พระพุทธศาสนาน่าเป็นห่วง


เมื่อดอกกุหลาบผู้ผูกปีชนะดอกบัว...!

 

                                                  พระพุทธศาสนาน่าเป็นห่วงเมื่อคนรุ่นใหม่ให้ราคาวันมาฆบูชาด้อยกว่าวันวาเลนไทน์

      ถ้าเปรียบวันสำคัญที่อยู่ในเดือนก.พ.ระหว่างวันที่14ก.พ.หรือ"วาเลน์ไทน์"ของชนชาติตะวันตก กับวันที่ 18 ก.พ.หรือ"วันมาฆบูชา"สุดสำคัญของชนชาติไทยเป็นกราฟแผนภูมิสูงต่ำตีคู่ขนาบกัน ต้องยอมรับว่า หลายปีที่ผ่านมาความนิยมของวันวาเลนไทน์มักจะนำโด่งวันมาฆบูชาเสมอๆ (ดูราคา “ดอกบัว” วันมาฆบูชากำละไม่กี่บาท กับ “ดอกกุหลาบ”ในวันวาเลนไทน์ราคาดอกละเป็นพัน)และก็เชื่อว่าผู้ที่รับผิดชอบ เช่น กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม กระทั่งทุกๆ รัฐบาลที่ผ่านมาก็เห็นสภาพดังความนิยมกันอยู่ดังที่ปรากฏ คำถามก็คือ การผูกปีพ่ายของวันสำคัญเช่นนี้ไม่มีผู้เกี่ยวข้องไหนจะทำอะไรให้สถาน การณ์วันสำคัญของชนชาติไทยให้ชนะวัฒนธรรมตะวันตกได้เลยหรืออย่างไรและวันมาฆบูชาในปีนี้ก็เวียนมาบรรจบอีกครั้ง นอกจากนี้"ไทยรัฐออนไลน์"พาไปรู้จักวันมาฆบูชา พาไปวิเคราะห์จุด อ่อนอีกครั้งแล้ว ยังรวมช่วยกันหาทางออกว่าทำอย่างไรคนรุ่นใหม่ (คนไทย)จะรักและเข้าใจวัฒนธรรมชาติไทยมากกว่า วันสำคัญของชนชาติตะวันตก...

วันมาฆบูชา 

     ถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาท ปัจจัยหลักที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญทางพระ พุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ2,500กว่าปีก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาฏิโมกข์” โดยในครั้งนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4ประการด้วยกันคือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง1,250รูปโดยมิได้นัดหมาย,พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น“เอหิภิกขุอุปสัมปทา”หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา6,และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น15ค่ำเดือน3 จนมาสมัยร.4 ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส  จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น โดยการประกอบพระราชพิธีคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่างๆ เป็นต้น จนได้รับนิยมขยายออกไปทั่วราชอาณาจักรโดยทราบทั่วกันว่า วันนี้จะมีการทำบุญกันเพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทนอีกด้วย 

 เมื่อดอกกุหลาบผู้ผูกปีชนะดอกบัว...!
    วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันที่ความหมายดีแต่ทำไมคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทุกๆ ผลโพลเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดี ล่าสุด เอแบคโพลเผยผลวิจัย (วันที่ 10-12 ก.พ.54) เรื่อง ความรู้ ความเข้าใจของเด็ก-เยาวชนไทยเกี่ยวกับวันมาฆบูชา และความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชาการันตีได้เป็นอย่างดีผลการสำรวจ พบว่ามีเพียงร้อยละ 34.6 ทราบและระบุได้ถูกต้อง ว่าวันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 18 ก.พ.ขณะที่เยาวชนร้อยละ 65.4ไม่ทราบว่าเป็นวันไหน เมื่อถามถึงการรับรู้ในหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชานั้น พบว่ามีตัวอย่างเพียง ร้อยละ 37.3 เท่านั้นที่สามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่าคือ “โอวาทปาฏิโมกข์” ในขณะที่ตัวอย่างประมาณ 2 ใน3 คือร้อยละ62.7 ไม่ทราบ/ระบุไม่ถูกต้อง 
     ขณะเดียวกันผลสำรวจยังระบุอีกว่า เด็กและเยาวชนไทยร้อยละ 43.2 ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชา ขณะที่ร้อยละ 6.4ร้อยละ 27.3ให้ความสำคัญเท่ากัน และร้อยละ 23.1ไม่มีความเห็นถือว่าเป็นผลวิจัยที่เศร้าใจพุทธศาสนิกชนไทยเป็นอย่างมาก นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวพร้อมกับ สะท้อนความรู้สึกของผลสำรวจของโพลย้อนหลัง5-10 ปีที่ผ่านมาว่า ปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชามากมายแบบนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง “สิ่งหนึ่งที่เรารับรู้ได้จากผลโพลหลายปีทีผ่านมามันสะท้อนชัดว่าคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเยาวชนให้ความสำคัญและรู้จักวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชามากชนิดที่เทียบกันไม่ติด แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่เสพกระแสความนิยมจากต่างชาติ และสนใจเรื่องของปัจเจกบุคคล ในเรื่องของความรัก อารมณ์ และเน้นแต่การบริโภคนิยมในเชิงวัตถุนิยมมากกว่า ซึ่งมันเป็นอิทธิพลตะวันตกที่แพร่กระจายไปสู่คนรุ่นใหม่ได้เร็วมากๆ” แน่นอนว่าผลโพลออกมาแบบนี้ซ้ำๆ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะมันสะท้อนได้ว่าพื้นฐานความเป็นวัฒนธรรมไทยวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพสังคมของไทยได้ถูกกลืนไปทุกวันเวลา แน่นอนว่าเราก็ไม่ได้ปฏิเสธค่านิยมใหม่ๆ เพราะมันเป็นประโยชน์และสามารถเอามาพัฒนาการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพที่ดีได้ แต่ในขณะเดียวกันที่เราเป็นห่วงก็คือว่าความเชื่อค่านิยม วัฒนธรรมที่มันเป็นตัวหล่อเลี้ยงสังคมไทยให้อยู่ร่วมกันโดยปกติสุข มันเริ่มลดลงไปตามกระแสสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นความเอื้ออาทร การกตัญญูรู้คุณการให้เกียรติ แม้แต่การเคารพซึ่งกันและกัน ก็จะต้องมีอยู่สำหรับวิธีการแก้ไขการผูกปีพ่ายแพ้ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เสนอว่า หลักๆ มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการรักษาวัฒนธรรมไทย 1.เรื่องของศาสนา ประเด็นแรกก็คือ ศาสนาไม่มีการพัฒนาไปกับโลกสมัยใหม่ ด้วยหลักธรรมคำสอนที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทั้งในเชิงลึกและในเชิงกว้าง

   “ในเชิงลึกก็หมายความว่า การศึกษาอย่างลึกซึ้งเข้าถึงและสามารถเชื่อมโยงไปกับศาสตร์ต่างๆ ซึ่งมันสามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบกับแนวคิดสมัยใหม่ได้ ในเชิงกว้างก็หมายความว่าการพัฒนาหลักธรรมคำสอน ให้มันสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายซึ่งยังไม่สามารถทำได้เช่นกัน”ต่อมาก็คือเรื่องบุคลากรและองค์กรทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการนักพุทธศาสนาไปจนถึงวัดวาอารามต่างๆที่ยังไม่ได้ปรับตัวให้เท่าทันกับยุคสมัยไม่มีการบริหารจัดการดูแลที่ดี“รวมถึงวัดปล่อยทิ้งร้าง ถ้าเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์เขาจะมีการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพมีคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหาร รวมถึงสถานที่ที่มีความสะดวกสบาย ประการสุดท้ายคือ เรื่องของกิจกรรมที่ยังไม่สอดคล้องถ้าจะมาจัดกิจกรรมเฉพาะวันหรือเทศกาลสำคัญทางศาสนาอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอเพราะวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เขาไม่ค่อยมีเวลาว่าง ซึ่งอาจจะต้องปรับให้มีการจัดกิจกรรมในวันหยุดมากขึ้นกว่าวันอาทิตย์ไปทำบุญกันเถอะ เป็นต้น” นายเทวินทร์กล่าว  

วันมาฆบูชาจะชนะวาเลนไทน์ได้ต้องอินเทรนด์

    พระไพศาล วิสาโล พระนักเทศน์ชื่อดัง ที่ได้ยอมรับว่าเป็นกลางมากที่สุด กล่าวว่า ประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามเรื่องศาสนาเชยเพราะไม่ปรับตัวให้เข้าและเท่าทันยุคสมัย ทำให้คนไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่ากับวันวาเลนไทน์ เรียกว่าผลสำรวจโพล เดือนกุมภาพันธ์เวียนมาบรรจบทีไรศาสนาเป็นพ่ายแพ้ความนิยมของวันวาเลนไทน์ทุกที เป็นการตั้งข้อสังเกตุที่ถูกต้องและตรงเป้ามากที่สุด  “จนวันนี้ศาสนาก็ยังไม่ปรับตัวให้สื่อสารกับคนรุ่นใหม่    และยิ่งที่ผ่านมาแทบจะไม่มีกิจกรรมวันมาฆบูชาที่ไหนที่สามารถดึงดูดให้คนรุ่นใหม่สนใจได้เลยทำให้ไม่เพียงวันมาฆบูชาศาสนาจึงกลายเป็นความเฉยชาของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะวันนี้ เราอยู่ในกระแสเชี่ยวกรากของยุคบริโภคนิยมแรงมากยิ่งแรงมากเท่าไหร่จะยิ่งกลบพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ที่สำคัญวันนี้ยังไม่มีใครสามารถนำเอาสาระสำคัญทางพระพุทธศาสนามาโยงเข้ากับชีวิตประจำวันของคนทั่ว ๆไปได้อย่างกลมกลืน นี่คือจุด อ่อนใหญ่ของศาสนาที่ยังไม่มีใครเข้ามาแก้ไขได้สำเร็จ”
       พระนักเทศน์  เสนอแนวทางแก้ไขว่า ศาสนาจะต้องรีบปรับให้ตัวเองมีส่วนร่วมกับสมัยนิยมด้วยเช่นวันมาฆบูชาเด็กนักเรียนก็อาจจะชวนกันไปทำบุญแต่การทำบุญนี้ไม่ได้หมายถึงต้องเข้าวัดทำบุญอย่างเดียวสามารถทำบุญด้วยการทำจิตอาสาก็ได้ 
      “วันมาฆบูชา  พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้ละชั่ว ทำดี ซึ่งก็หมายถึงการที่เราไปช่วยเหลือผู้อื่นก็ได้  โดยการเอาคำสอนมาทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วยการช่วยหลือสังคม  หรือจัดกิจกรรมทำสมาธิภาวนาให้เด็กมีสมาธิมีความสงบในจิตใจซึ่งสามารถทำได้ทุกที่  ไม่จำเป็นต้องเข้าวัดอย่างเดียวเพราะมันจะไม่อินเทรนด์แค่ทำดี ละชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธ์อยู่ที่ไหนก็สามารถทำได้เหมือนกัน” พระไพศาลกล่าว
       สุดท้ายการที่วัฒนธรรมตะวันตกมักจะเอาชนะวัฒนธรรมอันดีงามของคนไทยนั้น ก็เพราะว่าไม่เพียงคนที่อยู่ในวงการศาสนาไม่ทันสมัย กระทรวงที่รับผิดชอบไม่ใส่ใจและรัฐบาลไม่คิดนอกกรอบเหมือนกับความเป็นไทยดีๆหลายอย่างที่กำลังตายจากหัวคนรุ่นใหม่ไปนั่นเอง.

  

 

 

    

หมายเลขบันทึก: 434763เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2011 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมัสการครับ

เข้ามาร่วมรับฟัง....เรื่องราวพระพุทธศาสนาด้วยคนครับ

....น่าจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะร่วมกันปลูกฝัง

ให้ลูกหลานได้มีทัศนคติที่ดีในการเข้าวัด....

.....เข้าใจในการทำความดีทุกรูปแบบ....

...พุทธศาสนาหาได้เชยหรือไม่ทันสมัยอย่างที่เราคิดไม่...

เพียงแต่อาจจะยังหาเหลี่ยมหรือแง่มุมที่เหมาะสมกับเราไม่เจอหรือเปล่าครับ...

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท