กาญจนา
นางสาว กาญจนา อุ้ย เรืองมนตรี

การแก้ปัญหานักเรียนสับสนวิธีการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


วิจัยหน้าเดียว

รายงานวิจัยหน้าเดียว

เรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนสับสนวิธีการแก้สมการ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย นางสาวกาญจนา  เรืองมนตรี

สถานที่ โรงเรียนอนุบาลชุมชนบางบ่อ(ศุภพิพัฒน์รังสรรค์)

ปีที่วิจัย 2553

____________________________________________________________________________________________

การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนนักเรียนที่สับสนวิธีการแก้สมการ  ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6  ในรายวิชาคณิตศาสตร์จำนวนทั้งหมด  35 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 194 คน  นวัตกรรมที่ใช้คือ แบบฝึกหัด    แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เพื่อนช่วยเพื่อน การเรียนแบบนักเรียนมีส่วนร่วม และวิธีการสอนแบบตัวต่อตัวอธิบายเป็นรายบุคคล   ทำการวิจัยในช่วงวันที่  26 กรกฎาคม - 20 สิงหาคม 2553   ผู้วิจัยได้นำนวัตกรรมไปดำเนินการ 2 ระยะโดย

ระยะแรกใช้แบบทดสอบก่อนเรียนให้นักเรียนได้ทำ  หลังจากนั้นจึงให้ฝึกทำแบบฝึกหัดเรื่องสมการ  รวมทั้งหมด  4  เรื่องด้วยกันคือ สมการบวก  สมการลบ  สมการคูณ  สมการหาร

 ผลของแบบฝึกหัดที่นักเรียนได้ทำมานั้น ผู้วิจัยทำการตรวจสอบและประเมินผลแล้วสรุปว่า

สมการบวก  นักเรียนแก้สมการถูกต้องตามวิธีการ  มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ ดี  เป็นส่วนใหญ่

             สมการลบ     นักเรียนแก้สมการถูกต้องตามวิธีการ   มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก  เป็นส่วนใหญ่

สมการคูณ    นักเรียนแก้สมการถูกต้องตามวิธีการ  นักเรียนแต่ละคนมีคะแนน ไม่ดีเท่าที่ควร

สมการหาร  นักเรียนมีปัญหามากที่สุด คือทำผิดวิธีของการแก้สมการ  และนักเรียนมีคะแนนไม่ดี

ระยะที่สอง  ผู้วิจัยได้ทำแบบทดสอบที่จะแก้ไขนักเรียน  ที่มีปัญหาจากระยะแรกต่อ  โดยนำเรื่องที่มีปัญหาจากระยะแรกมาทำการแก้ไขต่อ คือ  เรื่องสมการการคูณและสมการหาร  นวัตกรรมที่ใช้ในระยะที่สองคือ  แบบฝึกหัดเรื่องสมการหาร  และ  สมการคูณ  เพื่อนช่วยเพื่อนคือ  ให้นักเรียนที่เข้าใจสมการคูณและสมการหาร  ช่วยสอนเพื่อนที่ยังเรียนอ่อนในเรื่องนี้อยู่  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนคือ  ให้นักเรียนออกมาแก้สมการ

หน้าชั้นเรียนให้มากขึ้น  มีการสอนแบบตัวต่อตัวอธิบายเป็นรายบุคคล   จากการสอนและทดสอบหลังเรียน  คะแนนเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น  แต่จากการสอน และ อธิบายเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กชายพงษ์พิพัฒ  ฉิมบ้านไร่    เด็กชายนัทธพงศ์แก้วมณี  และเด็กหญิงสุภัสสร    บัวใหญ่   มีพื้นฐานทางการคูณและการหารไม่ดีเลย   รวมถึงวิธีแก้สมการหาร  สมการคูณ  ยังไม่ถูกต้องอีกด้วย    จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประจำรายวิชาจะดำเนินการสอนซ่อมเสริมช่วยเหลือต่อไป

                ผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมที่ใช้สามารถลดนักเรียนที่สับสนวิธีการแก้สมการ จากนักเรียนทั้งหมด  35 คน เหลือ 3 คนได้  ส่วน นักเรียน 3  คนที่เหลือ ครูประจำรายวิชาจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

                                                                                                           

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยหน้าเดียว
หมายเลขบันทึก: 442162เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท