แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ชวนกัน..ฝันดี by หมอดุล(ธำรงดุล)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ



ชวนกัน..ฝันดี 

แปลโดย ธำรงดุล
เรียบเรียงจาก Tips for Good Sleep โดย Dr.K.G.Sharda
จาก Yoga and Total Health February 2007
คอลัมน์ ; โยคะจากอินเดีย
โยคะสารัตถะ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ 

 

ใครอยู่ชมรมคนนอนไม่หลับ..ยกมือขึ้น เชื่อว่าหลายคนมีชีวิตเช่นนั้น ก็ชีวิตประจำวันช่างมีเรื่องราวให้เก็บมาขบคิดมากมายจนเลยเวลานอน

ถ้าหยุดความคิดไม่ได้ แล้วคืนนี้..ไม่หลับไม่นอนอีกล่ะ จะทำไงดี..

กฎง่ายๆสู่การผ่อนพัก

หลายคนคงรู้ว่า "เข้านอนแต่หัวค่ำ และตื่นนอนแต่เช้า จะทำให้เรามีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง และร่ำรวย" การเดินในยามเช้าและปฏิบัติโยคะ การไม่คิดถึงสิ่งที่ไม่จำเป็นก่อนนอน แล้วเข้านอนด้วยอารมณ์ที่แจ่มใสจะช่วยให้เราผ่อนพักอย่างเป็นสุข

เตรียมกาย..ผ่อนใจ

รับประทานอาหารอย่างเป็นปกติทุกมื้อ ล้างหน้า ล้างมือและเท้าให้สะอาดก่อนเข้านอน สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายๆ ไม่รัดแน่นหรือหนาหนักจนเกินไป ห้องนอนควรตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะอาดปลอดโปร่ง และระบายอากาศได้ดี การมีจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะช่วยให้เราหลับได้สนิทและลึกขึ้น นึกถึงตอนที่แม่ร้องเพลงกล่อมเราตอนเป็นเด็กสิ เหตุผลก็คือช่วยทำให้จิตของเรานิ่งไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง บางครั้งการอ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ฟังเพลงเบาๆก็อาจจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีก่อนนอนได้ เข้ามาอยู่ในห้องนอนและใช้เวลาในห้องสักพักก่อนล้มตัวลงนอน

อย่าปล่อยให้ใครอะไรมาขัดขวางเรา!

อารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง ไม่ยอมปล่อยวาง ความวิตกกังวล ความกลัว กิจกรรมที่ใช้กำลังมาก โรคบางอย่าง มื้อคำที่หนักเกินไป อาหารที่เผ็ดร้อน รวมถึง ชา กาแฟ ยาสูบต่างๆ เสียงอึกทึก และแสงในห้องนอนที่สว่างจ้าเกินไป ล้วนเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ขัดขวางการนอนอย่างเป็นสุข เป็นเรื่องที่อันตรายทีเดียวถ้าคนที่นอนไม่หลับจะหวังพึ่งยานอนหลับ หรือสารเสพติดบางอย่างเป็นตัวช่วย

ท่านอน ไม่นอนใจ

ท่านอนก็สำคัญไม่แพ้กัน ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้เราสามารถผ่อนพักได้อย่างสุขสบาย การนอนบนหลังของเรา (นอนหงาย นั่นเอง) จะช่วยให้เราหลับสบายได้มากกว่าที่จะนอนลงบนท้อง (นอนคว่ำ ไงล่ะ)

การนอนตะแคงซ้ายเป็นท่านอนที่เวิร์กมากๆ เพราะอากาศที่ผ่านเข้าทางช่องจมูกขวา (สูรยะนาฑี Surya nadi) จะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง ไม่เกิดการกีดขวางทำให้สามารถหายใจเข้าและออกอย่างเป็นอิสระ ผลก็คือเราสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ เกิดการจัดปรับสมดุลของพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกายช่วยให้เราหลับได้สนิทและลึกขึ้น

นอนเท่าไหร่ให้พอ(ดี)

ช่วงอายุที่ต่างกัน ต้องการเวลานอนที่ไม่เท่ากัน คุณหมอแนะนำว่า

ช่วงอายุ (ปี) ระยะเวลานอน
(ชั่วโมง)
ช่วงอายุ (ปี) ระยะเวลานอน
(ชั่วโมง)
1-6 สัปดาห์ 22 6-9 10-12
1-2 18 9-13 9-10
3-4 16-17 มากกว่า 15 ปี
ขึ้นไป
6-8
4-6 13-15    

การนอนหลับที่มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายตึงเกร็ง นำความขี้เกียจ โรคอ้วน รวมถึงอาจจะนำพาโรคบางอย่างตามมา

คืนนี้ ..ไม่เหมือนคืนนั้น

ทิ้งความเครียดเรื่องงานไว้ที่ทำงานอย่านำมันกลับเข้าบ้าน ใช้เวลาอันแสนสุขสักนิดก่อนเข้านอนกับครอบครัวของคุณ ผ่อนคลายทุกครั้งหลังทำงาน ถ้าทำได้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คืนนี้คุณจะนอนหลับฝันดี.. ราตรีสวัสดิ์ 

 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com


หมายเลขบันทึก: 432078เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท