Secretary - เลขานุการ


     เป็นที่ทราบกันว่าคำศัพท์ในภาษาไทยปัจจุบัน มีคำจำนวนมากที่ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ไวรัส  และที่แปลศัพท์ (เรียกว่าบัญญัติศัพท์ก็ได้ คือ แทนที่จะใช้คำนั้นโดยตรง ก็คิดคำที่เป็นภาษาไทย แต่มีความหมายเหมือนเดิม) เช่น ไร้สาย ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย แปลจาก wireless, professor, university ตามลำดับ 


     คำว่า secretary ก็เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษอีกคำหนึ่งที่มีการแปลเป็นภาษาไทย โดยทั่วไปเราใช้ว่า “เลขานุการ” ซึ่งเราคุ้นเคยกับคำนี้มานานจนแทบไม่ได้คิดว่าเป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ
     การบัญญัติคำว่า เลขานุการ ในภาษาไทยนั้น มาจากการแปลแบบประสมคำ ระหว่าง “เลข” และ “อนุการ”  คำว่า เลข เป็นคำบาลีสันสกฤต นอกจากหมายถึงตัวเลขแล้ว ยังหมายถึง การวาด การเขียน ได้ด้วย (มีตำแหน่งข้าราชการของไทยเรา มีตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่า อักษรเลข หมายถึง ผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด คำว่าเลขในที่นี้ หมายถึงการเขียน) ส่วนคำว่า อนุการ เป็นคำบาลีสันสกฤตเช่นกัน แปลว่า การทำตาม หรือการติดตาม  
     แม้ว่าเราจะแปลคำ เลขานุการ มาจาก secretary ในภาษาอังกฤษ แต่ชาวอังกฤษเองก็รับคำนี้มาจากภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง และคำ secretary  ก็ยังมีความหมายอื่นๆ อีกมาก นอกเหนือจาก เลขานุการ ที่เราคุ้นเคย

ใน secretary  มี secret
     คำว่า secretary มีความหมายว่า “person who keeps records, writes letters, etc.,” คือ บุคคลผู้เก็บเอกสาร เขียนจดหมาย เป็นต้น พจนานุกรมภาษาอังกฤษหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า คำนี้เริ่มมีใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14
     รากศัพท์คำนี้คือ secretarius มีความหมายว่า “person entrusted with secrets” คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รักษาความลับ  ถามว่าความลับของผู้ใด  คำตอบนั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก บุคคลที่มีอำนาจสูง นั่นคือ พระราชา หรือพระสันตะปาปา
    คำว่า secretarius ในภาษาละตินแปลว่า เสมียน ก็ได้  เจ้าหน้าที่ระดับสูงก็ได้ เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเอกสารต่างๆ  คำว่า secret (ความลับ) และ secretary ในภาษาอังกฤษ รับมาจากภาษาละตินในเวลาเดียวกันนั้นเอง  ส่วนปัจจัย (suffix) -arius แปลว่าผู้ถือ เมื่อประสมกันก็ได้ความหมายว่า ผู้ถือความลับ ผู้กุมความลับปัจจัย –arius นี้พบได้หลายคำในศัพท์อังกฤษที่มาจากภาษาละติน เช่น Aquarius (aqua แปลว่าน้ำ) หมายถึง หม้อน้ำ เป็นชื่อราศีหนึ่งในบรรดา 12 จักรราศี หรือ Sagittarius (sagitta แปลว่าธนู) หมายถึง คนยิงธนู นี่ก็เป็นอีกหนึ่งจักรราศี


    นับตั้งแต่ทศวรรษ 1590 เป็นต้นมา ตำแหน่ง secretary ในอังกฤษ ถือเป็นตำแหน่งใหญ่ ระดับ minister เทียบกับของไทย ไม่ต่ำกว่าเจ้ากรม หรือเจ้ากระทรวง (ปัจจุบันคือ รัฐมนตรี) มีหน้าที่ดูแลหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง แต่ก็ยังมีอีกความหมาย คือตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทั่วไปในสำนักงานที่ดูแลเรื่องเอกสาร และเป็นผู้ช่วยจัดการธุระต่างๆ ให้เจ้านาย เช่น การกำหนดนัดหมาย จองตั๋ว ไปจับจ่ายซื้อสิ่งของตามคำสั่ง พิมพ์จดหมาย ฯลฯ
    ทั้งนี้ โปรดสังเกตการเน้นเสียง (stress) ของคำว่า secret และ secretary  โดยมีการเน้นเสียงที่พยางค์แรกทั้งสองคำ เป็น sécret  (ซี-เคร็ต) และ sécretary  (เซ็ก-เคร็ต-เทอ-ริ, หรือ เซ็ก-เคร็ต-แท-ริ, ไม่ใช่ ซี-เคร็ต-เทอ-ริ) แต่เสียงสระในพยางค์แรกต่างกัน

คำที่เกี่ยวข้อง
    เฉพาะคำว่า secretary นั้น เราแปลว่า เลขานุการ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ คำว่า secretary นั้นยิ่งใหญ่กว่าเลขานุการมาก อาจจะเทียบได้กับตำแหน่งรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีการใช้คำว่า secretary ร่วมกับคำอื่น จะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพราะไม่ได้แปลว่า เลขานุการ ทุกกรณีไป ดังเช่น
    Permanent Secretary หมายถึง ปลัดกระทรวง เช่น  Office of the Permanent Secretary for Defence หมายถึง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
    ในสหรัฐอเมริกา Secretary of commerce หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ส่วน Secretary of State เป็นตำแหน่งฝ่ายบริหาร หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เช่น “US Secretary of State Hillary Rodham Clinton” นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ตำแหน่ง Secretary of State ในนครรัฐวาติกัน (เรียกว่า เลขาธิการแห่งรัฐ) เทียบเท่ากับ นายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะบริหาร โดยมีพระสันตะปาปาเป็นประมุข
    โดยทั่วไปแล้ว Secretary ในตำแหน่งบริหารของสหรัฐอเมริกามักจะเทียบได้กับตำแหน่งรัฐมนตรีในภาษาไทยโปรดสังเกตว่า จะใช้ S ตัวใหญ่เสมอ และมักจะมีชื่อหน่วยงานหรือภารกิจ ต่อท้าย เช่น Secretary of Justice (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) 
    นอกจากนี้ยังมีคำว่า Secretary General (ใช้ Secretary-General, General Secretary หรือ First Secretary ก็ได้) แปลเป็นภาษาไทยว่า “เลขาธิการ” ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์การ มักใช้ในองค์การระดับนานาชาติ เช่น  สหประชาชาติ อาเซียน สหภาพยุโรป เนโต้ โอเป็ค ฯลฯ  พบว่ามีการแปลคำนี้ว่า เลขาธิการใหญ่ แต่ไม่สู้จะนิยมใช้
     คำนี้ยังมีความหมายแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ตามปริบท ยกตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองของไทย มีหัวหน้าพรรค (Leader) เป็นตำแหน่งสูงสุด มีเลขาธิการพรรค (Secretary General) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการภายในพรรค  แต่เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ (เช่น ประเทศจีน) เป็นตำแหน่งสูงสุดในพรรค มีคำนิยามดังนี้ “The General Secretary of the Communist Party of China is the highest ranking official within the Communist Party of China.” 

สรุป
    คำว่า secretary นับว่ามีความสำคัญ ควรจะต้องพิจารณาไม่น้อย เดิมนั้นมักหมายถึง ผู้ดูแลเอกสารสำคัญ หรือผู้ช่วยเจ้านาย ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิง บุคลิกคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง จนเกิดคำว่า “เลขานุการิณี” หมายถึง เลขานุการที่เป็นผู้หญิง (ปัจจุบันไม่ใคร่นิยมใช้) ต่อมากลายมาเป็นตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ เนื่องจากตำแหน่ง secretary ที่ใช้กันในแต่ละประเทศอาจไม่ได้ตรงกับตำแหน่งของไทยเสียทีเดียว และเรามีคำศัพท์เรียก secretary เพียงสองคำ คือ เลขานุการ และ เลขาธิการ ดังนั้น เมื่อเห็นตำแหน่ง secretary ในภาษาอังกฤษ เราจึงต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าเป็นตำแหน่งของหน่วยงานใด หรือทำหน้าที่ใด แล้วจึงเทียบกับตำแหน่งที่มีใช้ในภาษาไทย  มิฉะนั้นอาจแปลตำแหน่งสูงส่งระดับ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ” (Secretary of State) ผิดไป จนกลายเป็น “เลขานุการแห่งรัฐ” ก็ได้.


คำนี้ท่านได้แต่ใดมา Secretary

 

               เป็นที่ทราบกันว่าคำศัพท์ในภาษาไทยปัจจุบัน มีคำจำนวนมากที่ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ไวรัส  และที่แปลศัพท์ (เรียกว่าบัญญัติศัพท์ก็ได้ คือ แทนที่จะใช้คำนั้นโดยตรง ก็คิดคำที่เป็นภาษาไทย แต่มีความหมายเหมือนเดิม) เช่น ไร้สาย ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย แปลจาก wireless, professor, university ตามลำดับ 

คำว่า secretary ก็เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษอีกคำหนึ่งที่มีการแปลเป็นภาษาไทย โดยทั่วไปใช้คำว่า เลขานุการ ซึ่งเราคุ้นเคยกับคำนี้มานาน จนแทบไม่ได้คิดว่าเป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ

การบัญญัติคำว่า เลขานุการ ในภาษาไทยนั้น มาจากการแปลแบบประสมคำ ระหว่าง เลข และ อนุการ  คำว่า เลข เป็นคำบาลีสันสกฤต นอกจากหมายถึงตัวเลขแล้ว ยังหมายถึง การวาด การเขียน ได้ด้วย (มีตำแหน่งข้าราชการของไทยเรา มีตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่า อักษรเลข หมายถึง ผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด คำว่าเลขในที่นี้ หมายถึงการเขียน) ส่วนคำว่า อนุการ เป็นคำบาลีสันสกฤตเช่นกัน แปลว่า การทำตาม หรือการติดตาม  

แม้ว่าเราจะแปลคำ เลขานุการ มาจาก secretary ในภาษาอังกฤษ แต่ชาวอังกฤษเองก็รับคำนี้มาจากภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง และคำ secretary  ก็ยังมีความหมายอื่นๆ อีกมาก นอกเหนือจาก เลขานุการ ที่เราคุ้นเคย

 

ใน secretary  มี secret

คำว่า secretary มีความหมายว่า “person who keeps records, writes letters, etc.,” คือ บุคคลผู้เก็บเอกสาร เขียนจดหมาย เป็นต้น พจนานุกรมภาษาอังกฤษหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า คำนี้เริ่มมีใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14

รากศัพท์คำนี้คือ secretarius มีความหมายว่า “person entrusted with secrets” คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รักษาความลับ  ถามว่าความลับของผู้ใด  คำตอบนั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก บุคคลที่มีอำนาจสูง นั่นคือ พระราชา หรือพระสันตะปาปา

               คำว่า secretarius ในภาษาละตินแปลว่า เสมียน ก็ได้  เจ้าหน้าที่ระดับสูงก็ได้ เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเอกสารต่างๆ  คำว่า secret (ความลับ) และ secretary ในภาษาอังกฤษ รับมาจากภาษาละตินในเวลาเดียวกันนั้นเอง  ส่วนปัจจัย (suffix) -arius แปลว่าผู้ถือ เมื่อประสมกันก็ได้ความหมายว่า ผู้ถือความลับ ผู้กุมความลับ ปัจจัย –arius นี้พบได้หลายคำในศัพท์อังกฤษที่มาจากภาษาละติน เช่น Aquarius (aqua แปลว่าน้ำ) หมายถึง หม้อน้ำ เป็นชื่อราศีหนึ่งในบรรดา 12 จักรราศี หรือ Sagittarius (sagitta แปลว่าธนู) หมายถึง คนยิงธนู นี่ก็เป็นอีกหนึ่งจักรราศี

            นับตั้งแต่ทศวรรษ 1590 เป็นต้นมา ตำแหน่ง secretary ในอังกฤษ ถือเป็นตำแหน่งใหญ่ ระดับ minister เทียบกับของไทย ไม่ต่ำกว่าเจ้ากรม หรือเจ้ากระทรวง (ปัจจุบันคือ รัฐมนตรี) มีหน้าที่ดูแลหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง แต่ก็ยังมีอีกความหมาย คือตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทั่วไปในสำนักงานที่ดูแลเรื่องเอกสาร และเป็นผู้ช่วยจัดการธุระต่างๆ ให้เจ้านาย เช่น การกำหนดนัดหมาย จองตั๋ว ไปจับจ่ายซื้อสิ่งของตามคำสั่ง พิมพ์จดหมาย ฯลฯ

               ทั้งนี้ โปรดสังเกตการเน้นเสียง (stress) ของคำว่า secret และ secretary  โดยมีการเน้นเสียงที่พยางค์แรกทั้งสองคำ เป็น sécret  (ซี-เคร็ต) และ sécretary  (เซ็ก-เคร็ต-เทอ-ริ, หรือ เซ็ก-เคร็ต-แท-ริ, ไม่ใช่ ซี-เคร็ต-เทอ-ริ) แต่เสียงสระในพยางค์แรกต่างกัน

คำที่เกี่ยวข้อง

               เฉพาะคำว่า secretary นั้น เราแปลว่า เลขานุการ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ คำว่า secretary นั้นยิ่งใหญ่กว่าเลขานุการมาก อาจจะเทียบได้กับตำแหน่งรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีการใช้คำว่า secretary ร่วมกับคำอื่น จะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพราะไม่ได้แปลว่า เลขานุการ ทุกกรณีไป ดังเช่น

            Permanent Secretary หมายถึง ปลัดกระทรวง เช่น  Office of the Permanent Secretary for Defence หมายถึง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

            ในสหรัฐอเมริกา Secretary of commerce หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ส่วนSecretary of State เป็นตำแหน่งฝ่ายบริหาร หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เช่น “US Secretary of State Hillary Rodham Clinton” นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ตำแหน่ง Secretary of State ในนครรัฐวาติกัน (เรียกว่า เลขาธิการแห่งรัฐ) เทียบเท่ากับ นายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะบริหาร โดยมีพระสันตะปาปาเป็นประมุข

            โดยทั่วไปแล้ว Secretary ในตำแหน่งบริหารของสหรัฐอเมริกามักจะเทียบได้กับตำแหน่งรัฐมนตรีในภาษาไทยโปรดสังเกตว่า จะใช้ S ตัวใหญ่เสมอ และมักจะมีชื่อหน่วยงานหรือภารกิจ ต่อท้าย เช่น Secretary of Justice (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)  

               นอกจากนี้ยังมีคำว่า Secretary General (ใช้ Secretary-General, General Secretary หรือ First Secretary ก็ได้) แปลเป็นภาษาไทยว่า เลขาธิการ ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์การ มักใช้ในองค์การระดับนานาชาติ เช่น  สหประชาชาติ อาเซียน สหภาพยุโรป เนโต้ โอเป็ค ฯลฯ  พบว่ามีการแปลคำนี้ว่า เลขาธิการใหญ่ แต่ไม่สู้จะนิยมใช้

คำนี้ยังมีความหมายแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ตามปริบท ยกตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองของไทย มีหัวหน้าพรรค (Leader) เป็นตำแหน่งสูงสุด มีเลขาธิการพรรค (Secretary General) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการภายในพรรค  แต่เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ (เช่น ประเทศจีน) เป็นตำแหน่งสูงสุดในพรรค มีคำนิยามดังนี้ “The General Secretary of the Communist Party of China is the highest ranking official within the Communist Party of China. 

 

สรุป

               จากคำว่า secretary นับว่ามีความสำคัญ ควรจะต้องพิจารณาไม่น้อย เดิมนั้นมักหมายถึง ผู้ดูแลเอกสารสำคัญ หรือผู้ช่วยเจ้านาย ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิง บุคลิกคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง จนเกิดคำว่า เลขานุการิณีหมายถึง เลขานุการที่เป็นผู้หญิง (ปัจจุบันไม่ใคร่นิยมใช้) ต่อมากลายมาเป็นตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ เนื่องจากตำแหน่ง secretary ที่ใช้กันในแต่ละประเทศอาจไม่ได้ตรงกับตำแหน่งของไทยเสียทีเดียว และเรามีคำศัพท์เรียก secretary เพียงสองคำ คือ เลขานุการ และเลขาธิการ ดังนั้น เมื่อเห็นตำแหน่ง secretary ในภาษาอังกฤษ เราจึงต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าเป็นตำแหน่งของหน่วยงานใด หรือทำหน้าที่ใด แล้วจึงเทียบกับตำแหน่งที่มีใช้ในภาษาไทย  มิฉะนั้นอาจแปลตำแหน่งสูงส่งระดับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ผิดไป จนกลายเป็น เลขานุการแห่งรัฐ ก็ได้.

 

...ธวัชชัย ดุลยสุจริต

หมายเลขบันทึก: 439664เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2011 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท