กระเทียม


กระเทียม

ตั้งแต่สมัยโบราณ กระเทียมได้ถูกนำไปใช้รักษาโรคมากมาย ในระยะหลังได้มีการสนใจในคุณสมบัติที่อาจป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากมีรายงานว่ากระเทียมสามารถลดระดับไขมันในซีรัม ความดันโลหิต และความหนืดของพลาสมายับยั้งการจับเกาะของเกร็ดเลือด เพิ่มการสลายไฟบริโนเจน และขยายหลอดเลือด

แต่ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับสารเคมีของกระเทียม และกลไกในร่างกายและการออกฤทธิ์ยังมีน้อย กระเทียมมีสารประกอบกำมะถันมาก สารประกอบในกระเทียมสดที่พบมาก ได้แก่ Allin, methylcysteine sulfoxide และ r-guutamyl-s-trans-I-propeny cysteine กระเทียมสดทั้งลูกมี Allin เป็นสารประกอบกำมะถันที่สำคัญ ที่สุดและมี เอนไซม์ Allicinase อยู่ภายใน vacuole ของเซลล์ เมื่อกระเทียมสด ถูกบดหรือผ่านกระบวนการแปรรูป allicinase ถูกปลดปล่อยออกมาเปลี่ยน allin เป็น allicin ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญที่สุดของกระเทียม

allin เป็น S-allyl cysteine sulfoxide ไม่มีกลิ่นส่วน allicin เป็น oxide ของ diallyl sulfide สารเคมีตัวนี้ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรุนแรงจำเพาะ สารประกอบกำมะถันต่างๆของกระเทียมระเหยได้ง่าย ทำให้กระเทียมรูปแบบต่างๆ ทีใช้เป็นยาสมุนไพร แตกต่างกันมากทั้งในชีวิตและปริมาณ ของสารประกอบกำมะถันและความแรงของกลิ่มกระเทียมรูปแบบเดียวกันก็มีความแตกต่างกันมากใน ชนิดและปริมาณของสารประกอบกำมะถัน

ดังนั้น ประสิทธิภาพของกระเทียมในการลด โคเลสเตอรอลในเลือด จึงไม่แน่นอนและขาดความน่าเชื่อถือ จึงได้มีความพยายามที่จะใช้ allicin equivalent สำหรับ standardize กระเทียม รูปแบบต่างๆ เพื่อใช้สำหรับเปรียบเทียบ

มีรายงาน 4 การศึกษาที่น่าเชื่อถือ 2 การศึกษาสรุปว่า

1. กระเทียมลดโคเลสเตอรอลได้โดยใช้กระเทียมสกัดที่เก็บไว้นาน (Agedgartic extract AGE) 7.2 กรัม (ใกล้เคียงกับกระเทียมสุก 10-15 กรัม) บริโภคเป็นเวลานาน 4-6 เดือน ลดโคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 6.1 และลด LDL โคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 4.6

2. ใช้กระเทียมผง(freeze-dried) 900 มก/วัน (เท่ากับกระเทียมสด 2.7 กรัม) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ลดโคเลสเตอรอลได้ร้อยละ 14.2

อีก 2 การศึกษาได้ผลสรุปว่า กระเทียมไม่มีผลต่อระดับโคเลสเตอรอล

1.ใช้กระเทียมผง (freeze-dried) 900 มก/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์

2.ใช้น้ำมันกระเทียม 10 มก/วัน (เท่ากับกระเทียมสด 4-5 กรัม) เป็นเวลา 4 สัปดาห์เช่นกัน

การศึกษาใหม่ด้วยกระเทียมที่ได้มาตรฐานดีขึ้นก็ยังให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน

ณ เวลานี้ จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า การบริโภคกระเทียมจะเป็นประโยชน์สำหรับการรักษา โคเลสเตอรอลสูงได้หรือไม่ แต่เนื่องจากว่ากระเทียมทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย (ส่วนมากเป็นอาการเสียดท้องเล็กๆ น้อยๆ ) ยิ่งกว่านั้นกระเทียมอาจจะช่วยลดความดันโลหิต และการจับเกาะของเกร็ดเลือดได้ และยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระด้วย ดังนั้น หากต้องการรับประทาน ก็ควรเป็นกระเทียมสด วันละประมาณ 1.5-3.0 กรัม พึงระลึกไว้ว่า กระเทียมสด มีกลิ่นแรงมาก กระเทียมรูปแบบอื่นขาดการควบคุมในคุณภาพ จึงไม่แนะนำถ้าคิดจะบริโภคกระเทียม น่าจะบริโภคกระเทียมสดในรูปของอาหาร ซึ่งมีกลิ่นน้อยมากรสไม่จัด แต่ต้องรับประทานปริมาณ 5.-15 กรัม/วัน

คำสำคัญ (Tags): #กระเทียม
หมายเลขบันทึก: 43479เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณมากค่ะ กำลังอยากทราบเรื่องกระเทียมพอดิบพอดี ขออนุญาตเอาบันทึกนี้ไปใช้อธิบายคนอื่นต่อค่ะ
  • ขอบคุณพี่ จันทรรัตน์ ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท