๑๔.ประชานิยมเชิงพุทธฯ


รัฐบาลทุกรัฐ พยายามอย่างยิ่งที่ประกาศนโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจประชาชน แต่เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีที่ผ่านมา พระพุทธเจ้าทรงตรัสอดีตชาติของพระองค์เกี่ยวกับการทำประชานิยมมาแล้ว ในกูฏทันตสูตร พระสูตรว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง

     เนื่องจากส่วนนี้ต่อจากกูฏทันตสูตร : พระสูตรว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง....เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมควรอ่าน ภาคแรกก่อน 

     ในประเด็นดังกล่าวนี้ หากจะถามว่า "ประชานิยมเชิงพุทธ" มีหรือไม่ ?  หากพิจารณาแล้ว ลองอ่านพระสูตรและบทวิเคราะห์ต่อไปนี้ดู...

.๕. คุณสมบัติของผู้ทำประชานิยม

.๕.๑.คุณสมบัติของผู้ปกครอง

                พราหมณ์ปุโรหิต  ได้เสนอแนะว่าถ้าจะทำการบูชามหายัญจะต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย, กำลังใจ, กำลังพระราชทรัพย์และไม่หวั่นไหวในเวลา  ๓  เวลา  คือ       

เวลาที่หนึ่ง           ไม่ควรทำความเดือดร้อนพระทัยว่า  กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราจักสิ้นเปลือง         

เวลาที่สอง            กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเรากำลังสิ้นเปลืองไป

เวลาที่สาม            กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราได้สิ้นเปลืองไปแล้ว

 

.๕.๒. คุณสมบัติของผู้ใต้ปกครอง

                นอกจากนั้นแล้วพรามณ์ปุโรหิตยังได้เสนอแนะว่าก่อนที่จะทรงกระทำการบูชามหายัญให้คัดคนเป็น  ๒  ประเภทหรือพรรค  โดยเอาความบริสุทธิ์แห่งความประพฤติมาเป็นเกณฑ์กำหนด ซึ่งจะได้แยกเพื่อให้เกิดภาพชัดเจนดังนี้

ที่

พรรคมิจฉาทิฏฐิ

พรรคสัมมาทิฏฐิ

การแสดงออก

พวกที่ฆ่าสัตว์

พวกที่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

กาย

พวกที่ลักทรัพย์

พวกที่เว้นขาดจากการลักทรัพย์

กาย

พวกที่ประพฤติผิดในกาม

พวกที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

กาย

พวกที่กล่าวคำเท็จ

พวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำเท็จ

วาจา

พวกที่กล่าวคำส่อเสียด

พวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำส่อเสียด

วาจา

พวกที่กล่าวคำหยาบ

พวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ

วาจา

พวกที่กล่าวคำเพ้อเจ้อ

พวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อ

วาจา

พวกที่เพ่งเล็งอยากได้

พวกที่ไม่เพ็งเล็งอยากได้

จิต

พวกที่มีจิตพยาบาท

พวกที่ไม่มีจิตพยาบาท

จิต

๑๐

พวกที่เป็นมิจฉาทิฐิ

พวกที่เป็นสัมมาทิฐิ

จิต

 

.๖. การปฏิรูแแนวคิดในการบูชายัญ

                เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดดังกล่าว พอจะได้ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของพิธีกรรม  ดังนี้

๕.๖.๑. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของพิธีกรรม  ๑๖  อย่าง

 

ที่/ดัชนี

ตัวผู้นำ

 

๑.ประชามติ /การทำ 

    ประชาวิจารณ์คน  ๔

    กลุ่ม

 

๒.คุณสมบัติผู้นำมี

     จำนวน  ๒  ข้อ

 

 

 

๓.สถานภาพ  ๒ ข้อ

 

 

 

 

๔.ศรัทธา/ความเชื่อ

    จำนวน  ๑ ข้อ

 

๕.ความรู้/ความสามารถ

จำนวน  ๓  ข้อ

 

 

๖.คุณสมบัติ

    ผู้ใต้บังคับบัญชา/

    บริวาร  ๔  ข้อ

 

 

    

๑.      เจ้าผู้ครองเมือง  ๒. อำมาตย์ราชบริพาร  ๓. พราหมณ์มหาศาล       

๔.     คหบดีผู้มั่งคั่ง

 

 

       ๑.ทรงเป็นกษัตริย์โดยกำเนิดบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายพระชนกและฝ่าย

           พระชนนี

     ๒.มีพระรูปงดงาม  น่าดู  น่าเลื่อมใส  ฉวีวรรณผุดผ่องดุจพรหม

 

 

     ๑.เป็นกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง  มีทรัพย์สินมาก  มีโภคะมาก มีพืชพันธุ์

         ธัญญาหารมาก

     ๒.มีกองทัพที่เข้มแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยที่ดี เป็นผู้ทรงมีกองทัพที่

         เกรียงไกร

 

      ๑. ทรงมีศรัทธา  ทรงเป็นทายกเป็นทานบดี

 

 

     ๑.ทรงรอบรู้เรื่องราวที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมานั้น ๆ

        ไว้เป็นจำนวนมาก

     ๒.ทรงทราบความหมายแห่งภาษิตที่ได้ศึกษามา

     ๓.ทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลมและปรีชาสามารถ

 

 

     ๑.พราหมณ์ปุโรหิตบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายบิดาและมารดา

     ๒.พราหมณ์ปุโรหิตเป็นผู้คงแก่เรียนทรงจำมนต์  รู้จบไตรเพท

     ๓.พราหมณ์ปุโรหิตเป็นผู้มีศีลและมีศีลที่เจริญ

     ๔.พราหมณ์ปุโรหิตเป็นบัณฑิตผู้เฉลียวฉลาดมีปัญญาลำดับที่๑ 

         หรือ  ๒  ในบรรดาพราหมณ์ผู้รับการบูชา

 

.๖.๒. ปฏิรูปแนวคิดและวิธีการในการบูชายัญ

                คนในยุคนั้น  นิยมนำสัตว์ต่าง ๆ เช่นแพะ  แกะ  ไก่  เป็นต้นมาบูชายัญ  โดยเฉพาะมนุษย์มีบางยุคเมื่อปรารถนาจะได้อานิสงส์สูงสุดต้องนำบุตรธิดาภรรยามาบูชายัญก็มีแต่พราหมณ์ปุโรหิตโพธิสัตว์ได้นำแนวคิดการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์มาปฏิรูปใหม่โดยนำเอาเพียงของที่ไม่มีชีวิตมาปฏิรูปใหม่เป็นองค์ประกอบในพิธีการเท่านั้นส่วนองค์ประกอบหลักคือคุณสมบัติของผู้ที่ทำการบูชายัญและคนผู้เป็นบริวารในพระไตรปิฎกใช้คำว่า

                “  ในยัญนั้นไม่ต้องฆ่าโค  แพะ  แกะ  ไก่  สุกร  และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำหลักบูชายัญไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น  แม้เหล่าชนที่เป็นทาส  คนรับใช้  กรรมกรของพระเจ้ามหาวิชิตราชก็ไม่ถูกลงอาชญาไม่มีภัยคุกคามไม่ต้องร้องไห้ฟูมฟายทำบริกรรม แท้จริงคนที่ปรารถนาจะทำจึงได้ทำ ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ 

ทำแต่สิ่งที่ปรารถนาเท่านั้น  สิ่งที่ไม่ปรารถนาไม่ต้องทำ  ยัญพิธีนั้น

สำเร็จลงเพียงเพราะเนยใส  น้ำมัน  เนยข้น  นมเปรียว  นำผึ้ง  และน้ำอ้อยเท่านั้น  [1]

         การปฏิรูปแนวคิดดังกล่าวนี้เองส่งผลให้เกิดแนวคิดการบูชายัญตามแบบพุทธขึ้น เพราะหากเป็นแบบพราหมณ์  ย่อมเคารพนับถือปฏิบัติตามพิธีกรรม  ประเพณีและความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์ทั้งหมด  แต่นี้ผู้นำที่เป็นธรรมราชาแนวพระพุทธศาสนาย่อมปฏิบัติตนแตกต่างออกไป

.๖.๓.การมีส่วนร่วมของประชาชน (Political   Participation)

                เมื่อผู้นำ หรือผู้บริหารปกครองมีความชอบธรรม ผู้ตามก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายที่ผู้นำตั้งเอาไว้  ในกูฏทันตสูตรนี้คน  ๔  จำพวกคือ

               ๑.เจ้าผู้ครองเมืองที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท  ถ้าเทียบเมืองไทยในปัจจุบันก็คือเจ้าเมือง หรือผู้ว่าและนายอำเภอ หรือจะแยกย่อยลงไปถึงระดับกำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,นายกเทศมนตรี,นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  เป็นต้นได้มีส่วนร่วม

                ๒.พวกอำมาตย์ราชบริพารที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท  หมายถึงข้าราชการทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารตำรวจ

                ๓.พวกพราหมณ์มหาศาลที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบทก็คือพวกผู้อยู่ในสายวิชาการ  วัฒนธรรมและผู้นำจิตวิญญาณอาจหมายถึงพระผู้ใหญ่ทุกระดับชั้น หรือครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แม้กระทั้งครูภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ๆ

                ๔.พวกคหบดีผู้มั่งคั่งที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท  หมายถึงพ่อค้าประชาชนทั่ว ๆ ไปต่างพากันมาร่วมกิจกรรมและได้นำทรัพย์สินส่วนตนถวาย  แต่กลับถูกพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงห้ามไว้ไม่รับและยังบอกให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้นำทรัพย์ของพระองค์ไปใช้ได้ด้วย

                เมื่อถูกกษัตริย์ปฏิเสธคนเหล่านั้นจึงปรึกษากันจะไม่นำทรัพย์สินของตัวเองที่ตั้งใจไว้กลับไป  จึงปรึกษากันว่าจะร่วมกันทำการบูชามหายัญโดยการตั้งโรงทานเอาไว้ใน  ๔  ทิศบริเวณโดยรอบมณฑลพิธี โดยมีกลุ่มต่าง ๆ จับจองสถานที่ ดังนี้ 

                 ผู้ครองนคร  เริ่มบำเพ็ญทานทางทิศตะวันออกแห่งหลุมยัญ

                 พวกอำมาตย์ราชบริพาร  เริ่มบำเพ็ญทานทางทิศใต้แห่งหลุมยัญ

                พวกพราหมณ์  เริ่มบำเพ็ญทานทางทิศตะวันตกแห่งหลุมพิธี 

                พวกคหบดี  เริ่มบำเพ็ญทานทางทิศเหนือแห่งหลุมพิธี

 

.๖.๔.อานิสงส์และลำดับของการบูชายัญ

ระดับที่  ๑              เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราช  ทรงทำการบูชามหายัญแล้วทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองและน่าอยู่ ประชาชนมีความสุขสบายถ้วนหน้าแล้วนั้น  พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามถึงวิธีการที่ได้อานิสงส์มากกว่า แต่ใช้ทุนน้อยกว่ายัญสมบัติ  ๓  ประการอันมีองค์ประกอบ  ๑๖

ระดับที่  ๒            พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ นิตยทานที่ทำสืบกันมาถวายเจาะจงบรรพชิตผู้มีศีลเป็นยัญใช้ทุนทรัพย์และการตระเตรียมน้อยกว่า แต่มีผลานิสงส์มากกว่า ”

ระดับที่  ๓             การสร้างวิหารถวายพระสงฆ์ผู้มาจากทั่วสารทิศจะใช้ทุนทรัพย์และการตระเตรียมน้อยกว่าแต่มีผลานิสงส์มากกว่านิยทาน

ระดับที่  ๔             ผู้มีจิตใจเลื่อมใสพระรัตนตรัยเป็นยัญที่มีทุนทรัพย์และการตระเตรียมน้อยกว่า  แต่มีผลานิสงส์มากกว่าวิหารทาน

ระดับที่  ๕             ผู้มีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล  ๕  เป็นยัญมีทุนทรัพย์และการตระเตรียมน้อยกว่า  แต่มีผลานิสงส์มากกว่าผู้มีจิตเลื่อมใสนับถือในไตรสรณคมณ์

ระดับที่  ๖              ผู้ที่บรรลุมรรคผล(นิพพาน)เป็นยัญมีทุนทรัพย์และการตระเตรียมน้อยกว่า แต่มีผลานิสงส์มากกว่าผู้สมทานเบญจศีล

                ถ้าจะพูดแล้วพระพุทธองค์ทรงเน้น  ความสำคัญถึง  ๖  ระดับสำหรับคน  ๖  ประเภทที่ยังสลัดทิฐิเดิมของตนยังไม่ได้เหมือนผู้นำในระดับต่าง ๆ กันคือผู้นำบางคนใช้

ระดับที่  ๑  ผู้ยังติดยึดรูปแบบเดิม ๆ ยังไม่พัฒนายังติดอยู่ในรูปแบบและองค์ประกอบที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม

ระดับที่  ๒  ทรงเน้นถึงการเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวมคือการบริจาค หรือให้ทุน

ระดับที่  ๓  การการะทำเพื่อสังคมคนหมู่มาก  เช่นสังคมสงฆ์ที่ปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ

ระดับที่  ๔  ทรงเน้นที่ศรัทธา  ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย  คือสิ่งที่ดีงาม

ระดับที่  ๕  ทรงเน้นเรื่องของการปฏิบัติ  คือการลงมือทำของมนุษย์

ระดับที่ ๖ ทรงเน้นผลสำเร็จของงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือนิพพาน

 

.๗.นโยบายของพระพุทธเจ้า

                นโยบายของพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศเอาไว้ในวันเพ็ญเดือน  ๓  หรือวันมาฆบูชา ว่า

สพฺพปาปสฺส  อกรณํ

กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํ

เอตํ     พุทฺธสาสนํ  [2]

                นั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศต่อต้านการกระทำบาปทั้งปวง  (สพฺพปาปสฺส  อกรณํ)  โดยเฉพาะการบูชายัญที่มีชีวิตของสัตว์เป็นเดิมพัน  ในแนวนโยบายดังกล่าวนี้  พระองค์ยังได้ส่งเสริมกิจกรรมที่ตรงกันข้ามอีก  ๒  ประการคือ การทำความดีทุกรูปแบบ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) และการทำจิตใจให้ผ่องใส  (สจิตฺตปริโยทปนํ)  อย่างแข็งขัน  จนสรุปและยืนยันชัดเจนว่านี้คือพระพุทธศาสนา  ( เอตํ  พุทธสาสนํ) 

 

.๗.๑. พุทโธบายทางการสื่อสาร

                กลยุทธ์ในการสื่อสาร หรือการพูดของพระพุทธเจ้าที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้คนหันมาคิดใหม่-ทำใหม่ จากวัฒนธรรมดั่งเดิมที่นิยมการฆ่าเพื่อบูชายัญ  มาเป็นการให้ชีวิตเพื่อบูชายัญ  จากการนำชีวิตสัตว์มาบูชายัญกลายเป็นพืชผักธัญญาหารมาบูชายัญแทน ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงใช้หลักธรรม  ๔  ประการ คือ

                ๑. ชี้แจงให้เห็นชัด (สันทัสนา)

                ๒. ชักชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ  (สมาทปนา)

                ๓. เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า  (สมุตเตชนา)

                ๔. ปลอบชะโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมกถา  (สัมปหังสนา)

                หลักธรรมทั้ง  ๔  ประการนี้เองเป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่งผลให้ระบบความคิดเรื่องการบูชายัญของกูฏทันตพราหมณ์เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีงาม

 

.๗.๒.ผลของการปฏิรูปแนวคิด  (Reform)

                เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสพระสูตรแล้ว กูฏทันตพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะโดยการยอมรับนับถือในพระรัตนตรัย พร้อมประกาศปล่อยชีวิตสัตว์ต่าง ๆ ให้เป็นไทตามพุทธมติ จนเกิดผลดีที่ตามมาอีกหลายประการคือ

๑.การเข้าใจถึงที่มาที่ไปและความหมายของการบูชายัญ

๒.วิธีการบูชายัญที่แท้จริงคือการส่งเสริมอาชีพของผู้ใต้ปกครอง

๓.การไม่ต้องบูชายัญด้วยเลือดเนื้อชีวิตของสัตว์ทั้งหลายอีกต่อไป

 

 .๗.๒.๑. พราหมณ์ประกาศล้มเลิกพิธีกรรม

ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสอนุปุพพีกถา  คือทรงประกาศเรื่องที่ง่าย   ๆ  ไปหายาก หรือจากรูปธรรมสู่นามธรรมมีทาน, ศีล, สวรรค์, โทษ-ความต่ำทราม-ความเศร้าหมองแห่งกามและอานิสงส์ในการออกบวชตามลำดับ  จนกูฏทันตพราหมณ์บรรลุธรรมและได้กราบทูลพระพุทธองค์ฉันภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น

 

.๗.๒.๒.ปรับโรงพิธีบูชายัญเป็นที่เลี้ยงภัตตาหาร

                ตอนเช้า  พระพุทธองค์ได้เสร็จไปบิณฑบาตพร้อมด้วยหมู่สงฆ์  ฉันภัตตาหาร  ณ  โรงพิธีบูชามหายัญของพราหมณ์ โดยพื้นฐานแล้วกูฏทันตพราหมณ์  ยอมรับในแนวความคิดของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ ให้ฟังจึงยอมรับโดยดุษฎียภาพ

            พระสูตรนี้  ได้ชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจ  ที่ผูกโยงกับการเมืองการปกครองอย่างที่แยกแทบไม่ออก  แนวคิดคนอินเดียโบราณที่ต้องการให้ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองคงอยู่ตลอดไปด้วยการบูชายัญที่ต้องมีการฆ่าสัตว์เพื่อปรารถนาและอ้อนวอน  แต่พระพุทธเจ้าปฏิรูปแนวคิดดังกล่าวมาเป็นการให้ทุนด้านการเกษตร, จัดตั้งกองทุนด้านพาณิชย์กรรม และการเพิ่มขั้นเงินเดือนให้กับข้าราชการ  ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะทำให้

๑.      โจรผู้ร้ายไม่มี

๒.    ถูกหลักการด้านศีลธรรมที่ไม่มีการเข่นฆ่า

๓.     เป็นการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่ยั่งยืน  และ

๔.     เพิ่มผลผลิต และภาษีเงินได้อีกเข้าคลังหลวง 

นับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุดและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง



[1] ที.สี. ๙ / ๓๔๕ /  ๑๔๔.

[2] สำนักงานคณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ข้อมูลวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม. พิมพ์ครั้งที่  ๒. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๗). หน้า  ๓๗.

หมายเลขบันทึก: 438500เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2011 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท