GotoKnow

กลยุทธ์10 ขั้นตอนสู่โรงพยาบาลคุณภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

Dr. Phichet Banyati
เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2548 17:02 น. ()
แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2555 16:07 น. ()
แบ่งช้างออกเป็นสอง ไม่ได้ช้างสองตัว นิทานเรื่องคนตาบอดคลำช้างสอนให้รู้ว่า จะทำความรู้จักสิ่งใด ต้องไม่ใช่มองหรือทำความรู้จักเฉพาะส่วน ต้องมองที่ภาพรวมหรือองค์รวม ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการที่คนในองค์กรมองเห็นภาพรวมและรู้ว่าตนเองหรือหน่วยงานของตนอยู่ตรงไหนของภาพรวมและจะต้องประสานสอดรับกับส่วนอื่นๆขององค์กรอย่างไร

ข้อมูลทั่วไป

        ตลอด 30 ปีของโรงพยาบาลบ้านตากมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องที่จะดูแลประชากรกว่า 47,214 คน จากศูนย์การแพทย์และอนามัยสู่โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ขยายเป็น 30 เตียงเมื่อปี 2539โดยเงินงบประมาณและก้าวกระโดดเป็น 60 เตียงแบบพึ่งตนเองในปี 2543 เนื่องจากผู้ป่วยในล้นเตียงโดยได้รับเงินบริจาคกว่า 17 ล้านจากทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่มาสร้างอาคารและซื้อเครื่องมือต่างๆ ผ่านการบริหารโดยผอก.มาแล้ว 23 คน ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 145 คน บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล 15 คนและมีคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลจากภาคประชาชน 15 คน มีผู้ป่วยนอกมารับบริการกว่า 80,000 รายต่อปีและผู้ป่วยใน 4,750 รายต่อปี อัตราครองเตียงประมาณร้อยละ 72 ภายใต้ปรัชญาของโรงพยาบาลที่ว่า”โรงพยาบาลชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อสุขภาพดี” มีนโยบายหลักที่กำหนดโดยผู้อำนวยการคนปัจจุบันตั้งแต่ปี 2540 คือ 4 C = Clean , Care ,Cooperation ,Community หรือความสะอาดปลอดภัย คุณภาพบริการ ความสามัคคี และความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลบ้านตาก

                                “โรงพยาบาลบ้านตาก   สะอาดและสวย    ดีพร้อมด้วยการบริการ 

  พนักงานสามัคคี       เป็นโรงพยาบาลที่ดีของชุมชน ”

พันธกิจของโรงพยาบาลบ้านตาก
“เราให้บริการสุขภาพแบบผสมผสานและองค์รวมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน”
<h6>เป้าหมายของโรงพยาบาลบ้านตาก
</h6><ol>

  • มีระบบบริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เป็นที่ประทับใจและเหมาะสมตามศักยภาพ
  • มีการบริการทางคลินิกที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล ถูกต้องตามหลักวิชาจรรยาวิชาชีพและสิทธิผู้ป่วย
  • จัดบริการเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชน
  • มีสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
  • เจ้าหน้าที่ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  • มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ
  • มีการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
  • </ol><h6>ปรัชญาของโรงพยาบาลบ้านตาก
    </h6><p align="center">“โรงพยาบาลชุมชน  เพื่อชุมชน  เพื่อสุขภาพดี”</p>LOGO  ของโรงพยาบาลบ้านตาก
     
    <div align="center"><table cellspacing="0" cellpadding="0" border="0"><tr>

       
      BH :   BANTAK  HOSPITAL
     มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย

                   International  standard based on Thai Being

    </tr></table></div> 
    คำขวัญของโรงพยาบาลบ้านตาก
    <p>                                      “ สิ่งแวดล้อมดี  รักษามีมาตรฐาน  บริการด้วยคุณธรรม ”</p> 
    กรอบแนวคิดและตัวแบบการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตาก
    1.       ตัวแบบ 10 ขั้นตอนสู่โรงพยาบาลคุณภาพ  เป็นตัวแบบที่ทางโรงพยาบาลคิดขึ้นมาจากการทบทวนเส้นทางของการพัฒนาโรงพยาบาลเพื่อให้เห็นภาพของการพัฒนาชัดเจนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนที่แต่ละขั้นตอนจะยังคงอยู่ไม่หยุดไปเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนอื่นๆ วนเวียนไปตลอดไม่มีสิ้นสุด โดยอาศัยวงจรคุณภาพเดมิ่ง อาศัยการแก้ปัญหาโดยใช้หลักอริยสัจสี่  อาศัยรูปแบบการจัดองค์กรพัฒนาเป็นไตรสิกขาหรือแบบ 3 ประสาน เพื่อให้เกิดผลดีต่อโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่และประชาชน(ภาพประกอบที่ 1)
    2.       ตัวแบบบ้านคุณภาพ เป็นตัวแบบที่ทางโรงพยาบาลคิดขึ้นมาเพื่อบูรณาการเครื่องมือคุณภาพต่างๆที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์เพื่อให้เห็นภาพของความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมือเหล่านั้นเมื่อมีความจำเป็นโดยให้เกิดการเสริมกันของเครื่องมือแต่ละชนิด โดยมุ่งเป้าสำคัญคือโรงพยาบาลอยู่ได้,เจ้าหน้าที่มีความสุขและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี(ภาพประกอบที่ 2)
    <h1>การพัฒนาสู่โรงพยาบาลคุณภาพ 10 ขั้นตอน
    </h1>1.      เริ่มต้นที่ฐาน
    “การจะพัฒนาประเทศจำเป็นจะต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชน เป็นเบื้องต้นก่อนเมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”
    จากพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18  กรกฎาคม พ.ศ. 2517
    “การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นนั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ ดังนั้นนอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว จะต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่องพร้อมๆกันไปด้วย”จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 10 กรกฎาคม  2523
    “คนทำงานดี คือคนที่มีระเบียบ ได้แก่ ความมีระเบียบในการคิดและในการทำ ผู้ที่ไม่ฝึกระเบียบไว้ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรก็ไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน มีแต่ความลังเลและขัดแย้ง ทั้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน ข้าราชการจึงจำเป็นต้องฝึกระเบียบในตนเองขึ้น ระเบียบนั้นจักได้ช่วยประคับประคองส่งเสริมให้ตนทำงานดีขึ้นและประสบความเจริญ มั่นคงในราชการ”
    <h1>พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือนวันที่ 1 เมษายน  2527
    </h1><p>
     
    หลักการสำคัญคือการทำกิจกรรม 5 ส ถือเป็นกิจกรรมคุณภาพที่สำคัญเพื่อพัฒนาระดับรากหญ้า พัฒนาวินัยของคนในองค์กร  ที่ทุกคนต้องทำให้เป็นประจำเป็นกิจวัตร ไม่มีวันเสร็จ  ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แทรกซึมไปกับงานประจำ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญ …</p><p>เชิญติดตามบทความฉบับเต็มได้ในwww.bantakhospital.com ซึ่งผมได้ทำเว็บลิงค์ไว้ให้แล้วครับ</p>


    ความเห็น

    ยังไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
    ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
    เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย