ศาสตร์ในการเรียนรู้


เรียน เพื่อ เรียนรู้

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่ถูกกำหนดอยู่ในโครงสร้างของหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 นั้น  เป็นหมวดวิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  มีความเข้าใจธรรมชาติของตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ และวัฒนธรรมทั้งของไทยและประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี 

เพื่อให้สามารถบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้จัดตั้ง สำนักวิชาศึกษาทั่วไปขึ้น โดยมีปรัชญาในการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มีคุณสมบัติที่กอปรด้วยความรู้ ความสามารถ ทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ รอบรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรม

จากประสบการณ์ การสอน และการพูดคุยกับคณาจารย์ พบว่า พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาเปลี่ยนไป เช่น มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งมาเรียน โดยไม่มีเอกสาร ไม่มีปากกา ไม่มีกระเป๋า (มาแต่ตัว) และนั่งเรียนในห้องโดยใจอยู่ข้างนอก (จิตใจล่องลอย)

การเรียนรู้ จนสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้นั้น การนั่งฟังอาจารย์บรรยายอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เข้าใจจนนำไปสู่การนำความรู้ไปใช้ได้ (ไม่สามารถบอกได้ และใช้ไม่เป็น) 

หากสามารถช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจ และเรียนรู้ถึงกระบวนการ และเทคนิคการเรียนรู้ก่อน (โดยไม่ต้องรอจนกระทั่งจบการศึกษา) ที่จะไปเรียนรายวิชาชีพ ก็จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้องค์ความรู้เหล่านั้น จนสามารถเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปใช้ได้ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติ และเป็นอนาคตที่ดีของไประเทศ ดังนั้น การสร้างรายวิชา "ศาสตร์ในการเรียนรู้" จึงเป็นการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้ถึง วิธีเรียนรู้ "Learn how to learn"

แผนการสร้างรายวิชา มีขั้นตอน (วางแผน) ไว้ดังนี้ค่ะ
1. Workshop
2. ประชุมระดมสมอง โครงสร้างรายวิชาศาสตร์ในการเรียนรู้
3. สรุปผล การระดมสมอง
4. คณะกรรมการจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3)
5. คณะกรรมการค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงเนื้อหารายวิชา
6. คณะกรรมการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
7. สัมมนารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
8. คณะกรรมการจัดทำเอกสารประกอบการสอน 
9. สัมมนาเตรียมอาจารย์ผู้สอน (กระบวนกร)
10. จัดเตรียมห้องเรียนให้มีบรรยากาศในการเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
11. สอนตามหลักสูตรรายวิชาที่วางไว้  
12. ประเมินผลการเรียน จากการทำงาน การเรียนรู้ และพฤติกรรมของนักศึกษา
13. ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน
14. สรุปรายงานวิจัย และนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปปรับปรุงการเรียนการสอนวิชานี้ สำหรับภาคการศึกษาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 439042เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่ paew ครับ หายไปนานมาก หมวดการศึกษาทั่วไปสำคัญต่อการศึกษาครับ เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนต่อด้านการศึกษาครับ รออ่านอีกครับ

สวัสดีค่ะ

คิดเหมือนอาจารย์ขจิตค่ะ  ด้วยความระลึกถึงเสมอนะคะ

สวัสดีค่ะ น้อง อ.ขจิต และ พี่ครูคิม ... ตอนนี้อยู่ที่ มรภ.เพชรบูรณ์ ค่ะ เด๊่ยวกำลังจะเดินทางกลับ มข. แล้ว ค่ะ

ขอโทษนะคะ ยังเขียนไม่จบ เลยค่ะ ... เมื่อกี้พิมพ์จนจบแล้ว พอส่งขึ้นปรากฎว่าเนทหลุด หายจ้อยเลยยยยยยย.....เศร้า เดี๋ยวเขียนใหม่...ฮือๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท