วารสารหากิน และวิชาการปีศาจ : รองอธิการบดีและรองคณบดีฝ่ายวิชาการของทุกมหาวิทยาลัยต้องอ่านบันทึกนี้


          นักศึกษาแพทย์ของ มอ. เมื่อกว่า ๓๐ ปีมาแล้วเล่าว่า   วันหนึ่ง ศ. นพ. ธาดา ยิบอินซอย ออกตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ (รพ. สงขลานครินทร์ยังสร้างไม่เสร็จ)   มีหญิงสาววัยรุ่นสวยมากมาตรวจโรคหัวใจ   ศ. นพ. ธาดา ซักประวัติว่า “หนูทำอาชีพอะไร”  คนไข้กระมิดกระเมี้ยนตอบว่า “หนูหากินค่ะ”   ศ. ธาดา พูดเสียงดัง “หากินหรือ ผมก็หากินเหมือนกัน  ผมถามว่าอาชีพอะไร”   นศพ. คนนั้นจึงเตะหน้าแข้ง ศ. ธาดา เบาๆ และกระซิบว่า “อย่าถามเขาเลย เขาอาย”   จึงเป็นที่เข้าใจ   เฉลยนิทานเรื่องนี้ว่า ศ. ธาดา ไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่เด็ก ภาษาไทยไม่แข็ง 

          เฉลยจริงๆ ตามหัวข้อบันทึกนี้ว่า ที่จริงวารสารวิชาการในปัจจุบันตกอยู่ใต้กลไกตลาดหมดแล้ว   ทุกวารสารมีค่ายสำนักพิมพ์ และต้องทำธุรกิจ   ซึ่งคำว่า “ธุรกิจ” ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีพฤติกรรมละโมบ มุ่งกำไรสูงสุด เสมอไป   เดี๋ยวนี้มีกระแส CSR ซึ่งแปลว่าธุรกิจที่ดี มีความยั่งยืน ต้องมี CSR (แท้ ไม่ใช่ของปลอม) อยู่ใน “ดีเอ็นเอ” ขององค์กร

          แต่เป็นธรรมดา ที่ย่อมมีธุรกิจจอมปลอม หวังรวยโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง   หรือดำเนินธุรกิจแบบไม่รับผิดชอบต่อสังคม หรือมีวิธีการล่อลูกค้าด้วยเล่ห์กลกึ่งขาวกึ่งดำ   โปรดอ่าน อี-เมล์ จาก ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ และการโต้ตอบ ต่อไปนี้

          เรียน อาจารย์          สำนักพิมพ์ MDPI (Molecular Diversity Preservation International) ซึ่งเป็นของคนต่างชาติ และไปเปิดสำนักงานที่ Basel, Switzerland และในเมืองจีน ได้จัดพิมพ์ journal หลายชนิดมากตามที่แนบให้ดูเป็นตัวอย่าง  ผมอยากให้อาจารย์ช่วยบอกนักวิจัยรอบๆ ตัวและลูกศิษย์ ลูกหา ให้หลีกเหลี่ยงการตีพิมพ์ในวารสารของ MDPI ด้วยสาเหตุ : 

 
          1. MDPI ตั้งชื่อวารสารซึ่งโน้มเอียงไปทางด้านหลอกลวง ให้คนเข้าใจผิด
ขอให้สังเกตุว่า วารสารต่างๆ ที่ MDPI จัดพิมพ์ใช้ชื่อเลียนแบบวารสารที่มีชื่อเสียงและจัดอยู่ใน ISI database แล้ว    ยกตัวอย่างเช่น วารสาร CANCER ที่เป็นวารสารที่ดีมี Impact factor สูง (4.8)     MDPI ก็จัดพิมพ์วารสารชื่อ CANCERS (ไม่มี Impact factor)  วารสารอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน โดยการเติม S เข้าไปหลังชื่อวารสารที่มีอยู่แล้ว ( เช่น GENES ซึ่งลอกเลียนจาก GENE )
          2. วารสาร MOLECULES ของ MDPI จัดพิมพ์มาระยะหนึ่งแล้วในลักษณะ open access  และมี Impact factor (1.738) ซึ่งดูเหมือนดี แต่อาจารย์บางท่านที่อยู่ใน e –mail  pool นี้ จะเป็นพยานจากประสบการณ์ของตนเองได้ว่า วารสารนี้ ไม่มีการ reject หรือจัดการแก้ไข manuscripts  ไม่ว่า reviewer จะมีความเห็น negative เท่าใด  นอกจากนั้นจะเป็นบทความชนิดใดก็ได้ โดยขอให้เกี่ยวข้องกับ molecules เคมีเท่านั้นเป็นพอ 
          สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ MDPI  จะ charge เจ้าของบทความเป็นจำนวนเงิน CHF 1,400 (> 40,000 บาท) เมื่อบทความได้ตีพิมพ์
จริงอยู่มีหลายวารสารในปัจจุบันที่คิดค่า Page charge แต่พวกนั้นเป็นวารสารที่ไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้  
          3. ที่น่าตกใจมากคือ มีนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงหลายท่านไม่ว่าจะเป็นนักเคมี , ชีวะ หรือเทคนิคการแพทย์ ได้ลงตีพิมพ์ผลงานของตนเองในวารสาร MOLECULES          ท่านหนึ่งตีพิมพ์เป็น 10 บทความ จนได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ มาแล้วก็มี

 


          คำถามก็คือเราควรสนับสนุนให้นักวิจัยไทยนำเอาผลงานวิจัยที่เกิดจากการใช้เงินภาษีอากรของพวกเราไปตีพิมพ์ในวารสารแบบนี้หรือไม่ (โดยที่ยังไม่ต้องคิดว่าเงินทั้งหมดที่จ่ายให้ MDPI นั้นมาจากไหน?)
 

เคารพ
ยอด

          มีรายละเอียดของกลุ่มวารสารนี้แนบมาด้วย ที่นี่          

          เมื่อ อ. ยอด ส่ง อี-เมล์ แจ้งข้อพึงระมัดระวังนี้ ก็มีผู้ใหญ่หลายท่านให้มุมมองเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ความเห็นของ ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์

Dear Yod and others
 

I took a look at the MDPI list and the editorial board of Molecules.  Although I don't know any of them, they seem to be reasonable academics.  I also looked at other journals, and scanned literature on Open Access journals, now numbering more than 4000, and MDPI is only a small part of that! Besides Cancers, MDPI also publish "Genes", mimicking the famous journal "Gene".  I come to the conclusion that MDPI is using the Open Access bandwagon in an opportunistic way, but not outright mischievous, just คาบลูกคาบดอก.
 

We are now in Open Access age, and I predict there will be many more such journals.  Some such as PLOS series are very good, others just opportunistic.  I agree with Sak, Kiat and others that we need to have good criteria for judgment of quality.
 

The Open Access system puts burden on the authors, hence the stiff page charge.  Our grant and univ system may need a screening mechanism and come up with a list of quality Open Access journals.  (Someone such as Narongrit should also watch out for such list which may be available internationally.)
 

I attach a report of which I am chair, which will be published in WHO Technical Report Series with a section on the "creative commons" movement (including Open Access system) for IP sharing in around p 84.  You should also look up http://www.earlham.edu/~peters/fos/overview.htm for a discussion on Open Access journals.
The future world is somewhat like a sea full of sharks and goodies.  We should be careful to get the goodies, and get rid of the sharks.
Yongyuth

 

ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ ตอบ ศ. ดร. ยงยุทธ
Dear YY,
Surely, to publish new Journals under the names: ANIMALS, CANCERS, ENERGIES, GENES, POLYMERS while there are existing Journals : ANIMAL, CANCER, ENERGY, GENE, POLYMER – is NOT “just คาบลูกคาบดอก”.
Cheers,
Yod

 

คำตอบของ ศ. ดร. ยงยุทธ
I certainly would not publish in any of these journals.
I think you are right - they seem to have more devious intent than just คาบลูกคาบดอก.  Anyone else with any experience on these journals?
YY

 

ความเห็นของ อ. นพ. กิตติศักดิ์ กุลวิชิต  ซึ่งผมเห็นว่าน่าอ่านมาก ให้ความรู้เรื่อง “วิชาการปีศาจ” ได้ดีมาก
เรียน อ.ยอด และอาจารย์ทุกท่าน

ตอนที่ผมได้รับอีเมล์จากอ.ยอดเมื่อหลายวันก่อนก็ว่าจะตอบอยู่แต่ติดด้วยเงื่อนเวลาจริงๆ 

ต่อเมื่อฝ่ายวิจัย คณะแพทย์จุฬา เวียนอีเมล์จึงขอรวมตอบกลุ่มใหญ่   ท่านใดได้มากกว่าหนึ่งก๊อปปี้ขออภัยด้วยนะครับ

 

ผมคงจะไม่ได้มาฟันธงว่า MDPI journals ดีหรือไม่อย่างไร   เพราะไม่มีเวลาไปดูในรายละเอียด   แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่าปรากฎการณ์เช่นนี้เราพบได้ในหลายๆอย่างนอกเหนือจากวารสาร   เป็นอันที่ผมเรียกว่า Phantom Academia   ซึ่งเกิดจากเราประเมินคุณภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วย surrogate indicator  จึงมีผู้ฉวยโอกาสสร้างตัวชี้วัดทางอ้อมที่มีคุณภาพต่ำกว่าขึ้นมา   บางอย่างทุกท่านคงคุ้นเคยดี บางอย่างบางท่านอาจจะไม่เคยได้พบ   จึงอยากนำมาแบ่งปัน อนึ่งจะเห็นว่าเกือบทุกอย่างใน Phantom Academia นี้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ thrive อยู่ได้เนื่องจากพลังทึกทักของมนุษย์ว่าเมื่อมี surrogate indicator เหล่านี้แล้วอีกสิ่งก็น่าจะมีคุณภาพดีด้วย

Phantom Doctorate Degree   อันนี้เชื่อว่าทุกท่านคงจะคุ้นดีอยู่ บางท่านก็ล้อกันว่า "จ่ายครบจบแน่"  บางอันเราก็รู้จักกันในนามมหาวิทยาลัยห้องแถว  
 

Phamtom Research เกือบร้อยทั้งร้อยของงานวิจัยประเภทนี้จะเป็นยา   เกิดเนื่องมาจากบริษัทยาต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์เพราะรู้ว่าเมื่อหมอสั่งยาตัวใดแล้วก็จะติดเป็นนิสัยและเปลี่ยนยาก  งานวิจัยพวกนี้มักจะมีลักษณะ
      เป็นยาที่ทราบกันอยู่แล้วว่ามี efficacy
      ไม่มีกลุ่ม control เพราะไม่ต้องการให้แพทย์สั่งยาตัวอื่น
      มีค่าตอบแทนแพทย์เป็นรายหัว
      sponsor โดยบริษัทเจ้าของยา มาพร้อม proposal เพื่อส่ง IRB ได้เลย
      มีคนวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนบทความให้
      อาจจะอ้างว่าเป็น clinical trial phase IV คือ surveillance

 
Phantom Book  อาจารย์หลายท่านอาจเคยได้รับอีเมล์เชิญให้เขียนบทในหนังสือที่จะตีพิมพ์ในเร็ววันและจะส่งไปให้ห้องสมุดต่างๆหลายแห่ง   ทุกท่านที่ได้รับอีเมล์แบบนี้ก็จะรู้สึกดีและเป็นเกียรติ   ทั้งนี้จะมีค่าตีพิมพ์ที่ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้จ่ายเป็นเงินหลายหมื่นบาทอยู่ซึ่งบางท่านก็รู้ก่อนเขียนบางท่านก็มารู้เอาเมื่อเขียนไปแล้ว   จะเห็นได้ว่าในอดีตการผลิตหนังสือจะยากมาก ต้องอาศัยโรงพิมพ์  สำนักพิมพ์ต้องคัดสรรผู้เขียนเพื่อให้แน่ใจว่าจะขายได้   ในปัจจุบันการตีพิมพ์หนังสือง่ายมาก  เดินไปร้านซึร๊อกซ์ก็แทบจะทำกันได้ทุกร้านถูกแพงอีกเรื่องหนึ่ง Phantom Book เหล่านี้จะใช้วิธี search งานวิจัยใน database ต่างๆและสร้างอีเมล์ออโตเมติคส่งออกทีละเป็นหมืืนๆฉบับ   ในอีเมล์จะมีอ้างถึงงานวิจัยเดิมของเหยื่อที่ค้นได้จาก database เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ   Phantom Book เหล่านี้บางเจ้าพอได้ครบบทที่จะกำไรได้เค้าก็อาจจะพิมพ์ออกมาสักยี่สิบหรือห้าสิบเล่มส่งไปตามห้องสมุดต่างๆตามสัญญาให้ดูดี  บางเจ้าก็เงียบหายไปเฉยๆ   เข้าข่ายฉ้อฉลทำให้เป็นเรื่องเป็นราวทางอินเทอร์เนต

 
Phantom Journal  เช่นเดียวกันกับ Phantom Book คือจะมีอีเมล์เชื้อเชิญให้ส่งเรื่องไปลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวารสารเกิดใหม่ที่เราพบได้ประจำ   แต่สังเกตว่าในอีเมล์ของพวก Phantom Journal นี้จะใช้ adjective บ่งบอกคุณภาพและประกันความน่าเชื่อถืออย่างฟุ่มเฟือย  แต่ก่อนเราจะไม่ค่อยเจอวารสารจอมปลอมพวกนี้เนื่องจากว่า business model มีอย่างเดียวคือ publisher pays for publishing cost and sells subscription เพราะฉนั้นถ้าคุณภาพของเรื่องที่ลงไม่ดีก็ไม่มีใครซื้อ subscription ต่อมาเมื่ออีก business model คือ Authors pays for publishing cost   ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เสียหายอะไรและวารสารชั้นนำหลายฉบับก็ใช้อยู่  เริ่มได้รับความนิยมมากขี้นพวก Phantom Journal จึงได้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด   สิ่งที่สังเกตได้นอกจากอีเมล์ที่ไม่ชอบมาพากลแล้วก็คือค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์มักจะถูกอย่างเหลือเชื่อ   ส่วนใหญ่แล้วพวกนี้ก็จะมี peer review เช่นกัน แต่ peer review ก็ไม่ใช่หมายความว่าบรรณาธิการจะต้องทำตาม reviewer's comment (อันนี้มิใช่ส่ิงผิดปกติอะไร) สุดท้ายก็อยู่ที่วิจารณญานของบรรณาธิการ   ซึ่งถ้าเป็นพวก Phantom Journal เค้าก็จะตั้งธงเอาไว้อยู่ก่อนแล้วว่า "จ่ายตรง ลงแน่" ทั้งนี้หัวข้อนี้จะไม่รวมถึงการที่บริษัทยาเข้าไปทำวารสารเองแล้วคนอ่านไม่รู้   ดังเช่นกรณีของ Merck ที่จ่ายเงินให้ Elsevier ทำ The Australasian Journal of Bone and Joint Medicine   เพราะอันนั้นจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนมากกว่า Phantom Journal   (จะเห็นได้ว่าการที่เป็น "Open Access" journal หรือ Author pays มิได้ทำให้วารสารนั้นๆเป็น Phantom หากแต่ว่า Phantom Journal อาศัยช่องทางของ Open Access หากิน)

 


Phantom Editor  เชื่อว่าคงจะมีอาจารย์ส่วนน้อยที่ประสพพบเหตุการณ์เช่นนี้   ส่วนใหญ่ก็จะมาจาก Phantom Journal ดังกล่าวข้างบน ส่งอีเมล์เชื้อเชิญให้เป็นบรรณาธิการ   แน่นอนที่ผู้รับจะรู้สึกเหมือนอยู่ใน cloud nine ในแวบแรกและครู่ต่อมาก็จะเริ่มกังวลว่าจะต้องทำอะไรบ้างในการเป็นบรรณาธิกาเพราะเกิดมาก็ไม่เคยเป็น   แต่จะสังเกตได้ว่าในอีเมล์ก็จะเขียนเอาไว้ชัดว่าท่านแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ทุกอย่างจะถูก run โดย admin office   เพียงแต่บางคราวท่านอาจจะต้องเขียนบทความบรรณาธิการ   จะแยกแยะได้ว่าอันไหนของจริงอันไหน Phantom ท่านก็ต้องเข้าไปอ่านคู่มือ Editor มือใหม่จาก World Association of Medical Editors  แล้วดูว่าวารสารให้ท่านทำและรับผิดชอบอะไรที่ว่าไว้หรือไม่

 
Phantom Conference  อันนี้จริงๆแล้วก้ำกึ่งที่จะอยู่ใน Phantom Academia เพราะจุดมุ่งหมายมิใช่ใช้เป็นตัวบอกคุณภาพทางอ้อม   แต่จะเป็นการเงินมากกว่า คนจัดก็จะใช้วิธีเชื้อเชิญทางอีเมล์เช่นกัน   Phantom Conference ที่ไม่เข้าข่ายหลอกลวงก็จะจัดจริงๆ แต่ค่าลงทะเบียนจะแพงและจัดในที่ๆเป็นสถานที่ท่องเที่ยว   เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนอยากมาและเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้   แต่จะมีอีกพวกหนึ่งที่เข้าข่ายหลอกลวง พวกนี้จะมาในรูปแบบเชิญให้เป็น speaker และบอกว่าจะออกค่าใช้จ่ายเดินทาง ที่พักให้ และจะมี secretariat ติดต่อประสานงาน แต่จุดประสงค์จริงๆก็คือต้องการข้อมูล financial   ส่วนเมื่อได้ไปแล้วจะเอาไปทำอะไรได้ผมไม่ทราบ   เมื่อถึงเวลาใกล้ประชุมผู้ถูกเชิญจึงจะรู้ว่าไม่มีการประชุมนั้นๆ   แบบหลังอันตรายมากแต่พบน้อย ผมยังไม่เคยได้ยินจาก biomedical side   เคยอ่านเจอแต่ science side ถ้าใครมีประสบการณ์เล่าแบ่งปันกันด้วยครับ   ส่วนแบบแรกดูง่ายเพราะผู้จัดจะไม่ใช่เป็นองค์กรวิชาการ   ซึ่งรวมถึงบริษัทยาที่ชอบจัด "academic meeting" ในสถานที่ท่องเที่ยวสุดหรูและออกค่าใช้จ่ายให้แพทย์และครอบครัวไป "ประชุม" แต่อันนี้จุดประสงค์เป็นอีกอย่างไม่ใช่ได้เงินจากค่าลงทะเบียน   ส่วนจะเป็นอะไรทุกท่านคงเดาได้

 

สรุปคือ Phantom Academia ทุกประเภทนั้นจะมีทุกอย่างเหมือนของจริงหมด  ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องปกปิด แต่จะขาดสิ่งเดียวกันคือความเป็น "Academia"   ทุกท่านจึงต้องตัดสินกันเองว่า MDPI เป็น Phantom หรือของจริง
 

กิตติศักดิ์ กุลวิชิต
ปล. ขออภัยทุกๆท่านในความยาวของอีเมล์

 

ข้อมูลจาก อ. หมอปกรัฐ หังสสูตร
เรียน อาจารย์ทุกท่านครับ
ผมมีข้อมูลเพิ่มเติม (แต่ไม่ใหม่แล้ว)มาให้อ่านกันครับ   และเป็นบทเรียนว่าแค่ดูสำนักพิมพ์ ว่ามีชื่อเสียง เช่น กรณีของ Elsevier ก็คงไม่ได้
http://www.the-scientist.com/blog/display/55671/
ปกรัฐ
นายแพทย์ ดร.ปกรัฐ หังสสูต
Pokrath Hansasuta,MD, DPhil (Oxon), FRCPath
Head, HIV Research Group and Division of Virology
Department of Microbiology
King Chulalongkorn Memorial Hospital
Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
Our office location: http://tinyurl.com/ChulaHIVmap

 

คำตอบของ อ. หมอกิตติศักดิ์

อันนี้ก็คือที่ผมเอ่ยถึงในอีเมล์ว่าเป็น Conflict of Interest ระหว่าง Merck, Elsevier และ The Australasian Journal of Bone and Joint Medicine

ในแง่ของคุณภาพพูดยากเพราะผมก็ไม่เคยอ่าน รู้แต่ว่าไม่มี peer review อย่างไรก็ตามต่อข้ออ้างที่ว่า peer review จะเพิ่มคุณภาพของบทความนั้นมีหลักฐานทั้ง for และ against   แต่ที่ยอมรับไม่ได้คือ Phantom Peer Review คืออ้างว่ามีแต่ทำไปอย่างนั้นแหละ จริงๆก็เหมือนไม่มี ซึ่งจับให้มั่นคั้นให้ตายยาก
กิตติศักดิ์


      ผมอ่านข้อโต้ตอบเหล่านี้แล้วได้ความรู้มาก จึงขออนุญาตเอามาลงบันทึกเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่วงวิชาการไทย   และผู้บริหารวิชาการ/วิจัย ไทย   ไม่ตกหลุมพรางนี้

 

วิจารณ์ พานิช
๑ เม.ย. ๕๔  ปรับปรุงเพิ่มเติม ๑๓ เม.ย. ๕๔
         
          
          
         

หมายเลขบันทึก: 437258เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2011 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นึกไม่ถึงเลยค่ะว่าแม้กระทั่ง Elsevier ยังมีข่าวอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยนะค่ะ แต่จากประสบการณ์ของตัวเองที่ผ่านมาในการตีพิมพ์ journal หนึ่งใน Elsevier นั้น พบว่ามีกระบวนการ peer-review ที่เข้มข้นทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท