เกษตรไทย


เกษตรยั่งยืน
ระบบเกษตรยั่งยืน
ระบบเกษตรยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการเกษตรและสิ่ง แวดล้อมที่สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืนได้ถูกบรรจุไว้เป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาระยะที่ 8 และคงต้องดำเนินการต่อเนื่องในแผนพัฒนาระยะที่ 9 โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ
ระบบเกษตรยั่งยืนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนหลายระดับ ตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ความหมาย จึงแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามผลรวมของระบบจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบอันเกิด จากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอก หน่วยวิจัยได้แยกแยะ ความหมายของเกษตรยั่งยืนตามลำดับชั้น ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติใน 3 ระดับ ดังนี้
ระดับแปลง : เกษตรยั่งยืนอิงหลักการของนิเวศเกษตร เช่น การไหลเวียนของธาตุอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างพืชปลูกและศัตรูพืช และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายชีวภาพทางเกษตร
ระดับครัวเรือน : เกษตรยั่งยืนคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายของระบบการผลิตที่นำไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้ และกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือนมีส่วนร่วม ในการเสริม สร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน
ระดับชุมชน : เกษตรยั่งยืนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน สิทธิการจัดการ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ิที่เป็นธรรมพร้อมทั้งการสร้าง สิ่งจูงใจเพื่อให้เกิดการร่วมทุนระหว่างชุมชนกับภาคเอกชน
ระบบการผลิตในภาคเหนือสามารถจำแนกตามระบบนิเวศเกษตรซึ่งประกอบด้วยระบบการผลิตบนพื้นที่สูง ระบบการผลิตบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ระบบการผลิตในพื้นที่นาลุ่มเขตอาศัยน้ำฝน และเขตริมน้ำชลประทาน และเขตชานเมือง
ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจำกัดความเกษตรยั่งยืนดังนี้

1. การเกษตรยั่งยืน คือ "การเกษตรที่เกื้อกูลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ขณะที่สามารถ รักษาหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อม" (ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์)

2. วัฒนาเกษตร (หรือการเกษตรยั่งยืน) เป็นหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่ยึด หลักการผลิตที่เหมาะสมกับระบบนิเวศโดยใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างประหยัด และมี ประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อสภาพแวดล้อม และดำรงอยู่ ได้ยาวนานจนถึงคนรุ่นต่อไป (จรัญ จันทลักขนา,2536)

3. คือความสามารถของระบบการเกษตรที่จะรักษาอัตราของการรผลิตให้อยู่ในระดับที่ ไม่ ก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ ไม่ เหมาะสม (Comway} G; (1988).)

4. คือการเกษตรที่ให้ผลผลิตที่ดีไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ และปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ผลผลิตที่เกิดขึ้นจะต้องปลอดภัยต่อสุขภาพ พลานามัยของมนุษย์ และเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นเป็น ลำดับแรก และเพื่อขายเป็นลำดับรอง (ชนวน รัตนวราหะ, สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์,2536) ตัวชี้วัดของเกษตรยั่งยืน

ตัวชี้วัดของเกษตรยั่งยืนมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการคือ

1. ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
……..ในระบบการผลิตทางเกษตรโดยทั่วไปราคาของผลผลิตและรายได้จะเป็นแรงจูง ใจให้ เกษตรกรตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรระบบการผลิตแบบนี้เรียกว่า "เศรษฐกิจการตลาด "(market economy) ซึ่งจะไม่ค่อยคำนึงถึงสถาวะอื่นๆ นอกจากผลตอบแทนในรูปของผลผลิต และ รายได้ อย่างไรก็ตามระบบการผลิตแบบเกษตรยั่งยืนจะมุ่งผลิตเพื่อความอยู่รอด (survival economy) ของเกษตรกรเอง ลักษณะการผลิตอย่างนี้เกษตรจะผลิต หรือเปลี่ยนแปลง การผลิตขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ ผลผลิตเพียงพอบริโภคภายในครอบครัว ส่วนที่เหลือเป็นส่วนของสวัสดิการ(อาจจำหน่ายเพื่อ แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยอื่นๆ)

2. ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
………ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตพืชโดยเฉพาะดินและ น้ำหลังจา ได้มีการทำการเกษตรเป็นเวลานานทรัพยากรเหล่านี้ได้เสื่อมโทรมเป็นอันมาก หรืออาจนับ ย้อนหลังไปถึงสมัย "ปฏิวัติเขียว" ราว 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ให้สูงขึ้นโดยคำนึงถึงผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจเป็นหลัก มีการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย เคมี สารเคมีปราบศัตรูพืช พันธุ์พืชปรับปรุง น้ำ เครื่องจักรกล ฯลฯ มาแทนปัจจัยการผลิตที่มี อยู่ในธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปู๋ยหมัก สมุนไพร เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มผลผลิตได้ อย่างรวดเร็ว และชัดเจนแต่ผลกระทบจากการใช้ปัจจัยดังกล่าว เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี ทำให้สภาพดิน น้ำ และระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม เปรียบเทียบกับระบบการผลิตของเกษตร ยั่งยืนซึ่งเน้นการผสมผสานให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกิจกรรมต่างๆ ต่าง เกื้อกูลซึ่งกูลกันและกัน เช่น พืช สัตว์ ประมงและป่าไม้ ในระบบเกษตรผสมผสาน โดยเน้น การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา และสวนเป็นสำคัญ

3. ความยั่งยืนทางด้านสังคม
……..เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ยังยากจน จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมตั้งแต่ฉบับที่ 1 เริ่มใช้ปี พ.ศ.2540 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับ ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังยากจนอยู่ ฉะนั้น ระบบการผลิตการเกษตรในระบบปฏิวัติ เขียวที่ผ่านมา 4 ทศวรรษนั้น ยังไม่สามารถฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นกว่า สมัยอดีตกาล ระบบการผลิตเกษตรกรรมแบบยั่งยืนจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรที่จะ เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตเพื่อก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนพร้อมทั้งอนุรักษ์ สภาพแวดล้อมจะ เป็นการสร้างครอบครัว ชุมชนและสังคมให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น บทบาทปัจุบันของกรมวิชาการเกษตรกับเกษตรแบบยั่งยืน

……..ในปี 2542 กรมวิชาการเกษตรได้มีนโยบายที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการเกษตรแบบ ยั่งยืนโดยได้ประกาศให้ "ปี 2542 เป็นปีแห่งการทำการเกษตรกรรมอย่างถูถต้องและ เหมาะสม" (1999 Good Agricultural Pratices) กรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุน ให้เกิด แนวทางการเกษตรกรรมอย่างถูกต้องตามคำแนะนำซึ่งจัดขึ้นอย่างเหมาะสม ให้เกษตรกร นำไปปฏิบัติได้ภายใต้สภาพความเป็นจริง เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ภูมิประเทศ และ เหมาะสมพืชแต่ละชนิด โดยเริ่มต้นจากขบวนการปลูกพืช การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การจัดจำหน่ายและการแปรรูป

บทสรุป

การทำการเกษตรแบบยั่งยืนผู้ผลิตหรือเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการผลิตไป พร้อมๆ กับการให้ความสำคัญ ต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทั้งนี้จะต้องมีการปรับวิทยาการและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของเกษตรกร ชุมชนและท้องถิ่นเป็นอันดับแรก เมื่อเศรษฐกิจของชุมชนหรือท้องถิ่น แข็งแกร่งขึ้นการพัฒนาทางด้านสังคมย่อมเป็นไปโดยง่าย

เหตุสนับสนุน

…….." เกษตรที่ยั่งยืนนั้น มีความหมายว่า แนวทางการใช้วิชาการเกษตรเพื่อสามารถที่จะจัดการตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยาการ ธรรมชาติ และการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐหรือสถาบันในลักษณะที่จะให้เกิดการคงไว้ และสามารถนำไปใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่นการเกษตรยั่งยืน ป่าไม้ยั่งยืน หรือประมงยั่งยืนนั้นล้วนแต่จะต้องอาศัยการอนุรักษ์ดินและที่ดิน ทรัพยากรด้านพันธุกรรมของพืชและสัตว์ เทคโนโลยีที่จะใช้ในการนี้ จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดผลด้านเศรษฐกิจ และการยอมรับในสังคมนั้นๆ "

……..หากพิจารณาถึงความหมาย ของเกษตรยั่งยืนนั้น จะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไขต่างๆ หลายต่อหลายประการ ประการแรกคือ การที่จะต้องใช้วิชาการเกษตรซึ่งพัฒนาขึ้นจากงานวิจัย ดังนั้นในการค้นคว้าหาแนวทางเพื่อให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนจึงจำเป็นจะต้อง ทำงานวิจัย อีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรยั่งยืนไม่ได้หมายความถึงการปฏิเสธเทคโนโลยีต่างๆไม่ได้ปฏิเสธสารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ๆ ก็หาได้ไม่ เพียงแต่การให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนนั้น นักวิชาการจะต้องใคร่ครวญว่าเทคโนโลยีเหล่านั้น หากนำมาใช้ในอัตราและปริมาณที่มากเกินไป หรือนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ๆ ไม่เหมาะสมแล้วจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมให้แก่ทรัพยากรหรือสภาวะทางเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรหรือไม่ ประเด็นต่อมาที่จะต้องนำมาใคร่ครวญได้แก่ ความเหมาะสมของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรว่า จะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรออกมาเพื่อเพิ่มรายได้ให้เขาเหล่า นั้นได้หรือไม่ และในประเด็นสุดท้ายได้แก่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร จะสามารถกระทำในลักษณะใดที่เกษตรกรจะสามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีการเกษตรว่ามี ความเหมาะสมและจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในการที่จะนำไปปรับใช้ได้ต่อไป

………เกษตรยั่งยืนมิใช่มุ่งแต่การผลิตการเกษตรโดยไม่ยอมรับหรือต่อต้านการ วิจัยหรือการค้นคว้าเทคโนโลยีแผนใหม่ ในขณะนี้มีวิธีการปฏิบัติประการหนึ่งทีนักวิชาการหลายท่านหรือมูลนิธิหลาย แห่งนำมาแนะนำให้เกษตรกร ซึ่งเรียกกันว่า "เกษตรธรรมชาติ (Nature Farming" การดำเนินการใดๆ ที่เรียกว่าเกษตรธรรมชาติเป็นวิธีการที่ไม่รับเทคโนโลยีใดที่เกิดจากการค้น คว้าวิจัย หรือที่เรียกว่าเกษตรแผนใหม่ เช่น ไม่มีการใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมพันธุ์แบบใหม่ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีใดๆ โดยสิ้นเชิง ไม่มีการใช้เครื่องจักรกลแผนใหม่ เช่น เครื่องมือในการเตรียมดิน เครื่องปลูก หรือเครื่องทุ่นแรงชนิดต่างๆ นอกเหนือไปจากเครื่องมือที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่เดิม ในขณะเดียวกันเกษตรธรรมชาติเน้นไปที่เกษตรกรมีชีวิตที่เรียบง่าย ผลิตสินค้าเกษตรให้พอเพียงต่อปัจจัยของการดำรงชีวิต เช่น เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคเท่านั้น เกษตรที่อยู่ในระบบของเกษตรธรรมชาติจะมีชิวิตที่สมถะ มุ่งที่จะผลิตการเกษตรให้พอกินพอใช้ไปเพียงวันต่อวัน มุ่งที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรให้ ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

………ในแนวคิดเกษตรยั่งยืน ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งของเกษตรกร ทั้งของชุมชน พื้นที่ และประเทศ เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ ดังนั้น เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่โดยตั้งบ้านเรือน ใช้ที่ดินทำเรือกสวนไร่นา ตลอดจนพัฒนาสาธารณูปโภคของตน ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆเช่นนี้ก็ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่โดยตลอด และผันแปรไปตามวันและเวลาโดยไม่หยุดนิ่ง ยิ่งมนุษย์ใช้วิธีการเกษตร ในการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพื่อเป็นรายได้ของเกษตรกร ตลอดจนเป็ฯรายได้ของประชาชาติ สิ่งแวดล้อมทั้งด้านการเกษตรและมิใช่การเกษตรก็ย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งแวดล้อมด้านการเกษตร เช่น ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ ป่าไม้ พืชพรรณ ตลอดจนจำนวนของประเภทและปริมาณของสัตว์ที่อยู่อาศัยในโลกก็ย่อมเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา

………เกษตรยั่งยืนแตกต่างจากธรรมชาติในจุดนี้ เกษตรยั่งยืนยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ใช้ความรู้ด้านวิชาการเกษตรจัดการเกษตรให้มีผลผลิตสูง แต่ก็ใช้วิชาการเกษตรควบคุมป้องกันให้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่จะทำ ให้เกิดความเสื่อมโทรมเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด เกษตรยั่งยืนพยายามใช้วิชาการเกษตรเพื่อทำให้เกษตรได้ผลผลิตสูง ให้เกษตรกรมีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายขึ้น มีไฟฟ้าใช้ มีน้ำประปา มีบ้านช่องที่สะดวกสบาย ถูกสุขลักษณะ เกษตรมีรายได้พอเพียงที่จะส่งลูกหลานไปเข้าโรงเรียน เหลือเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในยามที่จำเป็นและยามเจ็บป่วย

……….ณ จุดเหล่านี้ที่เกษตรยั่งยืนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเกษตรยั่งยืนมิได้ต้องการให้เกษตรมีรายได้มากมาย จนสังคมเกษตรกรหรือสังคมของชนบทกลายเป็นสังคมเมืองหลวง เกษตรยั่งยืนไม่ได้ต้องการให้ชาวชนบทรับวัฒนธรรมภายนอก หรือวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้จนวัฒนธรรมด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเปลี่ยนแปลง ไป จนชาวบ้านมีความฟุ้งเฟ้อและใฝ่หาความสำราญนอกบ้าน โดยมีอบายมุขทั้งหลายเป็นตัวชักนำไป เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แนวทางของเกษตรยั่งยืน เพราะความเจริญเช่นนี้นำไปสู่ความล่มสลายของสังคมและความยากไร้ ตลอดจนการไร้คุณธรรมในที่สุด

………เกษตรยั่งยืนเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีการใช้เทคโนโลยีตลอดจนสารเคมีอยู่บ้างเพื่อการผลิตและการแปรรูป สินค้าเกษตร แต่ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ด้วยความระมัดระวังมิให้สิ่งแวดล้อมและ สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรต้องถดถอยไป ในแนวความคิดของเกษตรยั่งยืนมักนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านหรือแนวทางที่เกษตร ปฏิบัติอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิมและเกิดประโยชน์มาใช้ควบคู่และดัดแปลงร่วมกัน เทคโนโลยีแผนใหม่ เพื่อให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ที่ดินและสภาพแวดล้อมไม่ทรุดโทรมสามารถใช้ในการผลิตการเกษตรได้ชั่วลูกชั่ว หลาน

……..ดังนั้นในเกษตรธรรมชาติจึงเน้นให้เกษตรพอใจแต่เพียงปัจจัยสี่เท่า นั้น ไม่ต้องการความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยในชีวิต ขอให้แค่มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ซึ่งในสังคมปัจจุบันและอนาคตมนุษย์มิได้ใช้เพียงปัจจัยเหล่านี้ หากแต่มีปัจจัยอื่นๆ ร่วมเสริมทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้นอีกระดับหนึ่ง ดังนั้นเกษตรธรรมชาติจึงแตกต่างไปจากเกษตรยั่งยืน โดยที่เกษตรธรรมชาติเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุดโต่ง ส่วนเกษตรแผนใหม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ประมาณสูงเพื่อ ส่งออกเป็นรายได้ของประเทศ โดยไม่คำนึงว่าสภาพแวดล้อมถูกทำลายทรุดโทรมลงไป เกษตรกรรมในลักษณะเช่นนี้เป็นการเกษตรพาณิชย์ (Commercial farming) และหลายๆ คนเรียกกันว่าเกษตรเคมี (Chemical farming) เพราะใช้สารเคมีมากมาย อันเป็นการเกษตรเพียงเร่งผลิตผลอย่างสุดโต่งอีกทางหนึ่ง

……….ส่วนการเกษตรยั่งยืนนั้นเป็นลักษณะที่ประนีประนอม (Compromization) อยู่ระหว่างกลางของเกษตรธรรมชาติและเกษตรพาณิชย์ ถือเอาหลักของมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเป็นที่ตั้ง จะเอียงไปสู่เกษตรธรรมชาติมากหน่อยก็ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมมาก ต้องอนุรักษ์เอาไว้ หรือจะเอียงไปสู่เกษตรพาณิชย์มากหน่อยก็ในกรณีที่ต้องเร่งการผลิตเพื่อหาราย ได้เพิ่มให้กับประชาชาติ สุดแท้แต่เหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

………ปัจจุบันผู้ผลิตทางการเกษตรเริ่มตระหนักว่าการผลิตโดยมุ่งเน้นในเชิง พาณิชย์ โดยหวังผลผลิตสูงสุดหรือผลตอบแทนเป็นตัวเงินอย่างเดียวนั้น นานๆเข้าจะเป็นระบบ การเกษตรที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากมีการใช้ปัจจัยการผลิตเกินความจำเป็น เช่น ปุ๋ยเคมี สาร เคมีปราบศัตรูพืช ประกอบกับการชะล้างหน้าดิน การพังทลายของดิน จากปัจจัยดังกล่าว ผลสุดท้ายก่อให้เกิดมลภาวะและสภาพแวดล้อมโดนทำลาย ผลทำให้การผลิตทางการ เกษตรต้องประสบความล้มเหลว เมื่อสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมแล้ว การจะปรับปรุงให้ กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิมทำได้ยากยิ่ง และต้องลงทุนสูง เช่น ในปัจจุบัน เกษตรกรภาคกลางใช้ที่นาไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เป็นต้น เกษตรกรยั่งยืนเป็นแนวความคิดใหม่ของการพัฒนาการเกษตรเมื่อปี พ.ศ.2519 เริ่มต้นจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับบทเรียจากการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย อันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในปัจจัย และต่อมาได้มีความเคลื่อนไหวในปี พ.ศ.2530 เพื่อให้การเกษตรจากไม่ยั่งยืนนักไปสู่ การพัฒนา "การเกษตรที่ยั่งยืน" ยิ่งขึ้นหลังจากนั้น ได้มีบทความที่กล่าวถึงการเกษตรกรรม วิธีต่างๆ เช่น เกษตรกรรมชีวภาพที่เปลี่ยนแปลง (biodynamic agriculture) เกษตรกรรม ฮิวมัส (humus farming) เกษตรกรรมอินทรีย์ (organic farming) เหล่านี้เป็นต้น (อำพล เสนาณรงค์, 2536) เหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักรเช่นกันประมาณปีพ.ศ.2526 ได้มีการนำน้ำจากแม่น้ำไปวิเคราะห์ พบว่ามีสารละลายของปุ๋ยบนเปื้อนอยู่ในน้ำเกิน มาตรฐาน คือนำน้ำไปบริโภคแล้วจะเป็นพิษกับผู้บริโภค จึงได้มีการรณรงค์แก้ปัญหานี้ต่อมา สำหรับในประเทศไทยแนวความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 6(2529-2533) มีการจัดสัมมนาบทความที่เกี่ยวข้องกับ "เกษตรยั่งยืน" โดย กรมวิชาการเกษตรได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบการเกษตรแบบยั่งยืน คือการทำการ เกษตรที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตของเกษตรและ ผู้บริโภค โดยกำหนนโยบายเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโลยีให้สอดคล้องกับนโยบาย ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่6 และ ในปี .2536 กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสารวิชาการเพื่อรวบรวมเรื่องราวทางวิชาการด้าน การเกษตรยี่งยืนตามแนวคิดและวิวัฒนาการของเกษตรยั่งยืนในเรื่องทรัพยากร ธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ และพันธุ์พืช การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร การพัฒนาพันธุ์พืช การบริหารศัตรูพืช แนวทางการลด การใช้สารเคมีหรือสารพิษทางการเกษตร


จาก : ขนำเกษตรฅนไทย - 13/08/2002 13:53
คำสำคัญ (Tags): #เกษตรยั่งยืน
หมายเลขบันทึก: 433326เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท