รู้เท่าทันบุคคล.....รู้ได้ด้วยแรงจูงใจ (Motive)


รู้เท่าทันบุคคล.......รู้ได้ด้วยแรงจูงใจ

  เรียนเพื่อนๆ ชาว Blog จากการทบทวนวิชาการได้มีนักจิตวิทยาได้แบ่งรูปแบบของแรงจูงใจของบุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกันออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ ซึงคิดว่าจะสามารถนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ในสังคมหรือกลุ่มเพื่อน บุคคลที่เราพบเห็นในชีวิตจริง ในประจำวัน ในสังคมได้ดีพอสมควรนะคะ

1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรม ที่จะประสบสัมฤทธิผลตามมาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จะไม่ทำงานเพราะ หวังรางวัล แต่ทำเพื่อจะ ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว ้ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  1. มุ่งหาความสำเร็จ (Hope of Success) และกลัวความล้มเหลว (Fear of Failure)

  2. มีความทะเยอทะยานสูง

  3. ตั้งเป้าหมายสูง

  4. มีความรับผิดชอบในการงานดี

  5. มีความอดทนในการทำงาน

  6. รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง

  7. เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีการวางแผน

  8. เป็นผู้ที่ตั้งระดับความคาดหวังไว้สูง

2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Afflictive Motive) ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มักจะเป็นผู้ที่โอบอ้อมอารี เป็นที่รักของเพื่อน มีลักษณะเห็นใจผู้อื่น  มาจากสภาพครอบครัวแล้วผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศในบ้านปราศจาก การแข่งขัน พ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่ พี่น้องมีความรักสามัคคีกันดี ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

     1. เมื่อทำสิ่งใด เป้าหมายก็เพื่อได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
     2. ไม่มีความทะเยอทะยาน มีความเกรงใจสูง ไม่กล้าแสดงออก
     3. ตั้งเป้าหมายต่ำ
     4. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งมักจะคล้อยตามผู้อื่น

3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจนั้น พบว่า ผู้ที่มีแรงจูงใจแบบนี้ส่วนมาก มักจะพัฒนามาจากความรู้สึกว่าตนเอง "ขาด" ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ อาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ทำให้เกิดมีความรู้สึกเป็น "ปมด้อย" เมื่อมีปมด้วย จึงพยายามสร้าง "ปมเด่น" ขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองขาด ผู้มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

     1. ชอบมีอำนาจเหนือผู้อื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะออกมาในลักษณะการก้าวร้าว
     2. มักจะต่อต้านสังคม
     3. แสวงหาชื่อเสียง
     4. ชอบเสี่ยงทั้งในด้านของการทำงาน ร่างกาย และอุปสรรคต่าง ๆ
     5. ชอบเป็นผู้นำ

4. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive) ผู้ที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งพ่อแม่ของเขาอาจจะใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงเกินไป ดังนั้นจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่นหรืออาจจะเนื่องมาจากการเลียนแบบ บุคคลหรือจากสื่อต่าง ๆ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว จะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

     1. ถือความคิดเห็นหรือความสำคัญของตนเป็นใหญ่
     2. ชอบทำร้ายผู้อื่น ทั้งการทำร้ายด้วย  “กายหรือวาจา”

5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive) สาเหตุของการมีแรงจูงใจแบบนี้ก็เพราะการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทะนุถนอมมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้ได้ช่วยเหลือตนเอง ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ พึ่งพาจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

      1. ไม่มั่นใจในตนเอง
      2. ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง มักจะลังเล
      3. ไม่กล้าเสี่ยง
     4. ต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากผู้อื่น

เพื่อนๆ ชาวBlog เราลองมาทบทวนตัวเอง .....ทบทวน....พฤติกรรมของเพื่อนทั้งสนิท...ไม่สนิดและทบทวนใครก็ได้ที่เรา ทั้งชอบเขาและไม่ชอบเขา ว่าบุคคลนั้นแท้จริงแล้วเขามีแรงจูงใจแบบไหนกันหนอ แล้วเราจะเข้าใจเขา....และเราจะ.....ประเมินตัวเขา..และ....เราจะตัดสินใจได้ว่า...เราจะครบเขาต่อไป.....หรือจะ Say…NoหรือReject…. เขาออกไปจากชีวิตของเราดีไหมนะ....???????  หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

 

  Somsri  Nawarat

  รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

  081-9435033

หมายเลขบันทึก: 439324เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท