พยาบาล กับ การทำงานชุมชน


พยาบาลกับงานชุมชน

พยาบาลท่านหนึ่งเปรยๆกับผมผ่านทางโทรศัพท์ว่า “พยาบาลมีปัญหาในการทำงานกับชุมชน” คำเปรยๆนี้จึงเชื่อมโยงไปยัง การพูดคุยวงเล็กๆ เพื่อสนทนาเฉพาะประเด็นแล้วนำมาวางแผนในการทำ Workshop ให้กับทีมงานพยาบาลของเครือข่ายพยาบาลฯ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งผมรับจะช่วยในการออกแบบการเรียนรู้รวมถึงทำ workshop ผ่านประสบการณ์ของผมเอง

การทำงานกับชุมชนไม่ยาก และ ก็ไม่ได้ง่าย ความสำเร็จของนักพัฒนาอยู่ที่คำใหญ่ๆ สามคำ คือ “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา”  สามคำนี้เป็นเงื่อนไขเริ่มต้นของการทำงานชุมชน ซึ่งในเนื้อหามีข้อปลีกย่อย รายละเอียด รวมไปถึงทักษะบางอย่างที่ต้องพัฒนา สร้างความเข้าใจในคนทำงาน

ผมลองโยนหินถามทาง...ผ่าน Facebook ของผม ซึ่งในพื้นที่นั้นมีคนทำงานชุมชนตัวจริงเสียงจริงมากมาย รวมไปถึงมีพยาบาลส่วนหนึ่งใน friend list ของผมด้วยเยอะพอสมควร

การตั้งคำถามกว้างๆ แล้วผมทำหน้าที่เป็น Facilitators ออนไลน์ ทำให้ได้ข้อมูลตั้งต้นสำหรับการพูดคุยในระดับหนึ่ง


คำถามที่ตั้งไว้ใน facebook

Jatuporn Wisitchotiaungkoon

ผมกำลังออกแบบหลักสูตรอบรมให้กับพยาบาล ประเด็น "ทักษะการทำงานชุมชน" กระผมอยากสอบถาม คุณพยาบาลทุกท่านครับ ว่า "หากคิดถึงการทำงานชุมชน ปัญหาของท่านคืออะไร? ท่านต้องการพัฒนาทักษะอะไร?"


คำตอบที่ระดมผ่าน Facebook

อัมพร หงษ์เจ็ด : เอ.. พี่จะสอบถามน้องๆกลุ่มเวชปฏิบัติให้นะค่ะ เท่าที่ผ่านมา พบว่า ทักษะการสื่อสารบางคนใช้ภาษาราชการเกิน / การสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มในชุมชน ตอบแค่นี้ก่อนจ้า

ประกาย พิทักษ์  : ทักษะการสื่อสาร ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ เทคนิค แท๊กติก ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะเข้าใจ อีกก็คือเรื่องการสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน การประสานงาน ที่จริงเรื่องเหล่านี้ก็เรียนมา แต่พอเป็นที่ปฏิบัติจริง ๆ ความยากง่ายขึ้นกับเหตุการณ์ สถานการณ์

Phanat Preewatsana :  เอาปัญหาเป็นโจทย์ตั้ง คือการทำงานที่ผมชอบคิดและทำเสมอ มันท้าทายมากๆ ไม่ใช่พฤติกรรมของคนมองโลกในแง่ร้าย หากแต่หมายถึงการพยายามข้ามผ่าน หรือข้ามพ้นวังวนปัญหาเดิมๆ นั่นเอง

Jeab Yoka : ทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน : การเข้าถึงชุมชนที่แท้จริง เข้าถึงยากมาก โดยเฉพาะชุมชนเมือง รวมถึงการประสานงาน

หมูตอน อ้วนจริงจริง : การเข้าถึง ซึ่งยากสุดสุด

Kanokwan Aiemchai: ครูชุมชนก็อยากตอบ...ได้ไหมคะน้องเอก....มันมากมายจริงๆ

Kanokwan Aiemchai: พี่ขอจัดกรุ๊ป..แต่ละประเด็นก่อนนะ..เช่น..จากตัวบุคคล, องค์ความรู้,ทักษะ,...ทัศนคติ...การมองและเข้าถึงชุมชน..ฯลฯ.เท่าที่ประสบการณ์ในการทำงานชุมชนของพี่นะ..ตั้งแต่ Assess, Adop, Adap, Apply. พี่มองที่ 4 A ในมุมมองของพี่นะ

จงเชื่อมั่น และศรัทธา: ถึงจะยิ้มแย้ม แต่ถ้าไม่จริงใจ ชาวบ้านเค้าก็มองออกจริงไหมค่ะ สิ่งแรกที่ควรทำคิดว่าละทิ้งตัวตนของตัวเองออกไปก่อนละมั้ง

Kanokwan Aiemchai : แต่พี่ไม่มีวุฒิพยาบาลชุมชน..พยาบาลเวชฯ..เหมือนคนอื่นเขา..

Noppadon Pumyim : แรงบันดาลใจและการคิดนอกกรอบครับ ผมว่าถ้าพยาบาลชุมชนสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน(ชุมชน)ได้มากกว่านี้ จะทำงานได้ดีกว่าบุคลากรกลุ่มอื่น ๆ มาก เพราะวิชาการแน่นปึ๊ก

Ev Mondaynovember : ทำอย่างไรให้คนในชุมชนคิดว่าเราเป็นญาติคนหนึ่ง พร้อมดูแล และดูแลสุขภาพแบบร่วมด้วยช่วยกันทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายในชุมชนที่เอื้อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการร่วมแก้ปัญหาสุขภาพ

ประกาย พิทักษ์ : พยาบาลทำงานด้วยใจรัก แต่ปัจจัยมีหลายอย่างที่เป็นปัญหาและอุปสรรค อาจจะตั้งต้นจากปัญหาอุปสรรค เหมือนอาจารย์พนัสเสนอ แต่ละชุมชนไม่เหมือนกัน ที่สำคัญอีกเรื่องของชุมชน จะมีการเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย

Krissana Kapheak: ปัญหาคาใจคือ เรื่องที่ 1)เรายังไม่รู้จักชุมชนดีพอ...ลึกซึ้งพอ...แล้วเราควรจะเริ่มต้นจากตรงไหนค่ะ เรื่องที่ 2) ชุมชนเข้มแข็งเป็นอย่างไร แล้วเรามีส่วนช่วยเพิ่มหรือขับเคลื่อนกระบวนการนี้ได้อย่างไรค่ะ เรื่องที่ 3) ศาสตร์ด้านการทำงานชุมชน ตลอดถึงการนำหลักการแนวคิดทฤษฎีไปปฏิบัติจริงทำอย่างไร....เรื่องที่ 4) มุมมองของพยาบาลในปัจจุบันต่อชุมชนค่ะ

Pranee Boonkerd ‎: 1.การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน 2.ทักษะการสื่อสารที่จะได้ใจประชาชนในชุมชน

Matana Kettratad : ไม่ใช่พยาบาลแต่ขอตอบนะคะ 5555 เริ่มที่การเข้าใจปัญหาชุมชุนจริงๆ ตาม concept participatory แบบที่ชุมชนมีส่วนร่วมมากๆไม่ใช่แค่ผิวเผินเป็น"ไม้ประดับ" ก็ต้องเปิดใจเชื่อในสิ่งดีๆที่มีอยู่ในชุมชน หาผู้นำทั้งตัวจริงที่ไม่มีตำแหน่งและตามตำแหน่งให้เป็นให้เจอก็จะเริ่มง่ายขึ้นมากค่ะ ฟังให้ลึกซึ้ง สังเกตให้เป็น เค้าก็จะเล่าให้เราฟังหรือพาเราไปเห็นวิถี และ ความสัมพันธ์ทางการเมืองเองค่ะ

Matana Kettratad : ทักษะการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ (persuasive communication) ก็ต้องใช้บ่อยค่ะ ทักษะการทำสื่อที่ชุมชนเข้าใจง่ายๆ ฯลฯ คุณเอกสนใจแวะมาคุยกันที่คณะไหมคะว่าเราตั้ง competency อะไรให้นศ.บ้าง?

ละอ่อน ขอนแก่น : ฟังเพลง คนบ้านเดียวกัน ของ พี่ไผ่ พงศธร หรือยังคะ ^ ^

ละอ่อน ขอนแก่น : ฟังมาจากป้าแดง พยาบาลที่ท่าบ่อ ไม่ยอมพูดภาษาอีสานเพื่อสื่อสารกันง่ายๆกับชาวบ้านในชุมชน

ละอ่อน ขอนแก่น : หนูพาแม่ไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯขอนแก่น โชคดีจริงได้เจอพี่พยาบาลประชาสัมพันธ์สื่อสารกับชาวบ้านง่ายๆด้วยภาษาถิ่น อธิบายทุกขั้นตอนรายละเอียด เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ประทับใจสุดๆๆ

ละอ่อน ขอนแก่น: หมอท่านหนึ่งที่มหาสารคาม ใช้หมอลำเป็นสื่อในการเข้าถึงชาวบ้านในพื้นที่ เล่าเรื่องราววิชาการยากๆเกี่ยวกับโรคเอดส์ ให้ชาวบ้านเช้าใจได้อย่างง่ายๆๆคะ มีคลิปนี้ในยูทูปคะ ประทับใจมากๆๆอีกเคสหนึ่งคะ

ละอ่อน ขอนแก่น : ชาวบ้านในชุมชนฯคนกรุงเทพฯ ส่วนมากเป็นคนต่างจังหวัด อพยพย้ายถิ่นฐานมาทำงานในกรุงเทพฯคะ ทำยังไงจะได้ใจ ก็คือ ต้องเปิดใจคะ พูดจาภาษาเดียวกันกับพวกเค้าเหล่านั้น คะ

 

ต้องขอบคุณความคิดเห็นที่หลากหลายครับ...ความคิดเห็นเหล่านี้มีคุณค่าเป็นอย่างมาก เป็นพลังความรู้อย่างหนึ่งที่ช่วยในการออกแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับทีมงานพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

ผมขอลองสรุปเป็นแผนที่ความคิดให้เห็นถึงกลุ่มก้อนความคิดก่อนครับ

ผมขอสรุปเป็นประเด็นตามที่ได้แลกเปลี่ยนกันดังนี้ครับ 

  • ปัญหา
  • ความต้องการพัฒนา
  • สถานะผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ภูมิลำเนา-ที่ทำงานผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ปัญหาการทำงานชุมชนที่พบ 

  • ปัญหาการสื่อสาร
  • ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
  • ไม่เข้าใจชุมชนที่ลึกซึ้งเพียงพอ
  • ไม่เข้าใจว่า “ชุมชนเข้มแข็งคืออะไร” หรืออาจหมายถึง ไม่เข้าใจว่าเป้าหมายของตนเองกับการทำงานชุมชนนั้นอยากได้อะไร มองไม่เห็นความเชื่อมโยง
  • ปัญหาการแปลงทฤษฏีสู่การปฏิบัติ
  • ทัศนคติการทำงานชุมชนของพยาบาล

 

ส่วนความต้องการในการพัฒนานั้น มีการระดมความคิดว่า ต้องการพัฒนา??

  • ทักษะ ความรู้ ทัศนคติการทำงานชุมชน
  • เทคนิคการประสานงาน
  • กระบวนการพัฒนาชุมชนภาพรวม
  • ทักษะการสื่อสาร
  • การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
  • การ Access, Adop, Adap, Apply
  • แรงบันดาลใจ ความคิดที่นอกกรอบ
  • การสร้างเครือข่าย
  • การทำสื่อเพื่อสื่อสารกับชุมชน

 

ผู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : มีทั้ง พยาบาล,ทันตแพทย์,อาจารย์,นักกฎหมาย,นักวิชาการ

ภูมิลำเนาผู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ขอนแก่น,มหาสารคาม,ยะลา,กรุงเทพ,เชียงใหม่,อยุธยา (กระจายทั่วประเทศ)

 

ขอบคุณครับสำหรับทุกความคิดเห็นที่มีประโยชน์

 

 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ศาลายา,มหิดล

หมายเลขบันทึก: 432967เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2011 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีค่ะ อ.น้องเอก
  • ป้าแดงว่า ระบบของที่ทำงานก็สำคัญนะคะ 
  • หากนโยบายของหน่วยงานไม่ชัด ไม่สนับสนุนมากนะ คนทำงานก็ลำบาก 
  • ลำบากก็คือ ต้องทุ่มเท แรงกายแรงใจแรงเงิน และเวลา ของตนเอง(ส่วนตัว)ไปเยอะมาก สุดท้ายก็จะท้อ หากไม่มีคนช่วยเหลือ หรือหากชาวบ้านช่วยเหลือมากก็อาจจะเหมือนเด่นเกินหน้าคนอื่นไป 
  • ขอบคุณค่ะ ที่ทำเพื่อพยาบาลเรา 

 

ปล. ป้าแดง เคยบ่นกับน้องละอ่อนว่า "เดี๋ยวนี้ เด็กอิสาน ไม่ค่อยพูดอิสาน" แต่พยาบาลชุมชน ส่วนใหญ่ต้องพูดอิสาน กับชาวบ้านค่ะ จนเดี๋ยวนี้ คุณหมอจะชอบพูดว่า "พี่แดง ชอบใช้ศัพท์บ้านๆๆ" อิอิอิ 

Facebook กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับคุณเอกไปแล้ว ;)...

ว่าแต่คุณ Phanat Preewatsana เขาไม่ใช่พยาบาล (กาย) นี่ แต่เขาเป็นพยาบาล (ใจ) 555

ขอบคุณครับ ถอด แกะ เกา ได้เทพดีจริง ๆ ;)...

เยี่ยมจริงๆๆๆๆๆ.....ชื่นชมๆๆๆ

...เอ พลาดได้ไง ความเห็นนี้..อิ อิ

เห็นด้วยกับป้าแดงค่ะ ระบบงานก็มีความสำคัญทั้งอีกบริบทของที่ทำงาน ผู้ร่วมงาน และนโยบายของ CUP

การคิดนอกกรอบและในกรอบเป็นประเด็นหลักในการทำงาน ในกรอบตามแนวนโยบายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนนอกกรอบตามแนวคิดการทำงาน ประสบการณ์และแรงบันดาลใจ อีกทั้งบริบทที่จะสามารถทำได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็คิดว่าการที่พยาบาลจะลงมาทำงานชุมชนให้ดีได้ต้องมีใจรักและเสียสละพอสมควร

เห็นด้วยกับท่านอ.วัสค่ะ..นักถอด แกะ เกา ขั้นเทพจริง ๆ ยกให้ สิบนิ้วเลยค่ะ..อิ อิ

ขอบคุณหลาย ๆ เด้อค่า..^__^

ป้าแดง เริ่มหลงแล้วคะ อิอิ

Dr Elizabeth Geden, Family nursing from USA เล่าการทำงานในชุมชนของเธอว่า

  • จะต้องนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ หลายอย่าง เช่น ทฤษฎีการดูแลตนเอง โมเดลการจัดการสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทฤษฎีการรับรู้และการเรียนรู้  เทคนิกการสัมภาษณ์เชิงกระตุ้น ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ต้องศึกษาข้อจำกัด ทางเลือก การเข้าถึง ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของคนในชุมชน ทฤษฎีพัฒนาการ มีการวางแผนการใช้ยาที่กินเป็นประจำ ทฤษฎีพันธุกรรม ฯลฯ มาใช้ในการทำงาน
  • พยาบาลจะต้องวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวรวมกัน...ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับผู้ป่วยในชุมชนในฐานะเขาเป็นเจ้าของภาวะสุขภาพของเขาเอง
  • มีหลายอย่างน่าสนใจ

สรุป

พี่คิดว่า พยาบาลในชุมชน จะต้องพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆสู่การปฏิบัติโดยการสำรวจความต้องการและประเด็นปัญหาของชุมชนให้ถ่องแท้ จึงจะพัฒนาระบบสุขภาพในชุมชนได้ตรงประเด็นและอย่าลืมเตรียมบุคลากรเพื่อให้สามารถจัดระบบบริการให้กับคนในชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ (unique population)

ความเห็นจากคุณ ฐิติมา โพธิศรี 

เห็นด้วยกับทุกท่านค่ะ...

การทำงานกับชุมชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เราต้องให้เขาเห็นว่าเรามีความจริงใจกับเขา มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่ชุมชนมีไม่เฉพาะแต่งานพยาบาลเราเท่านั้นค่ะ...แล้วเราต้องมีองค์ความรู้กว้าง ทันใหม่สามารถให้คำแนะนำได้ในเบื้องต้น...และที่สำคัญถ้าผู้ป่วยหรือญาติขอร้องให้เราไปดูผู้ป่วยที่บ้านเราอย่ารีรอ...รีบแสดงน้ำใจเลยค่ะได้ผลจริงๆและเราก็แนะนำบริการให้เราและประสานการดูแลกับพื้นที่ หรือทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลให้เขาได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องและถูกต้อง

----------------------------------------------------------------------------

7 ชั่วโมงที่แล้ว 

27/03/54

การทำงานกับชุมชนทุกอย่างอยู่ที่ความคิด ถ้าทุกคนคิดว่าตัวเราเองเป็นคนในชุมชนที่อยู่แบบครอบครัวเดียวกัน คุณลุงคุณป้า คุณน้าคุณอา คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ลูกสาวลูกชายของเราเอง เราก็จะเอาใจใส่ในการสรรหาทุกอย่างหรือหาวิธีที่ดีที่สุด ลงมือทำอย่างดีที่สุดเพื่อให้คนในครอบครัวนั้นมีความสุขที่สุดด้วย  ทำงานกับชุมชนด้วยแนวคิดนี้ผู้ปฏิบัติได้รับความสุขอย่างแน่นอนค่ะ่

 27 มีนาคมเวลา 10:51 น.

อ.เอกเจ้า..ตอนนี้พวกเราเหมือนจะทำงานโดยใช้ฐานของชุมชนเป็นหลัก มีการใช้วิธีคิดอันหลากหลาย ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น บูรณาการ การมีส่วนร่วม วิถีชุมชน ..ซึ่งเป็นวิธีคิดและเป็นกระบวนการทำงานที่ทำให้ทุกคนได้ตื่นตัว ตื่นรู้..แต่ก็ยังมีหลายๆคน ที่ยังไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของ "คน" ที่อยูในชุมชน ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภูมิหลัง และประสบการณ์ หลายๆ งาน/โครงการ /กิจกรรม ที่เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ ปัญหาร่วมกับชุมชน แต่พอสุดท้าย กิจกรรมที่เกิดขึ้นกับตอบสนองการทำงานของพวกเราเพียงฝ่ายเดียว

ซึ่งอาจเป็นเพราะการเกิด bias ของการให้ข้อมูล หรือจากประเด็นอื่นๆก็เป็นได้ ซึ่งในความเป็นจริง ชุมชน อาจคิดถึงปัญหาอื่นๆที่มีในชุมชนเป็นประเด็นแรกๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาทางสุขภาพก็ได้ (ซึ่งเคยมีประสบการณ์จากการทำงานวิจัยของตัวเอง)
อยากเห็นค่ะ ว่าเราจะเรียนรู้ชุมชน เพื่อการเข้าถึงอย่างแท้จริงได้อย่างไร โดยวางตัวเองในบทบาทของคนที่อยู่ในชุมชนร่วมกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมกัน ไม่ใช่บทบาทของวิชาชีพที่มีอยู่อย่างเช่นตอนนี้.........
บ่ฮู้ อ.เอกจะงงก่อนิ.

เห็นด้วยกับคุณในเรื่องนี้ข้างล่างนี้นะคะ

ปัญหาการทำงานชุมชนที่พบ 

  • ปัญหาการสื่อสาร
  • ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
  • ไม่เข้าใจชุมชนที่ลึกซึ้งเพียงพอ
  • ไม่เข้าใจว่า “ชุมชนเข้มแข็งคืออะไร” หรืออาจหมายถึง ไม่เข้าใจว่าเป้าหมายของตนเองกับการทำงานชุมชนนั้นอยากได้อะไร มองไม่เห็นความเชื่อมโยง
  • ปัญหาการแปลงทฤษฏีสู่การปฏิบัติ
  • ทัศนคติการทำงานชุมชนของพยาบาล

เป็นเรื่องปกติที่พยาบาลยุคใหม่จะต้องทำความเข้าใจและทำให้ได้คะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พยาบาลยุคเก่าไม่ได้ทำเลย คำว่า"ชุมชน" เพิ่งเข้ามาใหม่ในยุคปัจจุบันนี้ที่มีการบัญญัติเน้นกันจนแพร่หลาย

ยิ่งคำว่า "ชุมชนเข้มแข็ง" เป็นวาทกรรมใหม่ของซีกโลกฝ่ายการเมืองนะคะ

คำว่าคุณธรรมยังใช้ได้อย่างมั่นคงกับวิชาชีพนี้นะคะ

แต่ยังไม่ค่อยมีการพูดถึงจริยธรรมของพยาบาลกันเท่าไรนะคะ จริยธรรมเข้าได้กับชุมชนทุกชุมชนคะ

  • สวัสดีจ้ะคุณจตุพร
  • มีดอกตาเบบูญ่ามาฝากแทนคำขอบคุณจ้ะ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

  • คุณยายเกิดที่ชุมชน และคลุกคลีกับชุมชนมาตั้งแต่เริ่มทำงานค่ะ ก็เลยทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้าน
  • คุณยายโชคดีที่เป็นเด็กบ้านนอก คุยภาษาเดียวกัน บริบทเดียวกัน ชาวบ้านให้ความนับถือเราเพราะทำงานมานานค่ะ

 

ปัญหาเค้าบอกว่ามีไว้แก้ แต่มันก็เอาเรื่องน่าดูนะครับ

สวัสดี น้องเอก.....ว่าจะเขียน สิบสามยอดมนุษย์ทองคำตอนสอง แต่มีคิวอื่นมาแย่งไปก่อน

(พยาบาล กับ การทำงานชุมชน)  น่าสนใจ ที่มองเห็นคือ

1 ใจ

2 จริง

3 สม่ำเสมอ

4 ใช้ทุนความเป็นพยาบาลให้เป็น "บุญ"

5 นโยบายองค์กร

ผมออกไปเยี่ยม คนไข้ กับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้คนไข้มาฉีดยาให้ครบตามหมอสั่ง

คนไข้ติดเหล้าเรื้อรัง และเป็นวัณโรค วันนั้น มีนักจิตวิทยาไปด้วย พูดจาหว่านล้อมกันทุกอย่างคนไข้ไม่ยอม ฉีดยา ในที่สุด น้องพยาบาลที่ทำงานชุมชนและคุ้นชินกับคนไข้ พูดว่า

 "กมล เหอ ตัวไม่เหนดูฉานเหอ ฉานอดสามาตาม มาขอร้อง กมลก้าไม่ยอมไปฉีด นี้หลบไปโรงบาล หมอว่าฉานแน่ที่กมลไม่ยอมมาฉีดยา"คนไข้ร้องให้และยินยอมไปฉีดยาในที่สุด เพราะสงสารพยาบาล ไม่ใช่เพื่อตัวเอง มีแง่มุมน่าคิดมาก

สวัสดีค่ะอาจารย์

ทึ่งในความที่เป็นจิตอาสาและการทำงานของอาจารย์จริง ๆ ค่ะขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท