The 21st Century Skills กับการศึกษาไทย


ดร.ป๊อป กำลังเตรียมประมวลหลักสูตรกิจกรรมบำบัดตาม Thailand Quality Framework (TQF) และม.มหิดล แนะนำให้ศึกษาเรื่องการสอนนักศึกษาให้มี The 21st Century Skills จึงอยากแบ่งปันเพื่อนนักการศึกษาไทย

เมื่อคลิกอ่านที่ http://atc21s.org/index.php/about/what-are-21st-century-skills/

ก็พบว่า ทีมโครงการวิจัย Assessment & Teaching of the 21st Century Skills (ATC21S) มีสำนักงานใหญ่ที่ ม. Melbourne (ดร.ป๊อป ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียจึงริเริ่มโครงการดีๆ แบบนี้ เพราะระบบการศึกษาของออสเตรเลียสมัย ดร. ป๊อป เป็นนักศึกษาอยู่ ก็มีระบบการเรียนรู้ด้วยตัวนักศึกษาเองพร้อมมีศูนย์สนับสนุนการเรียนรู้ในหลายๆ ทักษะอยู่แล้ว)

ทักษะที่จำเป็นในนักการศึกษาและผู้เรียนทุกระดับควรมี คือ

1. เส้นทางของการคิด ได้แก่ สร้างสรรค์ คิดวิจารณ์ แก้ไขปัญหา ตัดสินใจ และเรียนรู้

2. เส้นทางของการทำงาน ได้แก่ การสื่อสารและการทำงานประสานงานกัน

3. เครื่องมือสำหรับการทำงาน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการรู้สารสนเทศ - อ่านเพิ่มเติมที่ http://popofblog.blogspot.com/ 

4. ทักษะสำหรับการดำเนินชีวิตบนโลก ได้แก่ การเป็นพลเมืองดี การวางแผนชีวิตและการประกอบอาชีพ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ตัวอย่างโครงการวิจัยย่อยที่น่าสนใจ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ การประเมินทักษะการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก การพัฒนานโยบายการศึกษาระดับชาติที่ประยุกต์แก้ไขปัญหาของสังคม แนวทางการพัฒนานักเรียนนักศึกษาเพื่อให้พร้อมกับการเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในวิชาชีพ/อาชีพต่างๆ เป็นต้น

นักการศึกษาทุกท่านสามารถขอเอกสารผลงานวิจัย คลิกที่ http://atc21s.org/index.php/resources/white-papers/white-papers-request-form/

และดูสื่อต่างๆ คลิกที่ http://atc21s.org/index.php/media-center/  

อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เริ่มนับจาก 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2643 มีหลายรูปแบบ คลิกอ่านที่ http://www.21stcenturyschools.com/What_is_21st_Century_Education.htm

เมื่อค้นหาการจัดการศึกษาข้างต้นในระดับอุดมศึกษา ก็พบว่า มี link ที่น่าสนใจของ ม. Phoenix คลิกอ่านที่ http://www.phoenix.edu/colleges_divisions/doctoral/articles/2011/02/the-value-of-teaching-21st-century-skills.html

สรุปประเด็นที่น่านำไปต่อยอดในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ

  • การเขียนและการบริหารหลักสูตรร่วมกันในวิชาชีพที่กำลังขาดแคลนในสังคมและมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการ เช่น หลักสูตรการพยาบาล+ธุรกิจ+เทคโนโลยี-ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น (สมัย ดร.ป๊อป เรียนที่ Curtin University of Technolgy ก็มีการจัดหลักสูตรแบบ Double degree เช่น กิจกรรมบำบัด 4 ปี + ศึกษาศาสตร์ 1 ปี ได้ปริญญาตรี 2 ใบ คือ วทบ. กิจกรรมบำบัด + ศษ.บ. ศึกษาศาสตร์ และสอบใบประกอบโรคศิลป์ให้เป็นนักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้มีความสุขความสามารถในเด็กวัยเรียน)
  • การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาและจัดเครือข่าย/ศูนย์สนับสนุนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และพร้อมเป็นทางเลือกให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีความสุขในทุกรายวิชา (สมัย ดร.ป๊อป เรียนที่ออสเตรเลีย ก็มีชั้นเรียนให้ฝึกทักษะการเรียนรู้หลายๆ ด้าน เช่น การฝึกฟัง การฝึกพูด การฝึกอ่าน การฝึกเขียน การฝึกนำเสนองาน การบริหารโครงการ การจัดการเวลา การพัฒนาความเป็นผู้นำ การฝึกคิด ฯลฯ)

คลิกอ่านบันทึกที่ ดร. ป็อป เรื่อง สอนมนุษย์ยุคศตวรรษที่ 21 ที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/434815

นอกจากนี้ผมอยากบูรณาการการสอนมนุษย์ยุคศตวรรษที่ 21 กับเนื้อหาในหนังสือของ "พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)" เรื่อง "พุทธวิธีในการสอน" มาโดยสรุปคือ

  • สอนจากสิ่งที่รู้เห็น มีความหมายในชีวิต เข้าใจง่ายแล้วลุ่มลึกหรือยากลึกซึ้งตามลำดับ ควรสอนด้วยของจริงหรือประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนเห็น-ฟัง-คิด ไม่สอนนอกเรื่อง สอนให้ผู้เรียนไตร่ตรองเหตุผล สอนพอดีจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจ
  • ผู้เรียนพึงพิจารณาความแตกต่างของบุคคล เช่น จริต 6 - คลิกที่ http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate06.php ความสามารถของบุคคลเปรียบเทียบกับบัว 3 เหล่า (ตามนัยพระไตรปิฎก)                         - คลิกที่  http://th.wikipedia.org/wiki/บัวสี่เหล่า
  • สร้างบรรยากาศให้เกิดความเคารพ ความเมตตา ความรู้สึกมีคุณค่า ความสำคัญในการพัฒนาตนเองและสังคม โดยในหนังสือเน้นลีลาการสอนสั้นๆ คือ แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือ ชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน (หน้า 45)

วันนี้ นักการศึกษาไทยกำลังพัฒนาระบบการเรียนการสอน คำถามคือ ครู/อาจารย์พร้อมหรือยัง นักเรียน/นักศึกษาพร้อมหรือยัง ในการพัฒนาตนและผู้อื่นตลอด 89 ปีต่อจากนี้

หมายเลขบันทึก: 437263เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2011 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แนะนำให้อ่านบันทึก การปฏิรูปอุดมศึกษาไทย และความสำคัญของ Learning Outcome Assessment ของ ศ.วิจารณ์ พานิช ที่ http://gotoknow.org/blog/council/437246?refresh_cache=true

โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ฯ ก็หวังสร้าง 21 st Century skills ให้กับเด็ก ผ่านครูที่ใช้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBL (Project based Learning) ที่มีคุณภาพค่ะ

(ปล. จำได้ไหมเอ่ย อ้อ เคยพาน้องสาวที่ผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท ไปหา ดร.ป็อบ ตามคำแนะนำของ อ.หมอวิจารณ์ ค่ะ ^_^)

จำได้ครับพี่อ้อ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท