงดิน

ที่ในตำราส่วนใหญ่พูดถึงพืชตระกูลถั่ว

แต่ในความเป็นจริงนั้น พืชทุกชนิดบำรุงดินได้ทั้งหมด อยู่ที่การจัดการให้ถูกต้องเท่านั้น แม้พืชตระกูลถั่วเอง ถ้าจัดการไม่ดีก็ทำให้ดินเป็นกรดได้

  • พืชทำลายดิน

ที่มักกล่าวถึงพืชที่มีความสามารถในการดูดธาตุอาหารจากดินเสื่อมโทรมได้ดี จนอาจทำให้ดินจืดได้

แต่ในความเป็นจริง ไม่มีพืชชนิดไหนทำลายดิน แม้จะดูดมากเท่าไหร่ก็จะคืนให้ดินเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม และมักมีกำไรให้ในรูปอินทรียวัตถุ จึงไม่มีพืชใดทำลายดิน  การทำลายดิน จึงเป็นกิจกรรมของคน มากกว่าที่จะเป็นพืชเอง

  • การปลูกพืชต้องกำหนดระยะระหว่างต้น

ที่เป็นระบบการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ที่ต้องทำเช่นนั้น

แต่ในระบบผสมผสานทียั่งยืนกว่า พืชจะมีระบบพึ่งพาซี่งกันและกัน และจัดระบบระยะโดยธรรมชาติ จึงสามารถปลูกตามระยะ "สะดวก" ได้ แล้วที่เหลือ ธรรมชาติจะจัดการเอง

  • ต้นไม้ใหญ่ทำให้พืชเกษตรไม่โต

เป็นการให้ความสำคัญกับพืชที่ต้องการแสงมาก หรือ การปลูกพืชในดินที่ธาตุอาหารไม่พอ ทำให้เมื่อตัดต้นไม้ออก พืชเกษตรโตได้ดีขึ้น

ทั้งๆที่ความจริงนั้น ต้นไม้ใหญ่อาจบังร่มบ้าง ที่อาจจัดการได้แบบทำลายน้อยที่สุดโดยการแต่งกิ่ง ลดการบังแดด แต่ก็มีพืชหลายชนิดที่ต้องการร่มเงา หรือแสงไม่จ้านัก ทีสามารถเจริญได้ดีกับต้นไม้ใหญ่ และต้นไม้ใหญ่ก็เป็นทั้งระบบสำรองและพี่เลี้ยงให้กับพีชระดับล่างได้ดี ในระบบเกษตรผสมผสาน และเกษตรยั่งยืน

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนแห่งการเข้าใจผิด

ว่า "ความจริงเสมือน" เหล่านี้ เป็น "ความจริงแท้"

และเป็นที่มาของการทำลายระบบทรัพยากรและระบบนิเวศของเราเอง

ถ้าเราไม่ปรับความเข้าใจให้ถูกต้อง และอยู่กับความจริงแท้ คงยากที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขอให้โชคดี และอยู่กับสัมมาทิษฐิครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 442762เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

Good questions!

We have been copying from copies from (good and bad) copies for a long time.

Sometimes, we even believe that our copies are better than other copies.

We have stopped asking questions -- like "what if".

On my land, people say things like:

"Why don't you get rid of weeds?" I told them I need organic materials for mulching -- any plant will transform dirts/soils into "proteins, carbohydrates, sugars and minerals for use later. We --people-- cannot do that well --yet.

"Why don't you grow them in rows?" I look at the forest near by. Trees grow where they can get water, nutrients and sunlight. They don't line up in queue for hand-outs.

...

I must say this too. We talk about "soil" as "inorganic thing". But in soils, there are also insects, worms, microbes (fungi, bacteria, and 'seeds'). Most of them are 'workers' working to make 'good environment' for themselves and their neighbours. Their works are at micro-levels. What we do are most 'macro-level' destruction of the environment.

Should we stop 'being hindrances' and let Nature workers do their jobs like they have been doing for millions of years?

Let us grow more 'mangroves' on the shores of Thailand.

Let not destroy mangroves for 'prawns farming' to export to US and EU.

Let not destroy mangroves for 'holidays resorts' for people from US and EU.

Let not destroy mangroves for they are our barrier --front line defence-- against sea water and storm surge.

A lot of works are needed but "NO POLITICAL PARTY" offer to do them.

Choose only candidates who dare to help nature and Thailand heal! ;-)

เพราะความยึดติด"ความจริงเสมือน"อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ ทำให้นักวิชาการถูกหลายองค์กรแซวว่าเป็นพวก "วิชาเกิน" ทางออกหนึ่งก็คือ การลงพื้นที่และการปฏิบัติจริง ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้เห็นและเข้าใจระหว่างกัน ที่ผ่านมาที่สาขาเคยจัดบริการวิชาการ(ไม่คิดค่าใช้จ่าย)โดยจุดเริ่มมาจากการได้รับรู้ปัญหาของอาจารย์ในสังกัดสพฐ. เรื่องการเรียบเรียงงานวิจัย ยิ่งได้อ่านข้อเสนอปรับแก้ของผู้เชี่ยวชาญแล้วยิ่งปวดใจ แต่ความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ ทั้งหมดเป็นครูที่มีประสบการณ์และทำงานจริง จึงได้เกิดโครงการแนะนำการเขียนเรียบเรียงงานวิจัยเกิดขึ้น ผลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เราได้ทั้งครูเครือข่าย ได้ทั้งกัลยาณมิตรทางวิชาการ สำคัญที่สุดคือ "ได้ความเข้าใจระหว่างกัน"

เรามีเป้าหมายคล้ายกัน คือความสุขความสบาย

แต่เราเดินบนถนนคนละเส้น

คนหนึ่งบนถนนของการแข่งขันและทำลาย

อีกคนเดินบนถนนของการพึ่งพาและสร้างสรร

จึงยากต่อการสื่อความหมาย

ทางที่ดีก็คือ

  • เราลองถอยหลังกลับมาดู
  • ลดอัตตา และอคติทุกด้าน 
  • แล้วเราจะรู้ว่าเส้นทางของความผิดพลาดคืออะไร
  • สิ่งที่ดีกว่าคืออะไร
  • แล้วค่อยเดินไปในทางที่ดีกว่า

นี่คือเส้นทางที่ผมคิดออกในขณะนี้ครับ

ขอบคุณครับ

ยอดเยี่ยมเลยครับอาจารย์ ผมปลูกต้นไม้ใต้ร่มต้นอื่น

แม่บอกว่าไม่ใครเขาทำกัน 

ผมก็ดื้อทำมาเรื่อยๆ 

"ปลูกต้นไม้ใต้ร่มต้นอื่น ... แม่บอกว่าไม่ใครเขาทำกัน ... ผมก็ดื้อทำมาเรื่อยๆ"

There are plants that happily grow in shade. There are plants that eventually die in shade. Knowledge of shades and plants would be factors in 'doing things'.

The mother's advice is true 'in general' but not in all cases. Because most plants need 'sunlight' all day long.

Like mothers need love and followers. Because mothers are pillars of our family, we should follow their rules to keep our family strong.

There are many ways to say 'I love you, mother' anyway ;-)

ปัจจุบันผมเองก่อนที่จะพูดบอกอะไรกับใครในสิ่งใด ถ้าไม่ลองมาด้วยมือตนเองจะไม่พูดเลยครับ

เพราะในหลาย ๆ อย่างไม่ใช่อย่างที่เรารู้ด้วยการเรียนมาเสมอไป แต่จะใช่จริง ๆ เมื่อเราลงมือทำเองและเรียนรู้ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเห็นด้วยตาเนื้อ ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท