Caregiver


งานของเธอเป็นงานที่มีความสำคัญและมีความหมาย ได้โปรดอย่าคิดว่าเป็นงานที่ต่ำต้อยและท้ายสุดนี้ฉันอยากอวยพรให้เธอมีชีวิตที่มีความสุข ได้ดำเนินชีวิตอย่างที่จะไม่นึกเสียใจเมื่อมองย้อนกลับมา
       เดินทางกลับจาก น่าน ฉันนั่งทบทวนว่าจะสรุปและถอดบทเรียนจากการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบริการปฐมภูมิ  มาอย่างไรดี  พลันจิตก็ประหวัดคิดถึงคนไข้รายต่างๆที่ได้ออกเยี่ยมบ้าน  ว่าคนไข้แต่ละรายที่เราไปเยี่ยมมาไม่หายก็ตายจากกันไป  เหมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นลงจากต้นทีละใบๆ  พร้อมกับมีใบใหม่มาให้เราได้ดูแลต่อไป และได้นึกย้อนไปถึงคนอีกคนหนึ่งที่อยู่เคียงข้างผู้ป่วยมาตลอด  นั่นคือ ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือที่พวกเราเรียกว่า Caregiver
 

 

        เมื่อพลิกหนังสือ PCFM (The Thai Journal of Care and Family Medicine) : วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว Vol.2 No.6 November 2010 - February 2011  คอลัม มองด้วยใจ หัวข้อ Caregiver : เป็นมากกว่าผู้ดูแลของ พญ.ดาริน  จตุรภัทรพร  ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว  คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  หน้า 78-79  อ่านจบแล้วฉันคิดว่าจะต่อยอดความอยากรู้ของอาจารย์ว่า Caregiver แต่ละคนมีเบื้องหลังเป็นอย่างไร  และรู้สึกอย่างไรที่ได้รับหน้าที่เป็น Caregiver  ผ่านอะไรมาบ้างในชีวิต  ที่เป็นอีกบาทหนึ่งที่ฉันสนใจเพราะคนกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า  ผู้ป่วยที่อยู่ในกำมือของพวกเขาที่พวกเขาดูแลอยู่  หากคนกลุ่มนี้เป็นอะไรไปก่อนผลกระทบจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...ลองมาดู Caregiver ที่อาจารย์ พญ.ดาริน  จตุรภัทรพร เล่าให้ฟังนะคะ
  
     คนคนหนึ่งที่อยู่เคียงข้างผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเสมอ  คนคนหนึ่งที่คอยช่วยผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ  นาๆ  คนคนหนึ่งที่ทุกๆคนพร้อมจะมอบบทบาทการดูแลผู้ป่วยให้ไปเลยแคยเป็นตำแหน่งติดตัว

 

     สำหรับคนที่เคยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นคนใกล้ชิด  คงทราบดีว่า  งานการเป็น ผู้ดูแล ผู้อื่นนั้น  ทั้งเหนื่อยกายเหนื่อยใจเพียงใด  ความเหนื่อยกายและใจนั้นอาจแปรผันตามความหนักของอาการของผู้ป่วย  แต่หลายๆครั้งการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก  แต่มีความต้องการหลายอย่างก็อาจทำให้ผู้ดูแลต้องหนักใจได้เช่นกัน

 

     สำหรับคนที่ไม่เคยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยแบบประจำ  ลองนึกภาพตัวเองกลายเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสักเดือนหนึ่ง  คิดว่าเราสามารถทำหน้าที่นี้ได้หรือไม่

 

     บางครั้ง Caregiver คนอาจเป็นในครอบครัว  แต่บางครั้ง Caregiver ก็อาจเป็นคนนอกที่ได้รับการว่าจ้างมาให้ทำหน้าที่ที่สำคัญนี้

 

     ภาพยนตร์เรื่อง Caregiver บอกเล่าถึงเรื่องราวของ Caregiver ชาวฟิลิปปินส์ชื่อ ซาร่า  อดีตครูสอนภาษาอังกฤษผู้กำลังเตรียมตัวไปทำงานเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่ประเทศอังกฤษ  ตามคำขอของสามีซึ่งไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการเป็นพยาบาลที่ประเทศอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน

    

        Sharon Cuneta นักร้องสาวชื่อดังของฟิลิปปินส์  รับบทเป็นซาร่า  ในเรื่องนี้ซาร่าต้องต่อสู้กับความรู้สึกยากลำบากในใจหลายอย่างสำหรบการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  ทั้งหน้าที่การงานที่กำลังเจริญก้าวหน้าในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษ  ครูใหญ่บอกซาร่าว่าถ้าเธอเปลี่ยนใจไม่ไปอังกฤษภายใจ 6 เดือนเธอจะได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ  นอกจากนี้ซาร่าต้องทิ้งเปาโล  ลูกชายวัย 9 ขวบไว้กับแม่ของเธอ  หวังว่าหากเก็บเงินได้วันหนึ่งจะกลับมารับเปาโลไปอยู่ด้วยกันที่อังกฤษ  ตอนที่ซาร่าล่ำลาครอบครัวก่อนไปอังกฤษ  หนังยังตอกย้ำความลำบากใจให้กับซาร่าโดยกับเธอว่ายายแท้ๆ ของเธอเองป่วยเป็นสมองเสื่อม  จำเธอไม่ได้อีกต่อไป  และดำเนินชีวิตมาถึงจุดที่ต้องการคนดูแลเช่นกัน  ในขณะเดียวกับที่เธอกำลังจะจากยายไปเพื่อดูแลผู้สูงอายุคนอื่นที่ประเทศอังกฤษ

 

     Caregiver  ที่ถูกว่าจ้างมาให้ดูแลผู้ป่วยทุกคนล้วนเป็นใครบางคนที่สำคัญสำหรับครอบครัวของเขา
     หลายประเทศในยุโรป  อเมริกา  และแคนาดามีความพร้อมในการจ้าง Caregiver  จากประเทศต่างๆในเอเชีย  เพื่อดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในประเทศของตนภาพหนึ่งที่เห็นจนชินตาในโรงพยาบาลคือ  ผู้ป่วยสูงอายุแต่ละคนมีผู้ดูแลประกบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  ผู้ดูแลส่วนใหญ่มาจากประเทศฟิลิปปินส์และกลุ่มประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน  เช่น จาไมก้า  เนื่องจากคนใน 2 ประเทศนี้พูดภาษาอังกฤษได้ดี  อย่างไรก็ตามตลาดการส่งออก Caregiver จากประเทศฟิลิปปินส์ดูเหมือนเป็นที่นิยมที่สุดนอกจากเรื่องภาษาแล้ว  คงเป็นความเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี  ถึงกับมีโรงเรียนอบรม Caregiver เพื่อเตรียมไปทำงานในต่างประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสันในฟิลิปปินส์  Caregiver  ในฟิลิปปินส์หลายๆคนที่มีโอกาสได้คุยด้วยที่แคนาดาเคยเป็นพยาบาล  หรือแม้แต่เป็นหมอมาก่อน  คนเหล่านั้นบอกว่าทำงานนี้ขัดตาทัพไปก่อนระหว่างเตรียมสอบเพื่อเป็นพยาบาลหรือหมอในประเทศแคนาดา  แต่บางคนก็บอกว่ายากเหลือเกินที่จะข้าทำงานในระบบของต่างประเทศ  เลยทำงานเป็น Caregiver  มา 20 ปีแล้ว  ปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนฟิลิปปินส์หนีออกจากประเทศตัวเองไปทำงานที่อื่นๆ  ก็เพราะระบบในประเทศฟิลิปปินส์ไม่ดี  ทำงานแล้วไม่เจริญก้าวหน้า  คนฟิลิปปินส์น้อยคนมากที่มาเรียนหรือหาประสบการณ์เพื่อกลับไปพัฒนาประเทศตัวเอง  มีแต่หนีออกจากประเทศมาได้ก็จะไม่กลับไปอีก

 

     ย้อนกลับมาเมืองไทยของเรา  หวังว่าเราไม่ถึงจุดที่แย่ขนาดนั้น  และเราทุกคนจะช่วยกันทำประเทศของเราให้น่าอยู่  ให้คนไทยที่มีความสามารถยังอยู่ในระบบได้และช่วยกันพัฒนาให้ประเทศของเราดียิ่งๆ  ขึ้นไป

 

     ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมี Caregiver มาจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นทั้งจาก ลาว และพม่า  เนื่องจากค่าจ่างที่ถูกกว่า 

 

     เพราะ The show must go on และชีวิตต้องดำเนินต่อไปตามครรลอง  ในที่สุดซาร่าก็เดินทางถึงอังกฤษและเริ่มทำงานในฐานะ Caregiver ซาร่าต้องทำใจอยู่นานกว่าจะก้มหน้าก้มตาเช็ดอุจจาระให้คนไข้ได้  ไม่ใช่เพียงแต่การอดทนทางกายภาพเท่านั้น  หากการองรับอารมณ์ของทั้งญาติและคนไข้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายไม่แพ้กันในขณะที่ต้องต่อสู้กับประสบการณ์ใหม่  ซาร่าค่อยๆค้นพบทีละน้อยว่า  สามีไม่ได้ทำงานเป็นพยาบาลอย่างที่บอกไว้  เนื่องจากไม่ผ่านการประเมินแนวคิดและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น  จึงต้องทำงานเป็นคนงานในโรงพยาบาล  คอยช่วยเก็บขยะ  เข็นรถคนไขแทนที่การเป็นพยาบาล  สามีของซาร่าเป็นตัวอย่างของคนที่มาเริ่มต้นชีวิตใหม่  ในประเทศใหม่  แต่ไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่  เขาจึงไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบใหม่ได้  สามีของซาร่าเริ่มใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย  ดื่มเหล้ามากขึ้น  เนื่องจากปัญหาในที่ทำงาน  ซาร่าเริ่มรู้สึกว่าตัวเองตัดสินใจผิดที่เดินทางมาเพื่อจะพบว่า  สามีของตัวเองไม่ใช่คนเดิมที่เธอเคยรู้จักอีกต่อไป  หรือสามีเธออาจเป็นคนเดิม  เพียงแต่เป็นมุมที่เธอไม่เคยเห็น  ซาร่าต้องปรับตัวกับทุกๆอย่างในชีวิตที่เกิดขึ้น

 

     ท่ามกลางปัญหาที่ถาโถม  ซาร่ายังไม่หมดกำลังใจ  เธอได้มีโอกาสดูแลเด็กผู้ชายคนหนึ่งวัยไล่เลี่ยกับลูกชายของเธอ  ได้ช่วยให้ความรักทดแทนที่เด็กชายคนนั้นขาดไป  ที่สำคัญที่สุดเธอได้มีโอกาสเป็น  Caregiver  ของ Mr.Morgan ผู้ซึ่งไม่ยอมรับการดูแลใดๆทั้งสิ้นในตอนแรก  ถึงขนาดผลักถาดอาหารใส่ซาร่า  ทำให้ซาร่าโมโหและพูดว่า ฉันมาทำงานที่นี่ด้วยความตั้งใจและต้องเสียสละอะไรมากมายเพียงเพื่อจะมาทำงานเป็น Caregiver  ถ้าคุณไม่ต้องการการดูแลของฉัน  กรุณาบอกผู้จัดการให้เปลี่ยนคนมาดูแลคุณ  แต่อย่าทำให้ฉันดูเป็นคนไร้ประสิทธิภาพในงานที่ฉันทำ  เพราะฉันไม่ได้เป็นอย่างนั้น”  ประโยคนี้เองที่ทำให้ Mr.Morgan ได้คิดและค่อยๆ  ยอมรับการดูแลจากคนรอบข้างรวมทั้งซาร่ามากขึ้นทีละเล็กละน้อย  ด้วยความจริงในงานที่ทำ  ในทีสุดซาร่าก็ได้กลายมาเป็นมากกว่าแค่ผู้ดูแลของ Mr.Morgan  โดยเธอได้ให้ทั้งความเป็นเพื่อนและได้เติมความหมายของชีวิตที่ขาดหายไปของ Mr.Morgan ทำให้ Mr.Morgan หายจากภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากความยุ่งและการสื่อสารน้อยลงของคนในครอบครัว  ซาร่าช่วยประสานให้คนในครอบครัวได้ใช้เวลาที่มีความหมายร่วมกัน  และได้เรียนรู้จากงานที่เธอทำว่าเพียงแค่ตั้งใจอย่างดีที่สุด  งานในฐานะ Caregiver ของเธอมีความสำคัญถึงขนาดเปลี่ยนชีวิตของใครบางคนได้เลยทีเดียว

 

     Mr.Morgan  ฝากหนังสือให้ซาร่าหลังจากที่เขาจากไปพร้อมกับจดหมายของคุณที่เปลี่ยนชีวิตที่เหลืออยู่ของซาร่าไปทั้งชีวิตในจดหมายเขียนว่า  ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ซาร่าทำให้กับฉัน  แม้เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ  ที่เราได้รู้จักกัน  งานของเธอเป็นงานที่มีความสำคัญและมีความหมาย  ได้โปรดอย่าคิดว่าเป็นงานที่ต่ำต้อยและท้ายสุดนี้ฉันอยากอวยพรให้เธอมีชีวิตที่มีความสุข  ได้ดำเนินชีวิตอย่างที่จะไม่นึกเสียใจเมื่อมองย้อนกลับมา” 
 
     ได้ดำเนินชีวิตอย่างที่จะไม่นึกเสียใจเมื่อมองย้อนกลับมา ฉันคิดว่าประโยคนี้เป็นประโยคที่สำคัญมากๆ  ทำให้ได้คิดต่อตามมาอีกหลายตลบหลังจากหนังจบว่า  เราได้ดำเนินชีวิตอย่างนั่นแล้วหรือยัง  ในที่สุดหนังก็จบตรงที่ให้ซาร่าได้ดำเนินชีวิตอย่างที่จะไม่นึกเสียใจเมื่อมองย้อนกลับมา  ซึ่งไม่เฉลยในที่นี้นะคะ  ต้องไปหาภาพยนตร์มาดูต่อกันเอง  สิ่งที่สำคัญ ที่ซาร่าได้เรียนรู้จากการทำงานหนักและเห็นคุณค่าของงานก็คือ  การได้ทั้งความภาคภูมิใจและความนับถือตัวเองกลับมา  แม้งานนั้นไม่มีใครเห็นคุณค่าจากภายนอก  ถึงตอนนี้แล้วนึกย้อนไปตอนยุคแรกๆ  ของการฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว  แล้วมีคนถามมากมายว่า  จะเรียนสาขานี้ไปทำไม  คงไม่มีใครเข้าใจหรือตอบได้ดีไปกว่าตัวเราว่าทำไมเราถึงเลือกเป็นเราอย่างที่เราเป็นอยู่  หรืออยากทำงานที่เราทำอยู่  คำถามจากคนภายนอกคงเป็นเหมือนบททดสอบหนึ่งว่า  เราเข้าใจตัวเองและรักงานที่เราทำอยู่ดีมากพอเพียงใด

 

     หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบลง  ฉันยอมรับว่ามุมมองที่มีต่อ Caregiver เปลี่ยนไป  เข้าใจมากขึ้นว่า  แต่ละคนต้องเจอกับอะไรมาบ้าง  รู้สึกชื่นชม Caregiver หลายๆคนในความอดทน  และเอาใจใส่ที่มีต่อผู้ป่วย  รู้สึกอยากเข้าไปคุยถึงเรื่องราวของชีวิต Caregiver แต่ละคนที่ได้รู้จักให้มากขึ้น  ให้ทราบเบื้องหลังชีวิตของแต่ละคนว่าต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะมาถึงวันนี้   คนเหล่านั้นอาจต้องเสียสละความชอบ  หรืออาชีพที่ตัวเองเคยทำ  เพื่อมาทำงานที่หลายๆคนมองว่าต่ำต้อย  ทั้งๆที่ทุกหน้าที่ของคนล้วนมีความหมายในตัวเองทั้งสิ้น

 

     Care = ห่วง  และ Give = ให้  คนที่เป็น Caregiver หรือผู้ดูแลผู้ป่วย  จึงต้องทั้งเป็น  “ผู้ห่วง” ผู้ป่วยและ “ผู้ให้”  สำหรับผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ  มากมายสารพัด  ทำให้เกิดความเครียดและเหนื่อยได้จนหลายๆครั้งอาจกลายเป็นผู้ป่วยอีกคนหนึ่งที่ต้องการการดูแลก็ได้

 

         คนคนนี้ที่อยู่เคียงข้างผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเสมอ

 

         อย่าลืมว่าคนคนนี้ก็ต้องการความห่วงและการให้จากคนรอบๆข้างเหมือนกัน 

 

         อย่าลืมดูแล Caregiver ใกล้ตัวคุณ

 

 

 

หลักการ Caregiver ในการดูแล Caregiver
 
     Care : สอบถามรายละเอียดเรื่องการดูแลผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไรบ้าง  ผู้ดูแลต้องทำอะไรบ้าง

 

     Affection : ประเมินสภาพทางอารมณ์  รู้สึกสับสน  โกรธ  น้อยใจ  เศร้าโศก  หมดหวัง  รู้สึกผิด  ละอายใจ  หรือเหนื่อยแค่ไหน

 

     Rest : ได้พักบ้างหรือไม่  ถ้าไม่ได้พัก  ควรจัดตารางให้ตัวเองได้พัก  ผ่อนคลายเครียด  และได้ทำสิ่งที่ตนเองชอบบ้าง

 

     Empathy : แสดงความเห็นอกเห็นใจเมื่อมีโอกาส

 

      Goal of care : พูดคุยเรื่องเป้าหมายการรักษา

 

     Information : ให้ความรู้เรื่องโรค  การพยากรณ์โรค  ขีดจำกัดความสามารถของผู้ป่วยและแนวทางการดูแลรักษา  ให้เทคนิคการดูแลที่ทำให้การดูแลง่ายขึ้น

 

     Ventilate : รับฟังผู้ดูแล  และแนะนำให้ผู้ดูแลหาผู้ที่สามารถพูดระบายความรู้สึกได้  อาจเป็นแพทย์  พยาบาล  เพื่อ  หรือกลุ่มผู้ดูแลด้วยกันเอง

 

     Empowerment : ชื่นชมให้กำลังใจสิ่งที่ผู้ดูแลทำได้ดี

 

     Resources : หาผู้ช่วยเหลือด้านต่างๆที่จำเป็น  เช่น  ผู้มาช่วยสับเปลี่ยนดูแลผู้ป่วย  โดยอาจเป็นคนอื่นๆ  ในครอบครัวหรือชุมชนจ้างผู้ดูแลเพิ่มเติม

 

        หากใครที่ได้รับบทบาทให้เป็นผู้ดูแล หรือ Caregiver  ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ  ท่านคือคนที่มีความหมายและความหวังของคนๆหนึ่งอย่างเป็นที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #caregiver#namsha
หมายเลขบันทึก: 431192เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2011 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

แวะมาชม

พร้อมกับมาอ่านเรื่องราวในบันทึกนี้นะคะ

เป็นเรื่องราวที่ดี และน่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ^^

สวัสดีค่ะ  น้องต้นเฟิร์น

หายไปนานเลยนะคะ คิดถึงจัง  พอๆกับพี่เลย...น้องสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ'namsha'

ตอนนี้ทั่วโลกเข้าสู่ยุค BABY BOOMER ทุกประเทศมีประชากรที่สูงอายุจำนวนมาก และต้องการคนดูแล เคยจ้างคนดูแลแม่มากกว่า 20 คน ทั้งลูกศิษย์ ผู้ปกครองเด็ก ชาวบ้าน และคนดูแลผู้ป่วยจากศูนย์ฯ ระยะเวลารวมแล้วมากกว่า 12 ปี มาดูแลแม่ซึ่งป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง แต่เนื่องจากทุกคนกำลังทำงานสร้างฐานะสร้างครอบครัวไม่มีใครมีเวลา จนสุดท้ายต้องตัดสินใจลาออกจากราชการ เพราะสงสารแม่ ที่เปลี่ยนคนดูแลบ่อยมากเป็นเพราะ ปล่อยให้คนดูแลอยู่กับแม่ตามลำพัง เขาจะทิ้งแม่ออกไปข้างนอกบ้าง นอนหลับบ้าง โทรศัพท์บ้าง ทำเป็นไม่ได้ยินเวลาเรียกบ้าง บางคนก็ขโมยของบ้าง แต่เมื่อออกมาดูแลเองก็ได้จ้างคนลาว มาเป็นผู้ช่วย ซึ่งก็ให้เงินเดือนเท่ากับที่ศูนย์ฯ คนนี้ทำงานดีมาก เอาใจใส่แม่เป็นอย่างดีใครมาใครก็เอ๋ยปากชม อยู่นานจนกระทั่งแม่เสียชีวิต แต่ถึงจะดีอย่างไรเขาก็ทำไม่ได้เท่ากับคนที่เป็นลูก  

สรุปแล้วการจ้างคนดูแลผู้ป่วยนั่นดีในระยะแรกๆในช่วงเวลาสั้นๆ  ถ้านาน 6 เดือน 8 เดือน ควรเปลี่ยนคนเพื่อไม่ให้คนดูแลเกิดความเบื่อหน่ายที่จะดูแล และCaregiven ที่ดีที่สุดก็คือญาติของผู้ป่วย นั่นเอง ข้อสำคัญอย่าปล่อยผู้ป่วยไว้กับคนดูแลตามลำพัง!!!

สวัสดีค่ะน้องnamsha

    เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนชีวิตและจิตใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี  แถมท้ายด้วยข้อคิดและความรู้ที่เป็นประโยชน์มาก นำมาถ่ายทอดได้ดีมากค่ะ 

   ผู้ดูแลคือบุคคลสำคัญที่ช่วยทำให้การพยาบาลต่อเนื่องไปถึงบ้านอย่างมีคุณภาพ หลายโรคเรื้อรังทั้งทางกายและใจที่สร้างความรู้สึกเป็นภาระ(Burden)แก่ผู้ดูแล น่าชื่นชมและให้กำลังใจรวมถึงให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้นะค่ะ

  ขอบคุณบันทึกดีๆนี้ค่ะ

Caregiver คงยาก...ถ้าใจไม่รักคนป่วย

สวัสดีค่ะ  ดร. พจนา - แย้มนัยนา

ผู้ดูแลที่ไม่ใช่ญาติในความคิดเห็นส่วนตัวหนูนะคะ  ว่าหายากจริงๆที่เขาจะดูแลผู้ป่วยได้เสมือนญาติของเขา  ดั่งเช่นอาจารย์ว่า  ว่าถ้าเกิน 6 เดือนแล้วความอดทนเขาจะเริ่มลดลง  หากไม่ใช่งานที่เขารักจริงๆ  เพราะฉะนั้นเขาจึงบอกว่าผู้ดูแลก็เหมือนคนป่วยคนหนึ่งที่เราต้องเอาใจใส่และเยียวยาเขา  แม้เขาจะไม่ใช่คนป่วย  แต่เขาต้องใช้ใจและใช้พลังอย่างมากในการทำหน้าที่  ต้องเข้าใจเขาในบางครั้ง...สำคัญสุดเลยค่ะหากไม่ใช่ญาติอย่าทิ้งผู้ป่วยให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ดูแล

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ  ที่นำ Case ของคุณแม่มาเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ของการมีผู้ดูแล

สวัสดีค่ะพี่อุ้ม ถาวร

หลังจากไปเยี่ยมผู้ป่วยหลายราย  และหลายๆรายก็เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่ก็พิการทางร่างกายอย่างถาวรซึ่งต้องพึ่งพิงผู้ดูแล  เห็นผู้ดูแลบางคนอ่อนล้า  เลยกลับมาคิดว่าต้องให้การเยียวยาควบคู่ไปด้วย

ขอบคุณพี่อุ้มค่ะ

สวัสดีค่ะ  คุณครู ป.1

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะคุณครู  การดูแลมนุษย์ถ้าไม่มีความรักและหัวใจความเป็นมนุษย์ก็ยากแท้หยั่งถึงค่ะ

คุณครูสบายดีนะคะ

เย้ เย้ คุณน้อง jaja มาแล้ว

การบ้านเสร็จยัง

แล้วจะดูหนังเรื่องนี้ได้ที่ไหนครับ

สวัสดีค่ะน้องน้ำชา

  • คุณยายมาส่งกำลังใจให้ทั้งผู้ดูแล และผู้ถูกดูแลนะคะ ขอให้ก้าวผ่านทุกวันอย่างมีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะ  คุณหมอหมอสีอิฐ

ตอนนี้ก็ดูใน YOUTUBE ค่ะ ไม่ครอบทุกตอนแต่ก็พอได้ใจความ  หาซื้อที่หระรี ไม่มีเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณยาย

เหมือนคำกล่าวที่ว่า  เยียวยากายเขา  เยียวยาใจเรานะคะพี่

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายพี่น้ำชาค่ะ ที่พะโต๊ะฝนตกมาตั้งแต่เมื่อคืน ณ.เวลานี้ยังไม่หยุดตกเลยค่ะ แล้วแถวบ้านพี่น้ำชาเป็นไงบ้าง......ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ปรับตัวไม่ค่อยทัน.....รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                     

ขอบคุณมากค่ะ  พี่ดา  ที่นำมะม่วงกวนมาฝาก

ขอบคุณค่ะ  น้องนกที่ระลึกถึงกันเสมอ  ตอนนี้ที่บ้านหนาวมาได้ 2 วันแล้วค่ะ  ไม่ต้องรอถึงคราวละ 4 เดือน  เดี๋ยวนี้ในสัปดาห์เดียวมีครบ 3 ฤดูเลยค่ะ  ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ  และคิดถึงเสมอค่ะ

  • มาทักทายในวันหยุดค่ะ
  • อ่านบันทึกนี้ทำให้รับทราบอกแง่มุมหนึ่ง
  • ของ caregiver ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป
  • ขอบพระคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ.

สวัสดีค่ะน้อง namsha

  • คุณยายแวะมาส่งกำลังใจค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  คุณครูแป๋ม

Cargiver  เป็นความหวังและพลังของคนไข้  โดยเฉพาะ  ผู้พิการหรือคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย  ถ้าเห็นคนกลุ่มนี้ช่วยกันให้กำลังใจเขานะคะ

ขอบคุณ  คุณครูแป๋มที่มาเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณค่ะ  คุณยาย

ดอกอะไรคะ  คุณยายสวยจังเลยค่ะ

ฝากด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท