Marketing GuRu/Leadership


ภาวะผู้นำไม่ได้อยู่ในตำรา แต่อยู่ที่การสำรวจตัวเราเองและพัฒนาให้เกิดภาวะผู้นำต่างหาก
สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ Nano MBA รุ่นที่ 5
       เมื่อวานนี้ผมได้รับเกียรติให้ไปบรรยายหัวข้อ "ภาวะผู้นำ" หรือ      "Leadership" ให้แก่ลูกศิษย์กลุ่ม Marketing GuRu ซึ่งผมเองก็ได้ความรู้มากด้วยเช่นกัน
     ผมได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำไว้ดังต่อไปนี้

(1)  ไม่ได้มาเรียนเรื่องภาวะผู้นำ แต่มาแบ่งปันความรู้ และสำรวจตัวเองและพัฒนาให้เกิดภาวะผู้นำ

(2)  บางคนอาจจะมีภาวะผู้นำอยู่ในแต่ละคนแล้วก็ได้ แต่ยังมองไม่เห็นหรือยังไม่ได้นำมาใช้

(3)   วิธีการเรียน จะแบ่งเป็น 3 ช่วง       

        (1) ผมจะแสดงความเห็นสั้น ๆ       

        (2) เปิดเทป 

        (3) เปิดอภิปรายทั่วไปว่า ได้อะไร จะนำไปพัฒนาอย่างไร

(4)  เมื่อกลับบ้าน เปิด website  www.chiraacademy.com และส่ง Blog มา share ความรู้กัน

(5)  หนังสือ HR พันธุ์แท้ มีตัวอย่างของผู้นำ 2 คนคือ ดร.จีระ และคุณพารณ

(6) ผมมา share และมาฟังดูว่าบรรดาผู้ฟัง 80 ท่าน คิดอย่างไร ในเรื่องผู้นำ และจะมีการสร้างผู้นำอย่างไรให้ได้ผล เพราะที่ผ่านมา บางครั้งคิดว่า ผู้นำสร้างไม่ได้ แต่ติดตัวมา ซึ่งไม่จริง

(7) ผู้นำมีหลายชนิด และเหมาะกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน

(8) ทุกคนเป็นผู้นำได้ แต่ต้องคิดว่า ตัวเองอยากเป็นด้วย เพราะในสังคมปัจจุบัน จะต้องมีผู้ตามที่ดีด้วย

(9) การจะพัฒนาผู้นำยุคใหม่ จะมีการทดสอบพฤติกรรมของผู้นำ คิดออกมาเป็นคะแนน เช่น บางคนอาจจะเก่งงาน แต่ไม่เก่งคน บางคนชอบทำงานคนเดียว บางคนคิดแบบในกรอบ บางคนคิดนอกกรอบ บางคนชอบวิจารณ์ผู้อื่น ซึ่งทาง chiraacademy ร่วมกับบริษัทDBM จัดทำการวัดภาวะผู้นำออกมา     สำหรับแต่ละคนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ 4 เรื่อง คือ (1)    รู้ profiles ของแต่ละคน(2)    ไปเทียบมาตรฐานขององค์กรที่เราวัดกับองค์กรอื่น ๆ เรียกว่า Benchmark report (3) มีระบบ Feedback คือที่ปรึกษา ที่ทำข้อมูลที่วัดได้ไปหารือกับเจ้าตัว เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถ่องแท้ (4)    มีการสร้างหลักสูตรแบบ coaching หรือสร้างระบบ พี่เลี้ยง Mentoring และสร้างผู้อำนวยความสำเร็จ Facilitators ด้วย ระบบนี้ได้ทดลองในหน่วยงานหลายแห่งได้ผล คล้าย ๆ มีกระจกมาส่องเรา เพื่อเราจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น

       ก็เลยถือโอกาสใช้ Blog นี้เป็นสื่อกลางร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกัน และรวมไปถึงบุคคลที่สนใจเรื่องภาวะผู้นำทั่วไปก็มาร่วม Share ideas กับเราที่นี่ได้
                                                           จีระ  หงส์ลดารมภ์
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำleadership
หมายเลขบันทึก: 42921เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
พิสิษฐ์ อิทธิโชติวัฒน์

เรียน ถาม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเป็นคนหนึ่งที่ไปสัมนา MARKETIN GURU ที่ฟัง อ.อธิบายเรื่องของ BENCHMARK REPORT การเทียบมาตราฐานขององค์กรตัวเองกับองค์กรอื่น  หลักการที่จะใช้มาประกอบในการมาตราฐานขององค์กรมีอะไรที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้ 

ยม "ภาวะผู้นำ Nano MBA Marketing Guru"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ผู้เข้ารับการอบรม Nano MBAกับทาง Marketing Guru ทุกท่าน

 

 เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ส.ค. หลังจากได้ร่วมแชร์ไอเดีย ในการสัมมนา LEADERSHIP ค่ำวันนั้น ได้เขียนข้อความนี้ลงใน Blog ฝากไว้ใน Blog ของ ชาวสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เนื่องจาก Blog Marketing Guru ใหม่ ยังไม่ได้สร้างไว้ ผมได้นำข้อความนี้มาลงให้ใหม่ใน Blog นี้ มีข้อความดังปรากฎตอนท้ายนี้ ครับ

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เวลาบ่ายโมง ที่โรงแรม Maxx ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ได้เปิดโอกาสให้ผมได้แชร์ความคิด Comment และต้องขออภัยด้วย ที่ไม่ได้อยู่รอจนจบสัมมนา เนื่องจากต้องรีบเดินทางไปร่วมกิจกรรม ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ที่จังหวัดอุบลฯ

ในสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้แชร์ไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำ  ผมสังเกตเห็นได้ว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ใช่แค่เลกเปลี่ยนหรือแชร์ความคิดเห็นเท่านั้น ท่านได้ทำการฝึกภาวะความเป็นผู้นำให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยที่หลายท่านอาจจะไม่ทันตั้งตัว

 การเดินพูดไปวนไปมา เปรียบเสมือนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สิ่งต่าง ๆ ที่ ศ.ดร.จีระ พูดขณะเดินเปรียบเสมือนกระแสโลก ผู้นำ ต้องมีสายตาที่เฉียบคม กว้างไกล ไม่มึนไปกับการหมุนเวียนของโลก และการหลั่งไหลของกระแสต่าง ๆ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่าขณะนี้ โลกเป็นอย่างไร และอนาคตจะเป็นอย่างไร  มีสติ มีความคิดสร้างสรรค์ มองสองด้าน หยินและหยางเสมอ  ถ้ามองด้านเดียว  หนักยิ่งกว่านั้นคือมองด้านลบด้านเดียว ก็ใช้สมองไม่ครบ 
ศ.ดร.จีระ ฝึกภาวะผู้นำผู้เข้ารับการอบรม ด้วยการพูดแบบบูรณาการ ข้ามศาสตร์ เป็นการบอกว่า ผู้นำต้องจับประเด็นกระแสความรู้ต่าง ๆ ได้ คิดต่อยอดได้ ผู้นำต้องอดทน ต้องเอาชนะตนเองให้ได้ 
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเด็น ที่น่าสนใจ ที่ผมพอจะจับประเด็นจาก ศ.ดร.จีระได้ เช่น
  • ผู้นำ รู้ลดละอัตตา ไม่ยึดมั่นถือมั่น คิดว่าตัวตนเป็นของสาธารณะชน มุ่งมั่นทำการใหญ่เพื่อส่วนรวม
  • ทำอะไรรู้ คิด แบ่งบันให้ผู้อื่น รู้จักแชร์ รู้จักให้
  • รู้จักรักษากาย ใจ ฝึกสมาธิ เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นอยู่กับสมาธิ
  • กอบโกยเพื่อน มี Good connection ทุนทางสังคม
  • รู้จักปรับปรุงตนเอง เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
  • รู้เขา ลูกน้องต้องรู้ ทุก Profile ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ 
  •   รู้เรา  รู้ว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร จุดเด่นรักษาและพัฒนา จุดด้อยนำมาปรับปรุงให้เป็นจุดเด่นในอนาคต
  • ตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ทดสอบพฤติกรรมผู้นำของตนเอง เพื่อหาจุดอ่อนแล้ววางยุทธ์ศาสตร์ในการพัฒนา
  • ทันโลก ทันเหตุการณ์ จับประเด็นได้ วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดี
  • กระจายอำนาจ (Empowerment) จะทำได้ต้องมีความเชื่อ บริหารความเชื่อ ทุนทางความเชื่อต้องมี  ไม่มีความเชื่อ บริหารธุรกิจไม่ได้
  •  ศึกษา ค้นคว้า อยู่ตลอดเวลา ทันโลก ทันเหตุการณ์ (Long life learning)
  • ต้องมีวิสัยทัศน์ รู้ว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นและจะแก้ไข ป้องกันได้อย่างไร
  • ทำให้คนอื่นอยากเดินตามด้วยความเต็มใจ ด้วยความรักและศรัทธา
  •  ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นความแตกต่างในสรรพสิ่งทั้งหลาย
  •  สนใจเรื่อง Feedback นั่นหมายถึงการให้ความสำคัญกับ การสื่อสารสองทาง Two ways communication และไม่เผด็จการเกินไป
  • ผู้นำ สร้างและพัฒนาระบบ เป็นพี่เลี้ยง นำระบบพัฒนาคน ให้คนพัฒนาระบบ
  • มีความอยากจะเป็นผู้นำ  มีบุญพอที่จะเป็นผู้นำ คำว่า บุญ คือ สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ เป็นผู้มีบุญในการเป็นผู้นำ หมายถึง สนใจ ใส่ใจ เอาใจเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ อย่างต่อเนื่อง
  • แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ดี เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหา
  •  มีทักษะเรื่องคน ชำนาญเรื่องคน
  • มีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุ มีผล มีคุณธรรม
  • มีเสน่ห์ ไม่น่าเบื่อ  แต่น่าเคารพ รัก และศรัทธา 
ผู้นำ ควรมีสมรรถนะ 4 ด้านด้วยกันดังนี้
1.     สมรรถนะหลักในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์และบริหารทุนมนุษย์(เก่งคน)
2.     สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (เก่งงาน)
3.     สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (เก่งคิด)
4.     สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(เก่งคิดและเก่งทำ) 

ผมหวังว่าสิ่งที่ผม Comment ไป จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมคบหากันเป็นเพื่อน เป็น Good Connection ต่อกัน

ยม

นักศึกษา ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี   

[email protected]

[email protected]

Tel 01-9370144

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ชาว Marketing Guru ทุกท่าน 

ผมเห็น ข้อความที่คุณพิสิษฐ์ อิทธิโชติวัฒน์ เขียนมาเมื่อ จ. 07 ส.ค. 2549 @ 11:05 (58461) เรียน ถาม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ว่า " อ.อธิบายเรื่องของ BENCHMARK REPORT การเทียบมาตราฐานขององค์กรตัวเองกับองค์กรอื่น  หลักการที่จะใช้มาประกอบในการมาตราฐานขององค์กรมีอะไรที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้"

ผมขอร่วมแชร์ไอเดีย ดังนี้ครับ BENCHMARKING เป็นหนึ่งในเครื่องมือการบริหารองค์การ ในประเทศไทยนิยมใช้ตามแฟชั่นทางการบริหาร ตามกระแสโลกาภิวัฒน์  ซึ่งควรศึกษาให้ดี เพราะเครื่องมือทางการบริหารองค์การมีนับร้อยเครื่องมือ บางเครื่องมือต้องทำต่อเนื่องกัน เช่น ก่อนจะทำการ BENCMARKING ควรทำการวิเคราะห์องค์การด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็งฯ และนำการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ ด้วยการกำหนดวิสัยท้ศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แผนกลยุทธ์ โครงการต่าง ๆ  จากนั้นจะมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในงาน หรือการบริหารแบบมุ่งสัมฤทธ์ผล กว่าจะไปถึง BENCHMARKING ต้องอาศัยอีกหลายเครื่องมือ เพื่อศึกษาปัญหา และกำหนดกลยุทธ์องค์การ

 องค์การ บุคคล แผนงาน และโครงการต่างก็ต้องมีการติดตามผลงานของตนอย่างจริงจังและมีประสิทธิผลเพื่อแสดงให้ทราบผลการดำเนินการว่าได้ผลงานก้าวหน้า หรือมีผลงานที่เป็นความสำเร็จหรือไม่อย่างไร ในขั้นแรกของการติดตามผลงานหรือการวัดผลงานจำเป็นต้องมีการกำหนดกรอบการวัดผลงาน (Measurement framework) และระบบการติดตามงาน (Monitoring system) เสียก่อน

ขั้นต่อไปเป็นเรื่องของการกำหนดดัชนีชี้วัดผลงาน(KPI)สำหรับใช้เป็นมาตรวัดผลงาน การกำหนดผลงานฐานเริ่มต้น (Base line) สำหรับเป็นจุดเริ่มต้นของการวัดการเปลี่ยนแปลงของผลงาน

ในการกำหนดเป้าหมายของแต่ละตัวดัชนีชี้วัดอาจอาศัยการกำหนดผลงานเทียบเคียง (Benchmark) สำหรับการปรับผลงานให้มีความยอดเยี่ยม (Best practice)

อาจกล่าวได้ว่า การติดตามผลงานเป็นกระบวนที่เป็นระบบและเกิดจากการวางแผนในการวัดผลงานตามแผนที่ได้ตั้งเป้าหมายของผลงานไว้ โดยการเปรียบเทียบกับผลงานที่เกิดขึ้นจริงและองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

กรอบการวัดผลงาน หรือกรอบการติดตามผลงานเป็นเครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือ RBM (Results Based Management) ที่มีการออกแบบมาเพื่อการวางแผนที่เป็นระบบในการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการติดตามผลงาน การศึกษาความก้าวหน้า และการรายงานผลงาน กรอบการติดตามผลงานจะทำให้ทราบความก้าวหน้าของความสำเร็จในงาน

แผนภาพ แสดงกรอบการติดตามผลงานในระดับองค์การ ที่เป็นระบบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับCEO ดัชนีชี้วัดผลงาน แหล่ง ข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล ความถี่ของการจัดเก็บ ผู้ปฏิบัติ
ความพึงพอใจของลูกค้าCustomer Satisfaction          
ความสุข ความพึงพอใจของพนักงานEmployee Satisfaction          
ผลประกอบการ ผลผลิตOrganization profit, outcome)          
  กรอบการติดตามผลงานประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ = ความพึงพอใจของลูกค้า + ความพึงพอใจของพนักงาน + ผลประกอบการนอกจากนั้น ยังมีดัชนีชี้วัดผลงานสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความก้าวหน้าของผลงาน ส่วนแหล่งข้อมูลเป็นการแสดงที่มาข้อมูล ซึ่งอาจมาจากคน องค์การ เอกสาร หรือรายงานต่างๆ ซึ่งจะต้องระบุถึงวิธีการจัดเก็บว่าใช้วิธีการใด (การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์แนวโน้ม การสอบสวน เป็นต้น) ส่วนความถี่ในการจัดเก็บข้อมูลนั้น มักจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรในห้วงเวลาเป็นรอบการเก็บข้อมูลที่สั้น เนื่องจากเมื่อเริ่มต้นโครงการจะยังไม่เกิดพวงผล หลังจากโครงการดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งก็มีการเก็บข้อมูลผลผลิต ซึ่งเป็นการวัดผลในระยะปานกลาง ส่วนการเก็บข้อมูลของผลลัพธ์ และผลลัพธ์บั้นปลายอาจเป็นการกำหนดห้วงเวลาที่ยาวขึ้น เช่น ทุกหกเดือน หรือ ทุกปี หรือเมื่อเสร็จโครงการแล้ว นอกจากนี้จะต้องมีการกำหนดบุคคลหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้

นอกจากนี้ องค์การจำเป็นต้องเชื่อมโยงวิสัยทัศน์และแผนกับการวัดผลความสำเร็จด้วย วิสัยทัศน์จะเป็นจุดตั้งต้นของการกำหนดวัตถุประสงค์  ตัวชี้วัดความสำเร็จในองค์การ KPI

 การอาศัยวิสัยทัศน์และภารกิจ(การบริหารเชิงกลยุทธ์) ในการผลักดันกระบวนการวางแผน และเป็นรากฐานของการกำหนดวัตถุประสงค์ในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นพื้นฐานในการวัดผลงานต่อไป

องค์การที่ต้องการลดเลิกการทำงานที่อาศัยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และต้องการสร้างการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเพื่อนำความคิดโครงการที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์จะต้องดำเนินการตามวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และแผนยุทธศาสตร์ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

  ในการพัฒนาวิสัยทัศน์จะต้องพิจารณาถึงปัญหาอุปสรรคและหาวิธีการกำจัดปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาวิสัยทัศน์ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของปัญหาอุปสรรคนั้นๆ ส่วนการที่องค์การจะไปสู่ความสำเร็จในระดับใดก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ ที่ได้พัฒนาขึ้น ผมขอร่วมแชร์ไอเดีย เพียงเท่านี้ก่อน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน

สวัสดีครับ

ยม

 

 

เรียน คุณพิสิษฐ์ อิทธิโชติวัฒน์ และศิษย์ Nano MBA ทุกท่าน

         ขอตอบคำถามที่ถามมาเกี่ยวกับเรื่อง BENCHMARK REPORT การเทียบมาตราฐานขององค์กรตัวเองกับองค์กรอื่น  หลักการที่จะใช้มาประกอบในการมาตราฐานขององค์กรมีอะไรที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้วัด ก่อนอื่น จะอธิบายถึงเรื่อง Assessment บุคลากรในองค์กรเพื่อให้ได้ Individual Profile ของแต่ละคนเกี่ยวกับพฤติกรรม ความคิด ความสามารถ ทัศนคติ ความชอบในการทำงานแต่ละด้าน ฯลฯ รวมไปถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ศักยภาพ ของแต่ละบุคคล จากนั้นนำผลที่ได้ของแต่ละคนมารวบรวมวิเคราะห์สรุปเป็นข้อมูลขององค์กร หรือประสิทธิภาพรวมของบุคลากรในองค์กร เมื่อสรุปผลออกมาก็นำไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น อาทิ AIS ปตท. หรืออื่น ๆ ที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ในเบื้องต้นอาจจะเน้นที่องค์กรภายในประเทศ หากมีความต้องการก็จะเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และสรุปออกมาเป็น Benchmark Report ว่าปัจจุบันองค์กรของเราศักยภาพของบุคลากรเราอยู่ตรงจุดไหน มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และหากจะพัฒนาองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรควรจะเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นเข็มทิศนำทางให้การพัฒนาองค์กรดำเนินไปอย่างมีทิศทาง ซึ่งหากท่านสนใจผม ได้ร่วมกับทีมงานของ DBM Thailand ทำเรื่องนี้อยู่ ก็สอบถามรายละเอียดมาที่ ผู้ช่วยของผม คุณวราพร โทรศัพท์ 02-884-9420-1 ได้ เพราะเขามีรายละเอียดของโครงการนี้อยู่

สุดท้ายก็ขอขอบคุณที่สนใจและมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันที่นี่

                                         จีระ  หงส์ลดารมภ์

วิโรจน์ เตียวแสงสุข

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                            

                  ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ได้ให้ผมและทีมงานปราการเคเบิ้ลทีวี-สมุทรปราการ เ ข้าเยี่ยมชมและศึกษาการทำงานของมูลนิธิทรัพยากรมนุษย์   ระหว่างประเทศ  สิ่งหนึ่งที่พวกเราเห็นร่วมกัน คือ เป้าหมายในการทำงานของเรา คือ สื่อสารสิ่งที่เป็นจริง สร้างความเป็นธรรมในสังคม และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มในสังคม ทั้งเวลาประสบการณ์ทำงานของเรายังน้อย จึงหวังว่าให้ท่านได้ช่วยชี้แนะและในโอกาสอันใกล้คงจะต้องขอความกรุณาจากท่านอีก

                              ด้วยความนับถือเป็นอย่างสูง

                                    วิโรจน์../Nano MBA 5

                             

ยม "บทเรียนจากความจริงกับ ศ.ดร.จีระ Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์"

Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์[1]

 

บทความนี้ผมเขียนในวันพุธ ก่อนจะเดินทางไปประชุม APEC/ILO ที่จาการ์ตา ประเทศ อินโดนีเซีย กิจกรรมหนึ่งที่ผมทำในนามของ ประธานคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ เอเปก ( APEC HRD Working Group ) ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 2 ปีแล้ว ได้ความรู้และเป็นประโยชน์มากต่อคนไทย กิจกรรมทุกเรื่อง ผมจะรายงานให้คนไทยทราบเพราะ
ยุคนี้เป็นยุคของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล การมีสื่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์


ในยุคต่อไป องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ จะทำงานร่วมกันมากขึ้น ต่างคนต่างทำจะไม่สำเร็จ ผมเปิดกว้างให้องค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ มาทำงานร่วมกับ APEC มากขึ้น เช่น OECD หรือธนาคารโลก


การประชุมครั้งนี้ เป็นเรื่องการลดการใช้แรงงานเด็กในหลายประเทศ ซึ่งปัญหาแรงงานเด็กเกิดขึ้นเพราะ
-
ค่าจ้างถูก
-
กฎหมายควบคุมไม่ถึง
-
พ่อแม่ยากจน
-
เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ จึงต้องทำงานหาเงิน


จุดอ่อนคือ เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา เมื่อเขาอายุ 25 ปีขึ้นไปแล้ว เขาจะทำอะไร อนาคตจะลำบาก เพราะไม่ได้เรียนหนังสือ


APEC/ILO จึงร่วมมือกัน ลดการใช้แรงงานเด็ก และต้องให้ได้ผลจริง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็ก หาวิธีให้เขาได้รับการศึกษาที่ดี


สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีกิจกรรม 3 เรื่องที่น่าสนใจ


เรื่องแรกคือ ไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ซึ่งทำเป็นครั้งที่ 5 แล้ว การหารือกันเรื่องผู้นำถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ
-
ผู้นำสร้างได้
-
ผู้นำไม่เกี่ยวกับอำนาจทางกฎหมายหรือตำแหน่ง
-
ผู้นำจะมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย แต่ในปัจจุบันผู้หญิงมีน้อยกว่ามาก
-
เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
-
ผู้นำแตกต่างกับผู้บริหาร
-
อะไรคือแรงกระตุ้น ( Motivation ) ให้อยากเป็นผู้นำ
-
ผู้นำต้อง
-
เก่งงาน
-
เก่งคน
-
เก่งบริหารการเปลี่ยนแปลง
-
มีคุณธรรม จริยธรรม
ผู้นำมีหลายชนิด
-
แบบมีเสน่ห์ ( Charisma )
-
แบบ Transformation จาก A B
-
แบบเหตุการณ์สร้างผู้นำ ( Situational Leadership )
ผู้นำมีหลายชนิด แตกต่างกัน จะเหมาะกับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความเหมาะสมแต่ละคน


การเรียนรู้ผู้นำ อย่าลอกตำราฝรั่งเท่านั้น ควรจะวิจัยในประเทศไทยมากขึ้น ดูจากจุดอ่อนของเรา/มองตัวเราเอง หรือดูแบบอย่าง Role model
ผมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้จัด workshop เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่น่าสนใจเพราะเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นทฤษฎีว่า ถ้าจะทำ HR ให้ได้ผล ต้องพัฒนาความเชื่อและศรัทธาก่อน


ผมประทับใจในอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร เพราะเป็นผู้ที่สนใจการสร้างคุณภาพของคนในองค์กร มานั่งฟังและมีส่วนร่วมทั้ง 3 ชั่วโมง ซึ่งอธิบดีในประเทศไทย ไม่ชอบการเรียนรู้ และเราจะมีการทำงานต่อเนื่องในอนาคต


สรุปการทำ workshop พบว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศอยากเรียนเรื่อง
- Team work
-
การสร้างความรัก ความผูกมิตรในองค์กร
-
การเป็นเจ้าขององค์กร


ซึ่งแต่ละเรื่องน่าสนใจ แต่ทำยาก อย่างน้อย กระทรวงพาณิชย์ได้มองอะไรแบบ Intangible ครับ


อีกเรื่องหนึ่งคือ จากการทำงานร่วมกับ FM 96.5 MHz ผมได้ย้ายรายการจากวันอาทิตย์มาเป็นวันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. จะมีการพูดเรื่องระยะยาว ที่ผู้ฟังสามารถนำไปใช้ได้ ผมดีใจที่การใช้สื่อของผมได้ประโยชน์มากขึ้น ยุคนี้ต้องนำเอา Ideas ดี ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา


เมื่อพูดถึงผู้นำ ก็นึกถึงช่วงนี้ที่มีการเปรียบเทียบผู้นำการเมือง 2 คนคือคุณทักษิณ ชินวัตร และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หากจะเปรียบเทียบภาวะผู้นำของ 2 คน อย่ามองแบบ static นิ่ง ขอให้มองอย่างรอบคอบ เพราะทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผมขอยกตัวอย่าง


เมื่อปี 1967 ในการรบระหว่างยิวกับอียิปต์ ยิวชนะภายในเวลา 5-6 วัน แต่ในวันนี้กว่า 40 ปี ที่ผ่านมา ยิวรบกับกองโจร Hezbollah ทุกคนคิดว่า ยิวต้องชนะอย่างง่ายดายแต่ปรากฏว่า Hezbollah ปัจจุบันปรับยุทธวิธีการรบ สู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี อะไรที่เป็นจุดแข็งของการรบของยิว Hezbollah สามารถนำมาปรับปรุงใช้ได้


ปัจจุบันผู้นำการทหารของยิวหรืออิสราเอล ก็ตกใจ ไม่คิดว่าการรบจะยืดเยื้อไปมากมายขนาดนี้
เมื่อกลับมาดูคุณทักษิณ กับคุณอภิสิทธิ์ ในระยะแรก นายกฯทักษิณได้เปรียบ ชนะอยู่หลายช่วงตัว แต่วันนี้ คุณอภิสิทธิ์ปรับปรุงแนวทางของการเป็นผู้นำ จุดแข็งของคุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ก็นำมาใช้ได้ และหลีกเลี่ยงจุดอ่อนอื่น ๆ เช่น


-
คุณธรรม จริยธรรม
-
เรื่อง Corruption ก็นำมาชี้ให้เห็น
-
สิ่งใดที่เป็นประชานิยมก็จะทำ ทำเพื่อความยั่งยืน เช่น มีกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
-
เน้นเรื่องการลดค่าครองชีพ ทุนนิยมของทักษิณเป็นแบบเน้นการตลาดเต็มตัว แต่ทุนนิยมของคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนนิยมแบบยั่งยืน เน้นกระจายผลประโยชน์ต่อทุกกลุ่ม และยังมองเรื่องการศึกษาด้วย สนใจเรื่องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้คนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริงกับ ศ.ดร.จีระ Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์" (ต่อ)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน หลังจากผมกลับจากการไปร่วมสัมมนา หาความรู้และดูงานที่ประเทศอินเดีย แล้ว เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   ยุคนี้เป็นยุคของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล การมีสื่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ จากการทำงานร่วมกับ FM 96.5 MHz ผมได้ย้ายรายการจากวันอาทิตย์มาเป็นวันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. จะมีการพูดเรื่องระยะยาว ที่ผู้ฟังสามารถนำไปใช้ได้ ผมดีใจที่การใช้สื่อของผมได้ประโยชน์มากขึ้น ยุคนี้ต้องนำเอา Ideas ดี ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา ประเด็นนี้ ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างยิ่ง เป็นยุค Knowledge-Based Economy  ความรุ่งเรือง ความสำเร็จของสังคม องค์การ ของประเทศชาติ ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ การจัดการความรู้ เช่น สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นมหาอำนาจ ก็เพราะมีการจัดการเรื่องความรู้ดีมาก มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอยู่ที่นั่นหลายแห่ง มีการทำวิจัยเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทั้งชีวิตคน ชีวิตสัตว์ ชีวิตการทำงาน และมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ส่วนประเทศไทยเราในความเห็นผมเรื่องการจัดการความรู้ ควรต้องเร่งพัฒนา มีนโนยบายสาธารณะด้านการส่งเสริม การจัดการเรื่องการศึกษาทั้งระยะสั้น ระยะยาว โดยเฉพาะเรื่อง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ IT รวมทั้งด้านจริยธรรม ศีลธรรมอันดีงาม เป็นต้น  คนมีความรู้หลายคน ก็ไม่ได้ทำอย่าง ศ.ดร.จีระ ทำ แต่กลับมีพฤติกรรมตรงกันข้ามคือมีความรู้แต่เก็บความรู้ไว้ ไม่เผยแพร่ ไม่พัฒนาต่อ รู้อยู่คนเดียว แถมหวงวิชา และไม่ชอบให้ใครรู้มากกว่า  ผมไปดูงาน และไปสัมมนาที่ประเทศอินเดีย รัฐ Bankgalore ได้มีโอกาสร่วมสัมมนากับสถานบันการศึกษาและบริษัทที่มีชื่อเสียงด้าน ไอที และผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง TOYOTA ที่อินเดีย น่าทึ่งมากที่อินเดียพัฒนาไปไกลแล้ว อินเดียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการจัดการความรู้ได้ดี ศูนย์ไอที ที่ดีที่สุดในโลก อยู่ที่นี่ เป็นแหล่งรวบรวมคนมีความรู้ ความสามารถมารวมไว้ และให้คนเก่ง คนดีเหล่านั้นได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงกลายเป็นจุดแข็งของสังคมและประเทศชาติของเขา   สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีกิจกรรม 3 เรื่องที่น่าสนใจ
เรื่องแรกคือ ไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ซึ่งทำเป็นครั้งที่ 5 แล้ว การหารือกันเรื่องผู้นำถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ
-
ผู้นำสร้างได้
-
ผู้นำไม่เกี่ยวกับอำนาจทางกฎหมายหรือตำแหน่ง
-
ผู้นำจะมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย แต่ในปัจจุบันผู้หญิงมีน้อยกว่ามาก
-
เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
-
ผู้นำแตกต่างกับผู้บริหาร
-
อะไรคือแรงกระตุ้น ( Motivation ) ให้อยากเป็นผู้นำ
-
ผู้นำต้อง
-
เก่งงาน
-
เก่งคน
-
เก่งบริหารการเปลี่ยนแปลง
-
มีคุณธรรม จริยธรรม
ผู้นำมีหลายชนิด
-
แบบมีเสน่ห์ ( Charisma )
-
แบบ Transformation จาก A B
-
แบบเหตุการณ์สร้างผู้นำ ( Situational Leadership )”

เรื่องการไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ของ ศ.ดร.จีระ  ผมได้มีโอกาสไปร่วมในงานนี้ด้วย พบว่าการบรรยายให้ความรู้ ของ ศ.ดร.จีระ เป็นการฝึกภาวะผู้นำไปในตัวด้วย  ให้ความรู้ควบคู่กับการฝึกฝน ผมเชื่อว่าในวันนั้น ศ.ดร.จีระ คงเห็นแววผู้นำของผู้เข้ารับการอบรมว่าเป็นอย่างไร เรื่องผู้นำ ที่ ศ.ดร.จีระ บรรยาย และเขียนมาในบทความนี้ เป็นองค์ความรู้ที่สด ไม่ได้ใช้ทฤษฎีแบบดั้งเดิมเอามาสอน แต่เป็นการนำเอาสถานการณ์ ยุคของโลกปัจจุบันและองค์ความรู้ข้ามศาสตร์มาบูรณาการ ออกมาเป็นผู้นำยุคใหม่  และสิ่งที่ผู้นำยุคใหม่ควรมีอย่างยิ่งก็คือ การสามารถบริหารความขัดแย้งให้เป็นคุณค่าแก่ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี   ผมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้จัด workshop เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่น่าสนใจเพราะเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นทฤษฎีว่า ถ้าจะทำ HR ให้ได้ผล ต้องพัฒนาความเชื่อและศรัทธาก่อน
เรื่องเผยแพร่องค์ความรู้ด้านทรัพยากรมนุษย์ เราโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ เปิดประเด็นใหม่ ๆ หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้   HR Manager หลายท่านไม่หลงประเด็นไปเน้นแต่ สรรหา คัดเลือก อบรม ก.ม.แรงงานฯ เป็นต้น  เพราะสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ แนะนำ จะเป็นรากหญ้าของทรัพยากรมนุษย์ ถ้าทรัพยากรมนุษย์ ไม่มีสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ บรรยาหรือแชร์ความรู้ ก็ไม่มีประโยชน์ ที่จะไปทำการสรรหา คัดเลือก อบรม ทำด้านแรงงานสัมพันธ์ฯ ผมจึงมั่นใจว่า สิ่งที่ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้รับ จะมีประโยชน์อย่างมาก   
เมื่อกลับมาดูคุณทักษิณ กับคุณอภิสิทธิ์ ในระยะแรก นายกฯทักษิณได้เปรียบ ชนะอยู่หลายช่วงตัว แต่วันนี้ คุณอภิสิทธิ์ปรับปรุงแนวทางของการเป็นผู้นำ จุดแข็งของคุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ก็นำมาใช้ได้ และหลีกเลี่ยงจุดอ่อนอื่น ๆ เช่น
-
คุณธรรม จริยธรรม
-
เรื่อง Corruption ก็นำมาชี้ให้เห็น
-
สิ่งใดที่เป็นประชานิยมก็จะทำ ทำเพื่อความยั่งยืน เช่น มีกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
-
เน้นเรื่องการลดค่าครองชีพ ทุนนิยมของทักษิณเป็นแบบเน้นการตลาดเต็มตัว แต่ทุนนิยมของคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนนิยมแบบยั่งยืน เน้นกระจายผลประโยชน์ต่อทุกกลุ่ม และยังมองเรื่องการศึกษาด้วย สนใจเรื่องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้คนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วย เรื่องประเด็นทางการเมืองที่ ศ.ดร.จีระ เขียนมา ผมเห็นด้วย เห็นว่าคุณอภิสิทธิ์มีการพัฒนารูปแบบการหาเสียงได้ดีขึ้นมาก ก็ขอให้มีการประเมินผล การทำดังกล่าวเป็นระยะและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งเก่งและดีขึ้น   ที่สำคัญ การหาเสียงของทั้งสองฝ่ายควรคำนึงถึงกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2549 พระราชดำรัส 4 ข้อนี้ ขอให้นักการเมืองทั้งหลาย นำไปช่วยปฏิบัติ เป็นการเผยแพร่ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนรุ่นหลัง พระราชดำรัส 4 ข้อ[1] ดังกล่าวได้แก่
  1. จะคิด จะพูด จะทำ ก็ขอให้มีเมตตามุ่งดีต่อกัน ไม่ใช่ฟัดกันกัดกันตลอดเวลา
  2. ให้ช่วยเหลือประสานงานสามัคคีกัน ต้องช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ประสานประโยชน์กัน ทำงานช่วยเหลือตัวเองด้วย แก่ประเทศชาติด้วย คิดแบบบูรณาการ ความจริงคิดแค่ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติอันเดียวก็หมดแล้ว
  3. ให้ปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบ เคารพกฎหมายให้เท่าเทียมเสมอกัน ไม่ใช่กลุ่มนี้ปฏิบัติอย่าง กลุ่มนี้พรรคพวกกันก็ช่วยกันอย่างนั้นไม่ได้ กฎระเบียบ กฎหมาย แบบแผน ระเบียบต้องให้ความเคารพ และ
  4. ต้องพยายามทำความคิดความเห็นของตัวเองให้ถูกต้องมั่นคง มีเหตุผล อย่าทำอะไรด้วยอารมณ์ ตัณหา กิเลส ต้องมีอยู่ในเหตุผล และปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน จะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อตกลงกันแล้วก็เดินไปในทิศทางเดียวกันเสีย ไม่ใช่กัดกันไปเรื่อยๆอย่างนี้ก็ไม่รู้จะจบกันตรงไหน ทรงรับสั่งไว้ 4 ข้อ คนไทยปฏิบัติกันได้ประเทศชาติก็อยู่ได้
  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  

ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  

      ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน    ยม   


[1] ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม 2549

สวัสดี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                           ทักษิณ VS อภิสิทธิ์                                    

             อาจาร์ยครับ ผมฟังท่านนายกให้สัมภาษณ์ที่เชียงใหม่ตอนหนึ่งสรุปเนื้อหาใจความได้ว่า ถ้ามีคนที่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ดี เขาก็อาจจะเว้นวรรค  คำว่า ดีในอดีต ดีในปัจจุบัน ดีในอนาคตจะใช้บรรทัดฐานอะไรมาตรวจสอบละครับ และที่สำคัญใครละที่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า อนาคตจะดีอย่างนั้นหรืออย่างนี้  ความเป็นจริงและกาลเวลาที่ล่วงเลยต่างหาก ที่จะอธิบายให้เห็นได้ชัดเจนว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด และข้อสรุปในปัจจุบัน บางครั้งยังไม่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงของอนาคต ความจริงมักไม่มีอะไรถูกทั้งหมดและผิดทั้งหมด ดังนั้น ความสำเร็จของคนๆหนึ่ง ความเก่งความเฉลียวฉลาดของคนอีกคน ย่อมเกิดประโยชน์ เมื่อสิ่งนั้นกระทำเพื่อรับใช้สังคม                                                                          ผมมีความเข้าใจและเชื่อว่า เมื่อความรู้เรียนรู้ได้ ทักษะของผู้นำก็สามารถสร้างได้ จะเก่งงานแค่ไหน เก่งคนแค่ไหน หรือเก่งคิดเพียงไร สุดท้ายหากท่านทำเพื่อตัวเองแล้ว หรือทำด้วยผลประโยชน์แอบแฝงประชาชนก็จะให้คะแนนท่านเอง กล่าวโดยสรุป ภาวะผู้นำสร้างได้ บนพิ้นฐานความมีจริยธรรม-ศีลธรรมและด้วยความเสียสละ  

                               ร่วมคิดด้วยคน  ขอบคุณครับ

 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า  http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region 

เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที สุดท้ายวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 

สัปดาห์นี้ ศ.ดร.จีระ เขียนบทเรียนจากความจริง ท่านได้ทำสิ่งดีมีประโยชน์กับสังคมแล้วนำมาเขียนให้ศึกษาครั้งนี้ 3 เรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษา ลูกศิษย์ ลูกหา ของอาจารย์ควรเอาอย่างอยู่สองประการ

ประการแรก  คือเรื่องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แบบข้ามศาสตร์  อาจารย์ทำงานที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติ มากกว่าเพื่อส่วนตน ตรงนี้น่ายกย่องสรรเสริญ และควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี  

ประการที่สองเรื่องการเขียน ศ.ดร.จีระ เขียนบรรยายสิ่งที่ปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ สรุปเป็นเรื่อง ๆ สามเรื่อง ให้ผู้สนใจได้อ่านหาสาระได้หลากหลาย   ที่สำคัญคือแนวทางในการเขียนสรุป ของท่าน ศ.ดร.จีระ ทำได้ดีไม่ติดขัด ถึงแม้เป็นสามเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนเรื่องเดียวกัน โดยใช้วันเวลา เป็นตัวเรียงลำดับเรื่องราว คือวันที่ 15 16 และ วันที่ 18  อ่านได้เข้าใจง่าย เป็นหลักการเขียนเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือการสอดแทรกข้อคิด ที่ชวนให้ศึกษาและเกิดปัญญาได้ดี 
มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย  ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD)”
ศ.ดร.จีระ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ม.ขอนแก่นโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ ร่วมอยู่ในสภาฯ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ สดเสมอ และเป็นผู้มีความเมตตา มีคุณธรรม จากประโยคนี้ ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ที่นั่นทำงานใหญ่เพื่อชาติ  การที่มีนักวิชาการ นักวิจัย จากกล่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นการทำงานด้านวิชาการระดับชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการทูต ด้วย ผมคิดว่าเนื้อหาสาระที่เสวนากันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติและความร่วมมือต่อกัน คงไม่มาคุยกันเรื่องต้นไม้ข้างถนน หรือขยะในชุมชน 
 โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้ 
เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ การบริหารกิจการบ้านเมืองก็ดี นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ก็ดี นโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ดี ควรคิดถึงความยั่งยืนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมได้เรียนรู้เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และการจะทำสิ่งใด ก็ตามขอให้คิดถึงความยั่งยืน จาก ศ.ดร.จีระ  ศ.ดร.บุญทัน ศ.ดร.ติน ศ.ดร.อุทัย อาจารย์แม่คุณหญิงเต็มศิริ และจากบทความต่าง ๆ ของ ศ.ดร.ป๋วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ประเทศเราผมคิดว่า ยังขาดทุนแห่งความยั่งยืนอยู่มาก รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรจัดให้ครู อาจารย์ผู้สอนนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยม ให้มีองค์ความรู้ รู้จริงเกี่ยวกับทุนแห่งความยั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งทุนตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ เพื่อให้บรรดาครูทั้งหลายได้เข้าใจ เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ไปสอนเด็กว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการพื้นที่น่าอย่างไร 
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว 

ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย

ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กัน

ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

สุดท้าย ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
 

ตรงนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ศ.ดร.จีระ ท่านสรุปไว้ได้ดี ทำให้เข้าใจถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากขึ้น เข้าใจถึงหลักแห่งความยั่งยืนมากขึ้น

 ปัจจัยแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การทำโครงการระยะสั้นให้ดี ทำอะไรอย่างคิดสั้นอย่างเดียว ต้องคิดให้ยาวด้วยว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ 

ปัจจัยที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่ นอกจากไม่ทำลาย แล้วควรเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูก หลานในอนาคตด้วย ต้องคำนึงถึงตรงนี้ให้มาก ๆ มิฉะนั้นแล้วในอนาคตไทยอาจจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่รองจากไทยแล้ว  และถ้าเราไม่หันมาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติกันให้ดี เวียดนามแซงหน้าไทยแน่นอน 
ปัจจัยที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริธรรม  ควบคู่ไป ในความเข้าใจของผม สรุปสั้น ๆ ว่า คุณธรรม คือรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้ว่าปฏิบัติอย่างไรแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ และเกิดความเป็นธรรม คือรู้  ส่วนจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่ควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะตามหลักคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การพัฒนาอย่างยั่งยืน คนพัฒนาต้องมีตรงนี้  นักการเมืองที่กำหนดนโยบายพรรค รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราท่านตรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ 
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ต้องคิดแบบมีเหตุ มีผล มีที่มาที่ไป ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษา พิสูจน์ วิเคราะห์มาแล้ว ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความคิดของตนเองเป็นหลัก สังคมใด องค์การใดมีผู้นำที่ตัดสินใจโดยเอาตนเองเป็นใหญ่ คงไปได้ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมาก เพราะปกติการตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นมักจะตามมาเสมอ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว จะทำให้ทราบว่าจะเกิดอะไรและจะแก้ไขป้องกันอย่างไรการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ยั่งยืนได้เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ความสำเร็จในอดีต อาจไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้ การหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความยั่งยืน 
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ด้วยคุณภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  เรื่องนี้ ประเทศอินเดียรู้ปัญหาดีและมีการเตรียมการไว้ดีมาก อินเดียกำลังจะเป็นประเทศมหาอำนาจแข่งกับจีน  แต่อินเดียมีปัญหาว่า ความเจริญกำลังกระจุกตัวอยู่ที่บางเมืองและกับคนบางกลุ่ม รัฐบาลอินเดียมีมาตรการรองรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพคนด้วยการศึกษา ยกระดับความสามารถของครู ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ไม่เน้นฟอร์ม  คนอินเดียไม่เน้นฟอร์มแต่เน้นว่าในหัวมีความรู้ มีปัญญาดีหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นคนอินเดียส่วนใหญ่มีความรู้ดีมากขึ้น  คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาศาสตร์อื่น ๆ

การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ถ้าทำให้เกิดความเจริญเฉพาะกลุ่ม ไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ปัญหาความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีกันจะตามมา   

ปัจจัยสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ การให้ที่ทรงคุณค่าที่สุดคือการให้ผู้อื่นได้มีมีเข้มแข็งขึ้นทั้งความรู้ สติ สมาธิ ศีล ปัญญา ให้เขาได้มีความสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถขยายผลสามารถช่วยผู้อื้น ต่อได้จะยิ่งเกิดความยั่งยืน  การให้วัตถุให้เงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ให้เขาได้มีโอกาสพึ่งตัวเองอย่างที่ ศ.ดร.จีระ ว่า ก็คงยั่งยืนได้ยากครับ 
เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน 

รายการโทรทัศน์ ที่ท่าน ศ.ดร.จีระจัดเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เดิมทราบว่าจะออกรายการทางช่อง 5 ต่อมาทราบภายหลังว่าจะออกทางช่อง 11 รายการนี้ ผมคิดว่าสำคัญและจะเกิดประโยชน์ ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะร่วมด้วย เพื่อจัดทำรายการนี้เป็นวีดีโอทัศน์ ประกอบการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครู เพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียน ต่อไป รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่องนี้ให้มาก ก่อนจะสายเกินไป ผมเคยได้ยินครูสอนนักเรียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูตั้งใจดีมาก แต่สอนเรื่องการจัดสรรที่นา ที่เลี้ยงปลา ที่เพาะปลูก ไม่ได้สอนแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนเรื่องโลกาภิวัตน์ว่าคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร และในฐานะคนไทยควรต้องทำอย่างไร 

 

 ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระจายความรู้เหล่านี้ไปอย่างทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ และมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาการให้ความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว   

 

ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี

วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย
ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาน่าจะอ่านตรงนี้ และเชิญ ศ.ดร.จีระ ไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ เชิญ ดร.ไมตรี เข้าไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้วย  เพื่อรีบปฏิรูปการทำงานของครู  รูปแบบการสอนของครูที่เป็นแบบดั้งเดิมถือเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งทางการพัฒนาเด็กไทย

ผลการวิจัยที่อินเดีย ซึ่งทาง BOI ได้จ้างนักวิชาการที่อินเดียวิจัยค้นหาอุปสรรคในการพัฒนาของไทย พบว่า ครูของไทยยังด้อยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องภาษา และหลักการสอน ข้อเสนอแนะก็คือควรมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผมเห็นด้วยกับ ดร.ไมตรี ครับ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เป็นจริง โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครับ

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                        โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์" (ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า ระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พึงสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท