ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (34) ตอนที่ 1 อารัมภบท


กรมอนามัย ต้องทำหน้าที่พัฒนาประเทศในงานสาธารณสุข

 

อภิปราย / ลปรร. การใช้ KM ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี และเครือข่าย 

ช่วงนี้เป็นช่วงของตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ในเรื่องการอภิปราย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การใช้ KM ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี และเครือข่าย” มีวิทยากร 4 ท่าน โดย อ.หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายค่ะ

อ.หมอสมศักดิ์ กล่าวแนะนำผู้เล่าเรื่อง การไปสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี และเครือข่าย ได้แก่

  • คุณฉัตรลดา กาญจนสุทธิแสง จาก ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ ... ผู้มีประสบการณ์การเอา KM ในการสร้างความมีส่วนร่วม กับกลุ่มเทศบาล
  • คุณจิตติมา ธาราพันธ์ จาก ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ... ประสบการณ์การสร้างภาคีเครือข่าย เอา KM ไปใช้ในเรื่องเมืองน่าอยู่
  • คุณยุพา พูนขำ CKO กองอนามัยการเจริญพันธุ์ ผู้ไม่มีบารมี ... แต่ความจริงบารมีมีหลายแบบ … ผมมีสมมติฐานอยู่ 1 ข้อ ซึ่งน่าจะจริงว่า กองส่วนกลางของกรมอนามัยเป็นกองวิชาการ โอกาสที่ไปทำงานสร้างการมีส่วนร่วมในเครือข่ายน่าจะน้อย และไม่น่าจะเป็นภารกิจ แต่ก็เห็นพวกเราสร้างภาคีเครือข่ายมากมาย ซึ่งความจริงแล้ววิธีการสร้างภาคีเครือข่ายก็น่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ของศูนย์ เพราะศูนย์เป็นคนเอาความรู้ไปออกสู่สังคม กองส่วนกลางก็จะเป็นคนสร้างความรู้ แต่เราก็จะเห็นกองพวกเราสร้างภาคีเครือข่ายอยู่พอสมควร และกองอนามัยการเจริญพันธุ์ก็นำ KM ไปใช้ด้วย ก็เลยถือโอกาสมาเล่าแลกเปลี่ยน
  • ดร.พัชรินทร์ เล็กสวัสดิ์ กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ ... ผมเองได้อ่านแต่หัวข้อ ก็อยากรู้ว่า KM เข้าไปเกี่ยวข้องกับตรงนี้ได้อย่างไร กับงาน research

ผมขอเล่าเพื่อปูพื้น ถึงเรื่องที่มาที่ไป ก่อนที่จะมาเป็น Session นี้ และผมเองโดยส่วนตัวไปเจออะไรบ้าง

วันหนึ่งมีคนมาบอกผมว่า คุณสุรเดช เป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายแผน ที่ Active มากในเรื่องการ organise ชาวบ้าน เขาทำงานกันเยอะ และ อ.หมอวิจารณ์ ที่ สคส. ก็จะพูดผลงานการจัดการความรู้ของเครือข่ายนี้เยอะ และก็ชัดเจนว่า เครือข่ายพิจิตรนี่ก็จัดการความรู้ในชาวบ้าน เกษตรกร เครือข่ายชาวนา และเกิดความรู้มากมายในกระบวนการจัดการความรู้นั้น

มีคนมาบอกผมบอกว่า สคส. อ้างว่า เครือข่ายพิจิตรสำเร็จได้เพราะ สคส. ความจริงเขาทำมาตั้งนานแล้ว ผมก็รับ comment แต่ก็คิดว่า ถูกครึ่ง อีกครึ่งหนึ่งไม่รู้ถูกหรือเปล่า ถูกครึ่งคือ ใช่ เครือข่ายนี้มีตั้งนานแล้ว อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ถูกหรือเปล่า คือ สคส. ขี้ฝอยหรือ เครือข่ายนี้สำเร็จมาเพราะ สคส. ผมก็ถามคุณสุรเดชว่า ที่เขา comment อย่างนี้น่ะ คิดว่ายังไง พวกเราคิดว่าจะตอบว่ายังไง
แกก็ตอบได้ดีมากเลย ... พวกเราก็น่าจะคิดว่า คำตอบของแกจะ Apply กับเราได้มากน้อยแค่ไหน ... แกบอกว่า ใช่ เราทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาตั้งนานแล้ว ไม่ได้มาทำตอนที่มี สคส. แต่เราไม่เคยรู้ว่า มันเป็นเรื่องของการจัดการความรู้ เพราะรู้ว่ามันดีขึ้นตรงไหน มันดีขึ้น เพราะมีตราประทับง่ายขึ้นหรือ นี่ก็คุยกับแบบ Challanging ว่า ไม่ใช่แค่นั้น สิ่งที่เราได้รู้ก็คือ เราได้รู้ว่า มันคืออะไร พอเราเกิดความเข้าใจ เราก็ทำงานได้ดีขึ้น การคิดเป็นระบบทำให้เรารู้ได้ตั้งหลายอย่าง

เมื่อวานนี้ก็มีหลายคนพูดประเด็นนี้เหมือนกัน เขต 8 ก็บอกว่า ที่เขียนมานี้เราก็ทำแล้ว แต่ว่าเรายังไม่มี KA ถ้าผมจะพูดว่า นั่นละ ผลที่คุณจะต้องทำ KM เราจึงต้องไปทำ KM ไง นี่ก็เป็นที่มาที่ไป

และอีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้สรุปกับกรมธนารักษ์ว่า งานของหน่วยงานราชการมี 3 ลักษณะก็คือ 1) ทำ Direct service ไปยุ่งเกี่ยวกับการให้บริการประชาชน 2) ประเภทงานความคิด กองที่ทำงานของกรมอนามัยที่ไปเข้าข่ายร่วมจัดการความคิด เรื่องที่ 3) งานสนับสนุน สนับสนุนจะหงุดหงิดในความคิดว่า ไม่มีลูกค้าโดยตรงที่เป็นประชาชน แต่ว่าต่างกันตรงที่ว่า งานสนับสนุนมักจะมีงานที่ standardize มาก คือมีระบบก็ทำตามนั้น กองคลังก็โชคดีที่ทำ GFMIS เพราะเป็นของใหม่ ไม่ standardize ก็เลยเอา KM เข้าไปใช้ได้ อันที่ standardize พวกเราก็จะไม่ใช้ KM เพราะถือว่าไม่ต้องจัดการความรู้ก็ทำงานได้แล้ว

เรื่องการทำงานความคิด อย่างกองวิชาการ เขาจะต้องคิดเยอะ คิดของใหม่ก่อน เพื่อมาจัดการความรู้ และพวกเราถ้าไม่ได้ไปทำงานกับลูกค้า ก็จะไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปดึง tacit knowledge ออกมา กองวิชาการก็จะไปทำในเรื่องเชิงทฤษฎี เชิงหลักการ ก็จะไปทำจัดการความรู้ tacit knowledge เยอะมาก

พวก Direct service ปกติจะมี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งคือ มีความรู้เต็มหัว ก็เอาความรู้ไปใช้งาน พวกนี้จะไม่ค่อยสนใจจะจัดการความรู้ที่เป็น tacit knowledge ของลูกค้า อีกพวกหนึ่งเป็นพวกอย่างครูนง หรือคุณวีรยุทธ คือ ทำงานครูอาสา เขาก็จะสอนคนทุกอย่าง ตอนเป็นนักเรียน คนที่มีความรู้คือ ครู ก็สอนแหลก เขาไม่เคยสนใจความรู้ที่มีอยู่ในตัวลูกค้า ยิ่งเป็นเด็กยิ่งสบาย เด็กเป็นลูกค้าที่ไม่มีความรู้ กระจอกมาก จะไปสร้างความมีส่วนร่วม หรือจะไปทำ KM ก็ไม่รู้ทำไปเพื่ออะไร ทีนี้พวกเกษตรกร ถ้าเป็นสมัยก่อนโน้น คนที่อยู่ด้านเกษตรเขาก็จะปลูกแหลกเลย มีกรมวิชาการเกษตรบ้าง ความรู้ของกรมส่งเสริม ก็เอาวิชาการไปเผยแพร่ ชาวบ้านเอาไปปลูกก็ตายหมด ก็เป็นการส่งเสริมชีวิตตัวเองว่าจะพัฒนาอย่างไร ถ้าใครไปศึกษาผ่านๆ แบบที่ผมได้ไปฟังผู้ใหญ่พูดมาว่า เด็กไทยไปถูกกรมส่งเสริมการเกษตร วิชาการทำให้มันราบเรียบ ทำภูมิปัญญาไทยหายหมด

ทีนี้ยุคสมัยมันเปลี่ยน มันก็จะเกิดคำพูดที่ว่า เฮ้ย การทำงานการเกษตรมันต้องทำแบบใหม่ ต้องไปเรียนรู้ว่า ลูกค้าคืออะไร ถามว่า คนที่มีหน้าที่ทำ Direct service และบอกว่าต้องไปเรียนรู้จากลูกค้านั้น มีมากมีน้อยแค่ไหน อันนี้ก็คือจุดเริ่มต้นของการที่ต้องทำ Tacit knowledge เราจะทำ Knowledge management กับลูกค้า ซึ่งพวกเราก็ถือว่าไม่ยาก เพราะเวลาที่ผ่านมา รพ. ทุกแห่งก็ทำพวกนี้มากขึ้น

ท่านที่อยู่ในที่นี้คงอยู่ในฐานะที่คล้ายๆ กัน ว่า พอเรามาเรียนรู้เรื่อง KM เขาต้องการให้สร้างความมีส่วนร่วม และเราจะสร้างการมีส่วนร่วมยังไงนะครับ เริ่มจากเป้าหมายว่า เราได้อะไร คุณภาพการมีส่วนร่วมแค่ไหน เราอยากให้เขามาร่วมกับเราตามที่เราบอก หรือเป็นการตั้งไว้ว่า เขาต้องทำสิ่งที่เขาอยากทำ แต่ว่าต้องบรรลุเป้าหมายของเรานะ ทำแบบที่เขาอยากทำ และเราในสมมติฐานที่ว่า เป้าหมายของเรา ก็คือเป้าหมายของประเทศ ไม่ใช่เป้าหมายของ นาย ก ... เพราะว่าเรา คือกรมอนามัย ต้องทำหน้าที่พัฒนาประเทศในงานสาธารณสุข พูดโดยไม่ต้องอาย ผมพูดว่า พวกเราก็อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ในประเทศไทย ทำงานพัฒนาประเทศ เราก็ได้ทำโครงการที่เราอยากทำ เราได้ทำวิชาการของเราให้มันก้าวหน้าขึ้น เราพัฒนาประเทศนะ เราพัฒนาประเทศโดยใช้วิชาการ ไม่ต้องไปอ่าน จะได้รู้ว่า ภารกิจของเรานี้มันใหญ่ ต้องหาทางให้ประเทศมันไปด้วยกันให้ได้ อันนั้นก็อารัมภบทเสียยาว ต้องขออภัย

ตอนต่อไปก็ยังจะยาวค่ะ เพราะว่าแต่ละท่านก็ตั้งใจมา ลปรร. กันจริงๆ

 

หมายเลขบันทึก: 43041เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท