HRD, HRM, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความสัมพันธ์ระหว่าง HRDกับ HRM


HRD, HRM, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความสัมพันธ์ระหว่าง HRDกับ HRM

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM)

ความหมายตามแนวความคิดของ นายพิศณุ  ทองเลิศ 

                การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD)

                หมายถึง : การสร้างบุคลากรในองค์การ / หน่วยงานให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางสติปัญญา (Intelligence) ขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency , Performance , Skill) เพื่อให้พันธกิจ (Mission) ภาระงาน (Task) ขององค์การ/หน่วยงาน บรรลุเป้าประสงค์ (Goal)

                การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Mangement : HRM)

                หมายถึง : กระบวนการ (Process) ในการบริหารจัดการ (Management) เพื่อให้บุคลากรในองค์การ/หน่วยงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีประสิทธิผล (Effectiveness) เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงาน (Achievement) โดยอาศัยทฤษฎีทางการบริหาร เทคนิควิธีการต่างๆ อันนำไปสู่ผลลัพธ์(Result) และความพึงพอใจ (Satisfaction) กับผู้เกี่ยวข้อง

                การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM)

                การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) จัดเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นกระบวนการ (Process) ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ที่ผู้บริหารจะดำเนินการอย่างไร (How to) ให้บุคลากรในองค์การ/หน่วยงาน ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีประสิทธิผล  (Effectiveness) ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (Goal) ขององค์การ/หน่วยงาน มีรายละเอียดดังนี้                
                 

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Human Resource Development : HRD)
เป็นกิจกรรมที่นำมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  การอบรม  ประชุมสัมมนา  การอภิปราย  การระดมความคิด  หรือกิจกรรมอื่นใด  ที่ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ 
  1. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะ (Competency) ให้เป็นผู้มีความรู้ (Knowledge) ทักษะในการปฏิบัติงาน (Skill)  และมีทัศนคติที่ดี (Attitude) ในงานอาชีพ
  2.  พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม (Ethic / Moral)
  3. พัฒนาบุคลกรให้มีความรักและผูกพันในองค์การ / หน่วยงาน(Royalty)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM)
เป็นกระบวนการที่มีผู้บริหารหรือผู้นำในการทำให้บุคลากรในองค์การหรือหน่วยงานมีการพัฒนาเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย ทฤษฎี  หลักการบริหาร และเครื่องมือต่าง ๆ ประกอบ เช่น
  1. ใช้กระบวนการฝึกอบรมหรือสอนงาน Training / Coaching โดยผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น
  2. ระบบการคัดเลือกบุคลากรในการเข้าทำงานโดยเลือกคนดีเข้าทำงาน ทดสอบภาคทฤษฎี ปฏิบัติ สัมภาษณ์  จัดสรรตำแหน่งตามหน้าที่ภาระงาน
  3. Project / Program ที่ให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านคุณภาพ จริยธรรม ความสำนึกในหน้าที่ การให้บริการ ความซื่อสัตย์สุจริต  การพัฒนาบุคลิกภาพให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาที่สังคมต้องการ อันส่งผลให้องค์การ/หน่วยงาน มีการพัฒนางานให้ก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของสังคม อยู่ได้อย่างมั่นคง (Sustainable)


สรุป

ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และ       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM)
                การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ กระบวนการที่ทำให้บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานสูงขึ้นทั่วถึง Leonard Nadler ได้กล่าวถึงการพัฒนาบุคลากร 3 ข้อ คือ (1) การฝึกอบรม (Training) ให้มีทักษะ ทันสมัย การเปลี่ยนแปลง จากที่ไม่เท่ากันให้ท่ากัน (2) การให้การศึกษา (Education) มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น เกิดความหลากหลายในสมรรถนะ  (3) การพัฒนา (Development) ให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ มีความต่อเนื่อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ
                 ส่วนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นกระบวนการเช่นเดียวกัน ที่จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกิดขึ้นในองค์กร โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการ (Management functions)  เช่น  หน้าที่    การจัดการ (Management functions)  4 ประการ คือ (1) การวางแผน (Planning) (2) การจัดองค์การ (Organizing) (3) การชักนำ (Leading) และ (4) การควบคุม (Controlling)  หรือ  บทบาทการจัดการ (Management roles) เป็บบทบาทของผู้จัดการซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal relationships) (2) การสื่อสารของข้อมูล (Transfer of information) (3) การตัดสินใจ (Decision making)
ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
หมายเลขบันทึก: 441131เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท