ความย้อนแย้งของระบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน


พอมาถึงใน “ยุคเกษตร-อุตสาหกรรม” นี้ เกษตรกรจำนวนมาก “ปลดประจำการควาย” ของตน และผันตัวเองมาเป็น “ผู้จัดการนา” จ้างรถไถนา จ้างคนทำนา จ้างรถเกี่ยวข้าว อัดปุ๋ย อัดยาฆ่าแมลงลงในนา ซึ่งนาข้าวทุกวันนี้กลายเป็น “โรงงานผลิตสินค้าแบบองค์กรธุรกิจ”

 

 

ความย้อนแย้งของระบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความเจริญเติบโตทางด้านวัตถุ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ได้เสริมแรงทำให้แนวคิดเสรีทุนนิยมแสดงอิทธิพลทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยม (Laissez Faire) ยืนยันให้รัฐเข้าไปยุ่งกับระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ มือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand)”  นั่นคือ การปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาด (Market Mechanism) และกลไกราคา (Price Mechanism)  ซึ่งแน่นอนที่สุด ผู้มีทุนมากย่อมได้เปรียบในการแข่งขันในระบบตลาดเสรี (Free Trade Market)   ลัทธิทุนนิยม (Capitalism) ส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิต (Mode of Production) ของสังคมไทย กล่าวคือ จากการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน แบ่งปันแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ที่เหลืออาจจำหน่ายให้แก่ชุมชนอื่น กลายเป็นการผลิตจำนวนมากเพื่อเน้นจำหน่าย โดยใช้การจ้างแรงงานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าช่วย ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)  เพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)  อันเป็นแนวคิดของ Frederick W. Taylor,  Adam Smith,  และ Henri Fayol ที่ได้ชี้ให้เห็นคุณอนันต์เทียมเท็จของการผลิตจำนวนมากเพื่อจำหน่ายตามวิถีการผลิตแบบอุตสาหกรรม แต่ไม่มีความสอดคล้องกับวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรมของสังคมไทย  คำว่า เกษตร-อุตสาหกรรม ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย และส่งผลให้เกิดความย่อยยับทางเศรษฐกิจระดับครัวเรือน (Micro Economy) ของประชาชนชาวไทยที่มีอาชีพเกษตรกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ กล่าวคือ แต่เดิมชาวนาปลูกข้าว พืชผัก ผลไม้ และเลี้ยงทุกอย่างที่จำเป็นต่อการบริโภคในครัวเรือนของตน พอมาถึงใน ยุคเกษตร-อุตสาหกรรม นี้  เกษตรกรจำนวนมาก ปลดประจำการควาย ของตน และผันตัวเองมาเป็น ผู้จัดการนาจ้างรถไถนา จ้างคนทำนา จ้างรถเกี่ยวข้าว อัดปุ๋ย อัดยาฆ่าแมลงลงในนา ซึ่งนาข้าวทุกวันนี้กลายเป็น โรงงานผลิตสินค้าแบบองค์กรธุรกิจ  เน้นการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากที่สุด โดยหวังว่าจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายข้าวที่มีต้นทุนการผลิตสูงเช่นนั้น  เมื่อเก็บเกี่ยว ขายข้าวได้เงินแล้ว ก็นำเงินที่ได้มานั้นไปซื้อปลา หมู ไข่ ผัก กะปิ น้ำปลา กระเทียม หอม พริกไทย น้ำมันพืช รวมถึงสิ่งของทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพอื่น ๆ  แต่ที่น่าสังเกตคือ เกษตรกรนำเงินที่ได้มาจากการขายข้าวนั้น นำไปซื้อผัก ปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ และอาหารอื่นเพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยทั้งที่เกษตรกรเหล่านั้นสามารถผลิตอาหารที่เพิ่งซื้อไปนั้นได้ด้วยตนเอง ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก  กระนั้นแล้ว เมื่อเงินที่ได้มาจากการขายข้าว ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ กลุ่มชาวนาพยายามเรียกร้องให้ภาครัฐดำเนินมาตรการที่ทำให้พวกเขาขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น โดยคาดคิดไปไม่ถึงว่า ยิ่งราคาข้าวแพงมากขึ้นเท่าใด มันทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าอื่น ๆ ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ในที่สุดสินค้าอื่น ๆ ก็จะขึ้นราคาตามไป จนชาวนามีอำนาจการซื้อที่ไม่เพียงพออีกครั้ง และภาครัฐไม่สามารถสร้างอำนาจการซื้ออย่างเพียงพอให้แก่ชาวนาในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม ที่ขาดความพอประมาณเช่นนี้ได้  คำตอบเดียวของปัญหานี้คือแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือ การทำให้ชาวนามี ความพอประมาณ  มีเหตุ-มีผล  และ มีภูมิคุ้มกันที่ดี  กล่าวคือ  1) ความพอประมาณ หมายถึง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พึ่งตนเองได้ มีความพึงพอใจตามฐานานุรูปของตน ซึ่งต่างจากแนวคิดเศรษฐกิจทุนนิยม ที่ตั้งอยู่บนความโลภแบบไร้ขีดจำกัด  2) การมีเหตุ-มีผล หมายถึง การตริตรองพินิจพิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ควรเป็น มิใช่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปอย่างคนสิ้นคิด อันเป็นไปตามอารมณ์ สมัยนิยม หรือการยั่วยุของลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการฝึกฝนใช้วิจารณญาณ (Judgment)   3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การระมัดระวังในการดำเนินชีวิต การใช้จ่ายเงิน และการซื้อหาและใช้สอยเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นจริง ๆ ต่อการดำรงชีวิต ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท  ยิ่งไปกว่านั้น แนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง เนื่องเพราะเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถพึ่งตนเองได้---เป็น เสรีชนในทางเศรษฐกิจ และ เสรีชนในทางความคิด  มีวิจารณญาณ และไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ขาดจริยธรรมอย่างง่ายดาย ด้วยอำนาจเงิน การซื้อเสียง และการหลงเชื่อคำพูดที่บิดเบือน ไม่เป็นเหตุเป็นผล  และในท้ายที่สุด ด้วยแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงนี้เอง จะทำให้เกิด “ความมั่นคงจากฐานราก”  อันจะนำประเทศไทยก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

 

 

ดร.จักษวัชร  ศิริวรรณ

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 437654เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2011 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หนูขอแสดงความคิดเห็นในบทความนี้หน่อยนะค่ะ หนูเห็นด้วยกับบทความนี้เกษตรกรไทยไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อกู้หนี้ยืมสินจากธนาคาร หรือที่อื่นเพื่อนำเงินมาลงทุนในการเกษตร ทั้งซื้อปุ๋ยเคมี ซื้อยาฆ่าแมลงและสิ่งที่จำเป็นใช้ในการเกษตร เพื่อหวังที่จะได้มาซึ่งกำไรอันน้อยนิด เมื่อมาหักค่าใช้จ่าย และต้นทุนที่ลงไปในการเกษตร ก็แทบจะไม่เหลือเลย บางรายแถมยังมีหนี้สินติดตัวอีกด้วย ซึ่งถ้ามองกลับกันเกษตรกรมีที่ทำการเกษตรซึ่งเป็นที่ดินของตนเอง ไม่ได้เช่าที่ทำการเกษตร เท่านี้ก็มีต้นทุนที่ทำกินแล้ว นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในที่ดินของตน ตามรอยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าทำนาไม่จำเป้นต้องซื้อปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งเราสามารถผลิตยาฆ่าแมลงจากพืช ได้ เช่น นำกระเทียมสับ พริกไทย และพริกป่น ผสมกับน้ำแล้วนำไปฉีดพ่นไล่แมลงได้ และ การผลิตปุ๋ยจากมูลสัตว์เพื่อใช้ในการเกษตรนั้น หาได้ในชุมชน ถ้าเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ฏ็อาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนหนึ่งก็เก็บไว้กินเอง อีกส่วนก็เก็บไว้ทำพันธ์ข้าวปลูกในครั้งต่อไป ถ้าข้าวเหลือจริงก็นำไปขายได้ แต่ถ้าราคาข้าวที่รัฐบาลกำหนดให้นั้นราคาต่ำมาก เราก็ไม่จำเป็นต้องขาย เพราะเราไม่เดือดร้อน มีข้าวกินตลอดทั้งปี และสามารถจำหน่ายข้าวในราคาปลีกได้อีกด้วย

 

ในความเห้นส่วนตัวนั้น..มีความคิดเห็นว่า..ปัจจุบันนี้..ระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น..เนื่องจากเศรษฐกิจและสังคมในการบริโภคของมนุษย์เปลี่ยนไป..ดว้ยปัจจัยที่สำคัญนี้จึงทำให้ระบบทุนนนิยมเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ..ดำเนินชีวิตโดยที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลย..ดังนั้นเราควรยึดหลักเศษฐกิจพอเพียง..ของสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในการบริหารจัดการในชีวิตของตนเองควรศึกษาให้เข้าใจอย่างท่องแท้..แล้วนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันให้ได้ประโยชน์..สูงสุด...

ในความคิดเห็นส่วนตัวผมนั้น..คืออาชีพเกษตรกรรมในยุคปัจุบันนี้จะเน้นการผลิตสินค้าการเกษตรกรรมในเชิงธุรกิจมากกว่า เพื่อที่จะได้นำเงินไปใช้ในการดำรงชีพ ไม่นึกถึง..ความเป้นอยุ่ของตนเอง อาชีพทำนาเกษตรกรนั้นจะขายข้าวที่ปลูกได้จนหมดและซื้อข้าวสารมากิน แต่ที่ผมไม่เห็นด้วย..กับเกษตรกรรมในยุคสมัยนี้คือ การขาดหลักเศษฐกิจพอเพียงที่พระเจ้าอยู่หัวได้ตัรสไว้...การพอมีพออยู่พอกินพอใช้ จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น ไม่เดือดร้อนและสามารถพึ่งตนเองได้

ขอแสดงความคิดเห็น ว่าเห็นด้วยกับบทความนี้ เพราะปัจจุบันเทคโลยีเข้ามาสู่มนุษย์มากขึ้น ทำให้สังคมมนุษย์เจริญในด้านวัตถุ แต่กลับถอยหลังในด้านจิตใจ การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นแทบจะหาไม่ได้ เพราะสิ่งที่เข้ามาสู่มนุษย์เป็นสิ่งที่เข้ามาแล้วก็จากไป ตัวอย่างเช่น วันนี้มีเทคโนโลยีแบบใหม่เข้ามา มนุษย์ก็จะตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ แต่พอเวลาผ่านไปสิ่งที่เคยใหม่ในตอนนี้มันก็จะล้าสมัยในวันหน้า และก็จะตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ไปเรื่อยๆ มันเป็นวัฎจักรในด้านความเจริญของมนุษย์

ขอแสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วยกับบทความนี้ เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ในการดำเนิชีวิตมาก ทำให้การดำรงชิวตความเป็นอยู่ มีความอยากลำบากมากขึ้น ทำให้คนหันมาใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มความสะดวกสะบายให้กับคนเอง จนลืมวิถีชีวิตแบบเดิมซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ไม่ต้องใช้เงินเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันทุกวันนี้ไม่จะทำอะไรต้องใช้เงินเป็นปัจจัยหลักเพื่อสนองความต้องการของตนเอง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท