ถอดบทเรียน : การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง(SHA Facilitation) ตอน "สิ่งควรมิควรกระทำ"


       fa คือ กามเทพ ที่คอยแผลงศรให้คนรักกัน 


  การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ SHA-facilitator ตามโครงการ SHA ของอ.แม่ต้อย ในวันถัดมาต่อจากเมื่อวานนี้ เป็นเรื่องของ do กับ don't ที่ชาว fa ทั้งหลายพึ่งปฏิบัติ  

       ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่ง คงถูกคัดสรรมาแล้วเพราะล้วนเป็นคนคิดบวก สิ่งที่ควรปฏิบัติมีมากมายเยอะแยะ แต่สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติกลับมี นิดเดียว

    กิจกรรมนี้ คงเป็นกุศโลบายของวิทยากรที่อยากให้ผู้เข้าร่วมประชุม บอกคุณสมบัติ fa. ในฝันที่ควรจะเป็นหรือที่ตนอยากได้ แล้วตนต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปเมื่อต้องไปเป็น fa  

 หากถอยกลับไปมอง สมมุติว่า ตนเองไม่ใช่ fa แล้วอยากให้ fa เป็นอย่างไร

 กลุ่มผู้เขียน ซึ่งท้ายสุดได้ชื่อกลุ่มว่า "กวน มึน HA" ที่...ทั้งกวนทั้งมึนทั้งฮาจริงๆ เพราะสมาชิกกลุ่มบางคนเคยรู้จักและเึคยร่วมงานกันมาก่อนแล้ว แถมเป็นกลุ่มคนอิสานด้วย จะไม่ กวน มึน ฮา ได้อย่างไร(เสียงดัง ทั้งเสียงพูดและเสียงฮา)


 

  เลขากลุ่ม(คนเขียน flip chart) ที่ดูเป็นสาวเจ้าเนื้อ แต่เธอคล่องแคล้วมาก เธอสรุปจากที่เพื่อนสมาชิกที่เขียนลงในแผ่นกระดาษ แล้วจัดกลุ่มเข้าพวก กำหนดเป็นคำที่คล้องจองกัน (การเอาตัวอักษรตัวแรกมาเรียงคำใหม่ เขาเรียกอะไรนะ ?????) 

  ความคิดหลายๆกลุ่มใกล้เคียงกัน แต่กลุ่ของผู้เขียน เพื่อนสมาชิกกลุ่มอื่นให้คำชมว่า กรุ๊ฟเป็นหมวดหมู่ได้ดี


  สิ่งที่ควรกระทำ ได้แก่ smart,smile,smooth,spiritual เป็นต้น 

   ส่วนสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ได้แก่ dictate-ครอบงำ-สั่งการ  เป็นต้น

       คงไม่ต้องขยายความว่า ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

อาจารย์ขจิต fa ตัวพ่อ เขียนเกี่ยวกับคุณสมบัีติของ facilitator ไว้ที่นี่  ลองติดตามอ่านนะคะ 

 

1. เป็นบุคคลที่พยายามเปลี่ยนแปลง ฝึกฝน พัฒนาตนเองและบุคคลในทีมให้เป็นผู้รอบรู้ มีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง (Personal Mastery)
 2.ให้ความเอาใจใส่กับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม (Team Learning)
 3.มีความเป็นกลาง อิสระ เป็นธรรม ไม่โอนเอียง หรืออคติ
 4. มีจิตใจรักมนุษย์ มีความสุขกับการเห็นมนุษย์เกิดการยกระดับทางจิตวิญญาณ และภูมิปัญญา และมีความเชื่อมั่นในพลังทวีคูณ (Synergy) ระหว่างมนุษย์ ไม่ดูถูกมนุษย์ 
5. มีจิตใจประชาธิปไตย ใจกว้าง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่เป็นเผด็จการ เพื่อให้เกิดการปรับวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 
6.มีวิธีคิดแบบองค์รวม (System Thinking) ไม่แยกส่วน 
7. มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบ พร้อมที่จะขยาย ปรับ หรือเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด (Mental Model) กล้าคิด กล้าทำ กล้าจินตนาการ กล้าเปลี่ยนแปลง (Creativity – คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกนอกกรอบเดิม ๆ) 
8. สามารถใช้สมองสองซีก ซ้าย – ขวาอย่างเชื่อมโยง มีทั้งศาสตร์และศิลปะ
มีประสาทสัมผัสที่ดี นอกเหนือจากตาดู หูฟัง ต้องมีความรู้ความเห็น (ญาณทัศนะ) ที่แจ่มชัด เป็นนักสังเกตการณ์ มีความละเอียดอ่อน (Sensibility) 
9. สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนได้ง่าย 
10. มีอารมณ์ที่ดี สมาธิดี ใจเย็น ไม่ตื่นตระหนกง่าย ไม่ฉุนเฉียว ไม่เอาแต่ใจตัวเอง มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีความสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลากับการปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมนุษย์ 
11. ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และสังคม โดยเฉพาะการสื่อสาร 2 ทาง (TWO WAY COMMUNICATIONS) 
12. กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบสูง
  

ก๊อปปี้มาจากบันทึกอาจารย์ขจิต ฝอยทอง //ขอบคุณค่ะ  

 

 

หมายเลขบันทึก: 428738เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

มาให้ดอกไม้แต่คลิกไม่ได้ค่ะ

พี่คิม แอนด์ อ.พอลล่า ขอบคุณค่ะ 

แต่ตอนนี้ ชักไม่มั่นใจในตัวเอง และอายๆๆยังไงไม่รู็ อิอิอิ

ขอบคุณค่ะ 

smart, smile, smooth, spiritual จะพยายามทำค่ะ

ควบคุม-ครอบงำ-สั่งการ ก็จะไม่ทำค่ะ

เรียนรู้สิ่งดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท