ครูจงรัก


โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สวัสดีค่ะ 
           หลังจากที่นักเรียนได้จัดทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้น ม. 6 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม มาแล้วในภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่ 1(วางแผนโครงงาน) และ 2 (ลงภาคสนาม,รวบรวมข้อมูล และจัดทำเว็บไซต์) ส่วนในภาคเรียนที่ 2 นี้เป็นระยะที่ 3 นักเรียนจะต้องนำเสนอเว็บไซต์ที่นักเรียนสร้างให้เพื่อนๆ ประเมินในชั้นเรียน เพือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานซึ่งกันและกัน  ส่วนในบล็อกของครูจงรัก ขอเชิญชวนให้นักเรียนหรือผู้สนใจทุกท่านบอกเล่าถึงสิ่งที่นักเรียนได้รับจากการไปศึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมานำเสนอในประเด็นต่อไปนี้
           1. สร้างเว็บไซต์เรื่องอะไร และบอกที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ที่นักเรียนจัดทำ
ลงในบล็อกด้วย 
เพื่อให้ผู้สนใจคลิก Link เข้าไปชมผลงานของนักเรียน
          
2. ท่านมีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไร และการร่วม
มือกันทำงานงานในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างไร
          
3. ท่านได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาฯ
ใช้ในการทำงาน, ผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง คืออะไรบ้าง  
          
4. ท่านคิดว่าจะนำเทคนิควิธีการที่ทำให้บุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบ
ผลสำเร็จในการทำงาน มาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้และการทำงาน
ได้อย่างไร
          
5. แสดงความรู้สึกที่นักเรียนได้ไปศึกษาข้อมูลถึงแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ให้เพื่อนๆ ทราบ

สำหรับท่านที่สนใจเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากที่นักเรียนได้จัดทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
แล้วนักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน ความรู้สึกที่ได้รับ
จากการทำงานท่านที่สนใจสามารถเข้าไปชมเว็บไซต์รวมผลงานของนักเรียน
ที่http://www.geocities.com/uthaiwisdom
หากมีข้อติชม ข้อแนะนำ ยินดีรับฟังค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4411เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2005 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (189)
เอกลักษณ์ สุทธิสุภาพ

  สวัสดีครับ คุณผู้อ่านทุกๆท่าน...

ขอกล่าวนำซักเล็กน้อย....

   " ตอนนี้ใกล้สอบแล้ว ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนรักษาสุขภาพด้วยนะครับ อ่านหนังสือดึกๆ ก็อย่าให้ถึงกับดื่มกาแฟเป็นแก้วๆกันเลยนะครับ เดี๋ยวจะไม่หลับซะก่อน... สู้กันให้เต็มที่กันนะครับ!!! "

  ผมและเพื่อนๆในกลุ่มได้สร้าง URL คือ www.geocities.com/maepouylung_choo_man  ยังไงก็ลองเข้าไปหาความรู้ได้นะครับ ถึงจะไม่สวยงาม เลิศหรูมาก แต่กับสิ่งที่คุณได้รับมันช่างมากมายอย่างยิ่ง

   วิธีการเรียนรู้สำหรับผม ไม่ยากหรอกครับ โดยใช้วิธีการสอบถามโดยตรงจะดีที่สุดครับเพราะเราอาจรู้อะไรได้มากกว่าที่ระบุไว้ในอินเตอร์เน็ตหรือใบปลิว ใบโฆษณาบางใบ

  จากประวัติของคุณแม่ป่วยลั้งจะเห็นได้ว่ามีความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง ซึ่งนี่เป็นจุดเด่นที่สุดที่ทำให้ท่านประสบความสำเร็จจนมาถึงปัจจุบัน โดยเราจะนำจุดเด่นข้อนี้มาใช้กับการเรียนให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

   สุดท้ายนี้ผมรู้สึกมีความยินดีอยากยิ่งที่ได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้น และจะพัฒนาให้ถึงขีดสูงสุด.... 

  "  อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว ผมไม่เคยคิดที่จะกลับไปแก้ไขมันเลยแม้แต่นิดเพราะว่าอดีตทำให้เราเป็นเราในวันนี้ " 

นายกรกช แจงเขตต์การ
ผมสร้างเว็บไซด์เรื่องการนวดสมุนไพรโดยขอ URL คือ http://www.geocities.com/nuadsamunpai โดยมีเพื่อนร่วมงาน คือ 1.นายกรกช แจงเขตต์การ และ น.ส.รัชลีพร พาที วิธีทำของผมคือช่วยกันหาข้อมูลจากเว็บไซด์และจากไปสถานที่จริงบ้างจากนั้นก็นำข้อมูลที่หามาได้สร้างเข้าไปใน Dreamweaver พอสร้างเสร็จก็นำมาลิงค์กัน และก็จะกลายเป็นเว็บไซด์ที่กระผมได้สร้างขึ้นมา เพื่อจะให้เพื่อนๆได้ศึกษากัน ว่าการนวดสมุนไพรนวดอย่างไร และมีสมุนไพรอะไรบ้างที่ใช้รักษาโรคได้บ้าง ส่วนปัญหาในการทำงานคือแหล่งที่จะศึกษาหาไม่ค่อยได้ จะไปสถานที่จริงมันก็ไกล ข้อคิดที่ได้ ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้
น.ส.หัทยา ภิรมย์สุทธิพงศ์

       สวัสดีคะคุณผู้อ่านทุกๆท่าน

  ดิฉันน.ส.หัทยา ภิรมย์สุทธิพงศ์ และผมนายนุกูล บุญบำเพ็ญ

    พวกเราทั้งสองคนเป็นนักเรียนชั้นม.6/4คะ   ดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้รวบรวมข้อมูลการทำ ผ้าขาวม้า จากตำบลไผ่เขียวอำเภอสว่างอารมณ์มานำเสนอเพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้กับเพื่อนทุกคนที่สนใจกัน

    ในส่วนกระบวนการจัดทำก็อื่นดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้ขอURLคือ www.geocities.com/ploy_may เพื่อมีพื้นที่ในการupload เว็บไซต์จากอินเตอร์เน็ตแล้วมาสร้างในโปรแกรม Dremweaver มีให้ได้ศึกษามากมายมาให้เรีนยรู้

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ก็คือ การได้ศึกษาผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเราเอง  ปัญหาส่วนใหญ่ในการจัดทำเว็บไซต์ข้อมูลไม่มากพอที่ให้ได้ศึกษาอย่างละเอียดมากนะ รูปถ่ายบางรูปได้มาจากอิเตอร์เน็ตเพราะสถานที่การทำไกลมาก

    ข้อคิดที่ได้ก็จะเป็นการได้เรียนรู้และค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองสุดท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นถ้าข้อมูลอาจจะน้อยเกินไปแต่ก็จะปรับปรังแก้ไขและพ้ฒนาให้ดีขึ้น

 

ผมสร้างเว็บไซต์เรื่อง แม่ป่วยลั้ง ซึ่งมี URL ดังนี้ http://www.geocities.com/maepouylung_choo_man ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปชมกันได้นะครับ ผมมีวิธีการเรียนรู้คือ ผมและเพื่อนในกลุ่มได้ไปสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจโดยตรงจากสถานที่จริงนั่นก็คือ ร้านแม่ป่วยลั้ง และได้ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์เพิ่มเติมด้วย เทคนิควิธีการที่น่าสนใจซึ่งทำให้คุณแม่ป่วยลั้งประสบความสำเร็จก็คือ ความขยันหมั่นเพียรและความอดทนของท่าน ทำให้ผมนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งจะเหมาะกับเราในฐานะที่เป็นนักเรียนและนำมาเป็นแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิต ผมมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ไปศึกษาข้อมูลแล้วนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานนำเสนอให้เพื่อนๆรับทราบจนสำเร็จเพราะความร่วมมือกันภายในกลุ่มนั่นเอง และดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยผมและเพื่อนๆ จะพัฒนาต่อไปอีกครับ

จรรริยา จิระศรีไพฑูรย์

ข้าพเจ้า นางสาวจรรริยา จิระศรีไพฑูรย์ และ นางสาวพิณทิพย์ แช่มสกุล ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ ขนมร้านแม่ป่วยลั้ง ซึ่งมี URL ดังนี้ http://www.geocities.com/sweet_thaifood

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง และข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม เราสองคนมีหน้าที่เหมือนกันคือ ช่วยกันหาและดำเนินงาน

กระบวนการจัดทำเป็นเว็บไซต์ ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับแม่ป่วยลั้งมากขึ้น สมานความสามัคคีและความสัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน ส่วนใหญ่จะพบกับปัญหาข้อมูล เพราะข้อมูลที่ได้มามีน้อย และไม่ค่อยมีเวลาทำงาน

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น  การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรทำให้ดีที่สุดและตั้งใจทำ เพราะถ้าประสบความสำเร็จแล้ว จะเกิดความภูมิใจ

ข้าพเจ้าสร้างเว็บไซด์เรื่องมีดช่างทินโดยขอ URL คือ http://www.geocities.com/med_uthai โดยมีเพื่อนร่วมงาน คือ ข้าพเจ้านางสาวปรวีร์ บุญทิม , นางสาวสถาพร เกษรเพ็ชร และนางสาวอารีรัตน์ อุดมสารี วิธีการทำของข้าพเจ้ากับเพื่อนๆก็คือเราแบ่งงานกันทำเพราะบ้านเราไม่ได้อยู่ใกล้ๆกัน  ข้าพเจ้ากับสถาพรบ้านอยู่ในเมืองจึงช่วยกันเขียนเว็บและอัพโหลดต่างๆ ส่วนอารีรัตน์รวบรวมข้อมูลและหารูปต่างๆและไปศึกษาจากสถานที่จริง จากนั้นข้าพเจ้าสร้างเว็บไซด์โดยใช้โปรแกรม Dreamweaver สร้างโดยการสร้าง index อีก 1หน้า และสร้าง Home page 4 หน้า หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็นำข้อมูลทั้งหมดมาลิงค์ ก็จะออกมาเป็นเว็บไซด์ที่ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆช่วยกันสร้างขึ้นมา สิ่งที่ข้าพเจ้ารวบรวมสร้างขึ้นมานั้น เพื่อที่จะให้เพื่อนๆและผู้ที่สนใจได้ศึกษาถึงประวัติของมีดช่างทิน วิธีการทำงาน และผลงานต่างๆของมีดช่างทิน ซึ่งมีรูปแบบที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครและสามารถสั่งทำได้ตามที่ต้องการ การสร้างผลงานต่างๆมากมายของช่างทินได้สืบสานต่มาแม้ว่าช่างทินจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ยังมีผลงานและรางวัลอันเป็นเกียรติมากมาย และยังมีผู้สืบสานเจตนาของการทำงานนี้ต่อไป ซึ่งนั่นก็คือบุตรชายของช่างทิน ปัญหาต่างๆที่ข้าพเจ้าพบนั้นก็คือการเข้าไปสัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ซึ่งเค้าไม่สามารถให้ข้อมูลได้เพราะไม่มีเวลาว่างเลยเราได้แต่ศึกษาข้อมูลจากสถานที่โดยรอบ และแผ่นพับต่างๆและอีกอย่างข้าพเจ้ากับเพื่อนๆอยู่ไกลกันประสานงานกันไม่สะดวกเท่าไรนัก ข้อคิดที่ได้จากการทำงานนี้ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆได้เรียนรู้โปรแกรมDreamweaverและการสร้างเว็บไซด์ และสิ่งที่สำคัญคือการได้ศึกษาเกี่ยวกับมีดช่างทินอย่างจริงจัง

เวบไซต์ของผมเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาแรด ซึ่งเป็นปลาประจำจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มเราได้ไปศึกษาจากสถานที่จริง โดยได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจากคุณลุงสมบัติ พูลสวัสดิ์ เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงปลาแรดซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 10ปี
          การเลี้ยงปลาแรดต้องใช้ความอดทน เนื่องจากว่า กว่าจะได้ปลาแรดซึ่งได้ขนาดตามท้องตลาดต้องการ ต้องใช้เวลาเลี้ยง 18-24 เดือนซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ที่สำคัญต้องเอาใจใส่ในการเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสมบูรณ์ของปลา
การทำเวบไซต์นี้รวมไปถึงการเลี้ยงปลา ทำให้พวกเรามีความอดทนในการทำงาน มีการเรียนรู้ใหม่ๆที่ไม่เคยได้รู้มาก่อน นำไปใช้เกี่ยวกับการอ่านหนังสือซึ่งต้องใช้ความอดทนเช่นเดียวกัน หรือ การตั้งใจเรียนด้วย
         เราเป็นชาวอุทัยธานี การที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตัวเองนั้น ทำให้รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่จะได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นของตัวเอง เผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สืบไป

http://www.geocities.com/lamai_plarad

นายสุกฤษฏิ์ เจติย์ภัทรนาท

กระผมนายสุกฤษฏิ์  เจติย์ภัทรนาท เเละ นายพิทักษ์ชัย สมจายได้สร้าง Website เรื่องปลาเเรด ซึงมีความสนใจเป็นอย่างมากที่ได้ศึกษาเรื่องปลาเเรดในจังหวัดอุทัยธานี โดยได้ทำการไปศึกษาด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นสถานที่จริง หรือ ศึกษาหาความรู้ทาง Internet เเละได้สร้าง Homepage ด้วยตนเองโดยมีการเเบ่งการทำงานดังนี้
1.การสืบหาข้อมูลทางinternet ทำร่วมกัน
2.การรวบรวมข้อมูล ทำโดย นายพิทักษ์ชัย
3.การทำHomePage ทำโดยนายสุกฤษฏิ์
4.การสรุปงาน โดยทำร่วมกัน
การที่ได้ทำรายงานเรื่องปลาเเรดนี้ทำให้เราได้รู้ว่าปลาเเรดมีการวิวัฒนาการอย่างไรเเละต้องมีการเลี้ยงดูอย่างไรถึงจะจำหน่ายให้ได้กำไรดี โดยการที่ได้ทำการรวบรวมภาพในครั้งนี้ อยากบอกว่าทำได้ยากมากเพราะว่าภาพเเต่ละภาพเป็นภาพที่ถ่ายยากมากๆ เพราะว่ากว่าจะให้อาหารเเละกว่าจะถ่ายได้ปลาเเรดก็ทำเอาเหนื่อยอยู่เหมือนกัน เเต่ถึงอย่างไรงานนี้ก็ไม่ได้จบอยู่เเค่นี้ยังจะต้องมีการ up ไปเรื่อยๆโดยจะพัฒนาต่อไป ... ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผมคิดว่าในการทำเว็ปไซต์กรรไกรตัดกิ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนในจังหวัดอุทัยธานีทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปที่ต้องการหาความรู้เกี่ยวกับกรรไกรตัดกิ่ง  และการทำเว็บไซต์ในครั้งนี้ทำให้ผมและสมาชิกในกลุ่มได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำกรรไกรตัดกิ่งเพิ่มมากขึ้น

www.geocities.com/kankrai_2005

นายณัฐวุฒิ ธนวิทยากร

กระผมได้ศึกษาในหัวข้อ "ผ้าทอบ้านโคกหม้อ" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจ ผมได้คึกษาจากทาง website และจากสถานที่จริงจึงได้ความรู้เกี่ยวกับบ้านโคกหม้อและการทอผ้าของบ้านโคกหม้อรายละเอียดทั้งหมดอยู่ใน www.geocities.com/silk_uthai

นางสาวนุชจรีย์ เหล่านภาพร
  ดิฉัน นางสาวนุชจรีย์  เหล่านภาพร  และ  นางสาวภารดี  สุพลจิตต์  ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์  และจากบุคคลที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง  เมื่อได้เนื้อหาที่ต้องการแล้ว  ก็จัดการแบ่งหน้าที่โดยตามความถนัดของแต่ละบุคคลที่เข้าใจตรงจุดไหนก็จะทำตรงจุดนั้น  พิมพ์ข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ใน (Dreamweaver)  จากนั้นก็จัดเรียงข้อมูล  หน้าแรก คือ index หลังจากทำข้อมูลเรียบร้อยก็เข้าเว็บไซต์ขอพื้นที่ www.geocities.com และเราตั้งชื่อเว็บไซต์ที่ทำอย่างของดิฉันคือ  www.geocities.com/jugsan2005 สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดเล็กให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับการจักสาน  ในขณะทำก็เกิดการขัดข้องหลายๆ ด้าน  เช่นการอัพโหลด เป็นต้น  ซึ่งได้แฝงข้อคิดในด้านการหวงแหน  การรู้จักนำวัตถุดิบ  ที่มีอยู่มากในพื้นที่มาดัดแปลง  ให้เป็นเครื่องใช้และการร่วมมือกันทำงาน  สร้างความสามัคคีและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
อนุชิต เอี่ยมสงคราม

1.อนุชิตได้ทำเวบไซต์เรื่องแม่ป่วยลั้งซึ่งมีURL ดังนี้ www.geocities.com/maepuay99วิธีการเรียนรู้

2.โดยใช้วิธีการสอบถามโดยตรงจะดีที่สุดครับเพราะเราอาจรู้อะไรได้มากกว่าที่ระบุไว้ในอินเตอร์เน็ตหรือใบปลิว

  3.จากประวัติของคุณแม่ป่วยลั้งจะเห็นได้ว่ามีความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง ซึ่งนี่เป็นจุดเด่นที่สุดที่ทำให้ท่านประสบความสำเร็จจนมาถึงปัจจุบัน โดยเราจะนำจุดเด่นข้อนี้มาใช้กับการเรียนให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

4.ผมคิดว่าในการทำเว็ปไซต์แม่ป่วยลั้งซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนในจังหวัดอุทัยธานีทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปที่ต้องการหาความรู้ และการทำเว็บไซต์ในครั้งนี้ทำให้ผมและสมาชิกในกลุ่มได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำกรรไกรตัดกิ่งเพิ่มมากขึ้น

นางสาวอาจารีย์ บุญชูวงศ์

ดิฉันจัดทำเว็บไซต์เรื่องแป่วยลั้งที่มีURL ดังนี้ www.geocities.com/maepouy99   โดยมีวิธีการเรียนรู้โดยการสอบถามโดยตรงจากเจ้าของกิจการโดยตรง  ซึ่งทำให้เราได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศตรงนั้นจริงๆ  ทำให้ได้รู้ในเรื่องนั้นจริงๆ - -  และมีวิธีการแบ่งงานโดยแบ่งงานตามความเหมาะสมและความถนัดของเเต่ละคน - - ดิฉันจะนำข้อคิดที่ได้จากการทำงานของทางร้านแม่ป่วยลั้งมาใช้ในชีวิตประจำวันคือจะฝึกฝนตนให้มีความอดทน และหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ - - สำหรับความรู้สึกที่ดิฉันได้ไปเยี่ยมชมร้านแม่ป่วยลั้งนั้น - - ดิฉันรู้สึกภูมิใจในความเป็นอุทัยธานีม้าก...มากเจ้าค่ะ

ผมคิดว่าการที่จะทำเว็บอะไรขึ้นมาต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจข้อมูลที่นำมาศึกษาต้องไป ศึกษาจากสถานที่จริงและต้องการที่จะนำเสนอในรูปแบบของ dreamweaver  เพื่อให้เป็นเเนวทางเเละเป็นข้อมูลสำหรับคนที่สนใจ

 ผมมีความภาคภูมิใจในเว็บของจังหวัดอุทัยมาก

นายพิชญ์ธเนศ เจตนสฤษฏิ์
ผมได้จัดทำ website เรื่องแม่ป่วยลั้ง  ซึ่งมีURL ดังนี้  www.geocities.com/maepouy99  ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้โดยการไปสัมภาษณ์โดยตรงจากผู้ประกอบกิจการร้านแม่ป่วยลั้ง  ซึ่งมีข้อดีเพราะได้สอบถามทุกอย่างที่เราสงสัย  ทำให้ได้ข้อมูลเพียงพอกับความต้องการ  ทำให้ได้รับความรู้อย่างทั่วถึง - - มีวิธีการแบ่งงานโดยการมอบหมายให้สมาชิกรับผิดชอบงานที่ตัวเองถนัด  เเละมีความเหมาะสม  - - ผมจะนำคติการทำงานของแม่ป่วยลั้งมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  เช่น  ความพยายาม  ความอดทน  ความขยัน  เป็นต้น - - ผมรู้สึกประทับใจมากที่จังหวัดอุทัยธานีของเรามีสินค้าที่มีชื่อเสียง  เเละมีร้านค้าที่เท่ๆอย่างนี้  เเละรู้สึกชื่นชมกับความสำเร็จของร้านแม่ป่วยลั้ง

ผมจัดทำเว็บไซต์เรื่องแป่วยลั้งที่มีURL ดังนี้ http://www.geocities.com/puaylung_indy

ได้มีการไปสอบถามข้อมูลจากเจ้าของร้านเเม่ป่วยลั้งจิง ๆ

ได้ไปสัมผัสจากสถานที่ประกอบการ จิง ๆ

โดยกลุ่มของข้าพเจ้า ได้มีการเเบ่งงานกันทำซึ่งสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก ๆ คือ การใช้คติในการดำรงชีวิตและการบริหารงานของเจ้าของกิจการ และมีความภาคภูมิใจที่จังหวัดอุทัยธานีก็มีของดีไม่เเพ้กับจังหวัดอื่นเหมือนกัน

เกริ่นนำเล็กน้อย.....  ด้วยจิตสำนึกแห่งความเป็นนักเรียนในตัวผมผสมผสานกับความเป็นครูในตัวอาจารย์จึงทำให้ผมและเพื่อนๆได้มีโอกาสเรียนรู้และจัดทำเว็บไซด์ขึ้นเพื่อแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานีสู่สายตาชาวโลกต่อไป

ขอบคุณสำหรับคำถามข้อที่ 1.....

ผมได้จัดทำเว็บไซด์ คือ www.geocities.com/toffy_9999  ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทอฟฟี่ถั่ว  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอทัพทัน  จังหวัดอุทัยธานี  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 3 ดาวด้วย

ขอบคุณสำหรับคำถามข้อที่ 2

การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ทำการสัมภาษณ์โดยตรงจากประธานกลุ่มแม่บ้านล่อมฟัก  ซึ่งได้ความรู้ผลิตภัณฑ์มากมาย  จากนั้นก็นำเอามาเรียบเรียงและแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถของแต่ละบุคคลภายในกลุ่มอย่างเป็นธรรม

ขอบคุณสำหรับคำถามข้อที่ 3

การประยุต์เทคนิคดังกล่าวมีมากมายอาทิเช่น

-  ความซื่อสัตย์สุจริต  ช่วยให้ลูกค้าไว้วางใจในตัวเรา

-  ความขยันหมั่นเพียร  ช่วยให้งานหรือสินค้าสำเร็จดังเป้าหมาย

ขอบคุณสำหรับคำถามข้อที่  3

ทำให้ผมมีมความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีมากขึ้น  แม้จะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก  แต่ผมเชื่อว่าสักวันภูมิปัญญาดังกล่าวคงต้องโด่งดังไปทั่วทุกมุมโลก  อีกทั้งความเพียรพยาม  ของกลุ่มแม่บ้านที่ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและหารายได้เสริม  เกือบลืมความสนุกสานที่ได้รับ  ทั้งหลงทาง  ไปผิดช่วงคือไปตอนที่เขาไม่ทำสินค้ากัน 

(ขอบคุณคุณครูจงรัก คนสวยที่ได้ผมและเพื่อนๆได้รับประสบการณ์อันหาซื้อไม่ได้และจะจดจำไว้ตลอดชีวิต....ขอบคุณอีกหครั้งครับ)

 

 

 

 

นางสาวมนันยา กรรณิการ์

     ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่อง มีดช่างทิน  URL:www.geocities.com/knife_bstin  วิธีการเรียนรู้ของกลุ่มดิฉัน คือ ค้นหาข้อมูลจากinternetและไปศึกษาจากสถานที่จริง(2/5 หมู่ 3 ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามารวบรวมและนำเสนอผ่านทาง website  เทคนิคของกลุ่มผลิตภัณฑ์มีดช่างทินนั้น คือ ความอดทนที่ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ จนสามารถผลิตสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและท้องถิ่น นอกจากนี้ในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายนั้นจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสรรสร้างสินค้าให้มีคุณภาพ

ความรู้สึก;รู้สึกภูมิใจที่ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง  ประโยชน์ที่ได้รับ เกิดความสามัคคีในกลุ่ม  รวมทั้งฝึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่

นางสาวพิสุทธินี ประสิทธิกสิกรณ์
   ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์เรื่องมีดช่างทินที่มี URL ดังนี้ www.geocities.com/knife_bstin กลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางไปศึกษาช้อมูลจากสถานทื่จริงโดยชมขั้นตอนการทำมีด ลวดลายต่างๆ ที่ช่างทินใช้ในการประดับบนดาบมีด รวมถึงได้ชมตัวอย่างสินค้าในแบบต่างๆ ของช่างทิน และสอบถามข้อมูลจากภรรยาและบุตรของช่างทินเป็นการเพิ่มเติม เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ก็แบ่งงานกันทำ คนละ 2 page ส่วนการขอพื้นที่ การอัพโหลดและส่วนอื่นๆ เราช่วยกันทำ - - เทคนิควิธีการของช่างทินที่ทำให้ประสบผลสำเร็จนั้นคือ ความรักและเอาใจใส่ในงานของตนให้มากแลจริงจัง ซึ่งถ้าทุกคนเอาใจใส่และทุ่มเทกับงานของตนอย่างช่างทินก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จอย่างช่างทินอย่างแน่นอน - - จากการทำเว็บไซต์นี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมในความสามารถของช่างทินและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นอย่างมาก
นายศักดิ์ศิพงษ์ เกษมุติ

 ข้าพเจาจัดทำเว็ปไซต์เรื่องทอฟฟี่ถั่ว URL www.geocities.com/toffy_9999 การศึกษาค้นคว้าข้อมูลของข้าพเจ้าได้ไปศึกษาจากสถานที่จริงโดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากคุณป้าสุวรี ทองคำดี ประธานกลุ่มสตรีแปรรูปอาหารบ้านล่อมฟัก เมื่อได้ข้อมูลข้าพเจ้าจะมาเรียงลำดับความสำคัญและแบ่งงานตามความถนัดของสมาชิกในกลุ่มและจัดทำเป็นเว็ปไซต์โดยขอพื้นที่จาก www.geocities.com สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการจัดทำเว็ปไซต์นี้

เทคนิคที่ทำให้กลุ่มสตรีฯลฯ ประสบความสำเร็จ คือ การบริหารงานให้อยู่ในรูปสหกรณ์ การจัดสรรรายได้ให้สมาชิกอย่างยุติธรรม ผู้นำกลุ่มมีความเสียสละและที่สำคัญความสามัคคีของสมาชิกซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ได้ในชีวิตประจำวัน

ความรู้สึกและประโยชน์ที่ได้รับ รู้สึกภูมิใจที่ท้องถิ่นของตนมีภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์ ภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ของชุมชน รู้สึกดีใจที่เพื่อนในกลุ่มได้ร่วมแรงร่วมใจทำงานให้สำเร็จ  อีกทั้งได้ฝึกฝนกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น  เป็นการหาความรู้จากสถานที่จริง ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดอีกด้วย

Hi, what's up!

ผมทำเว็ปเกี่ยวกับขนมที่เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุทัยธานีครับ คือ ของฝากแม่ป่วยลั้ง www.geocities.com/maepouylung_choo_man

ก็งานนี้ผมก็ร่วมกับเพื่อนๆ ไปสัมภาษณ์กับตัวจริงของเจ้าของร้านเลยนะครับ แล้วก็ยังได้ขนมกลับมากินด้วย งานนี้กินฟรีนะก็ทั้งสนุก ทั้งได้ความรู้ และก็อร่อยด้วยครับ
การทำงานที่น่าประทับใจเลยนะครับ และถือเป็นข้อคิดเลยก็ได้ก็คงจะเป็นการทำงานที่ดีครับ และที่สำคัญคนที่ค้าขายทุกคนต้องมีเลยก็คือ ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าครับ คงเคยได้ยินว่า "ลูกค้าถูกเสมอ" อืมด้วยเหตุนี้ผมเลยประทับใจครับที่ร้านแม่ป่วยลั้งทำการค้าด้วยความซื่อสัตย์
ความรู้ที่ได้รับอ่ะหรอ ก็นึกไม่ค่อยออกแล้วดิ อืม... ก็ตอนที่ไปสัมภาษณ์ก็นานพอสมควรแล้ว แต่ก็ดีครับ รู้สึกตื่นเต้นนิดๆ ก็แย่งกันกับเพื่อนนะครับ ไม่ใช่แย่งสัมภาษณ์หรอกนะ แย่งกันถ่ายรูปอ่ะ จะได้ไม่ต้องเข้าไป แต่พอได้คุยด้วยก็เริ่มไม่เครียดแล้ว อืมสนุก งานนี้ต้องบอกว่า ถ้าไม่ลองคงไม่รู้หรอกนะครับ

ท้ายนี้ก็จะบอกว่า รักใครก็บอกรักไปเหอะนะ กล้าๆหน่อย แล้วผลจะเป็นอย่างไรก็..........................................................(ไม่รู้ดิ)

นางสาวสุพัฒนา ทิพรส ม.6/1 เลขที่ 35

สวัสดีค่ะหนูสุพัฒนา  ทิพรส นะคะทำเว็ปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรค่ะ URL : www.geocities.com/samoonpaithai_product

การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าพเจ้าคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ทำก่อน โดยอาจจะถามจากคุณยาย คุณแม่ หรือว่าsearch หาข้อมูลจากทาง internet แล้วข้าพเจ้าต้องไปศึกษาข้อมูลโดยตรงจากเจ้าของหัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์คือนางสายทิ้งแล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงจัดทำwebsiteโดยโปรแกรมDreamweaver และขอ URLจากwww.geocities.com แล้ว upload ข้อมูลเข้า website 

เทคนิคที่จะทำให้ประสบความสำเร็จจากการการบริหารงานเป็นกลุ่มนั้น สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจในจุดประสงค์ของการทำงานที่เหมือนกันจึงจะไม่เกิดความขัดแย้งในภายหลัง ต้องอาศัยความสามัคคี และความยุติธรรมต่อสมาชิกทุกคนอย่างเท่าเทียมกันต่อการจัดสรรค์ผลประโยชน์

การได้ไปศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริงทำให้ได้ประสบการณ์ คือ ได้พูดคุยพบปะกับชาวบ้านที่เปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ท่านได้ถ่ายทอดมาให้แก่คนรุ่นหลังอย่างข้าพเจ้า

นางสาวเสาวลักษณ์ ตงลิ้ม

ดิฉันได้จัดทำเวปไซด์ซึ่งมีUrl คือ www.geocities.com/toffy_9999  ดิฉันรู้สึกดีใจและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงมือจัดทำเวปไซด์นี้ขึ้นมาทำให้ดิฉันได้รู้จักการทำงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนการทำงาน  ร่างโครงการ  และได้เรียนรู้การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น  ทำให้ดิฉันได้ฝึกฝนตนเอง  ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้แน่ถ้าหาก ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ  ที่สำคัญคือ ทำให้ดิฉันได้รู้จักผลิตภัณฑ์?ที่มีอยุ่ในท้องถิ่นได้เห็นการทำงานของกลุ่มแม่บ้าน   เกิดความรุ้สึกประทับใจและภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา

นางสาวกัญญาวีร์ เกิดศรี

ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่อง ทอฟฟี่ถั่ว  มี URL คือ www.geocities.com/toffy_9999 วิธีการเรียนรู้ของกลุ่มดิฉัน คือ ค้นหาข้อมูลจากinternetและไปศึกษาจากสถานที่จริง โดยมีวิทยากรท้องถิ่น คือ ป้าสุวรี ทองคำดี เป็นผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์จริงให้กับกลุ่มของดิฉัน  จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและศึกษาจากสถานที่จริง มานำเสนอผ่านทาง website โดยขอพื้นที่จาก www.geocities.com 

เทคนิคกลุ่มแม่บ้านล่มฟัก คือ การบริหารงานอย่างมีคุณภาพและทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบของตน  ซึ่งเราสามารถนำการบริหารงานมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้ 

ดิฉันรู้สึกภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองที่มีสินค้าที่มีคุณภาพดี  และขอขอบคุณ ป้าสุวรี ที่ให้ความร่วมมือในการให้ความรู้เป็นอย่างดี  ประโยชนืที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ความสามัคคี และการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันในกลุ่ม  และหวังว่าโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

   ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง สับปะรด โดยมี URL คือ www.geocities.com/pineapple_mix โดยมีขั้นตอนการศึกษาจากสถานที่จริงในเขตอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ดิฉันได้แบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนทำ  หลังจากนั้นได้มีการรวบรวมชิ้นงานของแต่ละคน มาอัพโหลด ขึ้นเว็บไซต์ หลังจากที่ได้ทำการขอพื้นที่เว็บไซต์แล้ว - - เทคนิคที่ข้าพเจ้าได้จากการจัดทำเว็บไซต์นี้ ซึ่งจะทำให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จคือ ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ มีความอดทน มีความขยันหมั่นเพียร และได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน - - ความประทับใจที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทำเว็บไซต์นี้ คือ ภูมิใจในภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จนทำให้คนในชุมชนประสบความสำเร็จและมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักใคร่กันในกลุ่มเป็นอย่างดี

          ดิฉันและสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำเว็บไซต์ แม่ป่วยลั้งมีURLคือ        www.geocities.com/maepouylung_choo_manการจัดทำนั้นก็ไม่มีอะไรมาก แต่สำคัญตรงที่ได้ช่วยกันทำมากกว่า การทำครั้งนี้ไม่เสียเปล่าเพราะได้อะไรดีๆ มากมาย     ขอสาธยายสักหน่อย ดังนี้           

 

             -เพิ่งจะรู้ว่ากว่าจะมาเป็นเจ้าของกิจการใหญ่โตอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่ง่าย ต้องมีใจสู้ที่มุ่งมั่น

             -จังหวัดอุทัยธานีมีร้านแม่ป่วยลั้งนี่แหละที่โด่งดัง ขนมก็อร่อย ได้รับการการันตีจากสื่อต่างๆมากมาย(ไม่ได้โม้นะ เรื่องจริง)

             -ได้หัดทำเว็บไซต์ก็งานนี้นี่แหละ  สนุกดีเหมือนกัน

     ที่จริงอยากสาธยายให้มากกว่านี้ แต่ว่าไปเชิญดูในเว็บไซต์เองเถิด(สวยเชียว)

          ทำเรื่องนี้ไปก็ภูมิใจไป  ก็จะไม่ให้ภูมิใจได้อย่างไรล่ะของๆชาวอุทัยธานีแท้ๆ   

           ขอบพระคุณอาจารย์จงรัก ที่ทำให้ดิฉันหัดทำเว็บไซต์เป็น (ทันสมัยหน่อยเรา)

สุรียาภรณ์ พุทธวงศ์

สวัสดีค่า อ.จงรัก อาจจะเข้ามาโพสต์ช้าไปนิดส์นะค่ะแต่ยังทันเวลา ก่อนอื่นก็ขอแนะนำสมาชิกในกลุ่มก่อนเลยค่ะ

ดิชั้นสุรียาภรณ์ พุทธวงศ์ค่ะ อีก 2 คนก็คือ พัชรภรณ์ มีแพง และ

ภัทราพร บุญประมวญ ในกลุ่มของดิชั้นก็ได้จัดทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องขนมกงซึ่งมี URLคือ

 www.geocities.com/kanomkong_uthai

1. การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนแรกสมาชิกทุกคนในกลุ่มก็ได้ไปสัมภาษณ์โดยตรงจากผู้ผลิตเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง

2. ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ (ไม่อยากจาพูดเลยยยย) ยากจัง!

3.ผลที่รับจากการทำเว็บไซต์ ได้รับอะไรเยอะมากเลยอ่ะ ตั้งแต่เรื่องของการทำเว็บเก่งขึ้นซึ่งต้องใช้ความอดทนสูงมากและการที่ตัวดำขึ้นเพราะต้องขี่รถไปสัมภาษณ์จากสถานที่จริงซึ่งอยู่ที่หนองแก

4.ปัญญหาและอุปสรรค ที่เจอบ่อยก็คือการ  upload รูปภาพต่างๆ รูปไม่ขึ้น และ หนทางในการไปสัมภาษณ์ไกลไปหน่อย

5.ข้อคิดที่ได้รับ ก็คือ ได้รู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านและได้รู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีมีของดีอีกเพียบ

   สวัสดีค่ะ  พวกเราสมาชิกกลุ่มผลงานเว็บไซต์ www.geocities.com/tinknife_uthai จะขอแนะนำตัว  สมาชิกของเรามีดังนี้ 1.นายเจตธัช  เกตุทอง  เลขที่ 15  
                  2.นางสาวทิพย์สุดา  ต๊กควรเฮง  เลขที่ 20 
                  3.นางสาวสรัญญา  โรโต  เลขที่ 34 
   พวกเรานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2  โรงเรียนอุทัยวิทยาคม  จังหวัดอุทัยธานี 
   การรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหนังสือและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานีของเราและดูจากเว็บไซต์ของรุ่นพี่ที่ทำไว้นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเรา  แล้วไปสอบถามข้อมูลกับเจ้าของกิจการคนปัจจุบัน คือ  พี่จุ่น  นายสุทธินันท์  แตงไทย  ซึ่งเป็นลูกชายของช่างทินและเก็บภาพถ่ายที่สนใจจะนำมาลงในเว็บไซต์  โดยช่วยกันหาข้อมูลและนางสาวสรัญญา  โรโต เป็นผู้จัดทำจนสำเร็จ  สำหรับการจัดทำเว็บไซต์พวกเราจะต้องมีการศึกษาการทำ Dream weaver  และ  Photoshop  จากการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีจากครูจงรัก  เทศนา  แล้วนำข้อมูลมาจัดเรียงลำดับจาก
                        1.ประวัติของช่างทิน
                        2.วัสดุ-อุปกรณ์
                        3.ขั้นตอนการทำ
                        4.รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
และมีการเพิ่มเติมการรวบรวมเว็บไซต์ของเพื่อนๆ ภายหลัง  โดยขอ URL จาก http://geocities.yahoo.com แล้ว Upload ข้อมูลที่เตรียมไว้เป็นอันสำเร็จ
   ปัญหาและอุปสรรคที่พบบ่อย  คือ  การรวมตัวของสมาชิกกลุ่มเป็นไปได้ยากเนื่องจากบ้านของแต่ละคนอยู่ไกลกัน
   ข้อคิดที่ได้  คือ  การทำงานกลุ่มด้วยความสามัคคี  จะทำให้งานประสบความสำเร็จ

ลงความเห็น ลงความเห็น!!!(เพิ่งรู้ว่าต้องลงความเห็น...ไม่เห็นมีใครบอกฉันเลยยยยยย) จากที่ทำเวบรวมกับเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่มก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเวบ และเกร็ดความรู้ต่างๆอีกมากมาย ถึงเเม้จาต้องอัพโหลดรูปและแก้ไขงานอยู่หลายครั้งแต่นั้นก้อทำให้พวกเรามีความรู้ในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น ก็สนุกดีค่ะ นี่ก็ยังอัพรูปไม่ขึ้นตั้งหลายรูป เฮ้อ..เหนื่อยใจ แต่ก็สู้ๆค่ะ ขั้นตอนทำเวบคงไม่ต้องพูดให้มากความนะคะ เพราะเพื่อนในกลุ่มก็ลงไปในความเห็นแล้วและก้อได้เขียนในใบงานไปหลายใบ จนมือนี่หงิก อิอิ ล้อเล่นค่ะ สุดท้ายเลยละกันนะคะ ก็รู้สึกดีค่ะที่ได้เรียนเกี่ยวกับการทำเวบ และที่สำคัญยังทำให้เห็นถึงความ"ร่วมมือร่วมใจ"ของเพื่อนๆในกลุ่มในการทำงานในสำเร็จไปได้ด้วยดี

P.S.เดี๋ยววันอังคารจาอัพรูปใหม่นะคะคุณครูอย่าเพิ่งใจร้อนนนน คราวนี้มันต้องขึ้นแน่ๆค่ะ อิอิอิ ^ ^V

 

ผมสร้างเว็ปไซด์เรื่องการกัดกระจก URL คือ http://www.geocities.com/uthai_mirror/ ผมมีวิธีการเรียนรู้คือได้ไปถามผู้ที่ทำผลิตภัณฑ์ว่ามีวิธีทำอย่างไร  ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับสามารถนำมาประยุกต์ในการหาอาชีพเสริมได้ ความรู้สึกที่ข้าพเจ้ารู้สึกคือข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมากที่ได้ทำโครงงานนี้เพราะว่าเป็นการศึกษาความสำเร็จของผู้ที่ตั้งใจที่จะทำอะไรซักอย่างจนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและความสำเร็จในชีวิตของตนเอง

http://members.thai.net/looknoo/

ก็.....ศึกษาทางInernetและไปสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองที่โรงพยาบาลอุทัยธานี และได้ไปขอยืมหนังสือหลักการนวดไทยในงานสาธารณสุขมูลฐานมาจากทางโรงพยาบาล~*

ก็...ต้องดูก่อนว่าบุคลลผู้นั้นมีเทคนิคอย่างไรจะได้ นำมาใช้กับตัวเองได้ถูก^_^

อืม....รู้สึกตื่นเต้นดีตอนที่พี่ๆที่นั่นได้แนะนำวิธี และสาธิตให้ดู และได้ทดลองปฏิบัติด้วยตังเอง "./."

   อริสได้ทำเวบไซต์เรื่องข้าวแตน ซึ่งมีURL ดังนี้ www.geocities.com/tannarak2005 การเรียนรู้ของอริสได้ไปศึกษา ณ สถานที่จริง โดยผู้ที่ให้ข้อมูลแก่อริสเป็นมารดาของสมาชิกสามสาวแอนเจิล ให้การตอนรับอย่างดี

   ข้อคิดที่ได้คือเราจะต้องซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ทำด้วยความขยัน มีความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม

   ข้อคิดที่ได้จากการทำเวบไซต์คือ ได้ทำให้ผู้คนรู้จักภูมิปัญญามากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

สมาชิกกลุ่ม

1.นส.ณันญา  คงตัน  เลขที่25ข.

2.นส.วรัญศญา  บัวทอง "  46 ข.

เว็บไซด์เรื่องธูปหอมทองตะนาว URLคือ www.geocities.com/thongtanow

ดิฉันทั้ง 2คน เมื่อได้ฟังเพื่อนๆ ออกมารายงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ความรู้มากค่ะ

  ความรู้ที่ได้มาจากการไปศึกษาข้อมูลจากสถานที่โดยตรงได้ทราบประวัติความเป็นมาวิธีการทำการผลิตว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้างสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ดิฉัน นส.กนกอร สวนานุสรณ์ ได้มีโอกาสจัดทำเวปไซด์เรื่อง อิฐมอญ คู่กับนส.สุภาพร เพ็ชรอำไพ ซึ่งมี URL www.geocities.com/itmon_uthai99 เราได้ไปศึกษาข้อมูลกันที่บ้านของคุณคำนึง หลากสุขถม ซึ่งให้การต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น พาไปดูสถานที่ทำและถ่ายรูปรวมถึงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

ในด้านการทำเวปไซด์ เราสองคนก็ช่วยกันทำ บางอย่างผิดพลาดบ้าง แต่ก็ได้รับคำแนะนำจาก อ.จงรัก และเพื่อนๆม.6/3หลายคน ทำให้เรารู้จักปรับปรุงแก้ไขผลงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

น.ส.ภัทราพร เรืองรัตนอัมพร

สมาชิกกลุ่มธุปหอมทองตะนาวมี

น.ส.กุสุมา  นุกูลอุดมพานิชย์

น.ส.ภัทราพร  เรืองรัตนอัมพร

 URL: ของเรา www.geocities.com/tubhom_uthaithani

    พวกเราเป็นนักเรียนชั้น ม.6/3  เรามีความเห็นว่า  การทำธูปหอมของเราเป็นภูมิปัญญาของจ.อุทัยธานีอย่างหนึ่ง

ซึ่งพวกเราได้รับความรู้อย่างมากในการทำธูปหอมและเราสามารถนำความรู้มาใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

และอยากให้ผู้ที่สนใจเรื่องธูปหอมก็คลิกมาที่เว็บไซต์ของเราเพื่อศึกษาได้นะคะ

นางสาวเรวดี โพธิ์มูล

สวัสดีค่ะอาจารย์  นี่คือกลุ่มจักสานซึ่งมี URL ดังนี้ www.geocities.com/jaksan_otop2005 จากการได้ทำโครงงานเว็บไซต์นี้ไดรู้อะไรหลายอย่างทั้งกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์จักสานของจังหวัดอุทัยธานีรวมถึงประวัติความเป็นมาของงานแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

นางสาวจุฑากาญจน์ ฤกษ์ดี

สวัสดีค่ะ   เว็บไซต์ที่จัดทำคือ  ข้าวเกรียบว่าว  URL  www.geocities.com/khawkearbwow 

  การเรียนรู้ข้อมูล คือการที่ไปศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง  สอบถามข้อมูลจากผู้ผลิต ทำให้ได้ข้อมูลที่เยกว่าข้อมูลปฐมภูมิ และได้ดูวิธีการทำจริงๆทำให้เข้าใจววิธีการทำมากขึ้น  การทำงานในกลุ่ม  จะแบ่งงานกันไปทำตามความถนัดและความสะดวกของแต่ละคน  จากการที่ได้ไปศึกษาทำให้รู้สึกว่า ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นของเรามีความหลากหลาย  และมีคุณค่าควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ เทคนิคที่สามารถนำมาใช้คือความอดทน ทำงานอะไรเราควรที่จะมีความอดทน  ถ้ามีความอดทนความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล   และสุดท้ายขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากป้าณี  ขอบคุณค่า....

สวัสดีครับป๋มได้ทำ website เรื่องผลิตภัณฑ์กัดลวดลายบนกระจก http://www.geocities.com/uthai_mirror/  ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้จากการค้นคว้า ทาง อินเตอร์เน็ตและได้ไปสัมภาษณ์โดยตรงจาก อาจารย์สมพิศ นะวะมะวัฒน์ ผู้ประกอบการ กลุ่มเรามีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยตรง จากการศึกษาทาง website และได้ศึกษาจากของจริงซึ่ง อาจารย์สมพิศ เป็นผู้แสดง วิธีการทำ ต่างๆ ให้พวกเราศึกษาส่วนการทำงานในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันทำอย่าง สมบูรณ์ โดยที่ไปหาข้อมูล แล้วมารวมกลุ่มทำพร้อมๆกัน ทำให้ไม่น่าเบื่อ ข้อคิดที่ได้จากการทำ website คือ งานจะสำเร็จมาได้นั้นจะต้องมีความซื่อสัตย์ ทำด้วยความอดทน ทำงานให้มีความสุข งานถึงจะออกมาดี  จากการศึกษาและจัดทำโครงงานนี้ผมได้นำการประยุกต์ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างดี ทำให้มีความอดทน มากขึ้น กระผม รู้สึกดี มีความสุข สนุกสนานมาก

ไปก่อนนะครับ บายจ้า

นางสาววชีรา ฤทธิชัยนุวัฒน์

ดิฉันทำเรื่องข้าวเกรียบว่าว url คือ http://www.geocities.com/khawkearbwow ในการค้นหาข้อมูลในผลงานเว็บไซต์ชิ้นนี้ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากเพราะไปสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ขายเองเลย ซึ้งโดยปกติในการทำงานดิฉันจะหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและหนังสือส่วนการทำงานในกลุ่มเราจะแบ่งงานเป็นขั้นตอนกันและแยกย้ายไปทำเองเพราะบ้านของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอยู่ไกลกันมากจึงได้แค่มาปรึกษากันที่โรงเรียนเท่านั้น

เทคนิคในการดำเนินชีวิตที่ได้จากบุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นก็คือ เราต้องมีความอดทนและขยันในการทำงานแล้วเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต

ในการทำงานครั้งนี้ ดิฉันรู้สึกประทับใจมากกับบุคคลที่ให้ข้อมูล ป้าใจดีกับเรามากเป็นกันเองและยังบอกเคล็ดลับในการทำขนมให้อีกหลายชนิดและดิฉันก็มีความภูมิใจเป็นอย่างมากเป็นของตัวเองได้สำเร็จ ถึงแม้เว็บไซต์ที่ออกมาจะดูไม่สวยงามมากนักแต่ก็เป็นความภูมิใจของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม

น.ส.พิชญา โตมณีนิลรัตน์

ปลาแรดเป็นปลาที่นิยมรับประทานกันมาก  เพราะมีรสชาติอร่อย  พวกเราจึงเลือกจัดทำผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้  ซึ่ง url คือ  http://www.geocities.com/plarad_2005 

น.ส. รติภัทร ทัศนบุตร

สวัสดีค่ะ ดิฉันได้ทำเรื่องสับประรดกวน url คือ www.geocities.com/pineapple_mix เป็นงานที่เราได้เรียนรู้จากสถานที่จริง และเป็นการโปรโมทสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี อาจทำให้มีผู้สนใจซื้อสินค้ามากขึ้น ได้รู้การผลิตอย่างมีขั้นตอนที่ถูกต้อง รู้เทคนิคบาฃอย่างที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น ได้เรียนรู้การทำงานกลุ่ม และการทำงานอย่างมีระบบ..  

นางสาวภัณฑิลา ยวนแหล

  จากการที่ข้าพเจ้าได้จัดทำเว็บไซต์  เรื่องมีดช่างทิน  www.geocities.com/knife_bstin   ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำเว็บไซต์  ได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของมีดช่างทินรวมทั้งได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม  การทำโครงงานนี้เริ่มจากการค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ  รวมทั้งได้รับความรู้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยตรง  เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วข้าพเจ้าซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำเว็บไซต์  การ  upload  ข้อมูลและรูปภาพได้จัดการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ  ส่วนเพื่อนๆในกลุ่มได้มีการแบ่งหน้าที่การทำ

   การที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้วยตนเอง  ทำให้ได้รับความรู้ในการทำมีด  รวมทั้งข้อคิดมากมาย  ซึ่งข้อคิดที่ได้นี้ได้มาจากคติและหลักในการดำเนินชีวิตของผู้ประกอบการซึงข้าพเจ้าสามารถนำหลักดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ซึ่งหลักที่ได้นั้น  อาทิ  การอดทนในการผลิตรวมทั้งความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ  ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามขอให้เรามีความตั้งใจและความอดทน  เมื่อเราตั้งใจทำเราก็จะประสบความสำเร็จในงานที่ทำ

  การได้ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยตรงนั้น  ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้สัมภาษณ์บุคคลที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพแต่ความรู้สึกนั้นก็หายไปเมื่อได้พูดคุยกับคูณน้าผู้เป็นคนผลิต  ซึงคุณน้าเป็นคนที่ใจดีมาก  พูดจาไพเราะและเป็นกันเองกับเราดี

นางสาววรินทรา ว่องวิกย์การ

สวัสดีค่ะอาจารย์และผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน  กลุ่มของดิฉันซึ่งมีสมาชิกดังนี้ นายอธิวัฒน์ นางสาวจุไรพร นางสาววรินทรา ได้ทำเรื่อง การนวดไทยในสาธารณสุขมูลฐาน เว็บไซต์นี้ก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานการนวดไทย บทบาทของการนวดไทย ลักษณะการนวดแผนไทย  ข้อควรระวังในการนวด

นอกจากนี้กลุ่มของเรายังมีการนำเที่ยวแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอุทัยธานีอีกด้วย

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของกลุ่มก็เน็ตที่บ้านของอธิวัฒน์เน่า เนื่องจากมดขึ้นโทรศัพท์ กลุ่มของจึงต้องไปทำการ upload เว็บไซต์ที่บ้านธรรมชาติ ก็ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย อิอิ

ความรู้สึกที่ได้จากการศึกษาข้อมูลก็ทำให้รู้สึกว่า อาชีพการนวดแผนไทย เป็นอาชีพที่ผู้นวดต้องมีความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ และเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

อ๋อ Url ของพวกเรานะคะ http:members.thai.net/looknoo/ อย่าลืมไปชมกันนะคะ

ป.ล.ใครที่สนใจจะทำหนังสือรุ่นของเราก็ไปติดต่อกับอาจารย์อารักษ์  พุฒขาว หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบว่าอาจารย์เค้าไม่ได้บังคับให้เราทำ แต่ เค้าอยากให้เราทำ นิ......โหน่ย

นางสาววริษฐา บุญส่งประเสริฐ

สวัสดีค่ะ เริ่มเลยละกัน

URLของกลุ่มข้าพเจ้าคือ www.geocities.com/toophormm

เป็นเรื่องเกี่ยวกับธูปหอมของเกาะเทโพ ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปดูนะคะ พวกเราเรียนรู้ข้อมูลจากสถานที่จริงโดยไปศึกษาถึงที่เกาะเทโพโน้น ตั้งไกลไปแล้วก็ไม่เจอเจ้าของตัวจริงอีกต่างหาก คอยแล้วคอยอีกก็ยังไม่มา เราก็เลยเริ่มทำงานกันเลย แบบว่าสอบถามเอาจากคนที่มาต้อนรับน่ะ ซักซะละเอียดยิบเลย พอได้ข้อมูลเสร็จก็จะไปถ่ายรูปตรงที่เค้าทำ แต่เค้าไม่ให้ถ่าย พูดแบบมีอารมณ์ด้วย(น่ากลัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ)  พอได้ข้อมูลมาเราก็มาแบ่งงานกันทำแบบช่วยๆกันทำไปทุกเรื่อง สรุปก็คือไม่ได้แบ่ง ส่วนเทคนิคที่เราได้ก็คือความอดทน เค้าอดทนกันมากๆๆๆๆ นั่งทำกันทีเยอะมาก ไม่รู้จักเมื่อยรึงัยและสุดท้ายขอบอกอะไรหน่อยจากการที่ไปหาข้อมูลวันนั้น เราเพิ่งรู้ว่าเรามีเพื่อนคนนึงที่แมนมั่กๆๆๆๆๆ อยากจาขอขอบคุณเพื่อนชายร่างเล็กคนนั้น

ป.ล. น่าสงสารเพื่อนชายร่างเล็กที่..............(พูดไม่ได้อ่ะ)  

นายบัญชา วงษ์นภาพิศ

สวัสดีครับอาจารย์ และเพื่อนๆที่น่าร๊ากกกกกก ทุกคน

ผม นายบัญชา วงษ์นภาพิศ และ ดิฉัน น.ส.ทิฆัมพร นุ่นงาม

 ได้จัดทำเว็บไซต์ WWW.geocities/herb_2_kl

เรื่อง สมุนไพร วัดหนองหญ้านาง พวกเราไปหาข้อมูลต่างๆมาจาก Internet บ้าง สอบถามจากผู้อื่นที่มีความรู้บ้าง และยังไปศึกษาที่สถานที่จริงอีกด้วย พอได้ข้อมูลครบเราก็ไปถ่ายรูปมาหลายภาพอยู่เหมือนกันแต่ก็หารูปสวยๆแล้วก็เอาลงเว็บให้ดูนี่แหละครับ เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลที่ได้มาพิมพ์ลงในโปรแกรม Dreamweaverตกแต่งให้งามตามใจชอบ แล้วก็ Up load มาเป็นเว็บไซต์นั่นแหละครับ เราได้รับอะไรๆแยะมากจากการทำโครงงานในครั้งนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหานะครับ ปัญหาก็พอมีให้เห็นอยู่บ้างอย่างแรกเลยก็ รูปภาพที่เอาลงบนเว็บไซต์ไม่ยอมโชว์ เราก็ไม่รู้จะทำไงครับ เลยต้องไปถามเพื่อนๆในห้องดูแล้วเพื่อนก็บอกเรา ก็เป็นอันว่าเรามาลองทำใหม่ก็โอเคครับ รูปภาพก็โชว์แล้ว ส่วนต่อมาก็เรื่องของข้อมูลที่มันยังดูน้อยไปนิด พอดีช่วงเวลาที่เราทำเว็บไซต์นี้ตรงกับ กีฬาสี พอดี เลยต้องรีบทำให้เสร็จ เพราะกลัวว่างานจะเสร็จไม่ทันเพื่อนๆในห้องครับ

  ส่วนผลงานชิ้นนี้เราภูมิใจครับมีเรื่องราวมากมายหลายๆเรื่องที่เราไม่เคยรู้เราก็ได้รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นเราก็ได้เห็น ส่วนเรื่องงานเราสองคนก็แบ่งกันทำดีครับ ช่วยกันทำงานดีครับ สุดท้ายเราก็ขอฝากเว็บไซต์ของเราไว้ด้วยนะครับ อย่างไงเพื่อนๆทุกคนก็ลองๆเข้าไปเยี่ยมชมดูนะครับ ดีไม่ดียังไงก็มาบอกได้ครับ ผมจะได้นำคำติชมต่างๆไปแก้ไขเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นครับ

ป.ล.เว็บไซต์นี้คนทำทั้งหล่อทั้งสวย จาติจาชมอารัยกานก็เชิญนะม่ะว่ากานยู๋แย้ววววววว......

 

นายวทัญญู ทัศนเอี่ยม

สวัสดีครับอาจารย์ แหะๆช้าหน่อยนะครับ กลุ่มผมทำเรื่องเกี่ยวกับการกัดกระจก ครับ

URL.... http://www.geocities.com/uthai_mirror/ 
สวยงามมากส์   ฟันธง!

การทำงานของกลุ่มก็จะเน้นการหาข้อมูลแบบสถานณ์ที่จริงและของจริง เราได้ไปสอบถามข้อมูลจากผู้ประกอบการมาเลย ไปกันทั้งกลุ่ม ในการทำงานก็จะแบ่งหน้าที่กันแต่เวลาทำเราจะนัดกันมาทำแล้วต่างคนก็ทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย ทุกคนก็ให้ความรวมมือกันดีครับ เทคนิคที่น่าสมใจก็ตรงที่การทำงานเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากจะทำให้ไม่สิ้นเปลืองแล้วยังช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกด้วย เมื่อทำโครงงานแล้วผมก็รู้ว่า คนเราถ้าไม่ขี้เกียจก็ไม่อดตาย

นางสาววรรัตน์ ริ้วพิทักษ์

ดีใจและภูมิใจมากค่ะ ที่มีงานส่งและมีงานเป็นของตัวเอง(และเพื่อนๆในกลุ่มด้วยอ่ะ)  หวัดดีค่ะ....ทุกคน คงสบายดีนะ อิอิ....

ดิฉันทำเว็บไซดืเรื่อธูปหอมเกาะเทโพ เจ้าค่า......

www.geocities.com/toophormm อย่าลืมเข้าไปแวะเยี่ยมชมกันบ้างนะคะ!!!!!

 

นายธนวัฒน์ มาตรสิงห์

ผมนายธนวัฒน์ มาตรสิงห์ เลขที่ 1 และ นายมีศักดิ์ จีนพงษ์ เลขที่ 17 ห้อง 6/3 ได้ทำเว็บไซด์เพื่อนำเสนอ การทำกระด้งไว้ในเว็บไซด์ www.geocities.com/paryos_uthaithani

 

 

สวัสดีค่ะ

พวกเราทีมงานที่จัดทำเว็บไซต์ร้านแม่ป่วยลั้งพวกเราหาข้อมูลมาจากเว็บไซต์ค่ะและพวกเราก็ไปศึกษาสถานที่จริงและประวัติการทำงานของร้านแม่ป่วยลั้งด้วยค่ะส่วนขั้นตอนการทำเว็บไซต์นั้นดิฉันเริ่มจากการสมัครเมล์ก่อนค่ะขอพื้นที่เอาไว้ก่อนพิมพ์ข้อมูลที่หามาได้ลงในDREAMWEAVER จัดและตกแต่ง  WEP  PAGEให้สวยงามและทำLINKเชื่อมโยงแต่ละหน้าและเปิดไปที่เว็บที่เราขอพื้นที่เอาไว้และก็UP  LOAD   ผลที่ได้รับจากการทำโครงงาน   ได้ข้อมูลที่มากมายและได้เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆแล้วยังได้โปรโมรสินค้าจังหวัดอูทัยธานีด้วยค่ะ   ข้อคิดจากการทำงาน   คือต้องใส่ใจกับรายละเอียดในการทำงานต้องรู้จักอดทนต่อสู้กับปัญหาต่างๆให้ได้ค่ะ

                           ขอบคุณค่ะ

นายวันรัช บัวประดิษฐ์

นายวันรัช บัวประดิษฐ์ เมื่อ จ. 28 พ.ย. 11:43:14 2005 เขียนว่า:

สวัสดีครับ ผมนายวันรัช  บัวประดิษฐ์และนายภราดร  คงไทย นักเรียนชั้นม.6/3ได้ช่วยกันทำโคงงานกรรไกรตัดกิ่งไม้ขึ้นมา  URLของผมคือ www.geocities.com/kanki_uthaithani                         การรวบรวมข้อมูล ผมไปศึกษาจากแหล่งที่ทำโดยตรงและศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ  ผลที่ได้รับผมได้ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและได้ช่วยโฆษณาสินค้าอีกด้วย  อุปสรรคก็มีนิดหน่อยแต่สามารถแก้ปัญหาได้  ข้อคิดที่ได้จากผู้ให้ความรู้เขาบอกว่าการทำอะไรสักอย่างต้องทำอย่างตั้งใจและจริงใจกับงานที่ทำแล้วจะประสบผลสำเร็จ       

        ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

                               สวัสดีครับ

นายเกรียงไกร ไทยจรรยา

สวัสดีครับ ผมเกรียงไกร  ไทยจรรยาและนายพีระพงษ์ พรมเพ็งนักเรียนชั้นม.6/3ได้ช่วยกันทำโคงงานใบบัวบกขึ้นมา  URLของผมคือwww.geocities.com/boiburbok_uthaithani                         การรวบรวมข้อมูล ผมไปศึกษาจากแหล่งที่ทำโดยตรงและศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ  ผลที่ได้รับผมได้ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและได้ช่วยโฆษณาสินค้าอีกด้วย  และผมก็มีความภูมิใจที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องจังหวัดอุทัยธานี  อุปสรรคก็มีนิดหน่อยแต่สามารถแก้ปัญหาได้  ข้อคิดที่ได้จากผู้ให้ความรู้เขาบอกว่าการทำอะไรสักอย่างต้องทำอย่างตั้งใจและจริงใจกับงานที่ทำแล้วจะประสบผลสำเร็จ       

       

                               สวัสดีครับ

ข้าพเจ้านายธเนศ สารพัฒน์  น.ส. ลักขณา บรรณวัฒน์ และ น.ส.วีราญา  รักวรนิต  จัดทำเว็บ www.geocities.com/mom_kanom การรวบรวมข้อมูลศึกษามาจากเว็บรุ่นพี่ปีการศึกษาที่ผ่านมาและสอบถามข้อมูลจากทางร้านโดยตรง     การจัดทำเว็บจะนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงความสำคัญของเรื่องจากข้อมูลที่สำคัญที่สุดไปหาน้อยที่สุดจากนั้นนำมาจัดทำเป็นหน้าเพื่อจะทำการ lineและขอพื้นที่เว็บไซด์    ผลที่ได้รับทำให้เรียนรู้นิสัยเพื่อนบางคนในกลุ่มและวิธีการทำงานกลุ่มเพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด          ปัญหาและอุปสรรค์เวลาวางไม่ตรงกัน บ้านอยู่ไกลกัน    ข้อคิดที่ได้รับ ไม่ว่าเราจะเป็นใครแต่ถ้าเรามีความตั้งใจจริงไม่ว่าจะมีอุปสรรค์มากมายเพียงใดงานนั้นย่อมสำเร็จไปได้ด้วยดีและสวยงาม

 สวัสดีค่ะ  พวกเราสมาชิกกลุ่มผลงานเว็บไซต์ http://www.geocities.com/tinknife_uthai จะขอแนะนำตัว  สมาชิกของเรามีดังนี้
                  1.นายเจตธัช  เกตุทอง  เลขที่ 15  
                  2.นางสาวทิพย์สุดา  ต๊กควรเฮง  เลขที่ 20 
                  3.นางสาวสรัญญา  โรโต  เลขที่ 34 
   พวกเรานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2  โรงเรียนอุทัยวิทยาคม  จังหวัดอุทัยธานี 
   การรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหนังสือและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานีของเราและดูจากเว็บไซต์ของรุ่นพี่ที่ทำไว้นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเรา  แล้วไปสอบถามข้อมูลกับเจ้าของกิจการคนปัจจุบัน คือ  พี่จุ่น  นายสุทธินันท์  แตงไทย  ซึ่งเป็นลูกชายของช่างทินและเก็บภาพถ่ายที่สนใจจะนำมาลงในเว็บไซต์  โดยช่วยกันหาข้อมูลและนางสาวสรัญญา  โรโต เป็นผู้จัดทำจนสำเร็จ  สำหรับการจัดทำเว็บไซต์พวกเราจะต้องมีการศึกษาการทำ Dream weaver  และ  Photoshop  จากการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีจาก
ครูจงรัก  เทศนา  แล้วนำข้อมูลมาจัดเรียงลำดับจาก
                        1.ประวัติของช่างทิน
                        2.วัสดุ-อุปกรณ์
                        3.ขั้นตอนการทำ
                        4.รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
และมีการเพิ่มเติมการรวบรวมเว็บไซต์ของเพื่อนๆ ภายหลัง  โดยขอ URL จาก http://geocities.yahoo.com แล้ว Upload ข้อมูลที่เตรียมไว้เป็นอันสำเร็จ
   ปัญหาและอุปสรรคที่พบบ่อย  คือ  การรวมตัวของสมาชิกกลุ่มเป็นไปได้ยากเนื่องจากบ้านของแต่ละคนอยู่ไกลกัน
   ข้อคิดที่ได้  คือ  การทำงานกลุ่มด้วยความสามัคคี  จะทำให้งานประสบความสำเร็จ

พวกเราจัดทำเว็ปไซต์ เกี่ยว กับ ผ้าทอบ้านโคกหม้อ www.geocities.com/partor6

การสืบหาข้อมูล พวกเราได้ค้นหาข้อมูลจากสถานที่จิงคือกลุ่มแม่บ้านบ้านโคกหม้อ และหาจากอินเตอร์เน็ตในส่วนหนึ่ง
ในการทำเว็ปไซต์เรามีอุปสรรคในการทำงานคือแหล่งข้อมูลของเราอยู่ห่างไกลมากเราจึงรวมตัวกันกับกลุ่มอื่นไปหาข้อมูลพร้อมกัน
ในการทอผ้าต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากเนื่องจากกรรมวิธีในการทำละเอียดมากๆ

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานในครั้งนี้
การที่เราจะทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเราควรใช้ความอดทนในงานนั้นๆงานจึงจะออกมาดีตามความตั้งใจที่เราตั้งไว้

 

 

นางสาวอรวรรณ เอกขระ
         ข้าพเจ้านางสาวอรวรรณ  เอกขระ เจ้าของเว็บ  www.geocites.com/rice_orawan  ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักเครื่องใช้สีข้าวที่ในสมัยก่อน ใช้สีข้าวกันและอนุรักษ์ เครื่องสีข้าวไว้ให้รุ่นหลังได้ดู ได้รู้จัก และการทำเว็บครั้งนี้ทำให้เราเป็นคนที่แบ่งเวลาเป็น มีความรับผิดชอบคนตนเอง
สวัสดีครับผม ศุภวัฒน์ นาคช่วยและ นายอภิศักดิ์ เขตรการณ์ ได้จัดทำเว็บไซต์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเรื่อง ปลาแรด ในการรวบรวมข้อมูลอันดับแรก ได้ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการการเลี้ยงปลาแรดในกระชังของจังหวัดอุทัยธานีและแบ่งหน้าที่กันไปสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และ จากประชาชนทั่วไป พอรวบรวมข้อมูลได้ครบแล้วก็ได้จัดทำ

 

เว็บไซต์ขึ้น ซึ่งมี URL ดังนี้ www.geocities.com/uthai_fish

ปัญญาและอุปสรรคดังนี้  upload รูปไม่ขึ้นและไม่มีเวลาไปศึกษาจากสถานที่จริง แต่ได้แก้ไขแล้ว

นางสาวสิรินภา กลับชัยนาท
สวัสดีค่ะครูจงรัก
ดิฉันนางสาวพาลิมน  พุกเนียม 
      และนางสาวสิรินภา  กลับชัยนาท

ได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่อง  ขนมกง   
http://www.geocities.com/khanomkong2005/

ได้รวบรวมข้อมูลได้การหาจากเว็บไซต์และสถานที่จริงกลุ่มสตรีตำบลหนองแก  ที่ผลิตขนมกง หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ได้จดบันทึกขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้าย  และปฏิบัติจริงพร้อมทั้งถ่ายรูป

ในกระบวนการจัดทำเว็บไซต์
-เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver และพิมพ์ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดลงไป  และก็ทำการ Link
-ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com  และก็ไปตั้งชื่อในเว็บไซต์ และก็นำข้อมูลมา Upload

ผลที่ได้รับจาการทำเว็บไซต์ คือได้รู้วิธีการต่างๆ จากการทำเว็บไซต์และได้รู้เทคนิคมากขึ้น  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่การ  Upload  คือรูปและBackground ไม่ขึ้น
ในการแก้ไข้ต้องเปลี่ยนนามสกุลของรูปและBackgroudและLinkใหม่อีกครั้งและก็Uploadใหม่อีกครั้ง

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ทำให้รู้จักรับผิดชอบต่องานที่มอบหมายมากขึ้น
-ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มมากขึ้น
-ทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจว่าเราก็ทำได้และยังมีการเผยแพร่
ขนมกงโบราณให้คนทั่วโลกได้รู้จัก

PS.ขอขอบคุณ ครูจงรัก  เทศนา  ที่สอนให้พวกเราได้วิธีการทำเว็บไซต์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

กระผมได้ศึกษาในหัวข้อ "ผ้าทอบ้านโคกหม้อ" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจ ผมได้คึกษาจากทาง WebSite และจากสถานที่จริงจึงได้ความรู้เกี่ยวกับบ้านโคกหม้อและการทอผ้าของบ้านโคกหม้อสามารถเข้าไปศึกษาได้ใน www.geocities.com/silk_uthai 

  • ปัญหาที่เกิดจากการจัดทำ WebSite นี้คือการอับโหลดที่นานมากและในบางครั้งก็อับโหลดไม่สำเร็จจึงทำให้การอับโหลดล่าช้า
  • วิธีการแก้ไขคือ อับโหลดทีละน้อยๆและในเวลาอับโหลดไม่ควรเปิด WebSite อื่นใปด้วยเพราะจะทำให้ความเร็ว net ช้าลง ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้การอับโหลดไม่สำเร็จ
  • ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การใช้เครื่องมือที่ผลิตโดยชาวบ้าน เช่น กระสวย ซื้อชาวบ้านใช้ไม้ในการทำจึงได้รูปแบบตามต้องการและทนทาน
  • ข้อคิดที่ใด้ ผ้าไหมทุกผืนต้องใช้ความประณีต และความอดทนเป็นอย่างสูงเพราะผ้าแต่ละผืนนั้นทอด้วยมือจึงต้องใช้เวลานาน ข้อคิดคือ การทำสิ่งได้ให้ประสบผลสำเร็จจะต้องใช้ความอดทน และความพิถีพิถันจึงจะได้ชิ้นงานที่สวยงามตามต้องการ 
นายนพพร ประภากรเลิศวุฒิ

พวกเราจัดทำเว็ปไซต์เกี่ยวกับผ้าทอบ้านโคกหม้อ www.geocities.com/partor6

การสืบค้นข้อมูล เราได้ไปสอบถามจากผู้มีความรู้ทางด้านผ้าทอจากสถานที่จริงและหาจากอินเตอร์ในบ้างส่วน

อุปสรรคจากในการทำงานการทำงานคือแหล่งข้อมูลของเราอยู่ห่างไกลมากเราจึงรวมตัวกันกับกลุ่มอื่นไปหาข้อมูลพร้อมกัน


ขัอคิดที่ได้จากการทำงานครั้งนี้ ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

นายณัฐวุฒิ ธนวิทยากร

กระผมได้ศึกษาในหัวข้อ "ผ้าทอบ้านโคกหม้อ" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจ ผมได้คึกษาจากทาง WebSite และจากสถานที่จริงจึงได้ความรู้เกี่ยวกับบ้านโคกหม้อและการทอผ้าของบ้านโคกหม้อสามารถเข้าไปศึกษาได้ใน www.geocities.com/silk_uthai 

  • ปัญหาที่เกิดจากการจัดทำ WebSite นี้คือการอับโหลดที่นานมากและในบางครั้งก็อับโหลดไม่สำเร็จจึงทำให้การอับโหลดล่าช้า
  • วิธีการแก้ไขคือ อับโหลดทีละน้อยๆและในเวลาอับโหลดไม่ควรเปิด WebSite อื่นใปด้วยเพราะจะทำให้ความเร็ว net ช้าลง ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้การอับโหลดไม่สำเร็จ
  • ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การใช้เครื่องมือที่ผลิตโดยชาวบ้าน เช่น กระสวย ซื้อชาวบ้านใช้ไม้ในการทำจึงได้รูปแบบตามต้องการและทนทาน
  • ข้อคิดที่ใด้ ผ้าไหมทุกผืนต้องใช้ความประณีต และความอดทนเป็นอย่างสูงเพราะผ้าแต่ละผืนนั้นทอด้วยมือจึงต้องใช้เวลานาน ข้อคิดคือ การทำสิ่งได้ให้ประสบผลสำเร็จจะต้องใช้ความอดทน และความพิถีพิถันจึงจะได้ชิ้นงานที่สวยงามตามต้องการ
นายวีระสิทธิ์ บุญเอนก

สวัสดีครับ  วันนี้ผมนายวีระสิทธิ์  บุญเอนก เเละนางสาว  ภัทรานุช  ฟักกิ่ม  URLของพวกเราคือwww.geocities.com/kanom_kong2005   เราทำโครงงานร่วมกันจากการเรียนโปรแกรมต่างๆตามที่ครูจงรัก  เทศนาสอน  ซึ่งเราได้เลือกทำโครงงานขนมกง  เราได้ศึกษาข้อมูลมาจากเว็บไซต์และจากสถานที่จริงที่บ้านคุณศิริณี  สิมมารับ  ในเว็บไซต์ของข้าพเจ้าประกอบไปด้วยวิธีการทำขนมกง และประวัติความเป็นมาของขนมกง สิ่งที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์คือ ได้ฝึกใช้โปรแกรมต่างๆเป็นและสามารถสร้างเว็บไซต์เองได้และได้ผลงานส่ง ครูจงรัก เทศนา

  ปัญหาและอุปสรรค์คือสมาชิกในกล่มมีเวลาไม่ตรงกันและสถานที่ไปสัมภาษณ์ ไม่เคยไปมาก่อน

 ข้อคิดที่ได้จากการทำงานความสามัคคีทำให้งานสำเร็จและความรับผิดชอบทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

นางสาวกาญจนา เกษตรกิจการ

สวัสดีค่ะ!! ทุกท่านที่อ่าน
ดิฉันนางสาวกาญจนา  เกษตรกิจการ  นางสาวเคียงขวัญ  สุกรณ์  และนายปัณณวัฒน์  เทศนา  ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซด์  "กรรไกรตัดกิ่ง"  ซึ่งมี URL ดังนี้  www.geocities.com/kankrai_2005

การรวบรวมข้อมูล   เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง สอบถามจากผู้เป็นเจ้าของและผู้ริเริ่มทำผลิตภัณฑ์  ดิฉันมีหน้าที่สอบถามประวัติความเป็นมา  น.ส.เคียงขวัญเป็นผู้ถ่ายภาพและนายปัณณวัฒน์เป็นผู้สอบถามเกี่ยวกับวิธีการทำและวัสดุอุปกรณ์

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์  ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  และใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซด์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการทำกรรไกรตัดกิ่งมากขึ้น  รู้ถึงประวติความเป็นมา และรู้ถึงเทคนิคต่างๆในการทำกรรไกรตัดกิ่ง

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน  คือ  การ Upload ไม่สำเร็จเนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบ

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรตั้งใจทำและมีความรอบคอบ  งานนั้นก็จะประสบความสำเร็จ

น.ส.สุฑามส บุญเนียม

สวัสดีค่ะทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวสุฑามาศ บุญเนียมและนางสาวสุพัตรา คล้ายชู

ได้ร่วมกันจัดทําเว็บไซต์"เครื่องจักสาน"ซึ่งมี URL ดังนี้

http:2//www.geocities.com/jaksan191

ดิฉันน.ส.สุจิรา ประสม และ น.ส.อนุพร เวชมนัส ได้จัดทำโครงงานเว็บไซต์เรื่อง ผ้าทอกี่ URL คือ www.geocities.com/torkee2005

  เราได้จัดทำเรื่องผ้าทอกี่ขึ้นและได้ศึกษาจากเว็บไซต์สอบถามมาจากผู้ที่ให้ข้อมูล ซึ่งก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องผ้าทอกี่ของ ต.ไผ่เขียว  ดิฉันได้รวบรวมข้อมูลลงในโปรแกรม Dreamweaver ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมต่อกับอิเตอร์เน็ต และได้ใช้สีสันใส่ไปเพื่อความสวยงาม  และได้เสนอส่งอาจารย์จงรัก เทศนา ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ link ข้อมูล การจัดรูปแบบ การตกแต่ง  

  การที่ได้ทำโครงงานเว็บไซต์ทำให้รู้โปรแกรมที่ไม่เคยเรียน การ upload การสร้างเว็บไซต์ซึ่งเป็นประโยชน์มาก 

 

นายเทียนชัย วชระพันธ์

หวัดดีคับ........หวัดดีทุกๆคนที่อ่าน                                 ตั้งเเต่ผมเรียนมาผมรู้สึกภูมิใจกับผลงานของตัวเองที่ได้ทำเเละสิ่งที่ขาดไม่ได้จนงานนี้ที่สำเร็จได้ก็เพราะ                        นางสาวเสาวลักษณ์  เเก้วโกมล ที่ช่วยเเนะนำเเละคอยย้ำ     อยู่ตลอดเวลา เเละผมก็ยังได้รู้ถึงวิธีการทำของผ้าทอโคกม้อ   ที่ได้จากการหาเว็บไซต์เเละได้ถ่ายถามจากชาวบ้านที่รู้ถึงวิธีการทำถึงอย่างไรถ้าทุกๆคนอยากรู้ถึงประวัติความเป็นมา เเละ วิธีการทำไปที่ http://www.geocities.com/torkee 2006 น๊ะครับ

น.ส.สุฑามาศ บุญเนียม
สวัสดีค่ะทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวสุฑามาศ บุญเนียมและนางสาวสุพัตรา คล้ายชู

ได้ร่วมกันจัดทําเว็บไซต์"เครื่องจักสาน"ซึ่งมี URL ดังนี้

http://www.geocities.com/jaksan191

วัชรินทร์ ภาชนะปรีดา
สวัสดีครับ ชาวคณะทั้งหลาย ผมนายวัชรินทร์  ภาชนะปรีดา ม. 6/5 เลขที่ 8 และนายมณฑล สายจีน ม. 6/5 เลขที่ 7   ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง (+_+)ปลาแรด(+_+)

www.gotoknow.org/uthaiwisdom

 

 ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์และสอบถามจากสถานที่จริงในการเลี้ยงปลาแรด และได้จดบันทึกขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียด  และปฏิบัติจริงพร้อมทั้งถ่ายรูปเก็บรวบรวม

(ในกระบวนการจัดทำเว็บไซต์)
...เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver พิมพ์ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดลงไป  และก็ทำการ Link
...ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com
และก็ไปตั้งชื่อในเว็บไซต์ และก็นำข้อมูลมา Upload

(ผลที่ได้รับจาการทำเว็บไซต์) คือได้รู้วิธีการต่างๆ จากการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนทำอย่างไร เทคนิคในการทำมีอย่างไร  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

(ปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ)คือปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดบ่อยและอาจเกิดกับทุกกลุ่มคือการ  Upload  ข้อมูลคือรูปและBackground ไม่ขึ้น
ในการแก้ไขต้องเปลี่ยนนามสกุลของรูปและBackgroudและLinkใหม่อีกครั้งและก็Uploadใหม่อีกครั้งจึงจะได้

(ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น)

..รู้จักมีความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมายมากขึ้นกว่าเดิม
..เกิดความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น

สวัสดีค่ะ!!ทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวอนุพร  เวชมนัส  นางสาวสุจิรา  ประสม  ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซด์ " ผ้าทอกี่พื้นเมือง "ซึ่งมี URL ดังนี้  www.com/torkee2005geocities.

การรวบรวมข้อมูล   เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง  ดิฉันได้ไปสอบถามจากคนที่เคยทำมานาน  และสุจิราเป็นผู้เขียนบันทึกส่งอาจารย์

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์    ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  และใช้โปรแกรม  Photoshop  ในการตกแต่งภาพและหัวข้อให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซด์ คือ ทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับผ้าทอมากขึ้น  รู้ถึงขั้นตอนการทำที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน คือ ข้อมูลหาไม่ค่อยครบและการไปหาข้อมูลยากลำบาก

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การที่คิดจะทำงานอะไรสักอย่างก็ไม่ควรท้อกับงาน

 

สวัสดีครับ อาจารย์ จงรัก เทศนา กระผมนายเอกพงศ์ ปัตถาติและนาย โอภาส อุดมภรมนตรี กระผมทั้งสองคนได้ร่วมกันจัดทำเว็ปไซต์  *มีดช่างทิน* ซึ่งมา URL ดังนี้

www.geocities.com/thinknife

เราทั้ง 2 คนได้รวบรวมข้อมูลทั้งจากทางเว็ปไซต์และจากทางผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการปัจจุบัน รวมเข้าด้วยกันเพื่อทำเว็ปไซต์นี้ขึ้นมา

กระบวนการทำเว็ปไซต์นี้  เราจะต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นโปรแกรมหลัก

ประโยชน์การจัดทำเว็ปไซต์นี้คือ จะได้รู้ถึงกระบวนการ การทำมีดชนิดต่างๆซึ่งบางท่านจะไม่เคยเห็นและคุ้นเคย ซึ่งผมคิดว่าเว็ปไซต์นี้มีประโยชน์ต่อคนที่ได้อ่านชม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยการนำไปประกอบเป็นอาชิพหาเลี้ยงตนได้

นางสาวสุพัตรา คล้ายชู

สวัสดีค่ะ!ทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวสุพัตรา  คล้ายชูและนางสาวสุฑามาศ  บุญเนียม ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซด์ ''เครื่องจักสาน''ซึ่งมี URL ดังนี้ www.geocities.com/jaksan191

การรวบรวมข้อมูล

ค้นหาข้อมูลทางอีเมล์และไปสัมภาษณ์แหล่งความรู้เพิ่มเติม พอได้ข้อมูลครบที่ต้องการก็มารวบรวมไว้ทำเป็นเว็บไซด์

กระบวนการสร้างเว็บไซด์

นำข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์และเรียบเรียงแล้วมาแบ่งเพจ จากนั้นเริ่มสร้างหน้า index ก่อนแล้วค่อยสร้างรายละเอียดปลีก ย่อยให้ครบ ทำหน้า link กับทุกเพจ จากนั้นจึงอับโหลดภาพขึ้นไปใน homepage

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซด์

1.ได้นำเสนอผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ otop เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทั้งหลาย

2.ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม โดยเป็นระบบระเบียบทำให้เกิดการพัฒนาตนเองขึ้น

3.ได้ฝึกฝนและรู้จักการสร้างเว็บไซด์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเอง

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน

1.ตอนแรกไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลที่ไหน แต่พอไปถามอาจารย์ก็รู้

2.ตอนไปสัมภาษณ์แหล่งความรู้จะไม่ค่อยเจอตัวผู้ให้ความรู้ แต่ก็พยายามไปหาบ่อยๆจนเจอและก็ได้ข้อมูลมาครบ

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญาท้องถิ่น

1.ทำให้เรารู้จักทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ

2.ทำให้เรารู้จักคิดอย่างรอบคอบในการทำงานแต่ละครั้ง

3.ทำให้เรามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงานของตนเอง

นายโอภาส อุดมพรมนตรี

สวัดดี! พ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย ทั้งหลาย กระผมนายโอภาส อุดมพรมนตรีและนายเอกพงศ์ ปัตถาติ กระผมทั้งสองคนได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซต์  *มีดช่างทิน* ซึ่งมี URL ดังนี้

www.geocities.com/thinknife

การจัดเก็บข้อมูล  เราทั้งสองคนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำมีดของช่างทินตั้งแต่ประวัติความเป็นมา อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำมีดชนิดต่างๆ

กระบวนการทำของเว็บไซต์นี้  เราจะต้องอาศัยโปรแกรมเกี่ยวกับDreamweaverเป็นโปรแกรมหลัก

ประโยชน์ของการจัดทำเว็บไวซ์นี้ จะทำให้เรารู้ถึงกระบวนการทำมีดชนิดต่างๆซึ่งบ้างท่านอาจจะไม่รู้ถึงขั้นตอนในการทำได่รู้ถึงประโยชน์ของมีดหัวเข็มขัดและมีดชนิดอื่น

ปัญหาและอุปสรรค  จัดหาข้อมูลได้ยากและการทำโปรแกรมต่างๆซึ่งตอนทำใหม่ยังไม่ค่อยใจ

สุดท้ายนี้ กระผมทั้งสองคนหวังว่าข้อมูลบางส่วนจะได้ให้ประโยชน์แก่ท่านที่ได้เข้ามาชม

นางสาวสุชาดา อินทร์พิทักษ์

สวัดดีค่ะ.....เพื่อนๆและทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวสุชาดา  อินทร์พิทักษ์ ได้ทำงานร่วมกับ นางสาวสุชาดา  หร่ายซี  เราทั้งสองคนได้ค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับเว็บไซด์ [ผ้าขาวม้า] ซึ่งมี  URL ดังนี้ หรือเจอกันได้ที่

www.geocities.com/stos1531

การรวบรวมข้อมูล

เราทั้งสองคนได้ไปรวบรวมงานโดยศึกษาจากเว้บไซด์ก่อน หลังจากนั้นก็ได้ไปถามจากผู้เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าขาวม้า  ที่ศูนย์ทอผ้าวัดผาทั่ง อยู่ที่อำเภอ บ้านไร่ ดิฉันเป็นคนถามข้อมูลส่วนเพื่อนเป็นคนเก็บภาพและเก็บรายละเอียดอื่นๆ เช่น  ประวัติ  ผ้าขาวม้าใช้ผ้าชนิดใด  ประโยนช์ต่างๆ

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์

ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดีและใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์จากการทำเว็บไซด์

ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับผ้าขาวม้ามากขึ้น เช่น ผ้าขาวม้าทำมาจากผ้าฝ้าย และวิธีการทำต่างๆ และยังทำให้เราถึงประวัติความเป็นรวมไปถึงประโยชน์ของผ้าขาวม้าอีกด้วย

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

การรวบรวมข้อมูลไม่อยากเท่าไร  แต่จะไปอยากตรงการ Upload เนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบและการตั้งชื่อภาพผิด

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

การที่ได้ทำงานครั้งนี้ได้อะไรที่คิดไม่ถึงหลายอย่าง เช่น ได้รู้ถึงความสามัคคีของเพื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบและรวมไปถึงทำให้เรารู้ถึงนิสัยของเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

 

นายปิยะราช แย้มปั้น

กระผมนายปิยะราช แย้มปั้นได้จัดทำเว็บไซต์ปลาแรด

www.geocities.com/plarad88

การรวบรวมข้อมูล กระผมได้ค้นหาจากเว็บไซต์มาทำเป็นงานส่งอาจารย์ได้จัดทำอย่างตั้งใจมากเป็นเวลาหลายวันกว่าจะสำเร็จได้แต่ก็ไม่ดีเท่าไรนัก

กระบวนการจัดทำเว็บไซต์ ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นขั้นตอนหลักในการดำเนินงานส่งครั้งนี้แต่มีปัญหามากเพราะทำคนเดียวจึงไม่ค่อยทันเพื่อนในห้องแต่ก็สามารถผ่านลุร่วงไปได้ด้วยดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือทำให้เข้าใจการเลี้ยงปลาแรดมากขึ้นได้เฉพาะการขยายพันธุ์ปลาแรด เพื่อในวันข้างหน้าอาจจะได้เป็นนักวิจัยพันธุ์ปลาก็ได้ครับ

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน คือไม่มีเพื่อนช่วยทำงานเลยทำไม่ค่อยทันส่งอาจารย์และเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ทำให้งานไม่เสร็จตามเวลา

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่เราสามารถทำได้นั้นเราต้องคิดและทำเลยไม่ใช่ทิ้งไว้จนใกล้ถึงเวลาส่งแล้วค่อยทำ

ธีรเดช เพียรธัญญกรณ์

ธีรเดช  เพียรธัญญกรณ์ 

สวัสดีครับ ชาวคณะทั้งหลาย ผมนายธีรเดช  เพียรธัญญกรณ์ ม. 6/5 เลขที่ 5 และนายเกรียงศักดิ์ ทองมาก ม. 6/5 เลขที่ 3   ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง (+_+)มัดช่างทิน(+_+)
www.gotoknow.org/meedchangtin



ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์และสอบถามจากสถานที่จริงในการเลี้ยงปลาแรด และได้จดบันทึกขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียด  และปฏิบัติจริงพร้อมทั้งถ่ายรูปเก็บรวบรวม

(ในกระบวนการจัดทำเว็บไซต์)
...เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver พิมพ์ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดลงไป  และก็ทำการ Link
...ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com และก็ไปตั้งชื่อในเว็บไซต์ และก็นำข้อมูลมา Upload

(ผลที่ได้รับจาการทำเว็บไซต์) คือได้รู้วิธีการต่างๆ จากการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนทำอย่างไร เทคนิคในการทำมีอย่างไร  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

(ปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ)คือปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดบ่อยและอาจเกิดกับทุกกลุ่มคือการ  Upload  ข้อมูลคือรูปและBackground ไม่ขึ้น
ในการแก้ไขต้องเปลี่ยนนามสกุลของรูปและBackgroudและLinkใหม่อีกครั้งและก็Uploadใหม่อีกครั้งจึงจะได้

(ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น)

..รู้จักมีความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมายมากขึ้นกว่าเดิม
..เกิดความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น

นางสาวกนกวรรณ จิตตาพินิจมาศกับนางสาวนิษฐา เลิศศุภฤกษ์กุล

สวัสดีค่ะ !! ทุกคน
ดิฉันนางสาวกนกวรรณ จิตตาพินิจมาศและนางสาวนิษฐา เลิศศุภฤกษ์กุล ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซต์เรื่อง "ปลาแรด" มี URL คือ
http://www.geocities.com/fish_thaithani

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง สอบถามจากผู้เป็นเจ้าของและผู้ริเริ่มการเพาะเลี้ยงปลาแรด  ดิฉันมีหน้าที่สอบถามประวัติความเป็นมาและรายละเอียดต่าง ๆ ส่วนน.ส.กนกวรรณเป็นผู้ถ่ายภาพต่าง ๆ

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์  ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  และใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซด์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาดแรดมากขึ้น รู้ถึงประวัติความเป็นมา และรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้ปลาแรดไม่มีกลิ่นคาวและเนื้อนปลาอร่อย

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน คือ  การ Upload ไม่สำเร็จเนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบ

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรจะมีความเป็นระเบียบ ตั้งใจทำงาน และรอบคอบ งานที่ออกมานั้นก็จะสำเร็จไปด้วยดี (",)

นายศิริพงษ์ ปราณีสุทธิกุล

สวัสดีครับ  ผมนายศืริพงษ์  ปราณีสุทธิกุล กลุ่มของผมทำเว็บไซต์  เรื่อง  การกัดลวดลายบนกระจก  มี URL คือ www.geocities.com/uthai_mirror การแบ่งงานของกลุ่มผม โดยแต่ละคนมีหน้าที่เฉพาะอย่าง  เช่นนายธีรพงศ์เป็นช่างภาพ นายวทัญญูทำหน้าที่สัมภาษณ์ นายภาณุพงศ์ทำหน้าที่ออกแบบเว็ป ส่วนผมทำหน้าที่เรียบเรียง และวิเคราะห์ข้อมูล  ความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นี้  คือ  คติและหลักในการทำงานซึ่งผมสามารถนำคติดังกล่าวมาใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน  คือ  การที่เราจะทำงานอะไรนั้นต้องทำอย่างเป็นระบบระเบียบ  งานที่ออกมาจึงจะมีความสมบูรณ์และครอบคลุมที่สุด อีกทั้งเราต้องใส่ใจลงไปในการทำงานอีกด้วย   ความรู้สึกที่ผมได้รับจากการทำโครงงานนี้  คือ  ความภูมิใจที่คนไทยสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว 

 

 

 
นางสาวนภา พิมทอง และนางสาวสิตานัน สีแตง

        สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวนภา พิมทองและนางสาวสิตานัน สีแตง  กลุ่มของดิฉันทำเว็บไซต์เรื่อง ผ้าทอบ้านโคกหม้อ มี URL คือ  www.geocities.com/phatho_uthai การแบ่งงานกลุ่มของดิฉัน คือ นางสาวนภา พิมทอง รวบรวมข้อมูล และ นางสาวสิตานัน สีแตง จัดทำเว็บไซต์   ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นคือหลักในการทำงาน  กล่าวคือคนในอำเภอโคกหม้อนั้นมีการรวมกลุ่มที่ดีมาก มีความสามัคคี ความตรงต่อเวลา ความใส่ใจในการทำงาน ทำให้งานที่ออกมาดีที่สุดและทำให้ผ้าทอบ้านโคกหม้อมีชื่อเสียงมากขึ้น กลุ่มของดิฉันรู้สึกดีใจเป้นอย่างมากที่ได้ไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทำให้ได้รู้ว่าผ้าทอนั้นมีหลากหลายมากและแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นการหารายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอีกด้วย

          ปล.ขอเชิญเพื่อนๆแวะชมที่เว็บไซต์ของเราได้น่ะค่ะ

นางสาววันทนี เงินขาว
        สวัสดีค่ะดิฉันนางสาววันทนี เงินขาว ดิฉันได้ทำเว็บไซต์เรื่อง ผ้าทอบ้านโคกหม้อ มี URL คือ www.geocities.com/silk_uthai การแบ่งงานกลุ่มของดิฉันคือ นางสาววันทนี เงินขาว ได้รวบรวมข้อมูล และ นายณัฐวุฒิ ธนวิทยากร ได้จัดทำเว็บไซต์ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ ทำให้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับผ้าทอโคกหม้อมากขึ้นกว่าเดิมและหลักในการทำงานต่างๆ ดิฉันรู้สึกว่าการที่เราได้ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นทำให้เราภูมิใจในฝีมือคนไทยว่าคนไทยฝีมือก็ไม่เเพ้ชาวต่างชาติ 
นางสาวสุวารี ลิ้มอ่อง
        สวัสดีค่ะดิฉันนางสาวสุวารี ลิ้มอ่องค่ะ ดิฉันได้ทำเว็บไซต์เรื่อง เสื่อลำแพนมี URL คือ www.geocities.com/lamphan_0122 งานเว็บไวต์ชิ้นนี้ดิฉันทำเพียงคนเดียวแต่ก็มีเพื่อนที่คอยไปหาข้อมูลเป็นเพื่อนดิฉันซึ่งเพื่อนดิฉันก็ทำเรื่องเดียวกับดิฉันเช่นกันจึงไปหาข้อมูลด้วยกันหลายๆ คนเพราะทางที่ไปค่อนข้างไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่และต้องอาศัยเวลาตอนเย็นหลังเลิกเรียนไปหาข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียงให้เรียบร้อย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเพื่อนไปด้วย ส่วนการหาข้อมูลของดิฉันนั้นจะเป็นการไปถามจากแหล่งข้อมูลจริงเป็นส่วนใหญ่และหาข้อมูลจากเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบ้าง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเว็บไซตืชิ้นนี้ก็คงจะเป็นการรู้จักความรับผิดชอบมากขึ้น  งานชิ้นนี้ทำให้เราได้เห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้านและวิธีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และยังสามารถหารายได้ให้กับตนเองได้อีกด้วย ซึ่งเค้าเป็นคนที่เก่งมาก ในเรื่องของอุปสรรคในการทำงามนนั้นคงจะป็นขั้นตอนการ up load มีปัญหาเล็กน้อยแต่ก็แก้ไขไปได้ด้วยดีค่ะ...
น.ส.บงกช สุริยกานต์

สวัสดีค่ะ....เพื่อนชาว  ม.6

ดิฉัน น.ส.บงกช  สุริยกานต์  ชั้น ม.6/3  เลขที่  31

ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเรื่อง  ธูปหอมทองตะนาว

มี URL ดังนี้ www.geocities.com/thongtanow1

การแบ่งหน้าที่ในการทำงานมีดังต่อไปนี้

ตัวดิฉันเองจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและลายละเอียดต่าง ๆ , พิมพ์ข้อมูลต่างลงใน Dreamweaver , ขอURL , up load รูปภาพและข้อมูลลงในเว็บไซต์

ส่วน น.ส.ทักษพร  รัศมี จะมีหน้าที่นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือ ความอดทนในการทำงาน รู้จักการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย

ปัญหาและอุปสรรคคือ การเก็บลายละเอียดต่างของข้อมูลยังไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร เพราะ เก็บข้อมูลคนเดียวและปัญหาอีกอย่างก็คือ การ up load ภาพไม่สำเร็จ (ในตอนแรกๆ)

การไปศึกษาข้อมูลด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ในด้านการทำธูป การอบ และ เทคนิดการขายเพิ่มเติม ทำให้เราสามารถนำเทคนิคการขายของ อ.ชาตรี ไปประยุกต์ใช้กับกิจการของดิฉันเองได้อีกด้วย

ความภูมิใจส่วนตัวก็คือ การได้รับมิตรภาพดีๆจากชาวบ้านในระแวกนั้น  และ ต้อนรับเราเป็นอย่างดี อยากทราบข้อมูลอะไรเค้าก็จะบอกเราอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่พวกเค้าจะทำได้

ดิฉันขอขอบคุณ อาจารย์จงรัก ที่ทำให้ดิฉันมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำให้ดิฉันมีความภูมิใจมาก จากที่ไม่ค่อยรับผิดชอบงานสักเท่าไร  เดี๋ยวนี้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น

                                           ขอบคุณค่ะ

นายจตุรงค์ นิธุรัมย์

ผมคิดว่าการทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องปลาแรดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาก ผมได้ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่ผมและเพื่อนได้ทำเป็นการช่วยส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดของอุทัยธานีให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เว็บไซต์ของผมอาจไม่ดีมาก ผมเองจะปรับปรุงข้อมูลของเว็บไซต์ให้ดีและมีประโยชน์มากกว่าเดิม URL http://www.geocities.com/cyclone313

น.ส.สุกัญญา กลำเจริญ

สวัดดีค่ะ...ทุกท่านที่อ่าน

ดิฉันนางสาวสุกัญญา กล่ำเจริญ และนายอรรถพงษ์ นันทาพจน์  ได้ร่วมกันทำเว็บไซต์ "ปลาแรด"ซึ่งมี URLดังนี   http://www.geocities.com/mio1542

การรวบรวมข้อมูล  เราได้ไปหาข้อมูลจากสถานที่จริง และเราก็ได้ไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเดิมอีก และเราสองคนก็ได้มีงานทำเหมือนกัน คือช่วยกันทำ 

ประโยชน์ที่ได้จากการทำงาน  ทำให้เราได้ทำงานกันเป็นกลุ่ม และได้รู้เรื่องการเลี้ยงปลาแรด ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุทัยธานี

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน  บ้านอยู่ไกลกันและไม่ค่อยมีเวลาตรงกัน

น.ส.ศิริพร แกล้วการไร่

ดิฉันได้จัดทำwebsite เรื่องสับปะรดกวนที่มี URL คือhttp://www.geocities.com/pineapple_mix/ ซึ่งได้ไปสืบค้นข้อมูลจากสถานที่จริงที่อำเภอบ้านไร่ ได้สัมภาษณ์จากกลุ่มแม่บ้านโดยตรง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มารวบรวมกันจัดทำเป็น website  เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้จักผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้นจากการทำงาน ทำให้ดิฉันได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันคือยึดหลักความขยันหมั่นเพรียรความอดทน เพื่อก้าวหน้าในอนาคตและมีความรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนรวมในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์สับปะรดกวนของจังหวัดอุทัยธานีให้ผู้อื่นได้ทราบ

นางสาวกนกพร ลิ้มอ่อง

หลังจากที่ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์เรื่องข้าวเกรียบว่าว ดิฉันมีความรู้สึกว่าในการทำที่จะทำงานอะไรนั้นจะต้องมีความร่วมมือกันทำภายในกลุ่มอย่างเต็มที่งานที่ออกมาถึงจะเสร็จสมบูรณ์ได้ ต้องใช้ความพยายาม ไม่เกี่ยงงานกันทำ อย่างกลุ่มของดิฉันจะมีปัญหาตรงที่สมาชิกในกลุ่มไม่สามารถมาช่วยกันทำงานพร้อมกันได้ งานของเราจึงมักจะล่าช้าไปบ้าง แต่มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้และนำไปปรับปรุงในงานต่อไป ส่วนในเรื่องผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวนั้นเราก็ได้ไปหาข้อมูลจากสถานที่จริง เราจึงได้รู้วิธีการทำอย่างละเอียด ซึ่งถ้าเราไม่ได้ทำโครงงานนี้เราก็คงไม่ได้รู้ว่าข้าวเกรียบว่าวมีวิธีในการทำอะไร คงได้แต่เพียงรู้ว่าเป็นขนมชนิดหนึ่งเท่านั้น และในการทำโครงงานนี้ดิฉันยังได้เรียนรู้วิธีการสร้างเว็บไซต์ เกี่ยวกับการขอ URL ต่างๆด้วย ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่มีเว็บไซต์ที่ได้ทำขึ้นเอง เพื่อให้ผู้อื่นได้มาเยี่ยมชม ว่าจังหวัดอุทัยธานีของเราก็มีของดีที่ขึ้นชื่อมากมาย

ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ให้ข้อมูลกับพวกเราและขอบคุณอาจารย์จงรักที่คอยแนะนำพวกเราด้วย

อ้อลืมบอก URLสำคัญไป www.geocities.com/khawkearbwow

นางสาวกนกพร ลิ้มอ่อง

หลังจากที่ดิฉันได้จัดทำเว็บไซต์เรื่องข้าวเกรียบว่าว ดิฉันมีความรู้สึกว่าในการทำที่จะทำงานอะไรนั้นจะต้องมีความร่วมมือกันทำภายในกลุ่มอย่างเต็มที่งานที่ออกมาถึงจะเสร็จสมบูรณ์ได้ ต้องใช้ความพยายาม ไม่เกี่ยงงานกันทำ อย่างกลุ่มของดิฉันจะมีปัญหาตรงที่สมาชิกในกลุ่มไม่สามารถมาช่วยกันทำงานพร้อมกันได้ งานของเราจึงมักจะล่าช้าไปบ้าง แต่มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้และนำไปปรับปรุงในงานต่อไป ส่วนในเรื่องผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวนั้นเราก็ได้ไปหาข้อมูลจากสถานที่จริง เราจึงได้รู้วิธีการทำอย่างละเอียด ซึ่งถ้าเราไม่ได้ทำโครงงานนี้เราก็คงไม่ได้รู้ว่าข้าวเกรียบว่าวมีวิธีในการทำอะไร คงได้แต่เพียงรู้ว่าเป็นขนมชนิดหนึ่งเท่านั้น และในการทำโครงงานนี้ดิฉันยังได้เรียนรู้วิธีการสร้างเว็บไซต์ เกี่ยวกับการขอ URL ต่างๆด้วย ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่มีเว็บไซต์ที่ได้ทำขึ้นเอง เพื่อให้ผู้อื่นได้มาเยี่ยมชม ว่าจังหวัดอุทัยธานีของเราก็มีของดีที่ขึ้นชื่อมากมาย

ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ให้ข้อมูลกับพวกเราและขอบคุณอาจารย์จงรักที่คอยแนะนำพวกเราด้วย

อ้อลืมบอก URLสำคัญไป www.geocities.com/khawkearbwow

นายชลธัร์ ตรีโลเกศ

ผมสร้างเว็บไซต์เรื่องมีดจ่าตุ่มโดยมี URL คือ http://www.geocities.com/meeduthai/โดยมีเพื่อนร่วมงาน คือ ผมนายชลธีร์ ตรีโลเกศ และนายภาณุพงศ์ ทองศรี วิธีการทำงานของผมกับเพื่อนก็ช่วยกันรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์บ้างและไปสืบถามข้อมูลจากเจ้าของจริงบ้าง หลังจากนั้นผมก็ได้สร้างเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรม Dreamweaver สร้างเว็บไซต์โดยการสร้าง Homepage 1 หน้าและ Web Page อีก 4 หน้า หลังจากนั้นผมก็นำข้อมูลทั้งหมดมาลิงค์กัน และก็ทำการ Upload ข้อมูลทั้งหมด ก็จะออกมาเป็นเว็บไซด์ที่ผมกับเพื่อนสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะให้เพื่อนๆและคนอื่นๆได้รับรู้ถึงประวัติของมีดจ่าตุ่ม ซึ่งมีวิธีการทำงาน การตีมีด  มีแบบที่ไม่เหมือนใคร ทุกสิ่งทุกอย่างของมีดจ่าตุ่มเป็นคนทำเองด้วยใจซึ่งเป็นเหตุผลที่มีดจ่าตุ่มโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ ส่วนปัญหาที่ผมประสบมาก็คงจะเป็นการนำรูปภาพลงภาพมีขนาดใหญ่ทำให้ load ช้านอกจากนั้นก็ไม่มีอะไรมาก ข้อคิดที่ได้จากการทำงานชิ้นนี้ผมได้เรียนรู้โปรแกรมและการสร้างเว็บไซต์ แต่ประเด็นหลักที่สำคัญผมได้ทราบข้อมูลของจ่าตุ่มและการทำมีดอย่างลึกซึ้ง

นายอภิชัย อ่อนจันทร์

สวัสดีคร๊าบ

ผมได้จัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับขนมกงหนองแก โดยมีเพื่อนร่วมงาน 2 ชีวิตคือ ผมนายอภิชัย  อ่อนจันทร์ และ เพื่อนผมคือนายกิตฐิกรณ์  เครืออ่อน โดยมี URL คือ www.geocities.com/notbenn_kong โดยมีวิธีการทำงานโดย ช่วยกันศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่ผลิตจริงและนำมาเรียบเรียงเป็นถ้อยคำ โดยมีวิธีการทำต่างๆ อยูในเว็บไซต์อย่างละเอีอด โดยถ้าเพื่อนๆสนใจโปรดเปิดดูกันเอาเองนะ เพราะผมกับเพื่อนตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว...ขอบคุณครับ... 

วิธีการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มผมคือ สอบถามจากสถานที่จริง คือ ม.6 ต.หนองแก อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยให้เพื่อนผมไปสอบถามมาเพราะเขาเป็นคนในพื้นที่สอบถามได้ง่าย ส่วนผมนำข้อมูลมาประยุกต์เรียบเรียง และพิมพ์ลงในเว็บไซต์ของผมและเพื่อนและช่วยการจัดหาข้อมูลจากเว็บไซต์อีกทีหนึ่ง

บุคคลในการผลิตคือกลุ่มแม่บ้านม.6ต.หนองแกคือเขาทำกันมานานเขามีความมุ่งมั่นและตั้งใจทำผลิตภัณต์ของหนองแกให้ก้าวหน้าสู่ตลาดสากลด้วย

ความรู้สึกที่มีต่อการทำงานในครั้งนี้คือ ดีใจที่ได้รู้วิธีการทำและรู้วิธีการจัดส่งและบริหารงานให้ขนมกงสู่ตลาดสากลของชาวบ้านหนองแกคับ

นาย กิตฐิกรณ์ เครืออ่อน LiVerPool+_+

ผมได้จัดทำเว็บไซต์เรื่องขนมกงหนองแก โดยมีเพื่อนร่วมงาน2ชีวิต คือ นายอภิชัย อ่อนจันทร์ และกระผม นายกิตฐิกรณ์ เครืออ่อน  โดยมี URL www.geocities.com/notbenn_kong

วิธีการทำงาน ผมกับเพื่อนได้ค้นคว้าข้อมูลจากเว็บไซต์และได้ไปศึกษาข้อมูลจากเจ้าของที่ทำบ้าง ที่ ม.6 ต.หนอกแก  ก็เลยได้รายละเอียดมาสมควร หลังจากนั้นผมได้สร้างเว็บโดยใช้โปรแกรม Dreamweaver  จนเกิดเป็นเว็บไซต์ของผมกับเพื่อนขึ้นมา ความรู้ที่ได้นั้นทำให้ผมกับเพื่อนได้รู้วิธีการทำขนมกงว่าเป็นอย่างไร (แต่ขอบอกว่า "อร่อยมากๆๆๆ") และทำให้ผมได้รู้ประวัติความเป็นมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง และช่วยให้เราได้นำความรู้มาบอกกับเพื่อนที่ยังไม่รู้    

ประโยชน์คือ ได้รู้จักความรับผิดชอบต่อการทำงานที่อาจารย์สั่งมาให้ทำ และได้รู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำด้วย

ปัญหาและอุปสรรคคือ Uploadไม่สำเร็จจนทำให้เบื่อหน่ายในการทำ

ข้อคิดคือ ได้มีความรับผิดชอบ และช่วยให้มีความสามัคคีในกลุ่มเราด้วย

สุดท้ายนี้ ผมขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จงบันดาลให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ"สาธุ......................"

อรรถพงษ์ นันทาพจน์

 

เนื่องจากผมนายอรรถพงษ์มีถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้ ๆ แม่น้ำสะแกกรัง  จึงพอมีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาแรดพอสมควรในการจัดทำเว็บไซต์เรื่องปลาแรด โดยมี URL คือ http://www.geocities.com/mio1542

เลยได้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากชาวแพที่ได้มีการเลี้ยงปลาแรดและก็ได้รับความกรุณาจากคุณลุงสัก  ผมขอใช้คำแทนตัวผมเองว่าพวกเรา  พวกเราได้ไปขอดูปลาที่คุณลุงเลี้ยงไว้ซึ่งก็มีปลาหลายขนาดและอีกแหล่งข้อมูลที่พวกเราได้เก็บรวบรวมข้อมูลคือในอินเตอร์เน็ทข้อมูลใดที่น่าสนใจเราก็นำมาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของเรา ประโยชน์ที่ได้จากการทำงานคือฝึกความสามารถของตนเองพัฒนาความรู้ทางการเรียนคอมพิวเตอร์และความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาแรดไปในตัวด้วยใครจะรู้วันหนึ่งผมอาจจะไปเลี้ยงปลาก็ได้

นางสาวสุชาดา หร่ายซี

สวัสดีค่ะ

ดิฉันนางสาวสุชาดา  หร่ายซีและนางสาวสุชาดา  อินทร์พิทักษ์ ได้ทำโครงงานเว็บไซต์เรื่อง ผ้าขาวม้า  มี URL ชื่อ www.geocities.com/stos1531

 การรวบรวมข้อมูล  ได้ศึกษาข้อมูลที่ ต.บ้านผาทั่ง อ. บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ได้จดบันทำขั้นตอนการทำอย่างละเอียด พร้อมมีรูปถ่ายประกอบ

กระบวนการจัดทำเว็บไซต์ -เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver พิมพ์ข้อมูล รูปภาพทั้งหมดลงไป แล้วทำการ Link

-ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com แล้วตั้งชื่อเว็บไซต์ หลังจากนั้นก็นำขัอมูลมา Upload

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์  คือได้รู้วิธีต่าง ๆ จากการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง และรู้เทคนิคมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตปรจำวันได้

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน คือ Upload ไม่สำเร็จเนื่องจากข้อมูลไม่เรียบร้อย

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความสามัคคีกันในกลุ่ม และความตั้งใจทำงานให้ผลงานออกมาเรียบร้อย

เกรียงศักดิ์ ทองมาก
  • สวัสดีครับ
ผม นายเกรียงศักดิ์ ทองมากและนายธีรเดช  เพียรธัญญกรณ์พวก เรานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5  โรงเรียนอุทัยวิทยาคม  จังหวัดอุทัยธานี 
ได้ช่วยกันทำโคงงานมิดช่างทินขึ้นมา  URLของผมคือhttp://www.geocities.com/meedchangtin/

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง และข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม เราสองคนมีหน้าที่เหมือนกันคือ ช่วยกันหาและดำเนินงาน

กระบวนการจัดทำเป็นเว็บไซต์ ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับมิดช่างทินมากขึ้น ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน ส่วนใหญ่จะพบกับปัญหาข้อมูล เพราะข้อมูลที่ได้มามีน้อย และไม่ค่อยมีเวลาทำงาน

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น  การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรทำให้ดีที่สุดและตั้งใจทำ เพราะถ้าประสบความสำเร็จแล้ว จะเกิดความภูมิใจ

วาเลนไทม์ ฉิมพาลี เมื่อ พ. 16 พ.ย. 14:44:41 2005 เขียนว่า:

  ดิฉัน น.ส วาเลนไทม์ ฉิมพาลี และ น.ส กาญจนา ฟักเขียว ได้จัดทำโครงงานเว็บไชต์เรื่อง ปลาแรด โดยขอ URL คือ www.geocities.com/fishthai และได้ไปสอบถามข้อมูลจากผู้เลี้ยงปลาแรด ดิฉันกับเพือนได้ช่วยกันค้นหาข้อมูลได้นำรูปและข้อมูลที่ศึกษามาสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Dreamweaver ช่วยกันพิมพ์โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างขัดเจน ร่วมมือกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์คือ ทำให้มีความรู้ในสิ่งที่จัดทำและสามารถนำเสนอได้ในอินเทอร์เน็ต เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะด้วย

ปัญหาในการทำงานคือ หาแหล่งข้อมูลยาก บ้านเพื่อนอยู่ห่างไกลกัน ข้อมูลไม่ครบถ้วน 

ข้อคิดที่ได้จากการทำงาน  รู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีก็มีดีเหมือนที่อื่น ได้รับความรู้เกี่ยวกับปลาแรด

กระผมนาย ดิษพล  วัฒนธัญกรรม,นาย ชัยรัต ลิขิตวศินพงษ์ และ นาย ชวลิต วันทายนต์ ได้สร้าง Website เรื่องปลาเเรด ซึงมีความสนใจเป็นอย่างมากที่ได้ศึกษาเรื่องปลาเเรดในจังหวัดอุทัยธานี URLของพวกเราคือ http://www.geocities.com/disaponza โดยได้ทำการไปศึกษาด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นสถานที่จริง หรือ ศึกษาหาความรู้ทาง Internet เเละได้สร้าง Homepage ด้วยตนเองโดยมีการเเบ่งการทำงานดังนี้
1.การสืบหาข้อมูลทางinternet ทำร่วมกัน
2.การรวบรวมข้อมูล ทำโดย นาย ชัยรัต
3.การทำHomePage ทำโดยนายดิษพล

4.การสรุร่วมกันปงาน โดยทำ

5.ไปศึกษาสถานที่จริงร่วมกัน
การที่ได้ทำรายงานเรื่องปลาเเรดนี้ทำให้เราได้รู้ว่าปลาเเรดมีการวิวัฒนาการอย่างไรเเละต้องมีการเลี้ยงดูอย่างไรถึงจะจำหน่ายให้ได้กำไรดี โดยการที่ได้ทำการรวบรวมภาพในครั้งนี้ อยากบอกว่าทำได้ยากมากเพราะว่าภาพเเต่ละภาพเป็นภาพที่ถ่ายยากมากๆ เพราะว่ากว่าจะให้อาหารเเละกว่าจะถ่ายได้ปลาเเรดก็ทำเอาเหนื่อยอยู่เหมือนกัน เเต่ถึงอย่างไรงานนี้ก็ไม่ได้จบอยู่เเค่นี้ยังจะต้องมีการ up ไปเรื่อยๆโดยจะพัฒนาต่อไป ... ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

       การทํางานครั้งนี้ทําให้ผมรู้ว่าการที่จะทํางานกลุ่มต้องใช้ความสามัคคี ระหว่างเพื่อนในกลุ่ม

ขอบคุณเพื่อนอู๋ ชัยรัต ที่ทําให้งานนี้สําเร๊จด้วยกันน่ะ

 

นายอรรถพล รุกขชาติ

สวัสดีครับอาจารย์จงรัก  เทศนา

ผมนายอรรถพล  รุกขชาติ  ม.6/2  เลขที่...14
และนางสาววริษา  สุทัศน์ ม.6/2 เลขที่...30
 ได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่อง ...ปลาแรด.. มี URL คือ
http://www.geocities.com/fish_rad/  ได้รวบรวมข้อมูลจากการค้นหาในเว็บไซต์และสอบถามจากสถานที่จริงในการเลี้ยงปลาแรดจากนางสุภาวรรณ  สอนประจักษ์ชัย  และได้จดบันทึกขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียด  และปฏิบัติจริงพร้อมทั้งถ่ายรูปเก็บรวบรวม

ในกระบวนการจัดทำเว็บไซต์
...เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver พิมพ์ข้อมูลและลงรูปภาพทั้งหมดลงไป  และก็ทำการ Link เชื่อมโยงไปมา
...ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com  และก็ไปตั้งชื่อในเว็บไซต์ และก็นำข้อมูลมา Upload

ผลที่ได้รับจาการทำเว็บไซต์ คือได้รู้วิธีการต่างๆ จากการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนทำอย่างไร เทคนิคในการทำมีอย่างไร  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

ปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ คือปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดบ่อยและอาจเกิดกับทุกกลุ่มคือการ  Upload  ข้อมูลคือรูปและBackground ไม่ขึ้น
ในการแก้ไขต้องเปลี่ยนชื่อรูปเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็ก และ
นามสกุลของรูปและBackgroudเป็น .jpg และLinkใหม่อีกครั้งและก็Uploadใหม่อีกครั้งจึงจะได้

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
-รู้จักมีความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมายมากขึ้นกว่าเดิม
-เกิดความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น

..ยังไงก็ขอฝากเว็บไซต์ของกระผมไว้ให้เพื่อนๆเปิดเข้าไปชมบ้างนะครับ

นายธเนศ สารพัฒน์ ม.6/2

ข้าพเจ้านายธเนศ สารพัฒน์  น.ส. ลักขณา บรรณวัฒน์ และ น.ส.วีราญา  รักวรนิต  จัดทำเว็บ www.geocities.com/kanom_kanom222 การรวบรวมข้อมูลศึกษามาจากเว็บรุ่นพี่ปีการศึกษาที่ผ่านมาและสอบถามข้อมูลจากทางร้านโดยตรง     การจัดทำเว็บจะนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงความสำคัญของเรื่องจากข้อมูลที่สำคัญที่สุดไปหาน้อยที่สุดจากนั้นนำมาจัดทำเป็นหน้าเพื่อจะทำการ lineและขอพื้นที่เว็บไซด์    ผลที่ได้รับทำให้เรียนรู้นิสัยเพื่อนบางคนในกลุ่มและวิธีการทำงานกลุ่มเพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด          ปัญหาและอุปสรรค์เวลาวางไม่ตรงกัน บ้านอยู่ไกลกัน    ข้อคิดที่ได้รับ ไม่ว่าเราจะเป็นใครแต่ถ้าเรามีความตั้งใจจริงไม่ว่าจะมีอุปสรรคมากมายเพียงใดงานนั้นย่อมสำเร็จไปได้ด้วยดีและสวยงาม

นางสาวเสาวลักษณ์ เเก้วโกมล

สวัสดีค่ะ  อาจารย์จงรัก  เทศนา

  • ดิฉันนางสาวเสาวลักษณ์   เเก้วโกมล ม.6/5 เเละนายเทียนชัย    วชรพันธ์   ม.6/5                                   
  • ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง  ผ้าทอโคกหม้อ  มี URL คือ  www.geocities.com/torkee2006   ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์  ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเเละรูปภาพต่างๆ
  • กระบวนการจัดทำเว็บไซต์  ไดเข้าไปในโปรเเกรม  Dreamweaver  พิมพ์ข้อมูลเเละลงรูปภาพทั้งหมดลงไปเเละทำการ Link เชื่อมโยงไปมา  ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่  www.geocities.com  ไปตั้งชื่อที่เว็บไซต์เเล้วก็นำข้อมูลมา  Upload
  • ผลที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์  คือได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  มีเทคนิคการทำอย่างไรเเละสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ปัญหาเเละอุปสรรค  คือการ Upload ทั้งรูปเเละข้อมูลไม่ขึ้น  ข้อมูลมีน้อย  รูปภาพประกอบหายากเเละใช้เวลาการทำมาก
  • ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำงานทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีความอดทน  ความพยายาม  ความตั้งใจจริง  ความมุ่งมั้น  เเละความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น
  • สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากเว็บไซต์ของดิฉันไว้ให้ทุกๆคนได้เข้ามาชมด้วยนะคะ

                                     

 

นางสาวขนิษฐา ประกอบปราณ

  สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวขนิษฐา และเพื่อนอีก2คนคือ นาย อิสริยะ  โตวิวัฒน์  และ นางสาววราภรณ์  ทองเปี่ยม  เราทั้ง3คน ช่วยกันเริ่มตั้งแต่ศึกษาข้อมูลจาก Internet หาที่อยู่ ชื่อผู้ผลิตผู้คิดค้น จนสามารถไปศึกษาจากสถานที่จริงได้ สถานที่อยู่ในตัวจังหวัดซึ่งก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะไปเจาะลงข้อมูลมา หลังจากนั้นเราก็มาแบ่งหน้าที่กัน รวบรวมรูป รวบรวมข้อมูล  และก็เอามาสร้างเป็นเว๊บไซต์ จากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX2004 จากนั้นก้อขอ URL คือwww.geocities.com/thuptom_uthai05 แล้วก็เริ่มทำการ Upload ขึ้นเป็นเว๊บไซต์

ความรู้สึกที่มีต่องานที่ทำก็รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมสืบสานสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีให้คงอยู่ต่อไป และเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะศึกษาและมาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุทัยธานีได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ สินค้า ที่เหมาะจะเป็นของฝากให้กับคนที่คุณรักในวาระต่างๆได้ค่ะ เราทั้ง 3 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว๊บไซด์ที่เราทำขึ้นจะมีประโยชน์กับท่านอย่างมาก ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

                                                     สวัสดีค่ะ

น.ส.พัชรี มณีจันทร์

สวัสดีค่ะ พวกเรากลุ่มโครงงานปราแรด URL คือ www.geocities.com/pharrad_2005 มีสมาชิกดังนี้

1.น.ส.กฤตินี ไตรพิบูลย์สุข (กวาง)

2.น.ส.พัชรี   มณีจันทร์(โหน่ง)

3.น.ส.มาริษา  ม่วงสกุล(โบว์)

ซึ่งพวกเราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลและสอบถามผู้ที่เลี้ยงปลาแรดและดูสถานที่การเลี้ยงจริงและเปิดเว็บควบคู่กับการศึกษาและหนังสือเพิ่มเติมและก็เอามาสร้างเป็นเว๊บไซต์ จากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX2004 

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความสามัคคีกันในกลุ่ม และความตั้งใจทำงานให้ผลงานออกมาเรียบร้อย

     สวัสดีค่ะ  กลุ่มของเราจัดทำโครงงานเรื่อง  แม่ป่วยลั้ง ซึ่งมีURLดังนี้ www.geocities/mapuaylang_uthai2005

สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย

         1 น.ส.อารี  ชื่นเรือง ม.6/3  เลขที่44

         2 น.ส.พุทธิดา  อ่อนหลำ ม6/3

   กลุ่มของเราได้ศึกษาสอบถามและรวบรวมข้อมูลเรื่องแม่ป่วยลั้งแล้วนำมาจัดทำเป็นโครงงานสร้างเป็นเว็บไซต์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจให้ทุกคนได้เข้ามาศึดษาค้นคว้า

   ซึ่งพวกเราได้ตั้งใจทำโครงงานนี้มากและดีใจที่โครงงานของเราสร้างสำเร็จมาได้

สวัสดีครับพวกเรากลุ่มมีดพับ มีสมาชิกดังนี้

1. นายจรัญ  เมืองมั่นม6/3 เลขที่ 3

2. นาย ชวลิต ม่วงแป้น ม6/3 เลขที่ 6

ได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่องมีดพับมี URL คือ

www.geocities.com/med_uthaithani2548

วิธีการรวบรวมข้อมูล

เรารวบรวมข้อมูลโดยการไปสอบถามจากเจ้าของที่ร้านเปี๊ยกโบวี่

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

หลังจากนั้นเราก็นำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมา 

พิมพ์ลงใน Macromedia Dreamweaver MX2004  , ขอURL, up load รูปภาพและข้อมูลลงในเว็บไซต์

ผลที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์

ได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ปัญหาและอุปสรรค

คือการ Upload รูปภาพเเละบางครั้งไม่แสดงผล

การแก้ไขต้องเปลี่ยนชื่อรูปเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็ก และ
นามสกุลของรูปเป็น .jpg แล้ว Linkและ Uploadใหม่อีกครั้งก็จะแสดงผลให้

ความรู้สึกที่มีต่อการทำงาน

เราคิดว่าการทำงานของพวกเรามีขั้นตอนพอใช้ได้เพราะว่าพวกเราได้ไปศึกษาถึงที่ทำงานจริงๆ จึงรู้ว่าการทำงานแต่ละชิ้นต้องใช้ความพยายามอย่างสูง แต่ทุกครั้งที่เราทำงานก็จะต้องมีอุปสรรคและอุปสรรคก็จะช่วยให้งานของเราออกมาดีเพราะถ้าเราคิดที่จะแก้ไขปัญหาก็จะยิ่งทำให้เราค้นคว้าว่าสาเหตุของปัญหาว่าคืออะไรจึงทำให้เรามีความอดทนและเพียรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งจะต้องใช้เวลาซักหน่อยแต่มันก็คุ้ม

สุดท้ายพวกเราขอกล่าวคำว่าสวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ กลุ่มเราจัดทำโครงงานเรื่อง ขนมกง ซึ่งมี URL คือ www.geocities.com/khanoomkong สมาชิกประกอบด้วย     1. น.ส. ดารัตน์  วงธัญกรณ์

2. น.ส.  ปิยนุช   อยู่รอง

กลุ่มเราได้ศึกษาสอบถามหาข้อมูลเรื่องขนมกงแล้วได้มาจัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่สนใจ ให้ทุกคนได้นำไปศึกษาค้นคว้า  และกลู๋มเราก็ได้จัดทำโครงงานนี้สำเร็จได้ไปด้วยดี

นางสาวพนารัตน์ บุญยะคงรัตน์
  • ดิฉันนางสาวพนารัตน์ บุญยะคงรัตน์ เลขที่ 16 และ นายพรเทพ ทรัพย์บริบูรณ์ เลขที่ 8 นักเรียนชั้น ม.6/4   ได้จัดทำเว็ปไซด์นี้ขึ้นมา                 
  • ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง  ธูปหอมมี URL คือ  www.geocities.com/tuphom48   ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์  มีทั้งเนื้อหาเเละรูปภาพต่างๆ
  • กระบวนการจัดทำเว็บไซต์  ได้เข้าไปในโปรเเกรม  Dreamweaver  พิมพ์ข้อมูลเเละลงรูปภาพทั้งหมดลงไปเเละทำการ Link เชื่อมโยงไปมา  ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่  www.geocities.com  ไปตั้งชื่อที่เว็บไซต์เเล้วก็นำข้อมูลมา  Upload
  • ผลที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์  คือได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  มีเทคนิคการทำอย่างไรเเละสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ปัญหาเเละอุปสรรค  คือการ Upload ทั้งรูปเเละข้อมูลไม่ขึ้น  ข้อมูลมีน้อย  รูปภาพประกอบหายากเเละใช้เวลาการทำมาก
  • ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำงานทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีความอดทน  ความพยายาม  ความตั้งใจจริง  ความมุ่งมั้น  เเละความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น
  • สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากเว็บไซต์ของดิฉันไว้ให้ทุกๆคนได้เข้ามาชมด้วยนะคะ
นายพรเทพ ทรัพย์บริบูรฌ์

           สวัสดีครับ ผมนายพรเทพ  ทรัพย์บริบูรฌ์  กลุ่มของผมประกอบดว้ยตัวของกระผมและ น.ส.พนารัตน์  บุญยะคงรัตน์กลุ่มของเราได้ศึกษาเรื่องการทำธูปหอมและจึงนำมาจัดทำเป็นเว็บไซต์ชื่อว่า # www.geocities.com/tuphom48 # เว็บไต์นี้จะ บองถึงแหล่งผลิต,วิธี

ทำ,และที่จำหน่าย
นายพิทักษ์ชัย สมจาย

สวัสดีครับ ผมพิทักษ์ชัย นักเรียนห้อง 2 กลุ่มของผมมีผมและนายสุกฤษฏิ์  เจย์ติภัทรนาท กลุ่มของผมได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาแรดซึ่งเป็นปลาประจำจังหวัดของเรา  และตอนนี้ผมได้ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ของใหม่แล้วซึ่งอันเก่าจะไม่ค่อยสวยงาม แต่อันใหม่นี้หน้าเป็นอย่างก็ให้เพื่อนๆ เข้าชมแล้วก็สามารถติชมได้ครับเพื่อที่จะได้นำมาแก้ไขปรับปรุงภายหน้าอีกครับ ในการปรับปรุงหน้าตาเว็บไซต์ของผมนี้ผมได้ใช้เวลา เกือบ 1 วันเต็ม กว่าจะได้หน้าเว็บไซต์ที่สวยงามนี้ขึ้นมา URL ของผมคือ http://www.geocities.com/uthaifish05  อย่างไรแล้วก็ขอเชิญเพื่อนๆ เข้าไปชมได้ครับ

พิทักษ์ชัย

น.ส.ณัฐธิยา & น.ส.สุพัตรา

สวัสดีทุกคนคะ เรา2คนได้จัดทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องผ้าทอบัวหลวง www.geocities.com/banbualhungcloth  เรา2 คนได้ศึกษข้อมูลจากญาติของดิฉัน(น.ส.ณัฐธิยา)ซึ่งทำอาชีทอผ้า อยู่ที่กลุ่มแม่บ้านผ้าทอบัวหวงที่อำเภอหนองฉาง เรา2คนได้มีโอกาสไปดูการทำงานของกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งการทำงานเป็นไปตามขั้นตอน เรา2คนหวังว่าการทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ต้องการหาความรู้ไม่มากก็น้อย/ว่างๆก็เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เราทั้ง2คนด้วยนะคะ...ขอบคุณค่ะ

            สวัสดีค่ะ ดิฉันน.ส. นิรดา ยังจุ้ย และ น.ส. จีรวรรณ เส็งเต๋ ม.6/4 เราได้จัดทำเว็บไซด์เรื่อง อิฐมอญ ซึ่งเรา 2 คนได้ไปค้นคว้าหาข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ จากสถานที่จริง และค้นหาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรา 2 คนก็ได้รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นเว็บไซด์เพื่อให้เป็นความรู้แก่เพื่อน ๆ นักเรียนอีกทั้งได้บอกถึงตั้งแต่ที่มา อุปกรณ์ ขั้นตอน และวิธีทำ เพื่อได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และสุดท้ายนี้เรา 2 คน หวังว่าเว็บไซด์นี้คงมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อย
น.ส สุจิตรา และ นาถยา 6/4
     สวัสดีคะคุณผู้อ่านทุกๆท่าน

  ดิฉันน.ส สุจิตรา แกล้วเขตการและน.ส นาถยา ชื่นสุวรรณ์

    พวกเราทั้งสองคนเป็นนักเรียนชั้นม.6/4คะ   ดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้รวบรวมข้อมูลการทำ ขนมหน่อไม้ จากคุณป้าจงกล  เส็งแดง มานำเสนอเพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้กับเพื่อนทุกคนที่สนใจกัน

    ในส่วนกระบวนการจัดทำก็อื่นดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้ขอURLคือ www.geocities.com/khamnom13 เพื่อมีพื้นที่ในการupload เว็บไซต์จากอินเตอร์เน็ตแล้วมาสร้างในโปรแกรม Dremweaver มีให้ได้ศึกษามากมายมาให้เรีนยรู้

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ก็คือ การได้ศึกษาผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเราเอง  ปัญหาส่วนใหญ่ในการจัดทำเว็บไซต์ข้อมูลไม่มากพอที่ให้ได้ศึกษาอย่างละเอียดมากนะ รูปถ่ายบางรูปได้มาจากอิเตอร์เน็ตเพราะสถานที่การทำไกลมาก

    ข้อคิดที่ได้ก็จะเป็นการได้เรียนรู้และค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองสุดท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นถ้าข้อมูลอาจจะน้อยเกินไปแต่ก็จะปรับปรังแก้ไขและพ้ฒนาให้ดีขึ้น

น.ส วันวิสา แตงเส็ง และ น.ส อวัศยา บุญศรีกุล
  สวัสดีคะคุณผู้อ่านทุกๆท่าน

  ดิฉันน.ส วันวิสา แตงเส็ง และน.ส อวัศยา บุญศรีกุล

    พวกเราทั้งสองคนเป็นนักเรียนชั้นม.6/4คะ   ดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้รวบรวมข้อมูลการทำ ขนมหน่อไม้ จากคุณป้าจงกล  เส็งแดง มานำเสนอเพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้กับเพื่อนทุกคนที่สนใจกัน

    ในส่วนกระบวนการจัดทำก็อื่นดิฉันและเพื่อนในกลุ่มได้ขอURLคือ www.geocities.com/khamnom13 เพื่อมีพื้นที่ในการupload เว็บไซต์จากอินเตอร์เน็ตแล้วมาสร้างในโปรแกรม Dremweaver มีให้ได้ศึกษามากมายมาให้เรีนยรู้

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ก็คือ การได้ศึกษาผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเราเอง  ปัญหาส่วนใหญ่ในการจัดทำเว็บไซต์ข้อมูลไม่มากพอที่ให้ได้ศึกษาอย่างละเอียดมากนะ รูปถ่ายบางรูปได้มาจากอิเตอร์เน็ตเพราะสถานที่การทำไกลมาก

    ข้อคิดที่ได้ก็จะเป็นการได้เรียนรู้และค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองสุดท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นถ้าข้อมูลอาจจะน้อยเกินไปแต่ก็จะปรับปรังแก้ไขและพ้ฒนาให้ดีขึ้น

จตุรงค์ นิธุรัมย์ ม.6/2

กระผมได้ทำเว็บไซด์เรื่องปลาแรดโดยมีเว็บชื่อว่า www.geocities.com/cyclone393 โดยผมได้ร่วมทำกับเพื่อนในกลุ่มอีก1คน โดยเพือ่นของผมเป็นคนหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของปลาแรดมาให้ผมเป็นคนทำ เราได้ไปที่สถานที่เลี้ยงจริงด้วย ซึ่งเป็นแพเลี้ยงปลาแรดของลุงสมบัติ ที่ขายสายไหมในตลาดจังหวัดอุทัยฯ และได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตด้วย ลุฃงสมบัติบอกว่าแกเลี้ยงมานานแล้วการเลี้ยงต้องเอาใจใส่ดูแลปลาเป็นอย่างดีได้อาหารที่ดี และต้องได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีด้วย ทำให้ผมได้ข้อคิดคือความอดทนและความขยันหมั่นเพียร เว็บไซด์เว็บนี้คงเป็นประโยชน์มากเกี่ยวเก็บภูมิปัญญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

จักรพันธ์ พัฒนศิริ

สวัสดีครับ

จักรพันธ์ พัฒนศิริ
สวัสดีครับผมได้จัดทำเว็บไซด์ปลาแรด ผมคิดว่า การทำเว็บไซด์ในครั้งนี้ทำให้ผมได้ความรู้มากมายเช่นความขยัน อดทน และความตั้งใจในการทำงาน ผมเชื่อว่าทูกคนก็จะได้รรับความรู้มากมายเช่นเดียวกัน
น้ำทิพย์+ธัญวรรณ 6/3

การจัดการความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

1.ข้อคิดหรือคติในการทำงานของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ

ตอบ ขยัน อดทน ประหยัด อดออม มีความรับผิดชอบ

2.นักเรียนควรนำคุณธรรมที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ สามารถนำมาพัฒตนเองทั้งเรื่องการเรียนและอื่น ๆ ได้

3.เทคโนโลยีพื้นฐานหรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน ที่บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการสร้างงาน คือ

ตอบ กระชอน ผ้าขาวบาง ครก สาก

4.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ควรนำมาใช้พัฒนางานอาชีพที่ศึกษา ตามความคิดจิตนาการของนักเรียน คือ

ตอบ เครื่องปั่นน้ำผลไม้ , เครื่องแยกกากของผัก-ผลไม้ , เครื่องทำความสะอาดที่ใส่ผลิตภัณฑ์

5.ถ้านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการในเรื่องที่ศึกษา นักเรียนจะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ตอบ ปรับปรุงและแก้ไขส่วนที่บกพร่อง , พัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม , ดูแลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

นายอิสิยะ โตวิวัฒน์
  •  สวัสดีครับ ผมนายอิสริยะ โตวิวัฒน์ และเพื่อนอีก2คนคือ นางสาวขนิษฐา  ประกอบปราณ  และ นางสาววราภรณ์  ทองเปี่ยม  เราทั้ง3คน ช่วยกันเริ่มตั้งแต่ศึกษาข้อมูลจาก Internet หาที่อยู่ ชื่อผู้ผลิตผู้คิดค้น จนสามารถไปศึกษาจากสถานที่จริงได้ สถานที่อยู่ในตัวจังหวัดซึ่งก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะไปเจาะลงข้อมูลมา หลังจากนั้นเราก็มาแบ่งหน้าที่กัน รวบรวมรูป รวบรวมข้อมูล  และก็เอามาสร้างเป็นเว๊บไซต์ จากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX2004 จากนั้นก้อขอ URL คือwww.geocities.com/thuptom_uthai05 แล้วก็เริ่มทำการ Upload ขึ้นเป็นเว๊บไซต์

ความรู้สึกที่มีต่องานที่ทำก็รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมสืบสานสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีให้คงอยู่ต่อไป และเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะศึกษาและมาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุทัยธานีได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ สินค้า ที่เหมาะจะเป็นของฝากให้กับคนที่คุณรักในวาระต่างๆได้ค่ะ เราทั้ง 3 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว๊บไซด์ที่เราทำขึ้นจะมีประโยชน์กับท่านอย่างมาก ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

                                                     สวัสดีค่ะ

นายอิสิยะ โตวิวัฒน์

นายอิสิยะ โตวิวัฒน์ เมื่อ จ. 30 ม.ค. 10:58:46 2006 เขียนว่า:

  •  สวัสดีครับ ผมนายอิสริยะ โตวิวัฒน์ และเพื่อนอีก2คนคือ นางสาวขนิษฐา  ประกอบปราณ  และ นางสาววราภรณ์  ทองเปี่ยม  เราทั้ง3คน ช่วยกันเริ่มตั้งแต่ศึกษาข้อมูลจาก Internet หาที่อยู่ ชื่อผู้ผลิตผู้คิดค้น จนสามารถไปศึกษาจากสถานที่จริงได้ สถานที่อยู่ในตัวจังหวัดซึ่งก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะไปเจาะลงข้อมูลมา หลังจากนั้นเราก็มาแบ่งหน้าที่กัน รวบรวมรูป รวบรวมข้อมูล  และก็เอามาสร้างเป็นเว๊บไซต์ จากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX2004 จากนั้นก้อขอ URL คือwww.geocities.com/thuptom_uthai05 แล้วก็เริ่มทำการ Upload ขึ้นเป็นเว๊บไซต์

ความรู้สึกที่มีต่องานที่ทำก็รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมสืบสานสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีให้คงอยู่ต่อไป และเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะศึกษาและมาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุทัยธานีได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ สินค้า ที่เหมาะจะเป็นของฝากให้กับคนที่คุณรักในวาระต่างๆได้ครับ เราทั้ง 3 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว๊บไซด์ที่เราทำขึ้นจะมีประโยชน์กับท่านอย่างมาก ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

                                                     สวัสดีครับ

นางสาวกุสุมา นุกูลอุดมพานิชย์

สมาชิกกลุ่มธุปหอมทองตะนาวมี

น.ส.กุสุมา  นุกูลอุดมพานิชย์

น.ส.ภัทราพร  เรืองรัตนอัมพร

 URL: ของเรา www.geocities.com/tubhom_uthaithani

    พวกเราเป็นนักเรียนชั้น ม.6/3  เรามีความเห็นว่า  การทำธูปหอมของเราเป็นภูมิปัญญาของจ.อุทัยธานีอย่างหนึ่ง

ที่เราควรจะศึกษาเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติม  และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษานำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ใครที่สนใจการทำธูป  ก็เข้ามาศึกษาที่ เว็บไซต์  เราได้  ทุก  24  ชม.

 

นายจรัญ เมืองมั่น
สวัสดีครับพวกเรากลุ่มมีดพับ มีสมาชิกดังนี้

1. นายจรัญ  เมืองมั่นม6/3 เลขที่ 3

2. นาย ชวลิต ม่วงแป้น ม6/3 เลขที่ 6

ได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่องมีดพับมี URL คือ

www.geocities.com/med_uthaithani2548

วิธีการรวบรวมข้อมูล

เรารวบรวมข้อมูลโดยการไปสอบถามจากเจ้าของที่ร้านเปี๊ยกโบวี่

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

หลังจากนั้นเราก็นำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมา 

พิมพ์ลงใน Macromedia Dreamweaver MX2004  , ขอURL, up load รูปภาพและข้อมูลลงในเว็บไซต์

ผลที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์

ได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ปัญหาและอุปสรรค

คือการ Upload รูปภาพเเละบางครั้งไม่แสดงผล

การแก้ไขต้องเปลี่ยนชื่อรูปเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็ก และ
นามสกุลของรูปเป็น .jpg แล้ว Linkและ Uploadใหม่อีกครั้งก็จะแสดงผลให้

ความรู้สึกที่มีต่อการทำงาน

เราคิดว่าการทำงานของพวกเรามีขั้นตอนพอใช้ได้เพราะว่าพวกเราได้ไปศึกษาถึงที่ทำงานจริงๆ จึงรู้ว่าการทำงานแต่ละชิ้นต้องใช้ความพยายามอย่างสูง แต่ทุกครั้งที่เราทำงานก็จะต้องมีอุปสรรคและอุปสรรคก็จะช่วยให้งานของเราออกมาดีเพราะถ้าเราคิดที่จะแก้ไขปัญหาก็จะยิ่งทำให้เราค้นคว้าว่าสาเหตุของปัญหาว่าคืออะไรจึงทำให้เรามีความอดทนและเพียรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งจะต้องใช้เวลาซักหน่อยแต่มันก็คุ้ม

 

น.ส.กานต์ชนก ปัทมรัตน์ ม.6/3

สวัสดีท่านผู้ที่ชม ผู้ที่ได้อ่านทุกท่าน ดิฉันและเพื่อนๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ นายวีระพงศ์ คงานม นายศราวุธ รุมรณกาจ น.ส.สาธิยา พันธุยี่ ได้จัดทำเว็บไซต์การทำขนมกง ที่มีชื่อว่า www.geocities.com/kanomkhong_uthaithani

เพื่อที่จะแนะนำขนมกงให้เพื่อนๆ และ ทุกคนได้รู้จักให้มากขึ้น และในการทำครั้งนี้ทำให้ ดิฉันได้มีประสบการณ์ในการทำงานครั้งนี้

นางสาววราภรณ์ ทองเปี่ยม
 สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววราภรณ์ และเพื่อนอีก2คนคือ นาย อิสริยะ  โตวิวัฒน์  และ นางสาวขนิษฐา  ประกอบปราณ เราทั้ง3คน ช่วยกันเริ่มตั้งแต่ศึกษาข้อมูลจาก Internet หาที่อยู่ ชื่อผู้ผลิตผู้คิดค้น จนสามารถไปศึกษาจากสถานที่จริงได้ สถานที่อยู่ในตัวจังหวัดซึ่งก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะไปเจาะลงข้อมูลมา หลังจากนั้นเราก็มาแบ่งหน้าที่กัน รวบรวมรูป รวบรวมข้อมูล  และก็เอามาสร้างเป็นเว๊บไซต์ จากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX2004 จากนั้นก้อขอ URL คือwww.geocities.com/thuptom_uthai05 แล้วก็เริ่มทำการ Upload ขึ้นเป็นเว๊บไซต์

ความรู้สึกที่มีต่องานที่ทำก็รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมสืบสานสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีให้คงอยู่ต่อไป และเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการจะศึกษาและมาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุทัยธานีได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ สินค้า ที่เหมาะจะเป็นของฝากให้กับคนที่คุณรักในวาระต่างๆได้ค่ะ เราทั้ง 3 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว๊บไซด์ที่เราทำขึ้นจะมีประโยชน์กับท่านอย่างมาก ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

                                                     สวัสดีค่ะ

นายศราวุธ รุมรณกาจ ม.6/3
กระผมนายศราวธุ รุมรณกาจ ได้จัดทำเว็บไซต์ขนมกง ชื่อว่า www.geocities.com/kanomkhong_uthaithani เพื่อที่จะเสนอวิธีการทำขนมกง  วัสดุอุปกรณ์ ในการทำและ ประโยชน์ของขนมกง
น.ส. ทิฆัมพร นุ่นงาม

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆที่น่าร๊ากกกกกก ทุกคน

ผม นายบัญชา วงษ์นภาพิศ และ ดิฉัน น.ส.ทิฆัมพร นุ่นงาม

 ได้จัดทำเว็บไซต์ WWW.geocities/herb_2_kl

เรื่อง สมุนไพร วัดหนองหญ้านาง พวกเราไปหาข้อมูลต่างๆมาจาก Internet บ้าง สอบถามจากผู้อื่นที่มีความรู้บ้าง และยังไปศึกษาที่สถานที่จริงอีกด้วย พอได้ข้อมูลครบเราก็ไปถ่ายรูปมาหลายภาพอยู่เหมือนกันแต่ก็หารูปสวยๆแล้วก็เอาลงเว็บให้ดูนี่แหละครับ เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลที่ได้มาพิมพ์ลงในโปรแกรม Dreamweaverตกแต่งให้งามตามใจชอบ แล้วก็ Up load มาเป็นเว็บไซต์นั่นแหละครับ เราได้รับอะไรๆแยะมากจากการทำโครงงานในครั้งนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหานะครับ ปัญหาก็พอมีให้เห็นอยู่บ้างอย่างแรกเลยก็ รูปภาพที่เอาลงบนเว็บไซต์ไม่ยอมโชว์ เราก็ไม่รู้จะทำไงครับ เลยต้องไปถามเพื่อนๆในห้องดูแล้วเพื่อนก็บอกเรา ก็เป็นอันว่าเรามาลองทำใหม่ก็โอเคครับ รูปภาพก็โชว์แล้ว ส่วนต่อมาก็เรื่องของข้อมูลที่มันยังดูน้อยไปนิด พอดีช่วงเวลาที่เราทำเว็บไซต์นี้ตรงกับ กีฬาสี พอดี เลยต้องรีบทำให้เสร็จ เพราะกลัวว่างานจะเสร็จไม่ทันเพื่อนๆในห้องครับ

  ส่วนผลงานชิ้นนี้เราภูมิใจครับมีเรื่องราวมากมายหลายๆเรื่องที่เราไม่เคยรู้เราก็ได้รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นเราก็ได้เห็น ส่วนเรื่องงานเราสองคนก็แบ่งกันทำดีครับ ช่วยกันทำงานดีครับ สุดท้ายเราก็ขอฝากเว็บไซต์ของเราไว้ด้วยนะครับ อย่างไงเพื่อนๆทุกคนก็ลองๆเข้าไปเยี่ยมชมดูนะครับ ดีไม่ดียังไงก็มาบอกได้ครับ ผมจะได้นำคำติชมต่างๆไปแก้ไขเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นครับ

ป.ล.เว็บไซต์นี้คนทำทั้งหล่อทั้งสวย จาติจาชมอารัยกานก็เชิญนะม่ะว่ากานยู๋แย้ววววววว......

น.ส.สาธิยา พันธุยี่ ม.6/3
ดิฉัน มีความคิดที่จะเสนอให้ท่านผู้อ่านที่รักได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ขนมกง ดิฉันเลยได้จัดทำเว็บไซต์ www.geocities.com/kanomkhong_uthaithani  ให้ทุก ๆคนได้ศึกษาเพื่อเป็นความรู้ และ เป็นแนวอาชีพ ต่อไปได้
น.ส.วิรงรอง บำรุงรัตน์
ความรู้สึกที่มีต่องานคือภูมิใจที่ได้มาทำโครงงานนี้เพื่อที่จะได้ช่วยสืบสานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีไว้และยังสามารถทำให้ดิฉันมีความรู้ในการทำธูปหอม
นางสาวน้ำทิพย์ ชวดนุตร์
สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวน้ำทิพย์  ชวดนุตร์และนางสาวธัญวรรณ  ฉลาดธัญกิจ  ช่วยกันเริ่มศึกษาข้อมูลจาก Internet  หาที่อยู่ชื่อผู้ผลิต ที่ตั้งในการผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์  จนสามารถไปศึกษาได้ ถึงแม้ว่าทางร้านเค้าจะปิดกิจการแล้ว  เราทั้ง 2 คนก็ได้แก้ไขสถานการณ์โดยไปซื้อน้ำใบบัวบกมาและถ่ายรูปที่บ้านของข้าพเจ้าเอง  น้ำใบบัวบกนี้ เป็นยารักษาได้แก้กระหายน้ำ เป็นต้น เราทั้ง 2 คนหวังว่า เว็บไซด์ที่ทำนี้  อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย  ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
นายวีระพงศื คงนาม ม.6/3

สวัสดี ! ทุกๆท่านๆที่ได้ อ่าน ได้ชม ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจที่จะเสนอเรื่องของขนมไทย ที่มีชื่อว่าขนมกง ให้ทุก ๆคนได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำอย่างละเอียด  วัสดุ อุปกรณ์ และ แนวคิดในการทำงานเอาไว้ให้ได้ศึกษากัน โดยมีชื่อว่า www.geocities.com/kanomkhong_uthaithani

หวังว่าท่านที่ได้อ่านคงจะได้ความรู้กลับไป ไม่มาก็น้อยนะครับ

นาย วันรัช บัวประดิษฐ์

การจัดการเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.ข้อคิดหรือคติในการทำงานของบุคลที่เป็นภูมิปัญาท้องถิ่น คือ

ตอบ การทำงานอะไรสักอย่าง เราต้องใช้ความอดทนและความพยายามแล้งจะประสบความสำเร็จเอง

2.นักเรียนควรนำภูมิปัญญาท้อถิ่น มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ ในการเรียนหนังสือเราจะต้องใช้ความอดทนและความพยายามในการอ่านหนังสือให้มากๆเพื่อที่จะทำให้เราเรียนหนังสือได้ดี

3.เทคโนโลยีพื้นฐานหรืเทคโนโลยีื้นบ้านที่บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการสร้างงานคือ

ตอบ เตาและถ่านไม้นำมาใช้เผาเหล็ก

4.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ควรนำมาใช้พัฒนางานอาชีพที่ศึกษา ตามความคิดจินตนาการของนักเรียนคือ

ตอบ เครื่องตัดเหล็กอัตโนมัติและเครื่องประกอบชิ้นส่วนกรรไกรเราจะใช้เครื่องจักรในการทำงาน เพียงแต่ให้มนุษย์เป็นคนขาย

5.ถ้านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการที่ศึกษา นักเรียนจะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ตอบ จะจัดตั้งเป็นโรงงานขึ้น แล้วนำแรงงานชาวบ้านเข้ามาทำ และจัดส่งไปตามภูมิภาคและต่างประเทศ

น.ส.น้ำทิพย์ ชวดนุตร์

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวน้ำทิพย์  ชวดนุตร์ และ นางสาวธัญวรรณ  ฉลาดธัญกิจ ได้ศึกษาเรื่อง  www.geocities.com/herble9999 ช่วยกันเริ่มศึกษาข้อมูลจาก Internet  หาที่อยู่ชื่อผู้ผลิต ที่ตั้งในการผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์  จนสามารถไปศึกษาได้ ถึงแม้ว่าทางร้านเค้าจะปิดกิจการแล้ว  เราทั้ง 2 คนก็ได้แก้ไขสถานการณ์โดยไปซื้อน้ำใบบัวบกมาและถ่ายรูปที่บ้านของข้าพเจ้าเอง  น้ำใบบัวบกนี้ เป็นยารักษาได้แก้กระหายน้ำ เป็นต้น เราทั้ง 2 คนหวังว่า เว็บไซด์ที่ทำนี้  อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย  ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

นางสาววรัญศญา บัวทอง

สวัวดีอาจารย์และเพื่อนที่รักทุกคน

ดิฉัน น.ส.วรัญศญา  บัวทอง และ น.ส.ณันญา  คงตัน  ได้จัดทำเว็ปไวต์ URL: www.geocities.com/thongtanow วิธีการเรียนรู้ข้าพเจ้าทั้งสองคนได้ไปศึกษาหาความรู้ถึงสถานที่จริง เปิดดูในinternet เพื่อศึกษาหาความรู้ได้และสามารถที่ได้จากการศึกษามาใช้ในชีวิตประจำวันและผู้ที่สนใจในการทำธูปก็สามารถคลิกเข้ามาดุในเว็ปไซต์ที่กล่าวได้

นายจักรพันธ์ รักธัญการ

พวกเราทีมงานที่จัดทำเว็บไซต์ร้านแม่ป่วยลั้งพวกเราหาข้อมูลมาจากเว็บไซต์ค่ะและพวกเราก็ไปศึกษาสถานที่จริงและประวัติการทำงานของร้านแม่ป่วยลั้งด้วยครับส่วนขั้นตอนการทำเว็บไซต์นั้นกระผมเริ่มจากการสมัครเมล์ก่อนครับขอพื้นที่เอาไว้ก่อนพิมพ์ข้อมูลที่หามาได้ลงในDREAMWEAVER จัดและตกแต่ง  WEP  PAGEให้สวยงามและทำLINKเชื่อมโยงแต่ละหน้าและเปิดไปที่เว็บที่เราขอพื้นที่เอาไว้และก็UP  LOAD   ผลที่ได้รับจากการทำโครงงาน   ได้ข้อมูลที่มากมายและได้เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆแล้วยังได้โปรโมรสินค้าจังหวัดอูทัยธานีด้วยครับ  ข้อคิดจากการทำงาน   คือต้องใส่ใจกับรายละเอียดในการทำงานต้องรู้จักอดทนต่อสู้กับปัญหาต่างๆให้ได้ครับ

www.geocities.com/puaylung2005

วสันต์ วิเลปะนะ ม.6/3

กระผมมีความคิดเห็นว่าการที่ได้จัดทำเว็บไซด์ www.geocities.com/map_uthaithani1.com มีความรู้สึกว่าได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของจ.อุทัยธานีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดอุทัยธานี ได้รู้วิธีและขั้นตอนการทำมากยิ่งขึ้นและสามารถปรับปรุงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้

นางสาววรัญศญา บัวทอง

สวัสดีอาจารย์และเพื่อนที่รักทุกคน

เรื่องธูปหอมทองตะนาว

ดิฉัน น.ส.วรัญศญา  บัวทอง และ น.ส.ณันญา  คงตัน  ได้จัดทำเว็ปไวต์ URL: www.geocities.com/thongtanow วิธีการเรียนรู้ข้าพเจ้าทั้งสองคนได้ไปศึกษาหาความรู้ถึงสถานที่จริง เปิดดูในinternet เพื่อศึกษาหาความรู้ได้และสามารถที่ได้จากการศึกษามาใช้ในชีวิตประจำวันและผู้ที่สนใจในการทำธูปก็สามารถคลิกเข้ามาดุในเว็ปไซต์ที่กล่าวได้

น.ส.ธัญวรรณ ฉลาดธัญกิจ

สวัสดีค่ะ   ดิฉันนางสาวน้ำทิพย์  ชวดนุตร์ และ นางสาวธัญวรรณ  ฉลาดธัญกิจ ได้ศึกษาเรื่อง  www.geocities.com/herble9999 ช่วยกันเริ่มศึกษาข้อมูลจาก Internet  หาที่อยู่ชื่อผู้ผลิต ที่ตั้งในการผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์  จนสามารถไปศึกษาได้ ถึงแม้ว่าทางร้านเค้าจะปิดกิจการแล้ว  เราทั้ง 2 คนก็ได้แก้ไขสถานการณ์โดยไปซื้อน้ำใบบัวบกมาและถ่ายรูปที่บ้านของข้าพเจ้าเอง  น้ำใบบัวบกนี้ เป็นยารักษาได้แก้กระหายน้ำ เป็นต้น เราทั้ง 2 คนหวังว่า เว็บไซด์ที่ทำนี้  อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย  ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

นาย วันรัช บัวประดิษฐ์

การจัดการเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.ข้อคิดหรือคติในการทำงานของบุคลที่เป็นภูมิปัญาท้องถิ่น คือ

ตอบ การทำงานอะไรสักอย่าง เราต้องใช้ความอดทนและความพยายามแล้งจะประสบความสำเร็จเอง

2.นักเรียนควรนำภูมิปัญญาท้อถิ่น มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ ในการเรียนหนังสือเราจะต้องใช้ความอดทนและความพยายามในการอ่านหนังสือให้มากๆเพื่อที่จะทำให้เราเรียนหนังสือได้ดี

3.เทคโนโลยีพื้นฐานหรืเทคโนโลยีื้นบ้านที่บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการสร้างงานคือ

ตอบ เตาและถ่านไม้นำมาใช้เผาเหล็ก

4.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ควรนำมาใช้พัฒนางานอาชีพที่ศึกษา ตามความคิดจินตนาการของนักเรียนคือ

ตอบ เครื่องตัดเหล็กอัตโนมัติและเครื่องประกอบชิ้นส่วนกรรไกรเราจะใช้เครื่องจักรในการทำงาน เพียงแต่ให้มนุษย์เป็นคนขาย

5.ถ้านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการที่ศึกษา นักเรียนจะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ตอบ จะจัดตั้งเป็นโรงงานขึ้น แล้วนำแรงงานชาวบ้านเข้ามาทำ และจัดส่งไปตามภูมิภาคและต่างประเทศ

 

ถ้าสนใจสามารถเข้าชมเว็บ www.geocities.com/kanki_uthaithani นี้ได้ครับ

น.ส.ปิยะรัตน์ ภูวะสุวรรณ์

สวัสดีค่ะดิฉันมีความรู้สึกภูมิใจในการจัดทำธูปหอมทองตะนาวซึ่งเป็นสินค้าotopของจังหวัดอุทัยธานีทำให้สามารถเรียนรู้วิธีทำและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้จึงนำมาจัดทำเป็นเว็บไซต์  www.geocities.com/tupchom_uthaithani ให้ทุกท่านได้ทราบเพื่อเป็นความรู้และนำไปประกอบอาชีพได้ จึงยินดีอย่างยิ่งที่จัดทำเว็บไซต์นี้ขึ้นมา

นายฉัตรติยะ พรายอินทร์

กระผมนายฉัตรติยะ  พรายอินทร์ ได้จัดทำโครงงานเรื่องเสื่อลำแพน URL คือ www.geocities.com/map_uthaithani1 นี้เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของการทำงานและได้รู้วิธีการทำงานว่ากว่าจะออกมานั้นต้องผ่านขั้นตอนใดบ้างผ่านอุปสรรค์ต่างๆกว่าจะได้งานแต่ละชิ้นออกมาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆได้ค้นหาแล้วนำไปใช้ตามทีเพื่อนๆต้องการ

การรวบรวมข้อมูล

ไปค้นหาจากแหล่งข้อมูลจริง

ปัญหาอุปสรรค์ของการทำงาน

คือการนำภาพมาลงในการอัฟโหลดและการสืบค้นข้อมูลบางประการ

ความรู้ที่ได้จากงานที่ไปศึกษา

1.ได้รู้เกี่ยวกับการทำงานชิ้นนั้นๆ

2.ได้รู้ว่ากว่าจะได้งานนั้นมานั้นต้องใช้วิธีขั้นตอนการทำอย่างไร

3.ให้เรารู้วิธีการแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

นายพิรชัช จูมโสดา

การที่ผมได้ไปศึกษาวิธีการทำมีดนั้นทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับมีดเพิ่มขึ้นและได้รวบรวมความรู้ทั้งหมดมาทำเป็นเวปไซด์ ซึ่งให้ทุกคนได้รับความรู้และได้รับประโยชน์ หวังว่าทุกคนที่เข้ามาศึกษาเวปไซด์ของผมคงได้ความรู้และประโยชน์ไม่มากก็น้อย

นายเกรียงไกร ไทยจรรยา

สวัสดีอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน

กลุ่มผมสมุนไพรใบบัวบกมีสมชิกดังนี้

1.นาย เกรียงไกร  ไทยจรรยา  ม.6/3  เลขที่ 13

2.นาย  พีระพงษ์  พรมเพ็ง     ม.6/3  เลขที่  15

ได้จัดทำเว็บไซต์สมุนไพรใบบัวบกมีURLคือ

www.geosities.com/boiburbok_uthaithani

การจัดการเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.ข้อคิดหรือคติในการทำงานของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ

ทำอะไรต้องทำให้จริงอย่าเพียงคิดแต่กำไรต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้ และคุณภาสินค้าของเราด้วย

 

2.นักเรียนควรนำคุณธรรมที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในชีวิตปะจำวันอย่างไร

คุณธรรมนี้คือเราควรมีจรรยาบรรณในการจำหน่ายสินค้าหรือการแนะนำไม่ว่าะประกอบอาชีพอะไร

 

3.เทคโนโลยีพื้นฐานหรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน ที่บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการสร้างงาน คือ

เครื่องมือและเทคโนโลยีภูมปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

 

4.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ควรนำมาใช้พัฒนางานอาชีพที่ศึกษา ตามความคิดจินตนาการของนักเรียน คือ

เทคโนโลยีการพาสเจอร์ไรต์สินค้า เพื่อความปลอดภัยของสินค้าและผู้บริโภคให้ได้มาตรฐานตามที่องค์การอาหารและยาหรือ อย.กำหนดไว้

 

5.ถ้านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการในเรื่องที่ศึกษา นักเรียนจะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

อาจจะคิดสร้างสรรค์สูตรใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังกระจายสินค้าไปตามกลุ่มต่างๆกำหนดราคาสินค้าไม่สูงมากแบ่งปันผลกำไรกระจายสู่กลุ่มแม่บ้านในชุมชนกำไรบางส่วนก็เก็บไว้พัฒนาสถานที่ทำให้มีคุณภาพมากขึ้น

นางสาวน้ำผึ้ง จินดา

ดิฉันนางสาวน้ำผึ้ง  จินดา เลขที่ 30  ม.6/3  จัดทำเว็บไซต์เรื่องจักสาน URL:www.geocities.com/jaksan_otop2005

นี้เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของการทำงานและได้รู้วิธีการทำงานว่ากว่าจะออกมานั้นต้องผ่านขั้นตอนใดบ้างผ่านอุปสรรค์ต่างๆกว่าจะได้งานแต่ละชิ้นออกมาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆได้ค้นหาแล้วนำไปใช้ตามทีเพื่อนๆต้องการ

การรวบรวมข้อมูล

ไปค้นหาจากแหล่งข้อมูลจริง

ปัญหาอุปสรรค์ของการทำงาน

คือการนำภาพมาลงในการอัฟโหลดและการสืบค้นข้อมูลบางประการ

ความรู้ที่ได้จากงานที่ไปศึกษา

1.ได้รู้เกี่ยวกับการทำงานชิ้นนั้นๆ

2.ได้รู้ว่ากว่าจะได้งานนั้นมานั้นต้องใช้วิธีขั้นตอนการทำอย่างไร

3.ให้เรารู้วิธีการแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

นายพีระพงษ์ พรมเพ็ง

สวัสดีอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน

กลุ่มผมสมุนไพรใบบัวบกมีสมชิกดังนี้

1.นาย เกรียงไกร  ไทยจรรยา  ม.6/3  เลขที่ 13

2.นาย  พีระพงษ์  พรมเพ็ง     ม.6/3  เลขที่  15

ได้จัดทำเว็บไซต์สมุนไพรใบบัวบกมีURLคือ

www.geosities.com/boiburbok_uthaithani

การจัดการเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.ข้อคิดหรือคติในการทำงานของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ

ทำอะไรต้องทำให้จริงอย่าเพียงคิดแต่กำไรต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้ และคุณภาสินค้าของเราด้วย

 

2.นักเรียนควรนำคุณธรรมที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในชีวิตปะจำวันอย่างไร

คุณธรรมนี้คือเราควรมีจรรยาบรรณในการจำหน่ายสินค้าหรือการแนะนำไม่ว่าะประกอบอาชีพอะไร

 

3.เทคโนโลยีพื้นฐานหรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน ที่บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ในการสร้างงาน คือ

เครื่องมือและเทคโนโลยีภูมปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

 

4.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ควรนำมาใช้พัฒนางานอาชีพที่ศึกษา ตามความคิดจินตนาการของนักเรียน คือ

เทคโนโลยีการพาสเจอร์ไรต์สินค้า เพื่อความปลอดภัยของสินค้าและผู้บริโภคให้ได้มาตรฐานตามที่องค์การอาหารและยาหรือ อย.กำหนดไว้

 

5.ถ้านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการในเรื่องที่ศึกษา นักเรียนจะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

อาจจะคิดสร้างสรรค์สูตรใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังกระจายสินค้าไปตามกลุ่มต่างๆกำหนดราคาสินค้าไม่สูงมากแบ่งปันผลกำไรกระจายสู่กลุ่มแม่บ้านในชุมชนกำไรบางส่วนก็เก็บไว้พัฒนาสถานที่ทำให้มีคุณภาพมากขึ้น

น.ส.พุทธิดา อ่อนหลำ

ดิฉันได้ทำเว็บไซต์ซึ่งมีURL ดังนี้ www.geocities.com/mapuaylung_uthai2005

มีความคิดเห็นว่า

ในการเรียนรู้การจัดทำเว็บไซต์นอกจากจะได้รู้ขั้นตอนการทำเว็บไวต์แล้วดิฉันยังได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆทำให้รู้จักนิสัยใจคอกันมากขึ้น  รู้จักมีความร่วมมือกันในการทำงาน มีความอดทนพยายามและความรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ สุดท้ายดิฉันก็รู้สึกภูมิใจที่งานได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีถึงแม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์เรียบร้อยแต่ก็ขอความกรุณาอาจารย์ให้เวลาในการแก้ไขงานให้สมบูรณ์ 

4444ขอบคุณล่วงหน้าค่ะอาจารย์4444

น.ส.วิรงรอง บำรุงรัตน์

สวัสดีค่ะดิฉันจัดทำเว็บไซต์การทำธูปหอมทองตะนาวสมาชิกคือ 1.น.ส.วิรงรอง  บำรุงรัตน์     เลขที่ 36 ม. 6/3

     2.น.ส. ปิยะรัตน์  ภูวะสุวรรณ์ เลขที่ 42 ม. 6/3

ในการจัดทำเว็บไซต์ครั้งนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้สนใจการทำธูปหอมทองตะนาวให้คลิกเข้ามาชมได้ที่

www .geocities.com/tupchom_uthai

ความรู้สึกในการทำงานครั้งนี้มีความรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เรียนรู้โครงงานนี้

สวัสดีค่ะ ดิฉัน น.ส.สุภาพร  เพ็ชรอำไพ ได้จัดทำโคงรงงานเว็บไซด์ เรื่อง อิฐมอญ url คือ www.geocities.com/itmon_uthai99 เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมา เเละขั้นตอนการทำ รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่จำเป็นเกี่ยวกับอิฐมอญ จึงนำมาจัดทำเป็นเว็บไซด์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง จากความอนุเคราะห์ของ นางคำนึง  หลากสุขถม  ซึ่งบอกวีธีการทำอย่างละเอียด  ระยะการเดินทางค่อนข้างไกลมีปัญหานิดหน่อย แต่ก็ไดรับความรู้เยอะมาก เเละสามารถนำมาใช้เป็นเเนวทางในการประกอบอาชีพ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย

สวัสดีค่ะ ดิฉัน กนกอร สวนานุสรณ์ ได้จัดทำเว็บไซด์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจ.อุทัยธานี ในเรื่อง อิฐมอญ มีurlคือ www.geocities.com/itmon_uthai99 โดยในเว็บนี้ได้นำเสนอทั้งประวัติความเป็นมาของอิฐมอญซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่เก่าแก่ของชาวอุทัยเรา และยังมีข้อมูลอีกหลายอย่างค่ะ

ในการทำงานครั้งนี้เราได้ไปศึกษาและเก็บข้อมูลที่สถานที่จริง คือบ้านของน้าคำนึง หลากสุขถม ซึ่งให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี ทั้งยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย เพื่อนๆ คนไหนสนใจก็อย่าลืมเข้าไปเยี่ยมชมกันนะคะ ดีไม่ดีอย่างไรก็ติติงแนะนำกันมาได้ ยินดีน้อมรับทุกความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไปค่ะ 

นายวรุตม์ ฉัตรทิพากร

กระผมเป็นผู้สร้างเวบไซต์ เกี่ยวกับร้านแม่ป่วยลั้งและได้ศึกษาข้อมูลมากมาย ประวัติความเป็นมาของร้านแม่ป่วยลั้ง

มีความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

ขอขอบคุณอาจารย์จงรัก ที่สนับสนุนและให้คำปรึกษาและอบรมสั่งสอนตลอดมา

นายนราวิชญ์ ปาจิตร

ผมทำเว็ปไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรื่อง  " แม่ป่วยลั้ง "  ซึ่งใช้ URL ว่า " www.geocities.com/puaylung_indy " ซึ่งโครงงานนี้กลุ่มของผมได้ใช้กำลังกายและกำลังใจทั้งหมดที่มีจัดทำโครงงานเว็ปไซต์ชิ้นนี้ให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งโครงงานนี้กลุ่มของเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์และให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมบ้างไม่มากก็น้อยและเรามั่นใจเหลือเกินว่าหากผู้เข้าชมสนใจและตั้งใจจะศึกษาจะได้รับความรู้ไปจากเว็ปไซต์ของเราเกี่ยวกับร้านแม่ป่วยลั้งไปได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์  สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จงรักในการให้คำปรึกษาและอื่นๆอีกมากมายไว้ ณ ที่นี้ และหากเว็ปไซต์ของเรามีข้อผิดพลาดประการใดเราต้องขออภัยไว้  ณ  ที่นี้ด้วยขอรับ

นายนราวิชญ์ ปาจิตร

ผมทำเว็ปไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรื่อง  " แม่ป่วยลั้ง "  ซึ่งใช้ URL ว่า " www.geocities.com/puaylung_indy " ซึ่งโครงงานนี้กลุ่มของผมได้ใช้กำลังกายและกำลังใจทั้งหมดที่มีจัดทำโครงงานเว็ปไซต์ชิ้นนี้ให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งโครงงานนี้กลุ่มของเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์และให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมบ้างไม่มากก็น้อยและเรามั่นใจเหลือเกินว่าหากผู้เข้าชมสนใจและตั้งใจจะศึกษาจะได้รับความรู้ไปจากเว็ปไซต์ของเราเกี่ยวกับร้านแม่ป่วยลั้งไปได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์  สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จงรักในการให้คำปรึกษาและอื่นๆอีกมากมายไว้ ณ ที่นี้ และหากเว็ปไซต์ของเรามีข้อผิดพลาดประการใดเราต้องขออภัยไว้  ณ  ที่นี้ด้วยขอรับ

ผมทำเว็ปไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรื่อง  " แม่ป่วยลั้ง "  ซึ่งใช้ URL ว่า " www.geocities.com/puaylung_indy

การที่ผมได้ไปศึกษาหาความรู้ได้ข้อมูลมามากมาย

1.ประวัติของร้านเเม่ป่วยลั้ง

2.หลักการบริหารงาน

3.หลักการทำงาน

4.เรื่องการตลาดของร้านเเม่ป่วยลั้ง

และสุดท้ายนี้

ขอขอบคุณอาจารย์จงรัก ที่สนับสนุนและให้คำปรึกษาและอบรมสั่งสอนมาโดยตลอด

สวัสดีค่ะ!! ทุกท่านที่อ่าน
ดิฉัน นางสาวเคียงขวัญ  สุกรณ์  นางสาวกาญจนา  เกษตรกิจการ และนายปัณณวัฒน์  เทศนา  ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซด์  "กรรไกรตัดกิ่ง"  ซึ่งมี URL ดังนี้  www.geocities.com/kankrai_2005

การรวบรวมข้อมูล   เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง สอบถามจากผู้เป็นเจ้าของและผู้ริเริ่มทำผลิตภัณฑ์  ดิฉันมีหน้าที่สอบถามประวัติความเป็นมา  น.ส.เคียงขวัญเป็นผู้ถ่ายภาพและนายปัณณวัฒน์เป็นผู้สอบถามเกี่ยวกับวิธีการทำและวัสดุอุปกรณ์

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์  ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  และใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซด์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการทำกรรไกรตัดกิ่งมากขึ้น  รู้ถึงประวติความเป็นมา และรู้ถึงเทคนิคต่างๆในการทำกรรไกรตัดกิ่ง

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน  คือ  การ Upload ไม่สำเร็จเนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบ

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรตั้งใจทำและมีความรอบคอบ  งานนั้นก็จะประสบความสำเร็จ

นางสาวอรวรรณ เอกขระ

ข้าพเจ้า   นางสาวอรวรรณ   เอกขระ  ได้ทำเรื่อง  "เครื่องสีข้าวด้วยมือ"  ซึ่งเริ่มแรกเราก็หาไปค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและข้อมูลจากแหล่งอื่น  แหล่งภูมปัญญาท้องถิ่นจริงข้าพเจ้าไม่ได้ไปค้นหามาจริง  เพราะเนื่องด้วยแหล่งภูมิปัญญาจริงในตอนนี้ในจังหวัดอุทัยธานีหาเครื่องสีข้าวด้วยมือนี้ไม่ได้  แต่ข้อมูลยังมีในแหล่งข้อมูลต่างๆอยู่  พอข้าพเจ้าได้ข้อมูลมาแล้วข้าพก็จัดทำเป็นเว็บไซด์  ซึ่งในเว็บไซด์ของข้าพเจ้านี้ก็จะมี  บอกลักษณะของเครื่องสีข้าว  บอกส่วนประกอบของเครื่องสีข้าวว่ามีอะไรบ้าง  บอกวิธีใช้เครื่องสีข้าวด้วยมือว่าใช้อย่างไร  และก็บอกประโยชน์ของเครื่องสีข้าวว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง 

ดิฉันสร้างเว็บไซด์เรื่องการนวดสมุนไพรโดยขอ URL คือ http://www.geocities.com/nuadsamunpai โดยมีเพื่อนร่วมงาน คือ 1.นายกรกช แจงเขตต์การ และ น.ส.รัชลีพร พาที วิธีทำของดิฉันคือช่วยกันหาข้อมูลจากเว็บไซด์และจากไปสถานที่จริงบ้างจากนั้นก็นำข้อมูลที่หามาได้สร้างเข้าไปใน Dreamweaver พอสร้างเสร็จก็นำมาลิงค์กัน และก็จะกลายเป็นเว็บไซด์ที่ดิฉันได้สร้างขึ้นมา เพื่อจะให้เพื่อนๆได้ศึกษากัน ว่าการนวดสมุนไพรนวดอย่างไร และมีสมุนไพรอะไรบ้างที่ใช้รักษาโรคได้บ้าง ส่วนปัญหาในการทำงานคือแหล่งที่จะศึกษาหาไม่ค่อยได้ จะไปสถานที่จริงมันก็ไกล ข้อคิดที่ได้ ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้

ดิฉัน น.ส กาญจนา ฟักเขียว ได้จัดทำโครงงานเว็บไชต์เรื่อง ปลาแรด โดยขอ URL คือ www.geocities.com/fishthai และได้ไปสอบถามข้อมูลจากผู้เลี้ยงปลาแรด ดิฉันกับเพือนได้ช่วยกันค้นหาข้อมูลได้นำรูปและข้อมูลที่ศึกษามาสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Dreamweaver ช่วยกันพิมพ์โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างขัดเจน ร่วมมือกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์คือ ทำให้มีความรู้ในสิ่งที่จัดทำและสามารถนำเสนอได้ในอินเทอร์เน็ต เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะด้วย

ปัญหาในการทำงานคือ หาแหล่งข้อมูลยาก บ้านเพื่อนอยู่ห่างไกลกัน ข้อมูลไม่ครบถ้วน 

ข้อคิดที่ได้จากการทำงาน  รู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีก็มีดีเหมือนที่อื่น ได้รับความรู้เกี่ยวกับปลาแรด

ชัยรัตน์ ลิขิตวศินพงศ์

กระผมนาย ดิษพล  วัฒนธัญกรรม,นาย ชัยรัต ลิขิตวศินพงษ์ และ นาย ชวลิต วันทายนต์ ได้สร้าง Website เรื่องปลาเเรด ซึงมีความสนใจเป็นอย่างมากที่ได้ศึกษาเรื่องปลาเเรดในจังหวัดอุทัยธานี URLของพวกเราคือ http://www.geocities.com/disaponza โดยได้ทำการไปศึกษาด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นสถานที่จริง หรือ ศึกษาหาความรู้ทาง Internet เเละได้สร้าง Homepage ด้วยตนเองโดยมีการเเบ่งการทำงานดังนี้
1.การสืบหาข้อมูลทางinternet ทำร่วมกัน
2.การรวบรวมข้อมูล ทำโดย นาย ชัยรัต
3.การทำHomePage ทำโดยนายดิษพล

4.การสรุร่วมกันปงาน โดยทำ

5.ไปศึกษาสถานที่จริงร่วมกัน
การที่ได้ทำรายงานเรื่องปลาเเรดนี้ทำให้เราได้รู้ว่าปลาเเรดมีการวิวัฒนาการอย่างไรเเละต้องมีการเลี้ยงดูอย่างไรถึงจะจำหน่ายให้ได้กำไรดี โดยการที่ได้ทำการรวบรวมภาพในครั้งนี้ อยากบอกว่าทำได้ยากมากเพราะว่าภาพเเต่ละภาพเป็นภาพที่ถ่ายยากมากๆ เพราะว่ากว่าจะให้อาหารเเละกว่าจะถ่ายได้ปลาเเรดก็ทำเอาเหนื่อยอยู่เหมือนกัน เเต่ถึงอย่างไรงานนี้ก็ไม่ได้จบอยู่เเค่นี้ยังจะต้องมีการ up ไปเรื่อยๆโดยจะพัฒนาต่อไป ... ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

       การทํางานครั้งนี้ทําให้ผมรู้ว่าการที่จะทํางานกลุ่มต้องใช้ความสามัคคี ระหว่างเพื่อนในกลุ่ม

 

นายวีรชน รัศมี ม.6/6 เลขที่ 6
  • กระผมนายวีรชน รัศมี เลขที่  6 ม.6/6ได้จัดทำเว็ปไซด์นี้ขึ้นมา   เพื่อให้เพื่อนๆได้ศึกษา              
  • ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง  ธูปหอมมี URL คือ  www.geocities.com/mum_tuphom  ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์  มีทั้งเนื้อหาเเละรูปภาพต่างๆ
  • กระบวนการจัดทำเว็บไซต์  ได้เข้าไปในโปรเเกรม  Dreamweaver  พิมพ์ข้อมูลเเละลงรูปภาพทั้งหมดลงไปเเละทำการ Link เชื่อมโยงไปมา  ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่  www.geocities.com  ไปตั้งชื่อที่เว็บไซต์เเล้วก็นำข้อมูลมา  Upload
  • ผลที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์  คือได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  มีเทคนิคการทำอย่างไรเเละสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ปัญหาเเละอุปสรรค  คือการ Upload ทั้งรูปเเละข้อมูลไม่ขึ้น  ข้อมูลมีน้อย  รูปภาพประกอบหายากเเละใช้เวลาการทำมาก
  • ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำงานทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีความอดทน  ความพยายาม  ความตั้งใจจริง  ความมุ่งมั้น  เเละความสามัคคีในการทำงานกลุ่มมากขึ้น
  • สุดท้ายนี้กระผมขอฝากเว็บไซต์ของกระผมไว้ให้ทุกๆคนได้เข้ามาชมด้วยนะคร้าบ......
น.ส.ดารัตน์ วงธัญกรณ์

สวัสดีค่ะ กลุ่มเราจัดทำโครงงานเรื่อง ขนมกง ซึ่งมี URL คือ www.geocities.com/khanoomkong สมาชิกประกอบด้วย     1. น.ส. ดารัตน์  วงธัญกรณ์

2. น.ส.  ปิยนุช   อยู่รอง

กลุ่มเราได้ศึกษาสอบถามหาข้อมูลเรื่องขนมกงแล้วได้มาจัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่สนใจ ให้ทุกคนได้นำไปศึกษาค้นคว้า  และกลู๋มเราก็ได้จัดทำโครงงานนี้สำเร็จได้ไปด้วยดี

นางสาวนิษฐา เลิศศุภฤกษ์กุล

สวัสดีค่ะ !! ทุกคน
ดิฉันนางสาวกนกวรรณ จิตตาพินิจมาศและนางสาวนิษฐา เลิศศุภฤกษ์กุล ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซต์เรื่อง "ปลาแรด" มี URL คือ
http://www.geocities.com/fish_thaithani

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง สอบถามจากผู้เป็นเจ้าของและผู้ริเริ่มการเพาะเลี้ยงปลาแรด  ดิฉันมีหน้าที่สอบถามประวัติความเป็นมาและรายละเอียดต่าง ๆ ส่วนน.ส.กนกวรรณเป็นผู้ถ่ายภาพต่าง ๆ

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์  ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  และใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซด์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาดแรดมากขึ้น รู้ถึงประวัติความเป็นมา และรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้ปลาแรดไม่มีกลิ่นคาวและเนื้อนปลาอร่อย

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน คือ  การ Upload ไม่สำเร็จเนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบ

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรจะมีความเป็นระเบียบ ตั้งใจทำงาน และรอบคอบ งานที่ออกมานั้นก็จะสำเร็จไปด้วยดี (",)

น.ส.ภัทราพร บุญประมวญ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จงรัก  ดิฉันก็ขอแนะนำสมาชิกในกลุ่มก่อนเลยค่ะ

ดิชั้น น.ส.ภัทราพร  บุญประมวญค่ะ อีก 2 คนก็คือ พัชรภรณ์ มีแพง และ

สุรียาภรณ์  พุทธวงศ์ ในกลุ่มของดิชั้นก็ได้จัดทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องขนมกง

ซึ่งมี URLคือ  www.geocities.com/kanomkong_uthai

1. การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนแรกสมาชิกทุกคนในกลุ่มก็ได้ไปสัมภาษณ์โดยตรงจากผู้ผลิตเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง

2. ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ก็คือช่วยกันหาข้อมูล  และก็ช่วยกันทำค่ะ

3.ผลที่รับจากการทำเว็บไซต์ ได้ในเรื่องของการทำเว็บเก่งขึ้นซึ่งต้องใช้ความอดทนสูง  และทักษะในการทำ

4.ปัญญหาและอุปสรรค ที่เจอบ่อยก็คือการ  upload รูปภาพต่างๆ รูปไม่ขึ้น และ บางทีก็พิมพ์ข้อความผิดและจะต้องมานั่งแก้ไขแล้วต้องไป upload ใหม่

5.ข้อคิดที่ได้รับ ก็คือ ได้รู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านและได้รู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีมีของดีอีกเพียบ  และเป็นขนมที่มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยากมากนักค่ะ

นางสาวพัชรภรณ์ มีแพง

สวัสดีค่ะ อาจารย์จงรัก  ดิฉันก็ขอแนะนำสมาชิกในกลุ่มก่อนเลยค่ะ

ดิชั้น น.ส.พัชรภรณ์  มีแพงค่ะ อีก 2 คนก็คือ ภัทราพร  บุญประมวญ และ สุรียาภรณ์  พุทธวงศ์ ในกลุ่มของดิชั้นก็ได้จัดทำเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องขนมกง

ซึ่งมี URLคือ  www.geocities.com/kanomkong_uthai

1. การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนแรกสมาชิกทุกคนในกลุ่มก็ได้ไปสัมภาษณ์โดยตรงจากผู้ผลิตเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง

2. ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ก็คือช่วยกันหาข้อมูล  และก็ช่วยกันทำค่ะ

3.ผลที่รับจากการทำเว็บไซต์ ได้ในเรื่องของการทำเว็บเก่งขึ้นซึ่งต้องใช้ความอดทนสูง  และทักษะในการทำ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.ปัญญหาและอุปสรรค การ  upload รูปภาพต่างๆ รูปไม่ขึ้น และ บางทีก็พิมพ์ข้อความผิดและจะต้องมานั่งแก้ไขแล้วต้องไป upload ใหม่

5.ข้อคิดที่ได้รับ ก็คือ ได้รู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านจังหวัดอุทัยธานี  และเป็นขนมที่มีโปรตีนสูงมากค่ะ เพราะทำมาจากถั่วเขียว

ผมดีใจมากที่ได้ทำเว็บไซต์นี้ ขอให้เว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป ...

สวัสดีคะ ดิฉันชื่อ น.ส.อารี  ชื่นเรือง ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่อง

แม่ป่วยลั้งขึ้นซึ่งมีURL คือ WWW.geocities.com/mapuaylang_uthai2005

  ซึ่งดิฉันกับสมาชิกในกลุ่มได้ไปสอบถามหาข้อมูลที่ร้านแม่ป่วยลั้งและได้ถ่ายรูปไว้เพื่อนำมาประกอบในการทำงาน ได้รู้จักวิธีการทำข้าวกุ้งกรอบซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของร้านแม่ป่วยลั้ง ที่มีลักษณะและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน และได้ข้อคิดต่างๆในการทำงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้สำเร็จ และภูมิใจที่สร้างเว็บไซต์นี้ด้วยตนเองได้รู้จักการทำงานกลุ่มและการแก้ไขปัญหา               

กระผม นาย พิรชัช  จูมโสดา ได้จัดทำเว็บไซต์เรื่องมีดช่างทินซึ่งมี urlคือwww.geocities.com/mid_uthaithani  กระผมได้ไปศึกษาหาข้อมูลมาและได้ข้อคิดจากการทำงานของมีดและสามารถนำข้อคิดที่ได้รับมาใช้ในการทำงานกลุ่ม             

กระผมมีความรู้สึกภูมิใจที่สามารถทำเว็บไซด์นี้ให้สำเร็จรล่วงไปได้ด้วยดีและได้เรียนรู้จากการทำงานกลุ่มและการแก้ไขปัญหา

นางสาวพาลิมน พุกเนียม
สวัสดีค่ะครูจงรัก
ดิฉันนางสาวพาลิมน  พุกเนียม 
      และนางสาวสิรินภา  กลับชัยนาท

ได้จัดทำเว็บไซต์ เรื่อง  ขนมกง   
http://www.geocities.com/khanomkong2005/

ได้รวบรวมข้อมูลได้การหาจากเว็บไซต์และสถานที่จริงกลุ่มสตรีตำบลหนองแก  ที่ผลิตขนมกง หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ได้จดบันทึกขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้าย  และปฏิบัติจริงพร้อมทั้งถ่ายรูป

ในกระบวนการจัดทำเว็บไซต์
-เข้าไปในโปรแกรม Dreamweaver และพิมพ์ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดลงไป  และก็ทำการ Link
-ต่อมาก็ไปขอพื้นที่เว็บไซต์ที่ www.geocities.com  และก็ไปตั้งชื่อในเว็บไซต์ และก็นำข้อมูลมา Upload

ผลที่ได้รับจาการทำเว็บไซต์ คือได้รู้วิธีการต่างๆ จากการทำเว็บไซต์และได้รู้เทคนิคมากขึ้น  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่การ  Upload  คือรูปและBackground ไม่ขึ้น
ในการแก้ไข้ต้องเปลี่ยนนามสกุลของรูปและBackgroudและLinkใหม่อีกครั้งและก็Uploadใหม่อีกครั้ง

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ทำให้รู้จักรับผิดชอบต่องานที่มอบหมายมากขึ้น
-ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มมากขึ้น
-ทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจว่าเราก็ทำได้และยังมีการเผยแพร่
ขนมกงโบราณให้คนทั่วโลกได้รู้จัก
-ทำให้รู้สึกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีมาก และในการทำงานต้องมีความพยายาม อดทน งานจะออกมาดี

PS.ขอขอบคุณ ครูจงรัก  เทศนา  ที่สอนให้พวกเราได้วิธีการทำเว็บไซต์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

นางสาวภารดี สุพลจิตต์
นางสาวภารดี  สุพลจิตต์  ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์  และจากบุคคลที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง  เมื่อได้เนื้อหาที่ต้องการแล้ว  ก็จัดการแบ่งหน้าที่โดยตามความถนัดของแต่ละบุคคลที่เข้าใจตรงจุดไหนก็จะทำตรงจุดนั้น  พิมพ์ข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ใน (Dreamweaver)  จากนั้นก็จัดเรียงข้อมูล  หน้าแรก คือ index หลังจากทำข้อมูลเรียบร้อยก็เข้าเว็บไซต์ขอพื้นที่ www.geocities.com และเราตั้งชื่อเว็บไซต์ที่ทำอย่างของดิฉันคือ  www.geocities.com/jugsan2005 สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดเล็กให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับการจักสาน  ในขณะทำก็เกิดการขัดข้องหลายๆ ด้าน  เช่นการอัพโหลด เป็นต้น  ซึ่งได้แฝงข้อคิดในด้านการหวงแหน  การรู้จักนำวัตถุดิบ  ที่มีอยู่มากในพื้นที่มาดัดแปลง  ให้เป็นเครื่องใช้และการร่วมมือกันทำงาน  สร้างความสามัคคีและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง และข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม เราสองคนมีหน้าที่เหมือนกันคือ ช่วยกันหาและดำเนินงาน

กระบวนการจัดทำเป็นเว็บไซต์ ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับแม่ป่วยลั้งมากขึ้น สมานความสามัคคีและความสัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน ส่วนใหญ่จะพบกับปัญหาข้อมูล เพราะข้อมูลที่ได้มามีน้อย และไม่ค่อยมีเวลาทำงาน

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น  การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรทำให้ดีที่สุดและตั้งใจทำ เพราะถ้าประสบความสำเร็จแล้ว จะเกิดความภูมิใจ

เว็บไซต์ที่ผมจัดทำนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผมอยู่

ผมทำภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี เรื่องธูปหอม

ทำขึ้นเพื่อเป็นความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

    เว็บไซต์ของดิฉันเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาแรด ซึ่งเป็นปลาประจำจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มเราได้ไปศึกษาจากสถานที่จริง โดยได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจากคุณลุงสมบัติ พูลสวัสดิ์ เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงปลาแรดซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 10ปี
          การเลี้ยงปลาแรดต้องใช้ความอดทน เนื่องจากว่า กว่าจะได้ปลาแรดซึ่งได้ขนาดตามท้องตลาดต้องการ ต้องใช้เวลาเลี้ยง ที่ยาวนานมาก ที่สำคัญต้องเอาใจใส่ในการเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสมบูรณ์ของปลา
              เราเป็นชาวอุทัยธานี การที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตัวเองนั้น ทำให้รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่จะได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นของตัวเอง เผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สืบไป

http://www.geocities.com/lamai_plaradขอเชิญชมเว็บไซต์ของดิฉันได้

สัวสดีค่ะ

    ดิฉันได้ทำเว็บไซต์เรื่องปลาแรด ปลาแรดเป็นปลาประจำจังหวัดอุทัยธานี ดิฉันจึงเลือกที่จะศึกษา ได้รับความร่วมมือจากคุณลุงสมบัติ พูลสวัสดิ์ และคุณครูจงรัก เทศนา ที่ได้ให้คำแนะนำและความรู้

   ในเว็บไซต์ประกอบด้วย ประวัติปลาแรด วิธีการเลี้ยงปลาแรด และขั้นตอนการจำหน่าย

 

 http://www.geocities.com/lamai_plarad 

นายสุทัศน์ ลือทุกสิ้น ม 6/1 เลขที่ 14

เป็นเว็บไวต์ที่เสนอ ภูมิปัญญาของคนใบตำบลหนองเต่าที่ทมำขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของ ของคนในท้องถิ่นที่ทำง่ายและอร่อยมากๆ มีทั้งประวัติของผู้ทำ กระบวนการทำ วิธีการทำ ประวัติ ต่างๆ รวมทั้งแหล่ง จำหน่ายสามารถหาข้อมูลได้จาก เวบ นี้ ครับ www.goecities.com/khawkearbwow

สวัสดีค่ะ  พวกเราสมาชิกกลุ่มผลงานเว็บไซต์ www.geocities.com/tinknife_uthai จะขอแนะนำตัว  สมาชิกของเรามีดังนี้ 
                  1.นายเจตธัช  เกตุทอง  เลขที่ 15  
                  2.นางสาวทิพย์สุดา  ต๊กควรเฮง  เลขที่ 20 
                  3.นางสาวสรัญญา  โรโต  เลขที่ 34 
   พวกเรานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2  โรงเรียนอุทัยวิทยาคม  จังหวัดอุทัยธานี 
   การรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหนังสือและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานีของเราและดูจากเว็บไซต์ของรุ่นพี่ที่ทำไว้นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเรา  แล้วไปสอบถามข้อมูลกับเจ้าของกิจการคนปัจจุบัน คือ  พี่จุ่น  นายสุทธินันท์  แตงไทย  ซึ่งเป็นลูกชายของช่างทินและเก็บภาพถ่ายที่สนใจจะนำมาลงในเว็บไซต์  โดยช่วยกันหาข้อมูลและนางสาวสรัญญา  โรโต เป็นผู้จัดทำจนสำเร็จ  สำหรับการจัดทำเว็บไซต์พวกเราจะต้องมีการศึกษาการทำ Dream weaver  และ  Photoshop  จากการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีจากครูจงรัก  เทศนา  แล้วนำข้อมูลมาจัดเรียงลำดับจาก
                        1.ประวัติของช่างทิน
                        2.วัสดุ-อุปกรณ์
                        3.ขั้นตอนการทำ
                        4.รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
และมีการเพิ่มเติมการรวบรวมเว็บไซต์ของเพื่อนๆ ภายหลัง  โดยขอ URL จาก http://geocities.yahoo.com แล้ว Upload ข้อมูลที่เตรียมไว้เป็นอันสำเร็จ
   ปัญหาและอุปสรรคที่พบบ่อย  คือ  การรวมตัวของสมาชิกกลุ่มเป็นไปได้ยากเนื่องจากบ้านของแต่ละคนอยู่ไกลกัน
   ข้อคิดที่ได้  คือ  การทำงานกลุ่มด้วยความสามัคคี  จะทำให้งานประสบความสำเร็จ

สวัสดีขอรับอาจารย์  ผมทำเว็ปไซต์เรื่อง มีดช่างทิน www.geocities.com/mid_uthaithaniนะครับ  ผมไม่ค่อยเก่งเรื่องคอม และผมก็ไม่มีเครื่องทำด้วยครับเพราะเครื่องในห้องเต็มครับจึงขออภัยอาจารย์ด้วยที่ทำงานออกมาไม่ดีครับ   สาเหตุที่ผมทำเรื่องนี้เพราะผมสนใจเรื่องมีด ผมจึงไปรวบรวมข้อมูลเรื่องมีดมาจากสถานที่จริง  และเอามาจากเว็ปไซต์ด้วย  เมื่อผมได้ทำเรื่องนี้แล้วผมได้วิธีการทำมีด รู้ขั้นตอนการทำ  และรู้ไปถึงความสามัคคีของคนงานว่ามีความให้ความรวมมือมากน้อยเพียงใดเราจึงควรนำมาเป็นแบบอย่าง

ณ ปัจจุบันยังไม่กฎหมายให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีการประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้มีจดแจงไว้เป็นฐานข้อมูล เพื่อเป็นการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุน

(ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่กำลังรวบรวมฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา )

นายตามพงศ์ เหลืองบริบูรณ์

 1. กลุ่มของข้าพเจ้าทำโครงงานเรื่องขนมไทย 4 ชนิด คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน และ URL ของกลุ่มข้าพเจ้าคือ www.utw.ac.th./sangnam/ หากสนใจก็เข้าไปเว็บนี้ดูได้

2. การเรียนรู้ของกลุ่มข้าพเจ้าคือ การได้ไปดูและสอบถามกันอย่างจริงจัง พร้อมทั้งแบ่งงานกันว่าใครจด ใครสัมภาษณ์  และใครถ่ายรูป ทำให้การทำงานเป็นไปได้รวดเร็ว ส่วนเวลาทำเว็บเราก็ช่วยกันทำ

3.จากการสัมภาษณ์สรุปได้ว่าการทำขนมไทยจะให้ดีควรทำด้วยมือ ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยี  ส่วนด้านชื่อเสียงการทำขนมนั้นก็ต้องฝีมืออย่าตก

4.เทคนิคทางภูมิปัญญาที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ คติที่ว่า ต้องพยายามทุกสิ่งก็จะสำเร็จ สามารถนำมาเป็นคติในการเรียนและการทำงานของเราได้ อย่างสอดคล้อง

5.ความรู้สึกที่ได้ทำงานนี้ก็คือทำให้เรารู้จักการทำงานอย่างเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ บางครั้งอาจมีปัญหาบ้างแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี ถ้าสมาชิกทุกคนมีจิตสำนึกในการทำงาน และยังได้อะไรหลายอย่างในการที่ไปสัมภาษณ์ พร้อมความรู้การทำขนมต่างๆอีก  ด้วย     ผมขอขอบคุณ  คุณครูจงรัก  ที่สอนให้รู้จักการทำงานที่มีการวางแผนทุกขั้นตอน ครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูทำเว็บไซต์เรื่องจักสาน www.utw.ac.th/pathra นะคะ พวกหนูมีวิธีการเรียนรู้โดยไปที่แหล่งเรียนรู้ และแบ่งหน้าที่กันทำงาน โ ดยคนหนึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์ อีกคนหนึ่งเป็นผู้จดบันทึก ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถ่ายรูปพวกหนูจะคอยสังเกตวิธีการทำขั้นตอนทุกอย่างโดยละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านอย่างง่ายๆคือเขาใช้วงเวียนไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองมาทำให้กระด้งกลม งานจักสานเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความประณีตเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ถึงความขยันหมั่นเพียรของชาวบ้าน และการรู้จักใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจมากที่ได้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรายังไม่เสื่อมสูญไปสืบทอดมาจนถึงลูกหลาน และยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของชุมชน
นางสาวสุธีรา เอื้ออุดมศิริกุล
สวัสดีค่ะคุณครูจงรัก เทศนา ดิฉันกลุ่มขนมไทยแม่ปราณี URL www.utw.ac.th./sangnam/ ใครสนใจสามารถเข้าไปดูได้ค่ะ การทำงานของกลุ่มข้าพเจ้ารู้สึกดีที่ทุกคนร่วมกันทำงานถึงแม้จะมีความเห็นไม่ลงลอยกันบ้างในบางครั้ง มีการแบ่งการทำงานที่ดีและในขณะที่ไปสัมภาษณ์นั้นรู้ได้ว่าเราได้ความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนเพิ่มเติมและได้คติสอนใจจากเจ้าของร้าน คือ การพยายามที่จะทำอะไรอย่างตั้งใจจะทำให้เราทำงานสิ่งนั้นได้สำเร็จดี ส่วนการทำขนมนั้นป้าได้บอกเราว่าไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีเพราะขนมไทยหากทำด้วยมือจะได้รสชาติกว่า และความรุ้ที่ได้ทำงานนนี้ก็คือรู้สึกภูมิใจที่บ้านเรายังสามารถอนูรักษขนมไทยไว้ได้และอร่อยด้วย
นางสาวปาริชาติ ท่าเจ็ง

สวัสดีค่ะอาจารย์ 

1. กลุ่มของดิฉันสร้างเว็บไซต์เรื่องขนมกงหนองแก ที่อยู่เว็บไซต์ (URL) คือ  http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/narirat/            

2.กลุ่มของดิฉันมีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การไปสัมภาษณ์และศึกษาจากผู้มีประสบการณ์จริงในการประกอบอาชีพทำขนมกง คุณอินทนา  สาระพัน และการร่วมมือกันทำงานงานในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น การถ่ายรูป การจดบันทึก การเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดทำเว็ปไซต์เสนอผลงาน ดังจะเห็นได้จากผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพ          

3. ดิฉันได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาฯ
ใช้ในการทำงาน, ผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง คือ การปั้นขนมกงด้วยมือ เพื่อให้เหนียว และการใช้ตะแกรงไม้ไผ่รองขนมกง เพื่อพักน้ำมัน
          

4. ดิฉันจะนำเทคนิควิธีการที่ทำให้บุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบผลสำเร็จในการทำงาน     มาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้และการทำงาน คือ การทำงานหรือการเรียนทุกครั้งย่อมมีอุปสรรค สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ คือ ความพยายาม ไม่ท้อแท้ต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพียรพยายามลองผิดลองถูกในสิ่งที่ทำ ไม่นานนักเราย่อมได้พบกับความสำเร็จอย่างแน่นอน เหมือนกับคติสอนใจที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน  ความสำเร็จอยู่ที่นั่น         

5. ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้ศึกษาข้อมูลถึงแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี จากผู้มีประสบการณ์จริง ทำให้ดิฉันมองเห็นอาชีพใหม่ๆที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน รวมถึงความเป็นมิตรไมตรีของผู้ให้สัมภาษณ์ และที่สำคัญดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสิ่งดีดี มีคุณค่า ให้พวกเราเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ศึกษา และร่วมกันอนุรักษ์เผยแพร่สืบต่อไป     สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากเพื่อนๆทุกคนให้ภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยและเป็นชาวอุทัยธานี เพราะเรามีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย ที่มีคุณค่า ให้เราได้ภาคภูมิใจ ไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยค่ะ

นางสาวณัชชา สมบุญพูลพิพัฒน์

สวัสดีค่ะอาจารย์จงรัก 
        กลุ่มของดิฉันสร้างได้สร้างเว็บไซต์เรื่องธุปหอมทองตะนาว ที่อยู่เว็บไซต์ (URL)คือ  
http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/paphicha
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลของข้าพเจ้าได้ไปศึกษาจากสถานที่จริงโดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากคุณชาตรีและคุณรำไพ  ทองตะนาว  ซึ่งเป็นเจ้าของ
โรง
ธูปหอมทองตะนาว  เมื่อได้ข้อมูลมาดิฉันและเพื่อนๆในกลุ่มเรียงลำดับความสำคัญและแบ่งงานตามความถนัดของสมาชิกในกลุ่มและจัดทำเป็นเว็ปไซต์  
สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการจัดทำเว็ปไซต์นี้  เทคนิคที่ทำให้ธูปหอมทองตะนาวประสบความสำเร็จ คือ การบริหารงานให้อยู่ในรูปของสหกรณ์ การจัดสรรรายได้ให้สมาชิกอย่างยุติธรรม ผู้นำกลุ่มมีความเสียสละและที่สำคัญความสามัคคีของสมาชิกซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ได้ในชีวิตประจำวันความรู้สึกและประโยชน์ที่ได้รับ รู้สึกภูมิใจที่ท้องถิ่นของตนมีภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์ ภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ของชุมชน รู้สึกดีใจที่เพื่อนในกลุ่มได้ร่วมแรงร่วมใจทำงานให้สำเร็จ  อีกทั้งได้ฝึกฝนกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น  เป็นการหาความรู้จากสถานที่จริง ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดอีกด้วย



 

นางสาวสาวิตรี เพียรธัญญกรรม

สวัสดีค่ะอาจารย์จงรัก 

1. กลุ่มของดิฉันสร้างเว็บไซต์เรื่องขนมกงหนองแก ที่อยู่เว็บไซต์ (URL) คือ  http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/wilasinee/            

2.กลุ่มของดิฉันมีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ประกอบการจริงโดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่หนองตางูซึ่งเป็นบริเวณสถานที่ผลิตสินค้าของมีดช่างทิน

3. ดิฉันได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาฯ
ใช้ในการทำงาน, ผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง คือ การเผาเหล็กโดยการใช้เตาไฟและการทำด้ามมีดจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ งาช้าง เป็นต้น
          

4. ดิฉันจะนำเทคนิควิธีการที่ทำให้บุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบผลสำเร็จในการทำงาน     มาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้และการทำงาน คือ การทำงานที่มีผู้รับผลประโยชน์หลายฝ่าย จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้ร่วมกระบวนการด้วย

5. ความประทับใจที่ดิฉันมีต่อการไปสัมภาษณ์คือผู้ให้สัมภาษณ์ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา มีการบอกเทคนิคดีๆให้ได้รับรู้ และช่างทำมีดก็มีการต้อนรับด้วยรอยยิ้มอย่างดีมาก

นางสาวรัชญา นันทาพจน์

1. สร้างเว็บไซต์เรื่องขนมไทย แม่ปราณี และบอกที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ที่นักเรียนจัดทำ คือ www.utw.ac.th./sangnam/ เพื่อให้ผู้สนใจคลิก Link เข้าไปชมผลงานของกลุ่มข้าพเจ้า

2. ข้าพเจ้ามีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการวางแผนร่วมกันรวมถึงการแบ่งงานกันทำและการร่วม

มือกันทำงานงานในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กัน คือ มีแกนนำที่คิดหัวข้อไปสัมภาษณ์ ค้นคว้าข้อมูล รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบ

รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบ เมื่อเสร็ดเรียบร้อยจึงลงมือทำ wabpage กัน

3. ท่านได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากคุณป้าปราณีที่เป็นภูมิปัญญาฯใช้ในการทำงาน, ผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง คือ มีคติในการทำงาน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ มีความชอบ ความพยายาม ความตั้งใจ

4. ท่านคิดว่าจะนำเทคนิควิธีการที่ทำให้คุณป้าปราณีภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบผลสำเร็จในการทำงาน มาประยุกต์ใช้กับตนเองในก

การเรียนรู้และการทำงานได้โดยมีความยึดหมั่น ตั้งใจว่าจะทำสิ่งใด จะต้องทำให้เสร็จสำเร็จ และผ่านไปได้ด้วยดีเสมอ

5. ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาข้อมูลถึงแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี คือ มีความภูมิใจที่ได้นำเสนอให้บุคคลทั่วไปได้ทราบถึงของดีเมืองอุทัยธานีกัน และข้าพเจ้าก็ได้ทราบถึงวีธีการทำขนมที่ข้าพเจ้าเคยแต่รับประทาน แต่ไม่เคยได้รู้ถึงวิธีทำ ซึ่งเป็นความรู้และประสบการ

นางสาวพรพรรณ บัวกลับ
สวัสดีค่ะ...คุณครูจงรัก เพื่อนๆ ที่น่ารัก และทุกๆท่าน                ข้าพเจ้านางสาวพรพรรณ บัวกลับได้จัดทำโครงงานเว็บไซต์ เรื่อง  ปลาแรด  มี URL คือ  http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/thanitaซึ่งมีรายชื่อผู้ร่วมทำโครงงานทั้งหมด ดังนี้
  1. นางสาวฐานิตา  เสรีศิริวัฒนา       ชั้นม.6/1 เลขที่ 21
  2. นางสาวพนิดา   เมฆอิ่ม               ชั้นม.6/1 เลขที่ 28
  3. นางสาวพรพรรณ บัวกลับ            ชั้นม.6/1 เลขที่ 29
  4. นางสาวแนน     ภิรมย์พิน            ชั้นม.6/1 เลขที่ 43
    ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ  และสถานที่จริงที่เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานีของเราและดูจากเว็บไซต์ของรุ่นพี่ที่ทำไว้นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเรา  แล้วไปสอบถามข้อมูลกับผู้รู้ คือ คุณเดือนเพ็ญ สุราฤทธิ์  ซึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงปลาแรดในกระชัง อาศัยอยู่บ้านแพในแม่น้ำสะแกกรัง โดยเก็บข้อมูลขั้นตอนต่างๆ จดบันทึก และภาพถ่ายไว้เพื่อนำมาลงในเว็บไซต์  สำหรับการจัดทำเว็บไซต์พวกเราจะต้องมีการศึกษาการทำ Dream weaver  และ  Photoshop  จากการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีจาก  ครูจงรัก  เทศนา  แล้วนำข้อมูลมาจัดเรียงลำดับจาก
                 1. ประวัติข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์
                2. ข้อมูลปลาแรด                3. วิธีการเลี้ยง                4. ทุน และอุปสรรควิธีการรวบรวมข้อมูลรวบรวมงานโดยศึกษาจากเว็ปไซต์และ รวบรวมข้อมูลโดยการไปสอบถามจากผู้ประกอบอาชีพ คือ คุณเดือนเพ็ญ สุราฤทธิ์ ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์นำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมา พิมพ์ลงใน Macromedia Dreamweaver MX2004  , ขอURL, up load รูปภาพและข้อมูลลงในเว็บไซต์ผลที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ได้รู้ถึงวิธีการทำเว็บไซต์ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพิ่มความสามัคคีในหมู่คณะและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ปัญหาและอุปสรรคคือการ Upload รูปภาพ และBackground ในบางครั้งไม่แสดงผลการแก้ไขต้องเปลี่ยนชื่อรูปเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็ก และ
นามสกุลของรูปเป็น .jpg แล้ว Link และ Uploadใหม่อีกครั้งก็จะแสดงผลให้
ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่นการที่ได้ทำงานครั้งนี้ได้อะไรที่คิดไม่ถึงหลายอย่าง เช่น ได้รู้ถึงความสามัคคีของเพื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบ การวางแผนในการทำงาน  ฝึกความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่มความรู้สึกที่มีต่อการทำงานเราคิดว่าการทำงานของพวกเรามีขั้นตอนพอใช้ได้เพราะว่าพวกเราได้ไปศึกษาถึงที่ทำงานจริงๆ จึงรู้ว่าการทำงานแต่ละขั้นตอนทำอย่างไรบ้าง แต่ทุกครั้งที่เราทำงานก็จะต้องมีอุปสรรคและอุปสรรคก็จะช่วยให้งานของเราออกมาดีเพราะถ้าเราคิดที่จะแก้ไขปัญหาก็จะยิ่งทำให้เราค้นคว้าว่าสาเหตุของปัญหาว่าคืออะไรจึงทำให้เรามีความอดทนและเพียรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งจะต้องใช้เวลาซักหน่อยแต่มันก็คุ้ม PS.ขอขอบคุณ ครูจงรัก  เทศนา  ที่สอนให้พวกเราได้วิธีการทำเว็บไซต์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

 

นางสาวชนม์นิภา แพร่กันทะมูล
สวัสดีค่ะ อาจารย์จงรัก 1.กลุ่มของข้าพเจ้าได้สร้างเว็ปไซต์เรื่องมีดช่างทิน โดยมที่อยู่เว็ปไซต์ (URL)คือ http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/wilasinee/ 2.ข้าพเจ้ามีวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการไปสัมภาษณ์กับผู้ประกอบการโดยตรงซึ่งก็ได้ข้อมูลมาอย่างครบถ้วนและได้ดูวิธีการทำผลิตภัณฑ์ด้วย ทางผู้ประกอบการเองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และกลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้แบ่งหน้าที่กันทำโดยมีคนหนึ่งสัมภาษณ์ คนหนึ่งคอยบันทึกข้อมูล และอีกคนก็บันทึกภาพขณะที่สัมภาษณ์ 3.ข้าพเจ้าได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาใช้ในการทำงาน/ผลิตงานให้มีชื่อเสียงคือ การทำมีดให้มีความสวยงามและเป็นที่รู้จัก จะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีกรรมวิธีการทำที่ละเอียดอ่อนและประณีตบรรจง โดยมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย เช่น เครื่องเจียเหล็ก เตาเผาเป็นต้น ตลอดจนตัวช่างเองก็ต้องมีประสบการณ์ในการทำมากด้วย ผลงานจึงมีคุณภาพ 4.ข้าพเจ้าคิดว่าจะนำเทคนิคและวิธีการที่ทำให้บุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบผลสำเร็จในการทำงานมาประยุกต์ใช้กับตนเองโดย ไว้ว่าจะทำงานใดๆก็ตามจะทำมันด้วยความตั้งใจ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อที่ผลงานจะได้ออกมาดีมีคุณภาพ 5.ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่ได้ศึกษาถูมิปัญญาท้องถิ่นมีดช่างทินเพราะเมื่อข้าพเจ้าได้ไปสัมภาษณ์จริง ก็รู้ว่าทุกขั้นตอนการทำ ผู้ทำมีความตั้งใจที่จะทำผลงานออกมาให้มีคุณภาพ มีชื่อเสียง และดีใจที่จังหวัดอุทัยธานีมีผลงานขึ้นชื่อ สามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ได้

โอ้โห...ไม่น่าเชื่อว่าอุทัยจะมีข้อมูลเยอะถึงขนาดนี้  พี่ทำงานด้านเน็ตนี้มา 10 กว่าปี ไม่เคยเห็นข้อมูลดีๆ ของจังหวัดนี้เท่าไรเลย ขอบคุณอาจารย์จงรัก ซึ่งได้มีไอเดียดีๆ แบบนี้ให้น้องๆ ได้ศึกษากัน จะพยายามอ่านผลงานของน้องๆทุกคนค่ะ คราวหน้าอยากอ่านข้อมูลธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดค่ะ  เมื่อไม่นานมานี้ไป survey ที่ด่านช้าง ก็เพิ่งเห็นกับตาว่าโรงงานน้ำตาลที่นั่นใหญ่มากๆ  อาจมีอุตสาหกรรมหลักๆ ที่เราไม่รู้อยู่ที่อุทัย...บ้านเรานี่เอง.....พี่เล็ก (บ้านทุ่งนา)

นางสาวสุวิมล มุลเดช
1. เว็บไซต์ของข้าพเจ้าเรื่อง ธูปหอมทองตะนาว โดยมีที่อยู่เว็บไซต์ (URL) คือ http://www.utw.ac.th/uthaiwisdom/paphicha 2. ข้าพเจ้าวิธีการเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและการร่วมมือกันทำงานงานในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันดังนี้ คือ การสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ประกอบการจริง โดยมีคุณชาตรีและคุณรำไพ ทองตะนาวเป็นผุให้ข้อมูล และแบ่งข้อมูลไปเรียบเรียงกันตามความสำคัญ และนำมารวบรวมจัดทำเว็บไซต์ 3. ข้าพเจ้าได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจากบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาฯ ใช้ในการทำงาน, ผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง คือ การวางแผนล่วงหน้า อดทนค่อย ๆพัฒนาฝีมือ ฝึกไปเรื่อย ๆ อะไรไม่ดี ก็นำไปปรับปรุงแก้ไข และการจัดตั้งชุมชนเป็นกลุ่มในการทำงานและการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มนั้น ๆ 4. ข้าพเจ้าคิดว่าจะนำเทคนิควิธีการที่ทำให้บุคคลภูมิปัญญาท้องถิ่นประสบผลสำเร็จในการทำงาน มาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้และการทำงาน ดังนี้ ความอดทนต่องานที่เราทำเรา ขึ้นแล้วอย่าลง เดินไปให้ตรง ขึ้นไปให้สูง 5. ข้าพเจ้ามีความรู้สึกดังนี้ที่ได้ไปศึกษาข้อมูลถึงแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี คือ มีความภาคภูมิใจต่อความสามารถของชาวบ้านในอุทัยที่ถ่ายทอดความรู้ไปสู่เยาวชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี และทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่หายไป
นายกิตติภพ ธัญญกรรม ม6/4 เลขที่ 2

การรวบรวมข้อมูล

เราทั้งสองคนได้ไปรวบรวมงานโดยศึกษาจากเว้บไซด์ก่อน หลังจากนั้นก็ได้ไปถามจากผู้เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าขาวม้า ที่ศูนย์ทอผ้าวัดผาทั่ง อยู่ที่อำเภอ บ้านไร่ ดิฉันเป็นคนถามข้อมูลส่วนเพื่อนเป็นคนเก็บภาพและเก็บรายละเอียดอื่นๆ เช่น ประวัติ ผ้าขาวม้าใช้ผ้าชนิดใด ประโยนช์ต่างๆ

กระบวนการจัดทำเว็บไซด์

ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดีและใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและหัวข้อให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์จากการทำเว็บไซด์

ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับผ้าขาวม้ามากขึ้น เช่น ผ้าขาวม้าทำมาจากผ้าฝ้าย และวิธีการทำต่างๆ และยังทำให้เราถึงประวัติความเป็นรวมไปถึงประโยชน์ของผ้าขาวม้าอีกด้วย

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

การรวบรวมข้อมูลไม่อยากเท่าไร แต่จะไปอยากตรงการ Upload เนื่องจากการจัดเรียงข้อมูลไม่เป็นระเบียบและการตั้งชื่อภาพผิด

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

การที่ได้ทำงานครั้งนี้ได้อะไรที่คิดไม่ถึงหลายอย่าง เช่น ได้รู้ถึงความสามัคคีของเพื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบและรวมไปถึงทำให้เรารู้ถึงนิสัยของเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

น.ส.วัชราวดี วาดพันธ์ ม6/3 เลขที่ 20

การรวบรวมข้อมูล เราได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง และข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม เราสองคนมีหน้าที่เหมือนกันคือ ช่วยกันหาและดำเนินงาน

กระบวนการจัดทำเป็นเว็บไซต์ ต้องอาศัยโปรแกรม Dreamweaver เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเว็บไซต์ คือ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับแม่ป่วยลั้งมากขึ้น สมานความสามัคคีและความสัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงาน ส่วนใหญ่จะพบกับปัญหาข้อมูล เพราะข้อมูลที่ได้มามีน้อย และไม่ค่อยมีเวลาทำงาน

ข้อคิดที่ได้รับจากการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น การที่จะทำอะไรสักอย่าง ควรทำให้ดีที่สุดและตั้งใจทำ เพราะถ้าประสบความสำเร็จแล้ว จะเกิดความภูมิใจ

นางสาว กาญจนา คำทองสุข ม.6/4 เลขที่ 41

สวัสดีค่ะ ดิฉันสร้างเว็บไซต์เรื่อง ขนมใส่ไส้

เทคโนโลยีพื้นบ้านของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ในการสร้างงานทั้ง 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านอุปการณ์

- ใบตองห่อขนมใส่ไส้ ได้จากวัสดุธรรมชาติคือใบตอง

- ไม้กลัด ก็ได้จากวัสดุธรรมชาติเช่นกัน นั่นก็คือ ก้านมะพร้าว

2. ด้านเทคนิควิธีการ

- วิธีการทำหน้าที่ใช้น้ำมะพร้าวที่คั้นด้วยน้ำลอยดอกมะลิ ทำให้หอมหวน ชวนรับประทาน

-มะพร้าวที่ใช้จะต้องเป็นมะพร้าวทึนทึก (นี่คือเทคนิคเคล็ดลับความอร่อย)

- ปั้นไส้ให้เป้นก้อนกลมๆ พอประมาณ แล้ววางใส่ในหม้อ จากนั้นก็โรยด้วยดอกมะลิตามลงไป ปิดฝาให้สนิท

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในการทำโครงงาน คือ

1. โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน

- ใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver8 ในการสร้างเว็บไซต์

- ใช้โปรแกรม Adobe PhotoShopCS3 ในการตกแต่งรูปภาพ

- ใช้โปรแกรม Microsoft Word 2003 ในการสร้างแผ่นพับ

- ใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2003 ในการสร้างงานนำเสนอ

2. เครื่องมือสมัยใหม่ที่ดิฉันใช้ในการรวบรวมข้อมูล

- ใช้กล้อง Digital ในการถ่ายภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ใช้โทรศัพท์มือถือในการถ่ายวีดิทัศน์ขั้นตอนการทำงาน

- ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเว็บไซต์

นายอรรฆพล นิ่มไพบูลย์ เลขที่ 9 ชั้นม.6/5

เทคโนโลยีพื้นบ้านของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ในการสร้างงานทั้ง 2 ด้าน ดังนี้

 

1. ด้านเทคนิควิธีการ คือ

การสวดมนต์ ทำวัตรทุกเช้า และการฝึกสมาธิ

 

2.ด้านอุปกรณ์ คือ

เครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณ เช่น แจกันโบราณ พระรูปหล่อโบราณ

นายพิพัฒน์ สรสืบสาย เลขที่ 10 ชั้น ม.6/5

เทคโนโลยีพื้นบ้านของบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ในการสร้างงานทั้ง 2 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านเทคนิควิธีการ คือ การสวดมนต์ ทำวัตรทุกเช้า และการฝึกสมาธิ

2.ด้านอุปกรณ์ คือ เครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณ เช่น แจกันโบราณ พระรูปหล่อโบราณ

นายพงษ์ทัช ดีพิจารณ์

สวัสดีครับ ผมสร้างเว็บไซต์เรื่องวัดปากคลองมะขามเฒ่า

"เทคโนโลยีพื้นบ้าน"

เทคนิควีิธีการ

-เครื่องบดยาของหลวงปู่ศุข จะทำจากหินประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทำยา เป็นอีกหนึ่งวิธี

ที่ช่วยทุ่นแรงในการผลิตยาแต่ละครั้ง

 

ด้านอุปกรณ์

1. ของใช้ในสมัยโบราณ

2. โอ่งน้ำมนต์

3. ซุ้มหน้าบัณหลวงปู่ศุข

4. ถ้วย ชาม ไหโบราณ

5. ประตูไม้สักโบราณ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท