ไทยเดิ้ง หรือ ไทยเบิ้ง ที่บ้านโคกสลุง


พลวัตวัฒนธรรม วิถีการเติบโตของวัฒนธรรมนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา หรือ มีการผลิตซ้ำตลอดเวลา ดังนั้น มุมมองในสายตาของนักพัฒนาจำเป็นต้องเข้าใจถึง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ “วัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว” เบื้องต้นด้วยเหตุผลนี้ การท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชน จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ ชุมชนจะได้ใช้การท่องเที่ยวเป็น “เครื่องมือ” ในการจัดการตนเอง

ไทยเดิ้ง หรือ ไทยเบิ้ง ที่บ้านโคกสลุง 

ด้วยความที่ร้างลาจากวงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาระยะหนึ่ง และในวันนี้ได้มีโอกาสมาช่วย นศ.ปริญญาโท ม.ธรรมศาสตร์ (คุณนิเวศ เผื่อนทิม) ในการเปิดเวทีชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยเขาให้ข้อมูลกับผมโดยคร่าวๆถึงความน่าสนใจถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง ที่ มบ.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ชุมชนเก่าแก่อายุราว ๓๐๐ ปี ชุมชนที่ตั้งอยู่รอบเขื่อนป่าชลสิทธิ์

ก่อนที่จะเข้ามาทำเวทีเรียนรู้กับชุมชน ก่อนหน้านี้ ๑ วัน น้อง นศ. ได้พาผมไปตระเวนดูพื้นที่ รวมไปถึงชมบริบทท้องถิ่นในหมู่บ้าน และเดินรอบๆสันเขื่อน ความอุดมของ “ต้นทุน” ของชุมชนแห่งนี้ ไม่ธรรมดาจริงๆ หากเราส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสหลัก ก็คงสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้กับพื้นที่ไม่น้อย (แต่เพียงแค่คิดก็อันตรายแล้ว)

คุยกันมาในรถกับน้อง นศ.(ที่เป็นเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมของ มรภ.เทพสตรี) ถึงเรื่อง พลวัตวัฒนธรรม วิถีการเติบโตของวัฒนธรรมนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา หรือ มีการผลิตซ้ำตลอดเวลา ดังนั้น มุมมองในสายตาของนักพัฒนาจำเป็นต้องเข้าใจถึง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ “วัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว” เบื้องต้นด้วยเหตุผลนี้ การท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชน จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ ชุมชนจะได้ใช้การท่องเที่ยวเป็น “เครื่องมือ” ในการจัดการตนเอง  คำว่า ชุมชนจัดการตัวเองด้วยการท่องเที่ยว เป็นกลวิธีที่นำพาชุมชนได้เรียนรู้รากของตนเองผ่านกิจกรรมเรียนรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยว ผู้ใหญ่ได้เล่าถึงเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องของตัวตนของพวกเขา อันเป็น รากเหง้า ที่พวกเขาควรได้เรียนรู้

แต่อย่างไรก็ตามครับ...การท่องเที่ยวเหมือนดาบสองคม (ไม่ว่าจะรูปแบบไหน) เพราะเกี่ยวข้องกับเงิน ที่เป็นรายได้จากการท่องเที่ยว การจัดการหลังจากนั้นจึงต้องอาศัยการเรียนรู้ผ่านการวิจัยร่วมกันของชุมชน เพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสม แม้เงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ควรพึงระมัดระวัง

การดำเนินการพัฒนาชุมชนเพื่อเข้าสู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวนั้น ต้องมีขั้นตอน (Step) การดำเนินงานที่ต่อเนื่องตามลำดับขั้น  ขั้นตอนแรกๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับชุมชนก่อนตัดสินใจลงพื้นที่(Choosing a Distination) ในส่วนนี้ทาง มรภ.เทพสตรี และ นศ.ปริญญาโท ท่านนี้ได้ทำงานในพื้นที่มาระยะเวลานาน และเรียนรู้ชุมชนในทุกมิติหากมองใน มิติศักยภาพของชุมชน(Community Potential) ผมไม่ทราบข้อมูลมากนัก แต่ผมมองว่าชุมชนที่นี่มีศักยภาพสูง ในส่วนของ “ต้นทุน”  ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน


ดังนั้นการทำเวทีชุมชนครั้งนี้ ผมจึงเข้าสู่ กระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับชุมชน (Completing a Feasibility) เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่อจากกระบวนการดังกล่าวข้างต้น ก็ถือว่าย่นระยะทางมาบ้าง 

จากจุดนี้ ...ถือว่าเป็นการเปิดมิติของการเรียนรู้ใหม่ๆ กับชุมชน การจัดการความรู้ จะถูกขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมต่างๆของการท่องเที่ยว ความยั่งยืนของการพัฒนาชุมชนที่นี่ จึงต้องใช้เวลารวมถึงการมีส่วนร่วมอย่างสมดุล มีกระบวนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ...

นักพัฒนา นักวิจัย จึงต้องอดทนรอคอย...สร้างฐานให้พร้อม ก่อนที่จะเดินในย่างก้าวต่อไป


 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ห้องประชุมประชาคมชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง

อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

๗ มีค.๕๔

หมายเลขบันทึก: 429861เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2011 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าไปเที่ยวค่ะ...

จัดการดี ๆ ก็เป็นรายได้ของชุมชน เงินหมุนเวียนในประเทศดีค่ะ สนับสนุน ๆ ..แล้วจะหาเวลาไปใช้บริการท่องเที่ยวของชุมชนค่ะ..^__^

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

  • คุณยายมาเติมกำลังใจให้คนทำงานค่ะ
  • ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจคุณยายเช่นกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท