drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของโครงการพัฒนาบุคลากรฯ KM วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี


สมาชิกท่านใดของวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรฯ เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการองค์ความรู้ (KM) วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคม 2554 สามารถโพสต์เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ได้ที่นี่ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 429860เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2011 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เคล็ด (ไม่ลับ) การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุนวิจัย และไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

Fa อ.ศิรินันท์ ตรีมงคลทรัพย์ Note อ.ภัทรานุช เอกวโรภาส

ผู้เข้าร่วม อ.อรทัย สารกุล อ.นรินทร์ทร พันธ์สวัสดิ์ นางสาวสรัญญา ชะงัดรัมย์

ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

1. แหล่งข้อมูลที่ืเชื่อถือได้

Science direct, Thesis, สำนักงานสิทธิบัตร (สนามบินน้ำ นนทบุรี), PubMed, วช. (ฐานข้อมูลงานวิจัย)

 

2. เทคนิคการเลือกหัวข้อ

ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล ความต้องการของแหล่งทุน ความถนัดนักวิจัย หรือทีมงานวิจัย ความพร้อมของเครื่องมือ และอุปกรณ์ (ถ้าไม่มี จะต้องไปหาที่ไหน ราคาค่าบริการเท่าใด) ควรมีที่ปรึกษาโครงการ เป็นที่รู้จัก และอาจวิเคราะห์จากความสนใจของคณะกรรมการตัดสินด้วย

3. งบประมาณ

จำนวนเงินต้องเหมาะสมกับเนื้องาน ระยะเวลาการวิจัยต้องเหมาะสมกับจำนวนเงิน และงวดการเบิกจ่าย ครุภัณฑ์ (หมวดเงิน) ประเภทของแหล่งทุน (รัฐบาล จะต้องดูระเบียบเบิกจ่ายฯ แต่ถ้าเป็นเอกชน ต้องปรึกษากับแผนกการเงินของบริษัทฯ ก่อน)

 

4. การตั้งชื่อเรื่อง และหัวข้องานวิจัย

น่าสนใจ หรือท้าทาย กระชับ ตรงประเด็น ครบถ้วน

ทันสถานการณ์ เช่น หัวข้อของ ภาวะโลกร้อน (การใช้พลังงานทางเลือก reduce reuse recycle) หัวข้อของสังคมผู้สูงอายุ (anti-ageing, anti-cancer, อาหารเพื่อสุขภาพ) หัวข้อผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Scrub จากสัปปะรด) หัวข้อการนำส่งสาร (นาโนเทคโนโลยี ไลโปรโซม)

5. การเขียนวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ไม่ควรยืดยาว ไม่ควรเกิน 2-3 ข้อ ควรสอดคล้องกับ หัวข้องานวิจัย เป้าหมาย และองค์ประกอบอื่นๆ รวมถึงผลที่คาดว่าจะได้รับ

6. การตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย 

การแบ่งสัดส่วนผลงานวิจัย ของผู้เขียน จะต้องระบุให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันปัญหา การเรียงลำดับของผู้ร่วมวิจัยจะต้องพิจารณาจาก Format ของวารสารนั้น การเลือกวารสารและ Impact Factor ในส่วนของภาษาในการตีพิมพ์นั้น ผู้วิจัยจะต้องเขียนมาก่อน แล้วจ้างผู้เชี่ยวชาญ (เจ้าของภาษา) มาตรวจ (ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านนั้นด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการไม่เข้าใจคำศัพท์ หรือใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้อง เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์ ควรจะเป็นอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไม่ใช่จ้างผู้เชี่ยวชาญที่มาจากสายสังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ มาช่วยตรวจ)

7. ขั้นตอนการตีพิมพ์เผยแพร่ ทำอย่างไรจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ กลุ่มจะต้องไปศึกษากับผู้มีประสบการณ์ก่อน

-----------------------

เพิ่มเติมสมาชิกกลุ่ม

ดร.สมคิด เดชะคำภู อ.พรพนม คำมุงคุณ

ได้รับความรู้และวิธีการการจัดทำ การจัดการความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวเองและองค์กร

ประมวลภาพการสัมมนา

อาจารย์คะ ไม่ทราบว่าจะเข้าเว็บบอร์ด KM ที่สมัครผ่าน Thai-forum ได้ยังไงคะ พอดีวันนั้นสะเพร่าไม่ได้จด site ไว้ พอดีจะเข้าไปเพิ่มข้อมูลแต่หาช่องทางเข้าไม่เจอ  ลองพยายาม search ใน google แล้ว แต่ไม่เจอค่ะ ขอบคุณนะคะ

 

รบกวนอาจารย์ลองดูใน history ของ Internet Explorer ครับ ดูวันที่เราลงทะเบียน 7 มี.
ค. 54 หรือ ผมจำได้ว่า อาจารย์ ใช้คำย่อของวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ขึ้นหน้า ตามด้วย ..............thai-forum.net ครับ 

@ Darin_Angel ถ้ายังไงอาจารย์ลองเช็คในอีเมล์ เพราะระบบจะแจ้งให้ที่อีเมล์ น่าจะมีบอกไว้ เพราะเราเป็น admin จะมีอีเมล์แจ้งว่าได้สมัครเปิดเว็บบอร์ดฟรีกับเค้านะครับ ขอให้เจอะนะครับ จะได้ไม่ต้องแก้ใหม่ เสียเวลา

ขอบคุณมากค่ะ แปลกจังหาใน e-mail ก็ไม่เจอ ไม่รู้่ว่าลืมตั้งค่าอะไรหรือเปล่า พอดีวันนั้นไม่ได้ใช้เครื่องตัวเองทำด้วยค่ะ จะหาใน history ก็ไม่ค่อยสะดวก สุดท้ายคงต้องนั่งทำใหม่ค่ะ เพราะไม่รอบคอบเอง ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

รบกวน อ. Darin_Angel ช่วยบอกชื่อเว็บบอร์ดใหม่ให้ด้วยครับ

จะได้เข้าไปเม้นท์ให้ครับ ขอบคุณครับ

เป็นความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาตนเอง และองค์กรได้เป็นอย่างดีครับ

ในปัจจุบันถ้าเราไม่เปิดใจคุยกัน บางครั้งเราใช้ความรู้สึก (รัก โลภ โกรธ หลง) มาตัดสิน ก็ทำให้เราปิดกั้นการเรียนรู้ หรือความเห็นอกเห็นใจได้ครับ ดังนั้นขอเสนอสุนทรียสนทนา ดังต่อไปนี้

หลักการของสุนทรีย์สนทนา

1. ผู้ฟัง ควรรับฟังอย่างสนใจ (อาจมองตา) และควรจะไม่พูดแทรก หรือพูดแข่งกัน/พูดกับผู้อื่นในกลุ่ม

2. ผู้ฟัง อาจจะใช้คำพูดว่า “ครับ” หรือ “ค่ะ” ในบางช่วง เพื่อให้ผู้พูดทราบว่าผู้ฟังตั้งใจฟังอยู่

3. ผู้พูดควรพูดตามเวลาที่กำหนด เช่น 3 นาที ก็ไม่ควรพูดเกิน เพราะจะทำให้ผู้ฟัง เบื่อหน่าย ดังนั้นผู้พูดควรสังเกตสีหน้า ท่าทางของผู้ฟังบ้างเป็นระยะๆ

4. ผู้พูด ควรพูดในสิ่งที่ตรงจุดตรงประเด็น และไม่อารัมภบท หรือพูดวกไปวนมา หรือการยกตัวอย่าง (กรุณางดการเอ่ยชื่อ หรือพูดพาดพิงบุคคลที่ 3)

5. Fa ควรควบคุมหัวข้อ หรือประเด็น หากผู้พูดเริ่มออกนอกประเด็น ควรหาวิธีสรุปให้เข้าประเด็น หรือหากผู้พูดวกไปวนมา ควรหาวิธีสรุปให้ผู้พูด พูดในประเด็นต่อไป

6. Fa ควรสอบถามผู้ฟัง หลังจากผู้พูด พูดเสร็จแล้วจึงอนุญาตให้ถามตอบบ้าง แต่ไม่ควรให้กินเวลานานเกินไป เพราะผู้พูดคนถัดไปอาจจะพูดประเด็นนี้ต่ออยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท