แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เข้าพรรษา และ ชีวิตหลังอบรมคอร์สครูโยคะ by ครูบี



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

เข้าพรรษา และ ชีวิตหลังอบรมคอร์สครูโยคะ

เขียนโดย ครูบี
คอลัมน์ "จดหมายจากเพื่อนครู"
โยคะสารัตถะ ฉ.; ส.ค. '๕๔ 
.
.
.
นี่ก็ผ่านวันเข้าพรรษามาได้ 7 วัน ซึ่งเมื่อเทศกาลบุญนี้มาถึงพวกเราหลายๆ ท่านก็มักจะเจอกับคำถามที่ว่า “ไปทำบุญที่วัดไหนดี?”  หรือไม่ก็ “ ซื้ออะไรไปถวายพระกันดี...เข้าพรรษาก็ต้องผ้าอาบน้ำฝนสิ..เอ! หรือจีวรท่าจะดีนะ” ซึ่งตัวเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่พอเข้าพรรษาก็จะต้องไปซื้อเทียนพรรษา ผ้าไตรจีวร
แล้วก็รวบรวมเพื่อนๆ หลายคนที่มีจิตศรัทธาฝากทำบุญซึ่งส่วนมากจะฝากเป็นเทียนพรรษาและผ้าไตรจีวร และแถมเพื่อนที่ยังโสด ทั้งกำชับแล้วกำชับอีกว่า เวลาถวายเทียนห้ามแยกคู่เทียนนะ!!  (แต่เอ! นี่ก็ผ่านมาหลายพรรษาแล้วก็ยังไม่ได้ผลแฮะ)
เข้าพรรษานี้ก็เช่นเคย แต่เป็นความโชคดีที่มีโอกาสได้กราบเรียนพระอาจารย์ที่นับถือก่อนไปทำบุญ (ขออนุญาตเอ่ยนามนะคะ คือท่านพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ) ว่า
“ เข้าพรรษานี้นะคะ หนูกับเพื่อนๆ จะไปทำบุญที่วัดพระอาจารย์ ( ตอนนี้ท่านจำพรรษาที่วัดบางปลากด รังสิตคลอง14) จะถวายเทียนพรรษากับผ้าไตรจีวร ก็เลยจะกราบเรียนถามหากพระอาจารย์มีอะไรแนะนำค่ะ”
พระอาจารย์ฯ ได้กรุณาแนะนำว่าผ้าไตร จีวรส่วนมาก วัดทั่วไปไม่ค่อยขาดแคลน และจีวรผืนหนึ่งพระก็ใช้ได้เกือบ 4 ปี เทียนพรรษาก็เช่นกัน และท่านก็แนะนำเกี่ยวกับส่วนที่พระขาดแคลนอาจจะเป็นโคมไฟซึ่งไว้ใช้อ่านหนังสือก็ได้ ซึ่งท่านก็บอกว่าแล้วแต่โยมสะดวก ก็เลยมานั่งนึกกันกับเพื่อนๆ ว่าเคยมีคนโพสต์ 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด ใน internet ก็เลยนำสรุปมาแบ่งปันนะคะ (หลายๆท่านอาจจะทราบแล้ว ขออนุญาตฉายซ้ำนะคะ)
.
.
  1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ 
  2. ใบมีดโกนตราขนนก (Feather) หรือ ยี่ห้อยินเลส  ใบมีดยี่ห้ออื่น พระใช้โกนผมแล้วเลือดสาด ท่านจึงใช้ได้แค่ 2 ยี่ห้อนี้
  3. ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้ มีความหนาพอเหมาะสม 
  4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ ที่เป็นทางกุศล การรู้ทันข่าวสารบ้านเมือง จะได้สาธก  ยกตัวอย่างให้ชาวบ้านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง 
  5. รองเท้า ซึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พระท่านใช้ ยกเว้นพระนิกายธรรมยุตต์นะคะ สังเกตให้ดีล่ะ ว่าวัดที่เราไป พระท่านใส่รองเท้ากันหรือเปล่า
  6. ยาหลักๆ ที่จำเป็น ยาสามัญประจำบ้าน แก้ปวดหัว ปวดท้อง แก้ไอ แก้ไข้ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาใส่แผล
  7. ผ้าขนหนูคุณภาพดีสีสุภาพ ไม่ต้องสีเหลืองก็ได้ 
  8. คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ เช่น แผ่น CD, รวมทั้งเครื่องเล่น MP3 แบบที่ใช้ถ่านได้ด้วย กรณีถวายพระวัดป่าที่ท่านไม่มีไฟฟ้าที่กุฏิ อย่าลืม down load ธรรมบรรยายของครูบาอาจารย์ใส่ไป ให้ท่านได้ฟัง ศึกษา และปฏิบัติ
  9. น้ำยาเช็ดพื้น สำหรับถูกุฏิ ศาลา อุโบสถ 
  10. แชมพูยา ที่มีส่วนผสมปกป้องหนังศีรษะ รักษาสมดุล สังเกตง่ายๆ ที่ฉลากจะมีคำว่า 'Scalp' เป็นสำคัญ  ยี่ห้อที่เป็นแบบนี้ก็มักจะเป็นพวก แชมพูขจัดรังแค อย่างคลินิค, แพนทีน, Head & Shoulder, ไนโซรัล เป็นต้น 
ซึ่งวันนั้นตัวเองและเพื่อนๆ ก็ได้ถวาย สมุดหลายๆ ขนาด, ชุดเข็มและด้าย กรรไกร (อันนี้ก็น่าสนใจนะคะ) และโคมไฟสำหรับอ่านหนังสือ พระท่านก็มีวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประ สบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย 

แล้วตัวเราเองล่ะ จำได้เลยว่าหลังออกจากค่ายอบรมครูโยคะ วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2552 (ผ่านไป 3 เดือนกว่าๆครบรอบไตรมาสพอดี) ตัวเรามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง นึกถึงวันที่กรอกใบสมัคร กรอกความคาดหวังในการอบรมครั้งนี้ ว่าอยากเรียน อยากรู้อะไรบ้าง 
  1. เรื่องท่าโยคะอาสนะ ท่าพื้นฐานเบื้องต้นที่ถูกต้อง และสามารถกลับไปฝึกปฏิบัติเองได้
  2. เรื่องเทคนิคการหายใจ การหายใจเบื้องต้นที่ถูกต้อง
  3. เรื่องสุขภาพ / ร่างกาย ช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  4. เรื่องอารมณ์ / จิตใจ จิตใจแจ่มใสและตั้งมั่นขึ้น 
  5. เรื่องสมาธิ / ปัญญา คิดว่าน่าจะฝึกควบคู่กับการทำวิปัสสนาได้ดี 
วันที่ออกจากค่ายครูวันแรกนะ ทั้ง 5 ข้อเนี่ยเป็นไปได้แน่ๆ แถมยังมี เพื่อนๆ และคนในที่ทำงานมารอให้สอนหลายๆ คนเลยนะ วางแผนทำตารางสอน บ้างก้อไปเกณฑ์คนมาแล้ว ตัวเอง ก้อยังไม่กล้าสอนนะคะ บอกเค้าว่า “ รอก่อนนะ ขอฟิตร่างกายก่อนนะ รอก่อนนะ”  มาจนถึงวันนี้ แฮะๆ  ครูบีก้อยังไม่ฟิตซักที นักเรียนก้อ ร๊อ รอ...แฮะๆ ไม่มีคำแก้ตัวดีกว่า (อายจัง! ครูคะ หนูจะพยายามปรับปรุงตัวค่ะ) 

ช่วงแรกๆ ที่ออกจากค่าย ตื่นมาทำอาสนะแต่เช้ามืด ทำแล้วรู้สึก สบาย ผ่อนคลาย ใช้แรงแต่น้อย (และ ง่วง เอ้ย! ไม่ใช่ค่ะง่วงก่อนทำค่ะ) วันไหนที่ได้ทำอาสนะช่วงเช้าเป็นวันที่รู้สึกว่า เรารักตัวเองอย่างถูกต้อง ใส่ใจกับตัวเอง กำลังมอบสิ่งดีดีให้ร่างกายและจิตใจ เป็นวันที่เรียกได้ว่า เช้าดี ฤกษ์ดี อรุณดี วันนี้เป็นวันที่ดี มีพลัง พร้อมรับมีกับสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในแต่ละวัน ส่วนวันที่ไม่ได้ทำ ก็มักจะมีข้ออ้างกับตัวเองว่า เหนื่อย เพลีย ไม่สบาย เราต้องพักผ่อนเยอะๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก้อเกิดจากการที่ปล่อยกาย ปล่อยใจ ไปดูทีวีบ้าง เล่น internet บ้าง (มัวแต่ไปรู้เรื่องชาวบ้าน) ชีวิตที่ผ่านไปแบบนี้ วันแล้ววันเล่า ก็ได้แต่ทำอาสนะบ้างเล็กๆ น้อยๆ จนเกิดสะดุดกับตัวเอง ตอนเข้าพรรษานี้แหละค่ะ พระท่านก็ยังต้องทบทวนตัวเอง แล้วเราล่ะ....  

เข้าพรรษานี้ ขอให้เวลากับตัวเอง ฝึกอาสนะและเข้าถึงวิถีแห่งโยคะ (เอาแค่ ยมะ และนิยมะให้บริบรูณ์ก่อนแล้วกันนะคะ) แล้วจะมารายงานผลหลังออกพรรษานะคะ 
 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 427571เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2011 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท