บทความเรื่องเทคโนโลยีกับการพัฒนา


ข่าวสารไร้พรมแดนที่ทำให้เกิดการพัฒนา หลากหลายทั้งด้านวิชาการ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนา

      ในยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนที่ทำให้เกิดการพัฒนา หลากหลายทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี สื่อสารสนเทศ พร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งไทย มีข้อผูกพันกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WTO, ASEAN, AFTA, EU, APEC หรือ กลุ่ม เศรษฐกิจ อื่น ๆ เช่น สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ รวมทั้งความรับผิดชอบด้านศรษฐกิจ การค้า การตลาด การคุ้มครองผู้บริโภค การแทรกแซงตลาด ราคาสินค้า จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ จะต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วางแผนล่วงหน้า อย่างเป็นระบบพร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้สื่อสารสนเทศ IT Internet

      ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ยังดำเนินต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งนี้เอง จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องหันมาให้ความสนใจ สร้างความเข้าใจ และหาทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และสังคมของเราให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในเชิงเศรษฐกิจและในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงไว้ และยังสามารถให้ชุมชนโลกได้รู้ถึง ซึ่งความมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทยที่มีมาช้านานได้

      ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อระบบเศรษฐกิจนั้นคงเป็นที่เห็นเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการผลิต และการประกอบธุรกรรม โดยจะเห็นได้จากการที่ภาคธุรกิจ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน การธนาคาร ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนผลในทางสังคม เป็นสิ่งที่รัฐต้องเข้ามาดูแล เพื่อที่จะให้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดในทิศทางที่จะช่วย "ลดช่องว่าง" ระหว่างชุมชนเมืองและชนบท และ "ขยายโอกาส" ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้รวมถึงโอกาสด้านการศึกษา การสาธารณสุข การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นๆ ของรัฐ

      ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณลักษณะหลายประการ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการนำมาใช้เป็นสื่อ หรือเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่วัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อในรูปแบบอื่น ที่มีการใช้กันมาแต่ดั้งเดิม โดยคุณลักษณะดังกล่าวได้แก่ ความสามารถในการเผยแพร่ และกระจายข้อมูลไปสู่ผู้รับได้ทั่วโลก (borderless) โดยปราศจากซึ่งขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และเวลา, ความสามารถในการสร้างระบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) หรือการโต้ตอบระหว่างผู้ให้และผู้รับข้อมูล หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสารสองทาง, และประการที่สำคัญคือความคงทนถาวร สะดวกในการค้นคว้า เหมาะกับข้อมูลทางวัฒนธรรม ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย

 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ดำเนินโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติขึ้น ในปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะเข้ามามีบทบาท ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะได้นำเสนอตัวอย่างของโครงการ ที่ได้ใช้ศักยภาพจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรมของไทย

      จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของอินเทอร์เน็ต ที่เหมาะแก่การเผยแพร่ข้อมูลวัฒนธรรมคือ การที่สามารถเข้าถึงผู้คนกว่า ๖๐ ล้านคนทั่วโลก ซึ่งหากนับค่าใช้จ่ายต่อผู้รับ ๑ คน แล้วถือว่าน้อยกว่าการพิมพ์หนังสือมาก ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษา และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นทั่วโลก โดยผ่านเพียงหน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการใช้โอกาสจากศักยภาพของเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้จักเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตน ซึ่งยังมีอยู่ในระดับต่างกัน ชนชาติที่มีความตื่นตัวและเห็นประโยชน์ ก็จะนำข้อมูลของตนมาลงเพื่อเผยแพร่ ทำให้ผู้คนอีกหลายสิบล้านคนทั่วโลก ได้เรียนรู้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชนชาตินั้น และในทางตรงกันข้าม ชนชาติที่ยังขาดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว ก็จะต้องอยู่ในสภาพที่เป็นแต่ "ผู้รับ" วัฒนธรรมของชาติอื่นไป

      นอกจากในเรื่องของวัฒนธรรมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศยังเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการศึกษา คือ โรงเรียนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดการศึกษา โดยจัดให้เป็นรูปแบบการศึกษาเพื่อปวงชนซึ่งหากเราพิจารณาไปที่ องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ สื่อซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้โดยตรงของบุคคลในสังคมดังนั้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร และการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่จำกัดอยู่เฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดบริการให้แก่ประชาชนในระดับท้องถิ่นแต่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน

      แผนงานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ที่เน้นไปยังพื้นฐานของประเทศ คือ ชุมชนในชนบท โดยนำ

อินเทอร์เน็ต เข้าสู่ทุกพื้นที่ ด้วยการสร้างเว็บไซต์ระบบรวมที่จะเป็นศูนย์กลางเพื่อการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว และสินค้า 
ไทยทุกตำบลทั่วประเทศ ออกสู่สายตาชาวโลก และนำไปสู่การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ThaiTambon.com เป็นเว็บไซต์บริการข้อมูลที่น่าสนใจของทุกตำบลในเมืองไทย เพื่อพัฒนาให้ทุกตำบลเจริญและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลทางการเมืองการบริหาร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักและร้านอาหาร จะเห็นได้ว่า การค้าขาย เกิดขึ้นได้จากการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อ สินค้าที่นำเสนอขาย เป็นได้ทั้งแบบที่เรียกว่า ออนไลน์แคตตาลอก (Online Catalog) คือแทนที่จะต้องไปพิมพ์เป็นเล่มโตๆ (วิธีที่อาจจะโบราณไปแล้ว) ซึ่งปรับปรุง แก้ไขได้ยากและสิ้นเปลืองมาก แต่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตแทน เพราะแพร่ไปได้ทั่วโลก ดูได้ตลอดเวลา

      การดำเนินการดังกล่าวเพื่อสร้างระบบข้อมูลตำบลให้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลด้านต่างๆ ของตำบลจะถูกเก็บเข้าระบบฐานข้อมูล และสร้างเป็นเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และนำเสนอการทำงาน และผลิตภัณฑ์ของชุมชนกลุ่มชน ตลอดไปจนถึงระดับSMEs เป็นการช่วยเหลือให้กับประชาชน

      เครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลงานวิจัยด้านท่องเที่ยวของ สกว. สำนักงานภาค ได้จัดทำเว็บไซต์  http://www.communitytourism.net  ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล  ความรู้ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวตามชุมชนต่าง ๆ  ในเครือข่าย เว็บดังกล่าวจะนำเสนอข้อมูล ความเคลื่อนไหวในแวดวงวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเสมือนสื่อกลาง หรือสะพานเชื่อมอันจะทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น  และยังรวมไปถึงนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจในแต่ละเดือน  หรือแม้แต่เกร็ดเล็ก ๆ น้อยอย่างการเตรียมความพร้อมก่อนท่องเที่ยวเพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาเดินทาง นักท่องเที่ยวจะมีความสุข และสนุกกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ณ เวลานี้ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นพื้นที่ในชุมชนท้องถิ่นกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากขณะเดียวกันภาครัฐเองก็เริ่มหันมาสนใจวิถีการท่องเที่ยวแบบนี้  มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านจัดทำการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบ  อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฉะนั้นกระแสการท่องเที่ยวแบบนี้ถือเป็นทางเลือกทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับตัวชุมชนและนักท่องเที่ยว 

      เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  ปัจจุบันสามารถชมข่าว  ชมรายการทีวี  ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก  จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ (Tags): #คอมพิวเตอร์
หมายเลขบันทึก: 43231เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เห็นด้วยครับ และที่น่าสนใจ คือ มข. ของเรา ได้ให้บริการระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ทั่วมหาวิทยาลัย ทำให้การติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล ส่งข้อมูล ฯลฯ เป็นไปอย่างกว้างขวาง และไม่ปิดกั้นการใช้งาน ขอบคุณแทนผู้ใช้บริการ ทุกท่านครับ

5+5+5+++++5555555+++ ค ร ว ย อา จา น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท