1. ผลการทดสอบค่าร้อยละ reticulocyte ในตัวอย่างเลือดที่ระยะเวลา 8, 24 และ 48 ชั่วโมง ได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับ ค่าร้อยละ reticulocyte ในตัวอย่างเลือดภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง ให้ผลการทดสอบทางสติถิ paired t - test ที่ไม่แตกต่างกันได้ค่า p = 0.217, 0.748, 0.334 (α = 0.005) ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่ามีความสัมพันธ์กันดี ได้ค่า r = 0.999 (Y = 1.01X - 0.03), 0.999 (Y= 1.01X - 0.06), 0.999 (Y = 1.01X - 0.05) ตามลำดับ
2. คุณภาพสเมียร์ reticulocyte ในตัวอย่างเลือดที่ระยะเวลา 8, 24 และ 48 ชั่วโมง มีคุณภาพสเมียร์ดีเทียบเท่ากับคุณภาพสเมียร์ reticulocyte ในตัวอย่างเลือดภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง
ส่งผลให้ทีมงานได้ดำเนินงานตามโครงการโดยขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่หน่วยโลหิตวิทยาทุกท่านเกี่ยวกับการนำตัวอย่างเลือดมาทำการทดสอบ reticulocyte count ทั้งในระหว่างการปฏิบัติงานปกติและนอกเวลาราชการ ดังนี้
1. สามารถนำตัวอย่างเลือดมาทำการทดสอบ reticulocyte count ได้ในระหว่างวัน (ภายใน 8 ชั่วโมง) ที่อุณหภูมิห้อง หากแพทย์สั่งเพิ่มทำการทดสอบบ reticulocyte count
2. สามรถจัดเก็บตัวอย่างเลือดทั้งผู้ป่วย OPD และผู้ป่วย ward ที่แพทย์สั่งทำการทดสอบ reticulocyte count หลัง 15.30 น. ที่ ER Lab ไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4๐C เพื่อเป็นการรักษาสภาพตัวอย่างตรวจและส่งทำการทดสอบต่อที่หน่วยโลหิตวิทยาในวันรุ่งขึ้น (24 ชั่วโมง) เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย
โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 จากนี้ไปมีอะไรที่ตกหล่นทีมงานก็จะเก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
ยอดเยี่ยมค่ะ คุณ"ตาค่ะ"
ส่วนค่าทางสถิติ น่าจะรายงานแค่ 2-3 จุดทศนิยมก็พอค่ะ จะดูแล้วสื่อสารเห็นชัดเจนกว่าไหมคะ ตัวเลขเยอะๆคนดูไม่ "get" ค่ะ
ตาค่ะ
พี่โอ๋ค่ะ ตาได้แก้ไขตามคำแนะนำของพี่แล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ