Kmกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย


KMกับงานวิจัย

   กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง : จากงานประจำสู่งานวิจัยสถาบัน/ผลงานทางวิชาการ

ซึ่งพี่ ๆ ได้ดำเนินการจัดทำกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะนำผลการดำเนินงานมาบอกเล่าเพื่อน ๆ สมาชิกให้รับทราบและพิจารณาร่วมกันแล้วค่ะ

ในปีนี้ทางสำนักหอสมุดมีงานวิจัยออกมาถึง 5 ผลงานค่ะ และคู่มือการดำเนินงานอีก 1 ผลงานค่ะ ประกอบไปด้วย

การนำเสนองานวิจัย :

เรื่องแรก : ต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตในบริบทของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ

     สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้ : จากผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบห้องสมุดมีชีวิตในบริบทของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ผู้วิจัยออกแบบนำเสนอให้ผู้ใช้บริการพิจารณานั้น  ผู้ใช้บริการเห็นด้วยกับในระดับมาก    ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้นโดยคำนึงถึงภารกิจหลักของห้องสมุดที่จะต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เน้นวิชาการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก   ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงบริบทของความมีชีวิตชีวาน่าเข้าใช้เมื่อได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรสารสนเทศทันสมัยที่หลากหลาย  กิจกรรมต่างๆ ตลอดถึงความสะดวกสบาย   เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความประทับใจในความพร้อม  อยากเข้าใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น  ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ จากการวิจัยในครั้งนี้ประกอบการพิจารณาพัฒนาสำนักหอสมุดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้บริการและให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงสุด 

เรื่องที่สอง : ความคลาดเคลื่อนของฐานข้อมูลบรรณานุกรมกัวัสดุสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

      สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้ : ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกค้นหาหนังสือ เอกสาร วัสดุสารสนเทศต่าง ๆได้อย่างรวดเร็วและมึความถูกต้องมากขึ้น ทราบสาเหตุและลักษณะของการเกิดความคลาดเคลื่อนของฐานข้อมูลบรรณานุกรมกับวัสดุสารสนเทศ ทั้งนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เรื่องที่สาม : ความต้องการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของอาจารย์และนิสิตในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

     สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้ : ได้รายงานผลการดำเนินงานซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินงานไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ ประสบปัญหาในการเก็บข้อมูลของอาจารย์

เรื่องที่สี่ : ความต้องการสนับสนุนในการดำเนินงานของห้องสมุดโรงเรียนของรัฐในเขตพื้นที่ทำการมหาวิทยาลัยทักษิณ

      สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้ : ดำเนินงานปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์

เรื่องที่ห้า : พัฒนาระบบยืม - คืนอัตโนมัติโดยใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือ

      สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้ : ดำเนินงานปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันสำนักหอสมุดให้วิธีการยืมหนังสือด้วยตนเองแบบใช้บัตรประจำตัวนิสิตให้การยืมหนังสือ ซึ่งได้คิดวิธีการยืมหนังสือในรูปแบบใหม่โดยการสแกนลายนิ้วมือแทน ซึ่งช่วยให้สะดวกกับผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้นในอนาคต

และคู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง ระบบขยายเสียง

      สำหรับคู่มือเรื่องนี้ : ดำเนินงานปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นการรวบรวมวิธีการใช้งาน เลือกซื้อและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ระบบขยายเสียงให้สามรถใช้งานหรือเลือกซื้อได้อย่างถูกวิธี

      บทสรุปจากผู้อำนวยการสำนกหอสมุด R2R : จากคนหน้างานเกิดขึ้นขึ้นได้อย่างไร : สรุปบทเรียนจากหน่วยงานอื่น

         ผู้อำนวยการนำเสนอ R2R พร้อมอธิบายความหมายของ R2R งานวิจัยมาจากงานประจำ ทำเพื่อการแก้ไขปัญหา พัฒนางานประจำของตนเอง ซึ่งผู้จัดทำโดยส่วนมากจะปฏิบัติหน้าที่งานนั้น ๆ อยู่แล้ว และเมื่อทำแล้วผลลัพธ์จะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานของตนเอง

         อันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะค่ะที่นำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ อิอิ

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 437265เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2011 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท