พุทธวิจัยแบบมีส่วนร่วม


จากการอ่าน การฟัง การคิด การฝึกฝน การปฏิบัติ และความตั้งใจสูงสุดที่จะไปให้ถึง

วันนี้ผมหรือนายรักษ์สุข ได้นำข้อดี จุดเด่น และจุดด้อยของการทำงานตลอดชีวิตน้อย ๆ ที่อยู่บนโจทย์สำคัญของการ "พัฒนา เติมเต็มและต่อยอด" เป็นความตั้งใจที่จะทำต้องบูรณาการ "PAR (Participatory Action Reserach) + Buddhist Economics + Knowledge Management"

สิ่งที่วันนี้นายรักษ์สุขได้ออกมาเป็น "กรอบแนวคิด" ก็คือ 

 

พุทธวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Buddhist Action Research)

ร่วมคิด คิดอยู่บนพื้นฐานของการ “คิดดี”

ร่วมทำ “ปฏิบัติดี”

ร่วมคิดและทำอยู่บนรากฐานของพุทธธรรม

ร่วมตรวจสอบและแก้ไขแบบ “กัลยาณมิตร”

ร่วมรับผลประโยชน์นั่นคือ “ความสุข ซึ่งเกิดจากปัญญา”

win-win situation ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์

คิดและทำอย่างมีสติ

ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ Full engagement Buddhist Participate

รับประโยชน์ ร่วมสุขและร่วมปัญญากับชุมชน

เพื่อเข้าสู่จุดสมดุลหรือจุดที่ดีที่สุด


"ทำกับปัญญา โดยปัญญา และเพื่อปัญญา"

หมายเลขบันทึก: 43444เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

บรรยากาศพุทธวิจัยแบบนี้ น่าสนใจดี ผมไม่ค่อยได้ยินชื่อครับ

แต่คาดว่าน่าจะเป็นบรรยากาศของการให้ บรรยากาศความเมตตาและเอื้ออาทร

บรรยากาศที่บอกไป เป็นพื้นฐานที่ดีในการทำงาน PAR หากทุกคนที่มาร่วมกัน รู้สึกแบบนี้ มีพลัง เกิดสิ่งดีๆขึ้นแน่นอนครับ

บังเกิดความอิ่มสุข ความสุขอันเกิดจากปัญญาและความรักที่มีให้กัน 

"สร้า้งสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่นครับ"

  • ครับอาจารย์จตุพร
  • "พุทธวิจัยแบบมีส่วนร่วม" ผมเพิ่งคิดได้เมื่อคืนเองครับ
  • แต่ก็ไม่ทราบว่ามีท่านใดเคยใช้คำนี้บ้างหรือเปล่าครับ
  • มาจากสิ่งต่าง ๆ ที่ครูบาอาจารย์และประสบการณ์ที่ผ่านมา ร่วมกลั่นกรองออกมาครับ
  • ถ้ามีสิ่งใดเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนได้เลยนะครับ
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

 

  • เป็นธรรมชาติดีครับ  หลักคิดน่าจะใช้แนวทางของอริยสัตย์4 ใช้ศีลเป็นตัวกำกับให้มีสติรู้  ปฏิบัติเพื่อเรียนรู้  จะเกิดปัญญา (ผมมีความรู้ทางนี้ไม่มากนัก เป็นการ ลปรร.ครับ)
  • ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของรางวัลสุดคะนึงเดือนกรกฎาคม 49 ด้วยนะครับ (ทำดีแต่อย่าติดดี / ทำดี..ดี นี่พระท่านว่ามาครับ ..ต้องทำดีให้ยิ่งๆ ขึ้นกว่าเดิม ผมเชื่อเช่นนี้ครับ)
  • เป็นความอิ่มที่ได้จากการอ่านบันทึกของอาจารย์ค่ะ
  • ขอแสดงความยินดีกับรางวัลสุดคะนึง เดือน ก.ค. 49 ล่าสุดค่ะ
  • Bouquet
สนใจเรื่องการนำพุทธศาสนาแก้ปัญหาสังคมเช่นกันค่ะ ขออนุญาตนำบล็อกเข้าเเพลเนตนะคะ
เวลาที่ได้อ่านข้อความแล้ว ถ้าเขียนออกมาเป็นภาพ หรือแผนผังแสดงความเชื่อมโยงสิ่งต่ืิางๆออกมาได้ คงจะดีไม่น้อยครับ ว่าจะเอาบันทึกในบล็อกนี้ไปลองเขียนแผนภาพออกมาบ้าง อาทิเช่น วิสัยทัศน์ชุมชน...สู่การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน

Visionmap of Nampong-ภาพแสดงแผนที่ความคิดของการจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน
  • ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยครับพี่วีรยุทธ
  • ธรรมชาติกับคนเราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันครับ ถ้าเวลาทำงานต้องทำอย่างเป็นธรรมชาติและใช้หลักการทฤษฎีอย่างเป็นธรรมชาติครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับอริยสัตย์ 4 ครับ ผมจะนำไปต่อยอดและลองปฏิบัติเติมเต็มเรื่องพุทธรรมกับการทำงานกับชุมชนครับ
  • ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ ที่ให้หลักธรรมในการเตือสติให้ทำดี ต้องทำดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผมจะทำดีให้เหมือนกับพี่วีรยุทธ และทุก ๆ ท่านที่เป็นคนดีใน G2K แห่งนี้ครับ
  • ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยครับพี่วีรยุทธ
  • ธรรมชาติกับคนเราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันครับ ถ้าเวลาทำงานต้องทำอย่างเป็นธรรมชาติและใช้หลักการทฤษฎีอย่างเป็นธรรมชาติครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับอริยสัตย์ 4 ครับ ผมจะนำไปต่อยอดและลองปฏิบัติเติมเต็มเรื่องพุทธรรมกับการทำงานกับชุมชนครับ
  • ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ ที่ให้หลักธรรมในการเตือสติให้ทำดี ต้องทำดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผมจะทำดีให้เหมือนกับพี่วีรยุทธ และทุก ๆ ท่านที่เป็นคนดีใน G2K แห่งนี้ครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ ครับคุณศุภลักษณ์
  • สิ่งที่เขียนออกมาได้นั้น ก็เพราะว่าได้อยู่ในสังคมที่ดี ๆ อย่างเช่น G2K แห่งนี้ครับ
  • อิ่มความสุขตลอดเวลาที่ได้เข้ามาครับ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยครับ "คนไร้กรอบ"
  • ถึงแม้ว่าเป็นข้อความสั้น ๆ แต่เป็นสิ่งที่ให้อะไร ๆ หลาย ๆ อย่างกับผมอย่างมาก ๆ เลยครับ
  • ชื่อที่คิดขึ้นมาก็พยายามทำให้รัดกุมและมีใจความมากที่สุดครับ
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยครับคุณดวงเด่นครับ
  • และขอขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยครับ ที่จะนำหลักพุทธรรมและพุทธศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคมครับ
  • ถ้าได้ผลอย่างไรนำกลับมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะครับ
  • คำถามและข้อคิดเห็นของนายบอนแต่ละครั้ง ทำให้ผมฉุกคิดอะไรได้อย่างมากมายจริง ๆ เลยครับ
  • ถ้าอย่างไรขออนุญาตนำแนวคิดนี้ไปลองคิดและลองปฏิบัติ
  • ถ้าได้ผลหรือแผนผังอย่างไร จะนำให้นายบอนลองวิพากษ์และวิจารณ์ดูครับ

     พื้นเพของดิฉันเป็นคนศรีสะเกษ ตั้งแต่จำความได้พ่อกับแม่ก็พาเข้าวัดและฟังธรรมแล้วค่ะ วัดที่ไปบ่อยวัยเด็กคือวัดหนองป่าพงของหลวงปู่ชาจังหวัดอุบลฯค่ะ ชอบบรรยากาศอันแสนเงียบสงบในการนั่งกรรมฐาน และเจริญภาวนา ทั้งเหมาะสำหรับจะพาครอบครัวมาทัศนศึกษาทางธรรม เพราะที่วัดนี้คำคมและธรรมะที่หลวงปู่ชาได้สั่งสอนไว้ติดตามต้นไม้ เดินไป อ่านไป ก็คิดไปได้(มาเข้าใจตอนโตแล้วค่ะ...ตอนเด็กยังไม่ค่อยรู้เรื่อง)  จนถึงปัจจุบันถ้ามีโอกาสก็จะเข้าที่นั่นค่ะ วัดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นให้ดิฉันสนใจธรรมะ...

    ดิฉันคิดว่ายุคสมัยนี้น้อยคนนักจะรู้จักคำว่าวัดที่แท้จริง ซึ่งแท้จริงแล้ววัดอยู่ใกล้เรานิดเดียว...ใจเรานั่นเองที่เป็นวัดที่แท้จริง ถ้าใจเราเปี่ยมไปด้วยธรรมแล้วนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของเราเป็นเบื้องต้น สังคมเราก็คงน่าอยู่ขึ้นมาก มีพระรูปหนึ่งท่านจำวัดอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ท่านเคยให้ธรรมะไว้สำหรับพวกเราในฐานะฆราวาสไว้ว่า"อย่างน้อยคนเราจะเป็นคนดีที่ง่ายที่สุดนั้นต้องปฏิบัติในครบตามพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา(ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา(ความสงสารที่จะช่วยให้ผู้อ่านพ้นทุกข์) มุฑิตา(ความยินดีและสรรเสริญเมื่อผู้อื่นมีความสุข) อุเบกขา(การวางใจเป็นกลาง)"เพียงเท่า ถ้าปฏิบัติได้ดังนี้ย่อมเป็นคนดีเเล้ว...

     ดีใจที่มีคุณปภังกร นำธรรมะมาปรับใช้กับสังคมเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของการผลิตของประเทศเพราะธรรมะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวกับเขาที่สุด แต่อาจถูกมองข้ามไป เมื่อมีการคิดต่อยอดเช่นนี้ย่อมง่ายต่อการนำไปใช้ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท