องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการอบรม เรื่อง "การจัดการความรู้เพื่อลดความเสี่ยงในองค์กรฯ" บัณฑิตวิทยาลัย ม.รังสิต 21-22 มี.ค. 54


โครงการอบรม เรื่อง "การจัดการความรู้เพื่อลดความเสี่ยงในองค์กรและเพิ่มคุณภาพในการประกันคุณภาพการศึกษา" จัดโดย ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง และศูนย์บริการวิชาการ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการนำระบบการจัดการความรู้ และระบบการจัดการความเสี่ยงเข้ามาใข้ในงาน ทำให้การทำงานเกิดความคล่องตัวมากขึ้น และเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา

 

คำสำคัญ (Tags): #dpu#km#rsu#utcc
หมายเลขบันทึก: 432074เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต สามารถเขียนข้อเสนอแนะในนี้ได้

กลุ่มที่ 1 การบริหารงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

How to : / Tips

1)      การตลาด

  • จัดโครงการอบรมวิชาพื้นฐาน “ฟรี” (นับเป็นวิชาพื้นฐานได้เลย มูลค่า 49,000.- บาท
  • ใช้ Social Network ในการประชาสัมพันธ์ รุ่นพี่ชวนรุ่นน้อง
  • ลดต้นทุนการตลาดโดยใช้ความสามารถของนักศึกษาในหลักสูตรออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์รวมถึง website และการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาต่อสาธารณะ
  • มีทุนการศึกษามอบแก่ผู้มีชื่อเสียงและข้าราชการระดับสูง
  • อาจารย์ผู้สอนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ
  • มีหลักสูตรที่มีความโดดเด่นและเปิดกว้างสำหรับทุกสาขาวิชา
  • Long distance education

2)      บริหารจัดการ/ การบริการ

  • มีการวางแผนทำงานล่วงหน้า (ปฏิทินการศึกษา)
  • จัดลำดับความสำคัญของงาน
  • สร้างความประทับใจในการบริการ (ให้คำปรึกษา, ติดต่อได้ตลอด, ดูแลนักศึกษารายบุคคล,ให้ข้อมูลครบถ้วน)
  • ใช้ social network ในการบริหารจัดการ
  • มีสถานที่/อุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพสนับสนุนการเรียนการสอน (Hi-tech, ศูนย์วิภาฯ)
  • สร้างวัฒนธรรมให้ศิษย์เก่า-นักศึกษาใหม่ มีความผูกพันกับหลักสูตร (ชมรมศิษย์เก่า, ปฐมนิเทศ, ปัจฉิมนิเทศ, ทัศนศีกษา, พี่ติวน้อง)

กลุ่มที่ 3 บริหารงานทั่วไป

Fa : คุณจิตรลดา สรรพศิริ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Note : คุณอธิษฐาน เกียรติไพศาล มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

ผู้นำเสนอ : คุณประสงค์ศักดิ์ อัคโกศล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วิทยากรกลุ่ม : ผศ.รุ่งอรุณ รังรองรัตน์

ผู้เข้าร่วมกลุ่ม :

1.คุณณัฐพร ไกรยวงค์         มหาวิทยาลัยรังสิต

2.คุณบงกชกาญจน์ สุนทรพฤกษ์ มหาวิทยาลัยรังสิต

3.คุณปิยะพร ศรีทองสุก มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

4.คุณพรหมพร บุญลือ มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

5.คุณสุพจน์ อุ่นเรือน มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

6.คุณสุมาลี ปัญญาใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

7.คุณประยูร นาคเกษม มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

8.คุณชาริตา ลอดเหล็ก มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์ศึกษาสาทรธานี

9.คุณโทรี่ รัศมีพรหม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

10.คุณกาญจนา เกรียงไกรสิริกุล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

11.คุณสุภาภรณ์ โชติปกรณ์กุล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

12.คุณปฐมวิชร์ ศุภจรรยารักษ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หัวข้อ : เทคนิคการประสานงาน

เทคนิค

1.การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับนักศึกษา

1.1 ให้นักศึกษาช่วยกระจายข่าวสารต่างๆ

                1.2 จัดขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow Chart)

                1.3 ชี้แจงด้วยกริยาที่สุภาพกับนักศึกษา (Service Mind)

                1.4 รับฟังปัญหาของนักศึกษา เพื่อลดอารมณ์ความไม่พึงพอใจของนักศึกษา และตอบสนองความพึงพอใจให้กับนักศึกษาให้ได้มากที่สุด

                1.5 เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างนักศึกษากับหน่วยงานต่างๆ

                1.6 สร้างปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา

                1.7 ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่

2.การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับอาจารย์

                2.1 การจัดเตรียมเอกสารการเรียนการสอน
                2.2 กำหนดระยะเวลาในการส่งเอกสารการเรียนการสอนในจดหมายเชิญสอน

                2.3 ขอให้อาจารย์แจ้งการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน (อย่างน้อย 1 วัน)

                2.4 พยายามติดต่อประสานงานและติดตามผลทุกครั้ง

3.การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

                3.1 สำเนาเอกสารไว้ทุกครั้งโดยการทำ Back up file

                3.2 ทำสมุดรับ-ส่งเอกสาร

                3.3 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                3.4 รู้ข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ในสถาบัน

                3.5 การส่งต่อข้อมูลต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน

4.การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับบุคคลภายนอก

                4.1 มีข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านหลักสูตร เช่น

-คู่มือหลักสูตร ได้แก่

    Website   1.www.rsu.ac.th/grad

                      2.http://gs.utcc.ac.th

                      3.http://www.dpc.ac.th/graduate

     Paper

                                -คู่มือการปฏิบัติงาน

                4.2 ถ้าตอบคำถามไม่ได้ ให้ขอเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล์เพื่อติดต่อกลับ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง

                4.3 ในกรณีที่บุคคลภายในเข้ามาติดต่อประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง เช่น เจ้าหน้าที่ดูแลห้องสัมมนา

                4.4 ในเรื่องการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลของนักศึกษา จะให้ข้อมูลเฉพาะผู้ที่เป็นนักศึกษาเท่านั้น

                4.5 ปัญหาในการนัดอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ

                                -กำหนดช่วงวัน เวลาที่แน่นอนให้อาจารย์

                                -ขอตารางการทำงานล่วงหน้าจากอาจารย์

                4.6 เก็บข้อมูลของผู้ติดต่อ เช่น โรงแรม เพื่อที่จะติดต่อประสานงานในครั้งต่อไป

กลุ่มบริการวิชาการและวิจัย

 

FA            :       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ต.หญิง ดร.วรรณี  ศุขสาตร

NOTE        :       อุไรวรรณ  จุลพันธ์

ผู้นำเสนอ   :       ดร.นันทิ  สุทธิการนฤนัย

 

รายชื่อผู้ร่วมกลุ่ม

  1. 1.      ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี  ศุขสาตร
  2. 2.      ดร.ธรรมนูญ  สุสำเภา
  3. 3.      ดร.นันทิ  สุทธิการนฤนัย
  4. 4.      อุไรวรรณ  จุลพันธ์
  5. 5.      ดวงเดือน  สวามีชัย
  6. 6.      ชนมณฑ์  สังข์กลาง
  7. 7.      นฤมล  พฤกษศิลป์ 
  8. 8.      พัชรา  หาญเจริญกิจ
  9. 9.      วาสนา  อู่เงิน

10. นันทนัช  ภาสบุตร

11. รังศิมา  ลำจวน

12. จิระโรจน์  มะหมัดกุล

13. รุ่งรัตน์  เจติยวรรณ

 

หัวข้อที่เสนอพิจารณา

1  การนำผลงานวิจัยไปใช้ในการบริการชุมชน                                 10  คะแนน

2  การนำผลงานวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน                              1    คะแนน

3  การนำผลงานการบริการวิชาการไปใช้ในการเรียนการสอน                   1    คะแนน

4  การให้บุคลากรเข้าถึงข่าวสารด้านงานวิจัยและการบริการวิชาการ 1    คะแนน

มติความเห็นของกลุ่มเลือกหัวข้อ 1 การนำผลงานวิจัยไปใช้ในการบริการชุมชน องค์ความรู้ที่กำหนด คือ เทคนิคการหาหัวข้อการวิจัยไปใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมในองค์ความรู้ ดังนี้

1.  การสร้างเครือข่ายกับชุมชน

          1.1  ทำความรู้จักกับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน

          1.2  ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

 

2.  สำรวจความต้องการหรือปัญหาของชุมชน

          2.1  ทำแบบสอบถาม/สัมภาษณ์

          2.2  ระดมความคิดเห็น

          2.3  ส่งคนลงไปสังเกตุการณ์

          2.4  วิเคราะห์ความต้องการและสรุปปัญหาจากแผนยุทธศาสตร์ของชุมชน

 

3.  ตั้งหัวข้องานวิจัยและจัดทำโครงร่างงานวิจัย

          3.1  กำหนดประเด็น ปัญหาของงานวิจัย

          3.2  กำหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่ได้รับ

          3.3  กำหนดแนวทางการดำเนินงาน

          3.4  กำหนดผู้รับผิดชอบและงบประมาณ

 

4.  หาแหล่งทุนงานวิจัย

          4.1  ติดตามข่าวสารของหน่วยงานที่ให้ทุน

          4.2  นำเสนอโครงร่างงานวิจัยแก่หน่วยงานที่ให้ทุน

          4.3  พิจารณาร่วมกับชุมชนในการปรับแก้โครงร่างงานวิจัยให้เหมาะสม

         

คณะวิทยากร (ซ้ายไปขวา ผศ.ดร.นนทลี ผศ.รุ่งอรุณ และ ผศ.ดร.อภิชาติ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

กลุ่มบริหารงานทั่วไป

มีการแสดงละครเรื่องการให้บริการกับผู้รับบริการที่กำลังอารมณ์เดือด (พล่าน) แสดงได้ดีครับ แต่ขอเพิ่มทิปเล็กๆ ให้น้องๆ หรืออาจารย์ ถ้าคนที่กำลังยั๊ว (อารมณ์เดือด) แล้วต่อว่าน้องๆ หรืออาจารย์ที่รับหน้าเคาน์เตอร์ ควรหาวิธีให้ผู้ที่อารมณ์เดือดนี้โปรดนั่งก่อน เพราะถ้านั่งแล้วถือว่าอารมณ์ที่กำลังปรี๊ดลงความรุนแรงลงอย่างน้อย 50% ไปแล้ว เช่น เชิญให้ผู้ที่กำลังเดือดนั่งที่โซฟา หรือเก้าอี้ก่อน แล้วรีบนำน้ำเย็น หรือเครื่องดื่มเย็นให้ทานก่อน ก่อนที่จะต้องกระตือรือล้นที่จะทำเรื่องนั้นให้กับผู้รับบริการทันที

อย่าพยายามโต้เถียงว่า เราถูก เค้าผิด เพราะจะยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟ (ในทรวง) ของผู้รับบริการ ควรแสดงความจริงใจ และกล่าวคำขอโทษ อีกทั้งต้องใช้ไหวพริบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ดีด้วย

หลังจากนั้นต้องนำเอาสิ่งที่ผิดพลาดไปประชุมหรือเสนอหัวหน้า เพื่อแก้ไขปัญหานี้ และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก (ใช้กระบวนการ PDCA เข้ามาช่วย)

ถ้าจะให้ดีควรเก็บข้อมูลนี้ไว้ เป็นหลักฐานในหัวข้อของการรับข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม หรือวิธีแก้ไขที่เป็นรูปธรรมด้วยนะครับ

สำหรับกลุ่มบริการวิชาการ เรื่องของการหาหัวข้อวิจัยไปใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาชุมชน

ควรดำเนินการหาหัวข้อ เช่น การเดินเข้าไปหาชุมชน หรือหัวหน้าชุมชน เพื่อสอบถามความต้องการ หรือ การเข้าไปสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในชุมชน เพื่อหา Training Need หรือ Research Need ฯลฯ ทิปเล็กๆ คือ ถ้าเรามีลูกศิษย์ที่อยู่ในชุมชนนั้น จะทำให้การทำงานง่ายขึ้นครับ เพราะเราก็ขอให้ลูกศิษย์พาเข้าไปหาหัวหน้าชุมชน หรือบุคคลที่อยู่ในชุมชนได้ทันที และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ ใครมีอะไรจะเพิ่มเติมลองแนะนำมานะครับ จะได้นำเอาไปทดลองใช้ หากใช้งานได้ดี รบกวนแจ้งให้ทราบด้วยครับ ขอบคุณครับ ผศ.ดร.อภิชาติ

 

กลุ่มที่ 1 การบริหารงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

FA            :       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์

NOTE        :      ชุติมา อาจไชยชาญ

ผู้นำเสนอ    :      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์

 รายชื่อผู้ร่วมกลุ่ม

      1.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิภาวดี  มรส.

      2.      น.ส.อมรรัตน์ ส็งพรหม   เลขานุการศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

3.      นางศุภฉัตร คงคา  เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

4.      นางศุภฉัตร คงคา เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

5.      นายอุดมศักดิ์ พูลเอียด เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

6.      นายปุณณภพ จันทรครบ เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

7.      นายศุภณํฐ ค้าทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มรส.

8.      น.ส.อธิฐาน เกียติไพศาล เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มรส

9.      นางสาวนาตยา สมุทรถา  เจ้าหน้าที่หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มรส.

10.    นางวิภาพร กลั่นคำ คณะบัญชี มรส.

11.    อาจารย์สราวุธ  จันทร์ผง วิทาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มรส.

12.    ดร.กีรติ  ตันเสถียร รองคณบดีฝ่ายบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มรส.

14.    นายสุรพล  ท้วมเจริย  เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย มรส.

13.    ชุติมา อาจไชยชาญ  สาขาวิชาการออกแบบ มรส. 

หัวข้อที่เสนอพิจารณา

1)      การตลาด

  • จัดโครงการอบรมวิชาพื้นฐาน “ฟรี” (นับเป็นวิชาพื้นฐานได้เลย มูลค่า 49,000.- บาท
  • ใช้ Social Network ในการประชาสัมพันธ์ รุ่นพี่ชวนรุ่นน้อง
  • ลดต้นทุนการตลาดโดยใช้ความสามารถของนักศึกษาในหลักสูตรออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์รวมถึง website และการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาต่อสาธารณะ
  • มีทุนการศึกษามอบแก่ผู้มีชื่อเสียงและข้าราชการระดับสูง
  • อาจารย์ผู้สอนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ
  • มีหลักสูตรที่มีความโดดเด่นและเปิดกว้างสำหรับทุกสาขาวิชา
  • Long distance education

2)      บริหารจัดการ/ การบริการ

  • มีการวางแผนทำงานล่วงหน้า (ปฏิทินการศึกษา)
  • จัดลำดับความสำคัญของงาน
  • สร้างความประทับใจในการบริการ (ให้คำปรึกษา, ติดต่อได้ตลอด, ดูแลนักศึกษารายบุคคล,ให้ข้อมูลครบถ้วน)
  • ใช้ social network ในการบริหารจัดการ
  • มีสถานที่/อุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพสนับสนุนการเรียนการสอน (Hi-tech, ศูนย์วิภาฯ)
  • สร้างวัฒนธรรมให้ศิษย์เก่า-นักศึกษาใหม่ มีความผูกพันกับหลักสูตร (ชมรมศิษย์เก่า, ปฐมนิเทศ, ปัจฉิมนิเทศ, ทัศนศีกษา, พี่ติวน้อง)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท