ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

แจ้งปรัชญาที่นายยินดียังยืนหยัดในการสอนวิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์ ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ

     วิทยาศาสตร์(Science) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยกระบวนการ(process) การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ (Body of Knowledge)มาช่วยประสาน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนจากกระบวนการมาเป็นองค์ความรู้จึงจำเป็นต้องมีระบบระเบียบวิธีที่เป็นหลักสากล การสื่อความเข้าใจจึงจะบรรลุผล 

    ตัวอย่าง นักประดิษฐ์ อย่าง โทมัส อัลวา เอดิสัน(   ) เน้นกระบวนการมากกว่าองค์ความรู้ เพราะในความเป็นธรรมชาติของกระบวนการ มีระเบียบ ระบบ หรือ กฎ ที่ครอบจำกัดอยู่ เพียงแต่การค้นพบอาจจะแตกต่างกัน ด้วยภาษาที่สื่อสารออกมาจากนักวิทยาศาสตร์   เอดิสันใช้ตัวอย่างของวัสดุที่จะใช้เป็นใส้หลอด สำหรับไฟฟ้ากระแส 

ตามสมมุติฐานที่เอดิสันตั้งไว้ในเบื้องต้น คือ "วัสดุที่สร้างเป็นใส้หลอดนั้นต้องมีสภาพที่ทนความร้อนได้สูง นั้นหมายถึงวัสดุที่ไม่ไหม้หรือสลายตัวเมื่ออยู่ในสภาวะกระแสไฟฟ้าสูงบนสภาพความต้านทานน้อย"

    ถ้าเรามองในกระบวนการของเอดิสันนั้น ก็จะพบว่า เอดิสันน่าจะขาดความเข้าใจในกฎของโอห์ม กฎดังกล่าวเกิดจากการกลั่นจากสติปัญญาของโอห์มที่ผ่านประสบการณ์นั้น ๆ ออกมาในรูปภาษา ที่พิสูจน์ได้ในเชิงตรรก 

  ถ้าเอดิสันได้ทำงานร่วมกันกับโอห์ม ก็น่าจะเกิดการพัฒนากระบวนการที่มีประสิทธิภาพ

   หลังจากที่เอดิสันประกาศความสำเร็จ(1979-1980)ในการสร้างหลอดไฟฟ้าแบบไส้หลอดในสุญกาศ เขาและคณะทีมงาน  พยายามอธิบาย ว่า ทำไม ตลอดเส้นความยาวของตัวนำไฟฟ้าจึงไม่เกิดความร้อนและแสงสว่าง  แต่บริเวณที่เป็นไส้หลอดเส้นด้วยที่เคลือบด้วยผงคาร์บอนเท่านั้นทีมีสภาพความร้อนที่สูงและเพียงพอที่จะทำให้เกิดแสงสว่างได้   

    ความสำคัญของกระบวนการที่ได้มาซึ่งความรู้มีความคงทน ถ้าโรงเรียนหรือว่าครูจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีประการณ์บนระเบียบวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์  ความชำนาญในการเผชิญปัญหา ซึ่งหมายถึง การใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ก้าวข้ามปัญหา หรือต่อสูู้กับอุปสรรค์ จนบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ก็จะมีค่ากว่าการมีองค์ความรู้ที่แนบแน่น แต่ใช้การไม่ได้

   หลักการประเมินพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนจะต้องสร้างให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์  ไม่ใช่แค่การประเมินสมรรถนะของภาษาทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งหมายถึงการสืบถามความบนเข้าใจของสาระวิทยศาสตร์เท่านั้นหรือ...

ความมั่นคงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการก็ยังคงใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ที่อาจจะไม่วัดได้ด้วยผลการทดสอบของ Onet หรือ  NT  สำหรับนักเรียนประถมศึกษา แล้วก็สะท้อนผลว่า เกิดความล้มเหลวในการจัดการด้านวิทยาศาสตร์  ในเมื่อแบบวัดผล หรือเครื่องมือวัดผลวิทยาศาสตร์ร้อยละ 80 ยังเป็นการวัดสืบ ความเข้าใจในองค์ความรู้ หาใช่ความเข้าใจในเชิงกระบวนการที่เป็นแก่นแท้ของวิทยาศาสตร์

     ดังเห็นได้ว่าสังคมการสื่อทอดองค์ความรู้ต่อ ๆ กัน ที่ขาดกระบวนการที่เป็นระบบ เช่น คนหมู่บ้านนี้พบเห็นต้นมะพร้าวประหลาด ออกดอกเป็นหัวพญานาคะ 

ชนเหล่านั้นก็เชื่อในองค์ความรู้ที่สื่อได้นั้น  ถึงแม้นจะจบการศึกษาที่สูงก็ตาม  เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการพิสูจน์ตรวจสอบนั้นไร้ประสิทธิภาพ  ขาดการพัฒนา ขาดความเชื่อมั่นในที่สุด

  ถ้าจะกล่าวว่ากระบวนการจะสอดคล้องกับการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงลำดับการปฏิบัติ ลำดับเหตุการณ์ ที่สามารถกำหนดและความคุมทิศทางได้ตามปกติ

   ขอขอบคุณเพื่อน Blog ที่ให้กำลังใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 440686เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2011 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท